Você está na página 1de 5

การปฏิวัติ 2475 ผลกกระทบต่อสังคมไทย

บทความนี้มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 ในปี
พุทธศักราช 2475 ซึ่งดำเนินการปฏิวัติรูปแบบการปกครองโดยคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า คณะราษฏร การเขียน
บทความนี้ขึ้นมามีจุดประสงค์ที่จะถ่ายทอดให้ผู้อ่านเห็นความเปลี่ยนแปลงของการปกครองไทยในอดีตจนถึง
ปัจจุบัน และตระหนักถึงผลกระทบของการปฏิวัติครั้งนั้น ข้อดีข้อเสียมากมายหลายประการที่มีอิทธิพลต่อ
ระบอบการปกครองไทยในปัจจุบัน หากผู้อ่านเข้าใจถึงเนื้อหาในบทความนี้จะทราบถึงความสำคัญของการ
ปกครองไทย และความสำคัญของการปฏิวัติการเปลี่ยนแปลงการปกครองในพุทธศักราช 2475 ในสังคมไทยใน
ปัจจุบันจะไม่สามารถพัฒนาได้ก้าวไกลเท่านี้ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยในอดีตต่างๆ รวมถึงการปฏิวัติ
ในปีพุทธศักราช 2475 เช่นกัน ในสมัยรัชกาลที่ 7 ประเทศไทย/ปกครองโดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า
อยู่หัว ฉนวนของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ถูกจุดโดยผู้คนส่วนน้อยที่เรียกกันว่า ”คณะราษฎร” เป็นกลุ่ม
นักเรียนไทยในต่างประเทศและกลุ่มนายทหารประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบุคคลระดับปัญญาชน โดยมีผู้นำ
ที่ริเริ่มขบวนการปฏิบัตินี้ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน), พลเรือเอก หลวงสินธุสงครามชัย
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) คนกลุ่มนี้มีจุดประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นหลัก และอำนาจประชาชนเป็นอำนาจ
สูงสุด ในวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 คณะราษฎรได้รับอิทธิพลมาจากประเทศทางตะวันตกเนื่องจาก
มีสาเหตุมากมายที่นำไปสู่การปฏิบัติครั้งนี้ อีกทั้ง
สมัยก่อนการปฏิวัติสยาม พุทธศักราช 2475 สภาพบ้านเมืองไม่มั่นคงเท่าที่ควร การปกครองและ
วัฒนธรรมต่างๆในการปฏิวัติมีผลสืบเนื่องมาจากการการเปลี่ยนแปลงของหลายๆปัจจัยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4
ภายหลังการตกลงยินยอมทำสนธิสัญญาบาวริ่งกับประเทศอังกฤษ ในพุทธศักราช 2398 และภายหลังยังการมี
การตกลงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการค้าขายต่างๆกับประเทศอื่นๆในภาคพื้นยุโรปอีกหลาย
ประเทศ ซึ่งสนธิเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศเริ่มมีกระแสวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเรื่อยๆ อีกทั้งรัชกาล
ที่ 4 ยังทรงเปิดรับประเพณีและวัฒนธรรมของชาติตะวันตกที่เป็นสากลเข้ามาแพร่หลายในประเทศไทยอีกด้วย
ความทันสมัยในรัชกาลที่ 5 พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ รัชกาลที่ 5 ได้ทรงดำเนินพระบรมราโชบายให้อิสระแก่ไพร่และ
ทรงประกาศเลิกทาสให้เป็นไทยและทรงปฏิรูประบบการศึกษาให้เป็นสากลมากขึ้นโดยมีตัวอย่างจากระบบการ
ศึกษาแบบตะวันตก และยังมีพระบรมราชานุเคราะห์ส่งเสริมให้มีโอกาสไปต่อยอดความรู้ ศึกษาต่อต่างประเทศ
แถบตะวันตกจนนักศึกษาเริ่มเอาแนวคิดของชาติตะวันตกมาพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองในไทย และยัง
ทรงปฏิรูปประเทศเข้าสู่ความทันสมัยให้สังคมไทยมีเสรีในการออกความคิดเห็นมากขึ้น ก่อนการปฏิวัติ คนใน
สังคมส่วนใหญ่มักคล้อยตามความคิดเห็นและตกลงตามความชี้นำของคนมีฐานะ มีการขัดแย้งทางความคิดชอง
ชนชั้นผู้นำในไทยกับนักศึกษาไทยที่ต่างประเทศ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์การปฏิวัติสยามในพุทธศักราช 2475 ขึ้น
บ้านเมืองก็มีความเปลี่ยนแปลงไปมาก สังคมไทยก้าวหน้าไปกว้างไกลตามแบบอย่างอารยะธรรมตามชาติตะวัน
ตก พัฒนามากในแบบรูปธรรม รูปแบบการใช้เดินทางเป็นไปได้สะดวกมากขึ้น การใช้ชีวิตและสาธารณูปโภค
เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได่ชัด มีถนนสำหรับรถยนต์ และยานพาหนะเดินทาง มีรถไฟเป็นอีกตัวเลือกของการ
เดินทางไกล และยังมีระบบไฟฟ้า ประปาที่ทำให้คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาก อีกทั้งยังมีเขื่อนกักเก็บ
น้ำเป็นแผนสรองการจัดการปริมาณน้ำให้เอื้อเฟื้อแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการก่อตั้งโรง
พยาบาลสถานที่ที่บ่งบอกถึงพัฒนาการของประเทศที่ดี เพราะช่วยให้ประชากรไทยดำรงชีวิตได้ยาวนานขึ้น
ผู้คนหายป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างง่ายดายมากขึ้น และระบบการติดต่อสื่อสารทางคมนาคม อย่างโทรศัพท์
ทั้งนี้เป็นเพราะเจ้านายและคนชนชั้นสูงฐานะดีที่ร่วมกันนำการเปลี่ยนแปลงเข้ามาในประเทศเรา รัฐบาลได้มีกา
รติอต่อสื่อสารกับโลกภายนอก การพูดคุยและติดต่อกับต่างประเทศทำให้ประเทศไทยเป็นสากลมากขึ้น ทันต่อ
ยุคสมัย แต่หากมีอย่างหนึ่งที่ยังคงดำรงอัตลักษณไว้อย่างดีงามคือ การแต่งกาย ในสมัยนายกจอมพล ป. พิบูล
สงครามเมื่อพุทธศักราชที่ 2481 ถึง 2487 ท่านได้บัญญัติ “รัฐนิยม” เน้นย้ำให้คนไทยรักและหวงแหนชาตและ
ภูมิใจในการเป็นไทย คนไทยต้องทักมายกันว่า “สวัสดี” ไม่อนุญาตให้กินหมาก และไม่อนุญาตให้ข้าราชการ
แต่งกายนอกกฎระเบียบ ไม่สวมกางเกงแพร และมีการเคารพธงชาติ และร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีอีกด้วย
จากการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนี้ ส่งผลดีต่อประเทศไทยฝนประชาชนไทยเป็นอย่างมากกล่าวคือ
ประชาชนไทยมีอำนาจในปกครองประเทศด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ คนไทยเป็นเจ้าของประเทศอย่างถูก
กฎหมายและเป็นที่ยอมรับ คนชนชั้นอื่นๆและพวกปัญญาชนเริ่มมีบทบาทในสังคมไทยมากขึ้น การค้าและ
อุตสาหกรรมเจริญเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การติดต่อค้าขายก็เจริญรุ่งเรืองมากด้วยเช่นกัน เพราะมีประเทศ
อื่นเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนซื้อขายด้วย แต่นั้นกลายเป็นผลแย่ต่อชาวนาที่ประสบปัญหายากจน เพราะถูกเอา
เปรียบในสังคมซึ่งถือเป็นช่องว่างในสังคม สร้างความเดือดร้อนให้คนชั้นล่างพอสมควร ประชาชนคนชนชั้นล่าง
คนทำมาหากิน คนมีการศึกษาทั่วไป เริ่มมีบทบาทในสังคมมากขึ้นแต่ผู้ที่มีอำนาจกว่าคือกลุ่มคนทหารและ
ข้าราชการ
หลักฐานแห่งประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้ถูกถ่ายทอดมาถึงปัจจุบันบนลานพระบรมรูปทรงม้า
ด้านสนามเสือป่าเป็น สมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน เขียนไว้ว่า “ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง
คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ” นอกจากนี้ยังมีข่าวที่อ้างอิงถึงการปฏิวัติสยาม
ในวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 อีกว่า 83 ปีที่ผ่านมาจากปฏิวัติสยามครั้งนั้น ระบบการปกครองใน
ประเทศไทยได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นมากน้อยเพียงใด กล่าวคือหลังจากการปฏิวัติในปี 2475 ที่เปลี่ยนแปลงระบบ
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย ดูแลโดยรัฐสภา ซึ่งคณะราษฏรตั้งเป้าหมายเพื่อ
พัฒนาการปกครองไทย โดยการวางรากฐานการปกครองให้กลายเป็นแบบประชาธิปไตยและให้อำนาจแก่
ประชาชนมากขึ้น สภาพสังคมหลังการปฏิวัติพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่การปกครองไทยในรุ่นต่อๆมายังคงมี
จุดบอดคอยสร้างความขัดแย้งให้กลุ่มคนจำนวนหนึ่งเสมอมา รวมถึงเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และเหตุการณ์
มหาวิปโยค 6 ตุลา 2519 ซึ่งล้วนเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยของ
กลุ่มพลังมวลชน ผู้บริสุทธิ์ นักศึกษา ประชาชน และผู้รักประชาธิปไตยทั้งสิ้น ต่อมาเมื่อมีการเลือกตั้งอย่างเป็น
ระบบมากขึ้นแล้ว นักการเมืองยังไม่ซื่อสัตย์ และมุ่งหวังเพียงผลประโยชน์ส่วนตนเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้อำนาจ
หน้าที่ตนเป็นหน้าตา รวมถึงในยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่นำไปสู่ การรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลจากการเลือก
ตั้งอีกครั้ง ในปี 2549 ตามไปด้วยเหตุการณ์การแย่งชิงอำนาจในกลุ่มพรรคการเมืองและมีการรัฐประหารอีก
ครั้งในยุคของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงจุดอ่อนของการปกครองไทย
ที่ไม่มีการพัฒนาต่อเลยหลังจากการปฏิวัติสยามครั้งนั้น 83 ปีที่ผ่านมาการปกครองยังคงย้ำอยู่กับที่อีกทั้ง
ปัญหาทางสังคม การเมืองต่างๆยังไม่ถูกแก้ไข และจะยังคงเป็นวังวนแบบนี้ต่อเรื่อยไปจนกว่าการปฏิวัติครั้งใหม่
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือการปฏิวัติในปีพุทธศักราช 2475 เกิดขึ้นจากหลายปัจจัยรวมกันซึ่ง
ล้วนแล้วเป็นปัญหาสังคมที่มีผลกระทบมากในช่วงนั้น เริ่มจากปัญหาความเสื่อมโทรมของการเมืองการปกครอง
ไทยในช่วงนั้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อ่อนแอ นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การเปลี่ยนการแปลงการ
ปกครองครั้งนี้ โดยมีคณะนายทหารชายจำนวนหนึ่งนำโดยร. อ. ขุยทวย หาญพิทักษ์ หรือ เหล็ง ศรีจันทร์ ได้
ทำการวางแผนยึดอำนาจการครอง หวังเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง แต่ไม่เป็นไปตามแผนเพราะถูกจับกุม
ไว้ก่อนลองมือปฏิบัติงาน เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างของการเมืองไทยที่เประบางและเสื่อมโทรดลง
เรื่อยๆ อีกทั้งยังมีปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจและค่าเงินไทยอีกด้วย กล่าวคือ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ผู้คนได้ประสบ
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้จ่ายดงินงบประมาณที่ไม่ต้องดุลกับรายได้ ประชาชนเห็นว่าอาจะเป็นเพราะจัฐบาบที่นำ
เงินประเทศไปจัดการได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ใช้เงินฟุ่มเฟือย หรืออาจะมีการคอรัปชั่นเกิดขึ้นด้วย ต่อมาใน
สมัยรัชกาลที่ 7 การเมืองไทยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอภิรัฐมนตรีสภา ซึ่งมีสภาเป็นที่ปรึกษาประกอบด้วย
พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง และบรรดาพระราชวงศ์ซึ่งทำให้อำนาจตกอยู่ในมือของชนชั้นสูงทั้งหมด เหตุการณ์
สร้างความไม่พอใจให้ประชาชนต่อระบบการปกครองเป็นอย่างมาก ผู้คนเริ่มอยากที่จะเปลี่ยนระบบการ
ปกครองเป็นอย่างมาก อีกหนึ่งสาเหตุของการปฏวัติคือการได้รับการศึกษาที่ต่างประเทศของบรรดาชนชั้นสูง
ในสังคมไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5นักศึกษาจำนวนหนึ่งได้ถูกส่งตัวไปศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมที่ประเทศตะวันตก
ซึ่งทำให้คนกลุ่มนั้นมีแนวคิดแบบตะวันตกและนำมาเผยแพร่ในประเทศไทยให้กับคนไม่ได้ไปศึกษาด้วย กลุ่ม
คนที่น้อมรับแนวคิดของชาติตะวันตกมากมายระดบสมองและมีจุดประสงค์เดียวกันคือต้องการที่จะปฏิรูปการ
ปกครองไทย มุ่งหวังให้เจริญก้าวหน้าทันชาติตะวันตก เพราะคนกลุ่มนี้ตระหนักเห็นถึงความสำคัญของ
รัฐธรรมนูญไทย พระมหากษัตริย์และระบอบการเมืองการปกครองของไทย พวกเขาจึงร่วมมือรวมใจว่งแผน
ดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครองไทยในพุทธศักราช 2475 สาเหตุที่สามในเหตุการณ์การปฏิรูปการปกครอง
ก็คือ ความเคลื่อนไหวของบรรดาสื่อมวลชนและปัจจัยภายนอก หลังจากมีเหตุการณ์มากมายที่กระตุ้นให้
ประชาชนไทยให้กลุ่มคนเริ่มหม่พอใจกับระบอบการปกครองไทยในตอนนั้น สื่อมวลชนต่างๆก็ได้มีบทบาท
ทำให้การปกครองไทยโดนโจมตีเป็นอย่างหนัก เนื่องจากสื่อมวลชนเป็นช่องทางสำคัญที่คอยเผยแพร่ข่าวสาร
และกระตุ้นให้มนุษย์สอดส่องและทราบถึงปัญหาภายนอกได้ มีสื่อมวลชนมากมายหลายสื่อที่ออกมาแสดง
ความต้องการในการเปลี่ยนระบอบการปกครอง และปฏิรูปการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์รวมถึง
น.ส.พ.ตุลวิภาคพจนกิจ (พ.ศ.2443-2449) น.ส.พ.ศิริพจนภาค (พ.ศ.2451) น.ส.พ.จีนโนสยามวารศัพท์ (พ.ศ.
2446-2450) น.ส.พ.บางกอกการเมือง (พ.ศ.2464) น.ส.พ.สยามรีวิว (พ.ศ.2430) และน.ส.พ.ไทยใหม่ (พ.ศ.
2474) ที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปและเปลี่ยนการปกครองเป็นระบบรัฐสภาที่มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักการปกครอง
กระแสสื่อมวลชนจึงเแผ้นส่วนสนับสนุนการดำเนินการวางแผนช่วยคณะราษฎรทำให้ทุกอย่างบรรลุผลไปได้
ด้วยดี อีกสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 คือ ความขัดแย้งทางความคิดเกี่ยวกับการปกครองใน
ระบอบประชาธิปไตย และสถานะการคลังของประเทศและการแก้ปัญหา เนื่องจากการคลังของไทยตั้งแต่สมัย
รัชกาลที่ 6 ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องเนื่องจากความล้มเหลวของการคลังข้าวที่ล้มละลายและเสียหาย
หลายล้านบาทจากภาวะน้ำท่วมและฝนแล้งอย่างต่อเนื่องในพุทธศักราช 2460 ถึง 2462 ทำให้ไม่สามารถส่ง
ข้าวไปซื้อขายต่อได้ต่างประเทศ ทำให้รัฐขากรายได้จำนวนมากและส่งผลกระทบต่องบประมาณรัฐขาดดุลถึง
18 ล้านบาท และภาวะค่าครองชีพที่สูงของชาวนาและข้าราชการ เหตุการณ์ขาดงบดุลนำไปสู่การนำเอาคลังที่
เก็บสะสมไว้มาใช้จนหมดและการกู้เงินจากต่างประเทศ ซึ่งทำให้เศรษฐกิจย่ำแย่ลงมากทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุที่
นำไปสู่การปฏิรูปการปกครองไทยในพุทธศักราช 2475
ทัศนคติของฉันต่อการปฏิวัติสยามครั้งนี้ถือว่าเป็นความประทับใจต่อชาติบ้านเมืองที่ได้รับการ
เปลี่ยนแปลงการปกครองตอนนั้น เพราะหากคิดไตร่ตรองดูแล้ว ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนั้น
เศรษฐกิจไทยและการติดต่อกับต่างชาติ และสภาพทางสังคมด้านอื่นๆคงไม่ได้เจริญก้าวหน้าได้เท่าปัจจุบัน ถ้า
เราไม่นำอิทธิพลจากชาติตะวันตกมาปรับใช้ในสังคมไทย เราอาจจะตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจได้
การปฏิวัติสยาม 2475 ถูกวิจารณ์จากหลายสื่อทั้งด้านบวกและลบ แต่ในมุมมองของฉัน ผลประโยชน์และผลก
ระทบของเหตุการณ์นี้หักกลบกันได้พอดี อีกทั้งยังทำให้ชาติไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคที่พัฒนาขึ้น มีการขนส่งระบบ
คมนาคมที่ดี การรักษาโรคที่ล้ำสมัย เศรษฐกิจที่มีการติดต่อสื่อสารกับต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนมาจาก
อิทธิพลของชาติตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นนี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คนหลายคนคิดเห็นว่าการปฏิวัติสยามครั้ง
นั้นถือเป็นผลดีต่อการปกครองไทย
เหตุการณ์การปฏิวัติระบบการปกครองไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในพุทธศักราช 2475 ใน
ความคิดของฉันถือเป็นจุดเปลี่ยนของการปกครองไทยรวมถึงสภาพสังคมด้านอื่นๆอีกด้วยทั้งด้านเศรษฐกิจ
การติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ การจัดการงบประมาณการเงินของไทยให้มีสภาพคล่องมากขึ้น ประสิทธิภาพ
การดำรงชีวิตของประชาชน สาธารณูปโภคที่ได้รับการพัฒนาจากชาติตะวันตก และการติดต่อสื่อสารทาง
คมนาคมที่มีเครือข่ายการติดต่อสื่อสารแพร่หลายอย่างกว้างขวาง การเปลี่ยนแปลงปฏิรูปการปกครองครั้งนั้น
นำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของชาติไทยได้อย่างเห็นได้ชัด หากไม่มีการปฏิรูปประเทศไทยอาจจะยังคงเป็น
ประเทศที่ด้อยพัฒนา เพราะยังบกพร่องความเจริญรุ่งเรือง และขาดแนวคิดจากชาติตะวันตกอาจนำไปสู่ การ
ล้าช้าของประเทศไทย ไม่มีการติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจอย่าง
แน่นอน อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนี้ยังเป็นการปลดล็อคกำแพงสิทธิเสรีภาพของประชาชนไทยให้
มีบทบาทในสังคมมากขึ้น ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการออกความคิดเห็น และทุกคนเป็นเจ้าของประเทศอย่างถูก
กฎหมายโดยไม่จำเป็นต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของคนกลุ่มชนชั้นสูงเหมือนสมัยก่อนเลิกทาส ระบบกษัตริย์มี
การเปลี่ยนแปลงอย่างมากเพราะระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สิ้นสุดลงแล้ว รัฐบาลเริ่มทำหน้าที่ของตน
อย่างจริงจังมากขึ้นชี้ให้คนไทยเห็นจุดบอดของประเทและร่วมกันลุกขึ้นมาแก้ไขอย่างร่วมแรงร่วมใจ
ประเทศไทยก้าวไกลไปได้มากขนาดนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการปฏิรูปการปกครองครั้งนั้นเลยก็ว่าได้อีกทั้ง
ประชาชนไทยไม่จำเป็นต้องยอมก้มหัวให้ข้าราชการชนชั้นสูงอีกต่อไป เพราะการศึกษาได้มีการปรับปรุง
ก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ
สุดท้ายนี้ วันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 ถือเป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยเพราะถือเป็นวัน
ที่ทำให้ระบบการปกครองไทยเปลี่ยนไปและพัฒนาต่อมาเรื่อยๆได้จนถึงปัจจุบัน การนำอิทธิพลของชาวตะวัน
ตกที่เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยที่นักศึกษาไทยมีโอกาสไปศึกษาต่างประเทศและนำแนวคิดและไอ
เดียสากลต่างๆ มาปรับใช้ในสังคมไทย คณะราษฏรผู้ริเริ่มดำเนินการปฏิวัติสยามร่วมมือกันเพื่อจุดประสงค์ที่จะ
พัฒนาประเทศและเล็งเห็นว่าการนำแนวคิดของชาติตะวันตกมาปรับใช้ในสังคมไทยจะส่งผลดีต่อประเทศไทย
ซึ่งทำให้สภาพสังคม เศรษฐกิจ ความสัมพันะ์กับต่างชาติแน่นแฟ้นขึ้น ีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน มีการติดต่อ
ค้าขายเจรจาต่อรองกันที่ดี
การอ้างอิง
ทีมงานชาวมัธยมศึกษา. (2545). สังคมไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475. ค้นเมื่อ 1
ธันวาคม 2560, จาก http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/6-6/
changesocial.htm

บัวอื่น ชุมพร. (2009). ปฏิวัติสยาม 24 มิถุนายน 2475. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2560, จาก http://
www.vcharkarn.com/varticle/38847

กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย พ.ศ. 2475. ค้นเมื่อ 1 ธันวาคม


2560, จาก https://www.m-culture.go.th/young/ewt_news.php?nid=176

บริษัทเทนเซ็นต์ ประเทศไทยจำกัด. (2558). 83 ปี 24 มิ.ย. 2475 จะเดินหน้าหรือถอยหลัง?. ค้นเมื่อ


7 ธันวาคม 2560, จาก http://news.sanook.com/1817558/

Você também pode gostar