Você está na página 1de 382

Page 1

การฝงเข็ม – รมยา เลม 2


(การรักษาโรคที่พบบอยดวยการฝงเข็ม)
ที่ปรึกษา
แพทยหญิงวิลาวัณย จึงประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทยแผนไทยและการแพทยทางเลือก
นางเย็นจิตร เตชะดํารงสิน ผูอํานวยการสาบันการแพทยไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต
นายแพทยสมชัย โกวิทเจริญกุล นายกสมาคมแพทยฝงเข็ม และสมุนไพร
บรรณาธิการ
ทัศนีย ฮาซาไนน สมชาย จิรพินิจวงศ บัณฑิตย พรมเคียมออน
คณะทํางาน
กรมพัฒนาการแพทยแผนไทยและการแพทยทางเลือก
เย็นจิตร เตชะดํารงสิน ธวัช บูรณถาวรสม ทัศนีย ฮาซาไนน
เบญจนีย เภาพานิชย ยุพาวดี บุญชิด ภาวิณี เสริมสุขไมตรี
ศูนยสิรินธรเพื่อการฟนฟูสมรรถภาพทางการแพทยแหงชาติ
ประพันธ พงศคณิตานนท
วิรัตน เตชะอาภรณกุล
โรงพยาบาลยางชุมนอย จังหวัดศรีสะเกษ
ชํานาญ สมรมิตร
โรงพยาบาลพระนั่งเกลา นนทบุรี
โกสินทร ตรีรัตนวีรพงษ
โรงพยาบาลราชวิถี
อภิธาน พวงศรีเจริญ
โรงพยาบาลกลาง สํานักการแพทย กรุงเทพมหานคร
สุทัศน ภัทรวรธรรม
ศูนยการแพทยกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล
อัมพร กรอบทอง
สุวดี วองวสุพงษา
Page 2

กรมแพทยทหารบก
พันเอกฐิติภูมิ เอื้ออํานวย
โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
กิตติศักดิ์ เกงสกุล
นักวิชาการอิสระ
บัณฑิตย พรมเคียมออน
สิทธิชัย วงศอาภาเนาวรัตน
ผูทรงคุณวุฒิดานการแพทยแผนจีน
สมชัย โกวิทเจริญกุล สมชาย จิรพินิจวงศ

เจาของลิขสิทธิ์
กรมพัฒนาการแพทยแผนไทยและการแพทยทางเลือก
ออกแบบปก
ทัศนีย ฮาซาไนน บุญสม รัตนากูล
ภาพประกอบ
อัมพร กรอบทอง
พิมพครั้งที่ 1 : มีนาคม 2553 จํานวน 1,000 เลม
พิมพที่ : โรงพิมพชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย
44/16 ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี แขวงตลาดบัวขวัญ อําเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

ทัศนีย ฮาซาไนน และคณะ


การฝงเข็ม – รมยา เลม 2 ----นนทบุรี
โรงพิมพชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย 2553,
380 หนา ภาพประกอบ
กรมพัฒนาการแพทยแผนไทยและการแพทยทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
ISBN 978 – 616 – 11 – 0277 - 7
Page 3

ก.
สารบัญ
หนา
คํานํา ก
คําแนะนําในการใชหนังสือตํารา ฝงเข็ม-รมยา เลม 2 ข
บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม 1
บทที่ 2 ปฐมบทสูการฝงเข็มรักษาโรค 45
บทที่ 3 การฝงเข็มระบบศีรษะและใบหู 81
บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 105
1.โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
- ใจสั่น.....................................................................................................105
- ความดันโลหิตสูง....................................................................................111
- ความดันโลหิตต่ํา....................................................................................116
- โรคหลอดเลือดหัวใจ..............................................................................121
2. กลุมโรคระบบประสาทวิทยา
- Cerebrovascular accident sequela...................................................127 
- ปวดประสาทไซแอทติค...........................................................................135
- ปวดศีรษะ..............................................................................................138
- ปวดประสาทดานขางลําตัว......................................................................144
- อัมพาตใบหนา........................................................................................149
- ปวดประสาทใบหนา................................................................................153
- นอนไมหลับ............................................................................................159
- โรคพารกินสัน.........................................................................................162 
 
Page 4

ข. 
หนา
3. โรคระบบการเคลื่อนไหว
- กระดูกคอเสื่อม....................................................................................167
- กลามเนื้อคออักเสบ..............................................................................170
- เสนเอ็นอักเสบของขอดานนอก...............................................................171
- คอแข็งเกร็ง.........................................................................................172
- ขอไหลอกั เสบ.................................................................... .................174
- กลามเนื้อหลังสวนเอวอักเสบเฉียบพลัน...................................................176
4. โรคระบบทางเดินหายใจ
- อาการไอ.............................................................................................178 
- โรคหอบหืด.........................................................................................186 
- หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน......................................................................194
5. โรคระบบการยอยอาหาร
- โรคนิ่วน้ําดี และถุงน้ําดีอักเสบ..............................................................196
- โรคทองผูก..........................................................................................200
- อุจจาระ.รวง..........................................................................................203 
- แผลกระเพาะอาหารและลําไสสวนตน......................................................206
- Gastritis............................................................................................210
6. โรคระบบทางเดินปสสาวะ
- ปสสาวะรดที่นอน.................................................................................215
- ปสสาวะคาง........................................................................................218
- นิ่วในทางเดินปสสาวะ...........................................................................221 
- ตอมลูกหมากอักเสบ............................................................................225
Page 5

ค. 
 
หนา
- ภาวะอสุจิเคลื่อน..............................................................................229 
- ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ...........................................................235
7. โรคระบบสูติ – นรีเวช
- ปวดประจําเดือน..............................................................................240
- มดลูกเลือดออกผิดปกติ....................................................................244
- ไมมีรอบเดือน.................................................................................248
- รอบเดือนผิดปกติ............................................................................252
- กลุมอาการวัยใกลหมดประจําเดือน....................................................256
- ภาวะมีบุตรยาก...............................................................................260
- ทารกอยูในทาผิดปกติ.......................................................................266
- แพทอง...........................................................................................267
- ภาวะน้ํานมไมพอเพียง......................................................................270 
8. โรคระบบหู คอ จมูก 
- อาการวิงเวียนศีรษะ........................................................................274
- โรคโพรงจมูกและไซนัสอักเสบ...........................................................278
- โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ.........................................................282 
- กลองเสียงและคออักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง...................................285 
- หูอื้อ และหูหนวก.............................................................................288 
- ความผิดปกติของขอตอกระดูกขากรรไกร..........................................292 
9. โรคระบบตอมไรทอ
- โรคอวน.................................................................... .......................294
- โรคเบาหวาน.......................................................................................297 
Page 6

 
ง.
หนา
- ภาวะการทํางานของตอมไทรอยดมากเกินไป........................................301
- ภาวการณทํางานของตอมไทรอยดนอยเกินไป......................................305 
10. โรคติดเชื้อ
- ตับอักเสบจากไวรัส.............................................................................307
- ไขหวัดใหญ........................................................................................310 
- คางทูม...............................................................................................312
11. โรค และอาการโรคอื่น ๆ
- ลมพิษ................................................................................................314
- สะอึก.................................................................................................318
- ไขสูง..................................................................................................324
- พิษสุราเรื้อรัง......................................................................................328
- การติดสารเสพติด..............................................................................330
- การเสพติดบุหรี่..................................................................................332
- ปวดฟน..............................................................................................334
ภาคผนวก 1 ประวัติและการพัฒนาการของวิชาการแทงเข็มรมยา............339
ภาคผนวก 2 ดัชนีจดุ ฝงเข็มตามระบบเสนลมปราณ................................351 
 
Page 7

คําแนะนําการใชหนังสือ
ตํารา การฝงเข็ม – รมยา เลม 2
(การรักษาโรคที่พบบอยดวยการฝงเข็ม)
การจัดทําคําแนะนําการใชหนังสือ ตําราการฝงเข็ม-รมยา เลม 2 (การรักษาโรคที่พบบอยดวยการ
ฝงเข็ม) มีวัตถุประสงคเพื่อใหผูอานเขาใจถึงขั้นตอนตาง ๆ ในการทําความเขาใจกับการรักษาโรคดวยการ
ฝงเข็ม และความสําคัญของการตรวจวินิจฉัยโรคที่ถูกตองเพื่อการเลือกใชจุดฝงเข็มที่เหมาะสมกับโรคและ
สภาพรางกายของผูปวย อยางไรก็ตาม การรักษาและการเลือกจุดฝงเข็มที่ใชในหนังสือเลมนี้ เปนการเรียบ
เรียงจากเอกสารทางวิชาการที่จดั ทําขึ้นโดยสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ไดแก มหาวิทยาลัยการแพทยแผนจีนเซี่ยงไฮ มหาวิทยาลัยการแพทยแผนจีนปกกิ่ง มหาวิทยาลัยการแพทย
แผนจีนนานจิง เปนตน ทั้งนี้เพื่อใหการรักษามีมาตรฐานการเชนเดียวกับการรักษาในประเทศสาธารณรัฐ
ประชาชนจีน และเพื่อใหผูอานไดมีแนวทางในการศึกษาวิจัยผลการรักษาโรคดวยการฝงเข็มเพื่อยืนยันความ
นาเชื่อถือในการรักษาโรคดวยการฝงเข็มใหกวางขวางตอไป
การฝงเข็มเปนเวชกรรมการรักษาโรคของชาวจีนที่มีประวัติการคนควา และแพรหลายมาหลายพันป
การฝงเข็มเปนวิธีการรักษาโรค ฟนฟูสุขภาพ สรางเสริมสุขภาพและปองกันโรค โดยการใชเข็มปกเขาไปยัง
ตําแหนงตาง ๆ ของรางกาย ในตําแหนงที่เปนจุดเฉพาะ มีวัตถุประสงคเพื่อปรับสมดุลรางกาย เปนการ
กระตุนใหรางกายตื่นตัวขึ้น ชวยใหอวัยวะและระบบการทํางานตาง ๆ ของรางกายกลับทํางานไดเปนปกติ
นอกจากนั้น การฝงเข็มยังสามารถชวยระงับอาการเจ็บปวด จึงมักนําไปใชในการรักษาโรคปวดตาง ๆ ไดดี
หนังสือ ตํารา การฝงเข็ม – รมยา เลม 2 นี้ ประกอบดวยเนื้อหาตาง ๆ ดังนี้
บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรูเรื่องเข็มที่ใชในการรักษาผูปวย จากอดีตซึ่งมี
เข็มโบราณ 9 แบบ จนถึงในปจจุบันไดพัฒนามีรูปแบบและวิธีการใชหลากหลายมากขึ้น เชน เข็มบาง เข็ม
ผิวหนัง เข็มน้ํา เข็มใตผิวหนัง รวมถึงการใชเครื่องกระตุนไฟฟามาใชรวมกับการฝงเข็ม
นอกจากนั้น ยังมีรายละเอียดในเรื่องการเตรียมสถานที่ และอุปกรณการรักษาเพื่อใหไดมาตรฐาน
ในเรื่องความปลอดภัย การจัดเตรียมทาของผูปว ยเพื่อการฝงเข็ม วิธีการฝงเข็มแบบตาง ๆ รวมทั้งเทคนิค
การกระตุนเข็มแบบตาง ๆ
Page 8

บทที่ 2 ปฐมบทสูการฝงเข็มรักษาโรค เปนการกลาวถึงหลักทั่วไปในการรักษาโรค ไดแก การปรับ


สมดุลของอิน – หยาง การเสริมสรางภูมิตานทานและขจัดปจจัยกอโรค การรักษาโรคตามสภาพผูปวยและ
สภาวะสิงแวดลอม วิธีการรักษาโรค ไดแก การเสริมบํารุง การระบาย การทําใหอุน ฯลฯ หลักพื้นฐาน
สําหรับตํารับจุดและการเลือกจุดฝงเข็มในการรักษาโรค การประยุกตใชจดุ พิเศษ เชน จุดซูทั้งหา จุดเหอลาง
จุดลั่ว จุดหยวน – ลั่ว จุดซี จุดซูหลัง จุดอิทธิพลทั้ง 8 นอกจากนี้ยังกลาวถึงความรูใ นเรื่องการเลือกจุด
ฝงเข็มตามการไหลเวียนในเสนลมปราณสัมพันธกับเวลาโลก (นาฬิกาชีวิต)
บทที่ 3 ความรูเกี่ยวกับการฝงเข็มระบบใบหู และการฝงเข็มที่หนังศีรษะ โดยจะมีรายละเอียดใน
เรื่อง การหาแนวตาง ๆ เพื่อการฝงเข็มของระบบหนังศีรษะ ซึ่งเปนบริเวณที่ควบคุมการทํางานตาง ๆ ของ
รางกาย เชน บริเวณควบคุมการเคลื่อนไหว บริเวณรับความรูสึก ควบคุมการพูด ควบคุมการมองเห็น
ควบคุมการทรงตัว บริเวณกระเพาะอาหาร บริเวณทรวงอกและอวัยวะสืบพันธุ เปนตน
ในเรื่อง เข็มหู จะเปนความรูเกี่ยวกับองคประกอบของใบหู ตําแหนงของจุดบนใบหู พยาธิสภาพ
ของสวนตาง ๆ ของรางกาย การหาจุดบนในหู หลักการเลือกจุดฝงเข็มบนใบหู การเลือกจุดบนในหูสําหรับ
การรักษาโรคในระบบตาง ๆ การกระตุนจุดบนใบหู ตลอดจนขอควรระวังในการฝงเข็มหู
บทที่ 4 การรักษาโรคดวยการฝงเข็ม จะกลาวถึงโรคที่พบบอยและรักษาไดดวยการฝงเข็ม โดย
จะมีการอธิบายรายละเอียดตาง ๆ ประกอบดวย
1. ชื่อโรค ใชชื่อโรคภาษาไทย และวงเล็บชือ ่ โรคตามศัพทการแพทยแผนตะวันตก สําหรับโรคที่
ไมมีคําเรียกภาษาไทย จะทับศัพทชื่อโรคตามศัพทการแพทยแผนตะวันตก
2. บทนํา จะกลาวบรรยายถึงลักษณะอาการแสดงออกของโรคนั้น การดําเนินของโรค
3. สาเหตุและกลไกลการเกิดโรค กลาวถึง สาเหตุการเกิดโรคตามแนวคิดของศาสตรการแพทย
แผนจีน
4. การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค กลาวถึง การวินิจฉัยสาเหตุการเกิดโรคตามทฤษฎีศาสตรการ
แพทยแผนจีน การตรวจจะดูจากลักษณะลิ้น ฝาบนลิ้น ลักษณะชีพจร โดยจะบอกลักษณะจังหวะการ
เตนของชีพจร โดยบอกจังหวะการเตนของชีพจร พรอมคําอานภาษาจีน และพิน-อิน
Page 9

5. หลักการรักษา จะเนนการรักษาดวยการฝงเข็ม โดยจะใชจุดฝงเข็มตามลักษณะอาการที่ตรวจ


พบ จุดฝงเข็มจะมีจุดฝงเข็มหลัก และจุดเสริม พรอมคําอธิบายเหตุผลการเลือกจุดฝงเข็มเหลานั้น จุดฝงเข็ม
ที่ใชจะใชรหัสจุดฝงเข็ม พรอมคําอานพิน-อิน สําหรับผูสนใจจะหาคําอานพิน-อินภาษาไทย สามารถศึกษาได
จากภาคผนวกที่ 2 ของหนังสือเลมนี้ เพราะรวบรวมจุดฝงเข็มทั้งในและนอกระบบลมปราณ นอกจากนั้นใน
บางอาการโรคจะมีการเลือกใชการฝงเข็มในระบบใบหู และหนังศีรษะดวย
6. ภาพประกอบ การรักษาดวยการฝงเข็มในแตละกลุมอาการโรค จะแสดงภาพตําแหนงจุดฝงเข็ม
ที่ใช พรอมรหัสจุดฝงเข็มในตอนทายของเนื้อหาแตละโรค
7. สัญญาลักษณใชเพื่อแสดงวิธีการกระตุนเข็ม หรือวิธีการอื่น ๆ โดยจะมีสัญญาลักษณเครื่องหมาย
หลังรหัสจุดฝงเข็ม และคําอานพิน-อินชื่อจุดฝงเข็ม มีความหมาย ดังนี้
+ หมายถึง การกระตุนเข็มแบบเสริม
- หมายถึง การกระตุนเข็มแบบระบาย
/ หมายถึง การฝงเข็มแบบไมกระตุนเข็ม (ผิงปูผิงเสี่ย)

หนังสือ ตํารา การฝงเข็ม – รมยา เลม 2 นี้จะมีภาคผนวก 2 เรื่อง ไดแก


ภาคผนวกที่ 1 ประวัติการฝงเข็ม – รมยา เรียบเรียงโดย อาจารยธงไทย ทองปน
ภาคผนวกที่ 2 ดัชนีจุดฝงเข็มตามระบบเสนลมปราณ จะรวบรวมจุดฝงเข็มทุกเสนลมปราณ โดยจะ
ประกอบดวยรหัสจุด, ชื่อภาษาจีน, พิน – อิน และคําอานภาษาไทย
7. เอกสารอางอิง จะอยูทายสุดของหนังสือ
Page 10
Page 11

บทที่ 1
เทคนิคการฝงเข็ม
(Acupuncture Techniques)
การฝงเข็มใหเกิดผลในการรักษาโรค ไมใชเพียงแคการเอาเข็มทิ่มแทงไปตามรางกายเทานั้น
แตยังตองอาศัยเทคนิคหลายอยางในขั้นตอนของการฝงเข็ม เทคนิคในการฝงเข็มที่ดีนอกจากทําใหการ
รักษาสัมฤทธิ์ผลแลวยังสามารถหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซอนอันไมพึงประสงคไดอีกดวย แพทยฝงเข็ม
จําเปนตองมีความรูเกี่ยวกับเข็มและอุปกรณการฝงเข็มเปนอยางดี ทั้งประเภทของเข็ม ขอบงใช ขอหาม
วิธีการใช เทคนิคตาง ๆ ในการกระทําตอเข็มเพื่อใหเกิดผลตามวัตถุประสงคในการรักษาโรค ตั้งแตเริ่ม
จับเข็มแทงจนกระทั่งถอนเข็ม รวมถึงรูจักเลือกใชอุปกรณรวมฝงเข็มที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

ประเภทของเข็ม
การฝงเข็มมีการคิดคนและพัฒนามายาวนานหลายพันป เข็มแตละประเภทไดถูกปรับเปลี่ยนไป
ตามความเหมาะสมและความเจริญของยุคสมัย จากเข็มหิน เข็มกระดูก เปนเข็มโลหะประเภทตาง ๆ
เข็มบางประเภทถูกเลิกใช บางประเภทยังคงใชอยูและไดรับการปรับปรุงรูปลักษณใหเหมาะสมกับ
การแพทยในปจจุบัน

ประเภทของเข็มในอดีต
จากหลักฐานที่มีบันทึกไวกวา 2000 ป ในคัมภีรหฺวังตี้เนยจิง ภาคหลิงซู บทที่ 7 เรื่องการ
ประยุกตใชเข็ม กลาวถึงประเภทของเข็มที่มีการประดิษฐขึ้นใชรักษาโรคดวยวัตถุประสงคตาง ๆ ไว 9
ชนิด (รูปที่ 1.1) ไดแก

รูปที่ 1.1 เข็มในอดีต 9 ชนิด


Page 12

2 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

1. เข็มหัวธนู หรือ ฉานเจิน (镵针 ChánZhēn: shear or arrow headed needle) ลักษณะ
หัวเข็มกลมหนา ปลายเข็มบานออกแลวสอบปลายแหลมคมคลายหัวธนู ตัวเข็มยาวประมาณ 1.6 นิ้ว
เปนเข็มที่ใชแทงตื้นเพื่อรักษาโรคในระดับผิวหนัง หรือใชระบายเพื่อรักษาอาการไข ตัวรอน ปจจุบัน
ดัดแปลงเปน เข็มผิวหนัง (dermal needle) ไดแก เข็มเจ็ดดาว (seven star needle) และ เข็มดอก
เหมย (plum-blossom needle) และเข็มสอดผิวหนัง (intradermal needle) ไดแก เข็มกด
(thumbtack type) และ เข็มสอดผิว หรือ เข็มทรงเมล็ดขาวสาลี (grain-like type)

2. เข็มปลายกลม หรือ เหยวียนเจิน (圆/员针 YuánZhēn: round point needle) ลักษณะ


ปลายเข็มเปนทรงกลมรูปไข ตัวเข็มยาวประมาณ 1.6 นิ้ว ใชกดนวดไปตามผิวหนังเพื่อรักษาโรคของ
กลามเนื้อ ปจจุบันใชในการนวดแผนจีน

3. เข็มทู หรือ ตีเจิน (鍉针 DīZhēn: blunt or spoon needle) ลักษณะตัวเข็มกลม ยาว
ประมาณ 3.5 นิ้ว ปลายเข็มสอบทูไมแหลมคม ใชกดจุดหรือกดไลไปตามแนวเสนลมปราณ สําหรับกรณี
ชี่พรอง

4. เข็มฉมวก หรือ เฟงเจิน (锋针 FēngZhēn: sharp-edged or lance needle) ลักษณะ


ปลายเข็มเปนทรงสามเหลี่ยมดานเทา ปลายสอบแหลมคลายยอดปรามิดมีความแหลมคม ตัวเข็มยาว
ประมาณ 1.6 นิ้ว ใชเจาะปลอยเลือดหรือเจาะฝที่อยูตื้น สําหรับรักษากลุมอาการปวด บวม หรือมีไข
ปจจุบันคือ เข็มสามเหลี่ยม หรือ ซันหลิงเจิน (三棱针 SānLíngZhēn: Three-edged needle)

5. เข็มกรีด หรือ ผีเจิน ( 铍针 PíZhēn: sword-shaped or stiletto needle) เข็มยาว


ประมาณ 4 นิ้ว กวาง 0.25 นิ้ว รูปลักษณคลายกระบี่ ใชสําหรับกรีดระบายหนอง
Page 13

บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม 3

6. เข็มกลมแหลม หรือ เหยวียนลี่เจิน (圆利针 YuánLìZhēn: round-sharp needle)


ลักษณะปลายเข็มกลมแหลมและใหญกวาตัวเข็ม ยาวประมาณ 1.6 นิ้ว ใชรักษาโรคกลามเนื้อ ฝ
บรรเทาปวดหรือบวมปวด

7. เข็มบาง หรือ เหาเจิน (毫针 HáoZhēn: filiform needle) ลักษณะตัวเข็มกลมบาง ยาว


ประมาณ 2.6 นิ้ว ปลายแหลมคม ใชปรับสมดุลเสนลมปราณ รักษาอาการรอนหรือเย็น ใชกระตุนจุด
เพื่อบํารุงหรือระบาย เข็มชนิดนี้ยังเปนที่นิยมใชอยางแพรหลายในปจจุบัน และเปนเข็มหลักที่ใชในการ
ฝงเข็มทั่วไป โดยยังคงรูปลักษณเดิม เกือบไมมีการเปลี่ยนแปลงเลย ยกเวนตัวเข็มที่บางกวาอดีต จาก
การใชโลหะสเตนเลส

8. เข็มยาว หรือ ฉางเจิน (长针 ChángZhēn: long needle) ตัวเข็มกลมคอนขางหนา ปลาย


เข็มแหลม ยาวประมาณ 7 นิ้ว ใชในการรักษาโรคในเนื้อเยื่อสวนลึก หรือกลุม อาการปวดเรื้อรัง ปจจุบัน
คือ หมังเจิน (## MángZhēn)

9. เข็มใหญ หรือ ตาเจิน (大针 DàZhēn: large or big needle) เข็มยาวประมาณ 4 นิว้ ตัว
เข็มกลมหนา ในอดีตใชรักษาโรคขอที่มีอาการบวมน้ํา ปจจุบัน คือ เข็มไฟ

ประเภทของเข็มในปจจุบัน
ปจจุบันการฝงเข็มไดรับการยอมรับใหเปนสวนหนึ่งในการรักษาโรคควบคูไปกับการแพทยแผน
ใหม เข็มในอดีตบางชนิดถูกยกเลิกไป เข็มที่ยงั คงไดรับการยอมรับใชกันอยางแพรหลาย ไดแก

1. เข็มบาง (毫针 HáoZhēn: Filiform needle)


เข็มบาง เปนเข็มที่นิยมใชแพรหลายมากที่สุด ตัวเข็มมีลักษณะกลม-บาง โดยมีขนาด
Page 14

4 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

เสนผาศูนยกลางของตัวเข็มใหญกวาเสนผมเพียงเล็กนอย ปลายเข็มแหลมคม ความยาวอยูระหวาง 5 –


125 มิลลิเมตร ปจจุบันเข็มสวนใหญทําดวยโลหะสเตนเลส ซึ่งมีความทนทาน ไมเปราะหรือหักงาย และ
ไมเปนสนิม โครงสรางของเข็มแบงเปน 5 สวน (รูปที่ 1.2) ไดแก
ปลายเข็ม หรือ ยอดเข็ม (tip) คือสวนปลายสุดของตัวเข็ม มีลักษณะแหลมคม เปนสวนที่แทง
นําผานเขาผิวหนัง
ตัวเข็ม (body) คือสวนระหวางปลายเข็มกับโคนเข็ม มีลักษณะเปนแทงกลม ตรง ผิวเรียบ
เปนสวนที่ใชแทงผานเขารางกาย ตัวเข็มเปนสวนที่ใชบอกขนาดของเข็ม กลาวคือ เสนผาศูนยกลางของ
เข็ม หมายถึง เสนผาศูนยกลางของตัวเข็ม และความยาวของเข็ม หมายถึง ความยาวของตัวเข็มตั้งแต
ปลายเข็มถึงโคนเข็ม (ไมรวมความยาวของดามเข็ม)
โคนเข็ม (root) สวนรอยตอระหวางดามเข็มกับตัวเข็ม เปนสวนที่เปราะที่สุดของเข็ม
ดามเข็ม (handle) เปนสวนที่พันรอบดวยลวดทองแดงหรือสเตนเลสขนาดเล็ก จากโคนเข็ม
จนถึงหัวเข็ม ทําใหมีขนาดใหญกวาตัวเข็มและไมลื่นหลุดงายเพื่อความสะดวกในการจับใชเข็ม ปองกัน
ไมใหเข็มลื่นไหลเขารางกายขณะคาเข็ม และใชติดอุปกรณเสริมการฝงเข็ม เชน กระตุนไฟฟา รมยา
หัวเข็ม หรือ หางเข็ม (tail) สวนปลายสุดดานตรงขามกับปลายเข็ม หรือสวนปลายของดาม
เข็ม มักทําเปนรูกลมเล็ก ๆ ใชเปนจุดสังเกตองศาในการหมุนเข็ม

รูปที่ 1.2 โครงสรางของเข็มบาง


ขนาดของเข็ม หมายถึง ขนาดความยาวและเสนผาศูนยกลางของตัวเข็ม โดยแสดงตัวเลข
เสนผาศูนยกลาง x ความยาว หนวยที่ใชมี 2 ระบบ ไดแก mm x mm (มิลลิเมตร) และ gauge
Page 15

บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม 5

number # x ชุน (cun) หรือ นิ้ว (”) สวนใหญมักจะบอกไวทั้งสองระบบ เชน 0.25 mm x 25 mm /


32# x 1” ตารางที่ 1.1 แสดงเสนผาศูนยกลางเปรียบเทียบ gauge number กับ มิลลิเมตร และ
ตารางที่ 1.2 แสดงความยาวเปรียบเทียบ ชุน หรือ นิ้ว กับ มิลลิเมตร ขอสังเกต ความยาว 1” = 25
mm แต 0.5” =15 mm อาทิ 0.5” = 15 mm, 1” = 25 mm, 1.5” = 40 mm, 2” = 50 mm เปน
ตน ขนาดเข็มที่นิยมใชอยูระหวาง gauge 26 – 32 # x 1 – 3”

ตาราง 1.1 เสนผาศูนยกลางของเข็ม เปรียบเทียบ gauge number และ มิลลิเมตร


Gauge: # 26 28 30 32 34
มิลลิเมตร: mm 0.45 0.38 0.32 0.25 0.22

ตาราง 1.2 ความยาวของเข็ม เปรียบเทียบ นิ้ว (cun, ”) และ มิลลิเมตร


นิ้ว (”) 0.5 1 1.5 2 2.5 3 3.5 4 4.5 5
mm 15 25 40 50 65 75 90 100 115 125

2. เข็มสามเหลี่ยม (三棱针 SānLíngZhēn: three-edged needle)


เข็มสามเหลี่ยม หรือ เข็มซันหลิง เปนเข็มที่พัฒนามาจากเข็มฉมวก หรือ เฟงเจิน ในอดีต เข็ม
ทําจากสเตนเลส ยาวประมาณ 2 ชุน สวนตัวเข็มกลมใหญเปนดามสําหรับจับ ปลายเข็มสอบเปนทรง
สามเหลี่ยมดานเทาปลายแหลมคมสําหรับเจาะหรือแทงตื้น ๆ ที่ผิวหนังหรือหลอดเลือดดําเพื่อทําใหเกิด
เลือดออก (รูปที่ 1.3)

รูปที่ 1.3 เข็มสามเหลี่ยม หรือ เข็มซานหลิง


Page 16

6 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

3. เข็มผิวหนัง (皮肤针 PíFūZhēn: dermal or cutaneous or skin needle)


เข็มผิวหนัง พัฒนามาจากการใชเข็มปกตื้น ๆ บริเวณผิวหนัง 3 วิธี ในอดีต ไดแก ปนชื่อ (半
刺 BànCì), เหมาชื่อ (毛刺 MáoCì) และ หยางชื่อ (扬刺 YángCì)
เข็มผิวหนังมีลักษณะคลายคอนขนาดเล็ก ดามจับในอดีตทําจากเขากระบือ ปจจุบันมักทําจาก
พลาสติกลักษณะแบนยาวประมาณ 15 – 19 ซม. ปลายดามดานหนึ่งเปนหัวเข็มลักษณะทรงกระบอก
ติดตั้งฉากกับดามเข็มทําใหมองดูคลายคอนขนาดเล็ก ตรงปลายหัวเข็มทรงกระบอกมีกลุมเข็มฝงยื่น
ปลายออกมาจํานวน 5 หรือ 7 เลม โดยเรียกชื่อตามจํานวนเข็มและการเรียงตัว ไดแก เข็ม 5 เลม เรียง
ตัวเปนกระจุกอยูตรงกลาง เรียกวา “เข็มดอกเหมย” (plum-blossom needle) และเข็ม 7 เลม เรียง
เปนจุดศูนยกลาง 1 เลม อีก 6 เลม ลอมรอบเปนวงกลม เรียกวา “เข็มเจ็ดดาว” (seven-star needle)
บางครั้งมีการใชเข็มผิวหนังที่มี 18 เลม เรียกวา “เข็มสิบแปดอรหันต”
เข็มผิวหนังใชเคาะไปตามผิวหนังบริเวณจุดฝงเข็มตามแนวเสนลมปราณ หรือเคาะผิวหนัง
บริเวณที่มีปญหา เพื่อกระตุนการไหลเวียนของเลือดและชี่ของระบบเสนลมปราณหรือตําแหนงที่เคาะ ซึ่ง
จะชวยฟนฟูหนาที่อวัยวะตาง ๆ รวมทั้งใชในการบรรเทาอาการเจ็บปวดดวย
ปจจุบันมีการพัฒนาเข็มผิวหนังเปน “เข็มกลิ้ง” (roller needle) มีลักษณะเปนดามจับ ตรง
ปลายดานหนึ่งเปนแกนทรงกระบอกกลิ้งไดรอบตัวและมีเข็มเล็ก ๆ จํานวนมากยื่นปลายออกมาจาก
ดานขางทรงกระบอก ใชกลิ้งไปบนผิวหนังเพื่อใหไดพื้นที่กวางและรวดเร็ว

รูปที่ 1.4 เข็มเจ็ดดาวและเข็มดอกเหมย


Page 17

บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม 7

รูป 1.5 เข็มกลิ้ง (roller needle)

4. เข็มสอดผิวหนัง (皮内针 PíNèiZhēn: Intradermal needle) ()


เข็มสอดผิวหนัง หรือ เข็มติดผิวหนัง เปนเข็มขนาดเล็กใชแทงสอดหรือกดลงไปในระดับชั้น
ผิวหนังแลวติดคาไว 1 – 3 วัน เพื่อเปนการกระตุนจุดที่ตองการอยางตอเนื่อง เข็มสอดผิวหนังมี 2
แบบ ไดแก เข็มกด (เข็มรูปตะปูกด: thumbtack type needle) และ เข็มสอดผิว (เข็มรูปเมล็ดขาว
สาลี: grain-like type needle)
เข็มกด มีลักษณะตัวเข็มขดเปนวงกลม ปลายเข็มยื่นฉากออกมาตรงกลางวงกลมยาว 0.2 –
0.3 ซม. มองคลายกับตะปูกดกระดาษ เข็มชนิดนี้มักนิยมใชติดจุดที่ใบหู แตสามารถใชติดบริเวณอื่น ๆ
ของรางกายไดเชนกัน
เข็มสอดผิว มีลกั ษณะหัวเข็มกลมเปนหวงเล็ก ๆ ปลายเข็มออกมาจากขางหวงยาว 1 ซม.
คลายเมล็ดขาวสาลี หรือ เข็มหมุดหัวแบน ใชสอดเขาในชั้นผิวหนังติดคาไวตามจุดที่ตอ งการ

รูปที่ 1.6 เข็มสอดผิวหนัง A. เข็มกด B. เข็มสอด

การเลือกเข็มและบํารุงรักษาเข็ม
โดยทั่ ว ไป เมื่ อ กล า วถึ ง “เข็ ม ” ที่ ใ ช ใ นการฝ ง เข็ ม จะเป น ที่ เ ข า ใจกั น ว า หมายถึ ง เข็ ม บาง
(filiform needle) จึงนิยมเรียกแบบกระชับวา เข็ม โดยไมระบุชนิด เวนแตตองการเข็มชนิดอื่น จึง
เรี ย กระบุ ช นิ ดตามความต อ งการ ในตํา ราเลมนี้ก็ เชน เดี ย วกัน เมื่อ กลาวถึงเข็ม และเทคนิค ต าง ๆ
Page 18

8 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

เกี่ยวกับเข็ม ใหเปนที่เขาใจวาหมายถึง เข็มบาง เวนแตตองการกลาวถึงเข็มชนิดอื่น จึงจะมีการระบุชนิด


เข็มไวอยางชัดเจน
เข็มใหมตองผลิตและบรรจุอยูในภาชนะปลอดเชื้อจนกวาจะถูกนํามาใชงาน เข็มทั้งเลมตองตรง
ไมคดงอ โดยเฉพาะตรงโคนเข็มซึ่งเปนสวนที่เปราะและหักงาย ตัวเข็มกลม ผิวเรียบ มีความยืดหยุน
สามารถโคงงอและคืนสภาพไดดี ปลายเข็มแหลมคมไมเปนเงี่ยงซึ่งอาจเกี่ยวทําลายเนื้อเยื่อในขณะ
ฝงเข็มได
โดยทั่วไปนิยมใชเข็มที่คอนขางบางกวาอดีต เมื่อใชเสร็จแลวควรทิ้งทําลายไมนํากลับมาใชซ้ํา
หากมีความจําเปนตองใชเข็มอันเดิมซ้ําใหใชซ้ํากับผูปวยรายเดิมเทานั้น หามใชเข็มซ้ํากับผูปวยรายอื่น
โดยหากมีแผนจะใชเข็มซ้ํา ควรเลือกใชเข็มที่หนาขึ้นกวาเข็มที่ใชครั้งเดียวเพราะเข็มหนากวาจะชํารุด
เสียหายนอยกวา เมื่อใชเสร็จแลวตองทําการคัดเลือกเข็มวายังอยูในสภาพใชงานไดอีกหรือไม เข็มที่ผาน
การใชงานแลวอาจมีความเสียหายอยูบางโดยเฉพาะที่ปลายเข็ม เข็มที่ถูกเลือกกลับมาใชซ้ําตองนําไปผาน
กระบวนการปลอดเชื้อกอนจึงจะนํากลับมาใชได ในระหวางขั้นตอนการทําปลอดเชื้อและการเก็บรักษา
สวนที่ตองระมัดระวังไมใหกระทบกระแทกเสียหายคือสวนปลายเข็ม

การปองกันการติดเชื้อ
การปองกันการติดเชื้อขณะฝงเข็มใหถือปฏิบัติเชนเดียวกับการฉีดยาเขาใตผิวหนังหรือเขา
กลามเนื้อซึ่งประกอบดวย
- สถานที่ฝงเข็มและสิ่งแวดลอมตองสะอาดถูกหลักอนามัย
- แพทยฝงเข็มตองทําความสะอาดมือตามขั้นตอนที่เหมาะสม
- เตรียมและทําความสะอาดตําแหนงที่จะทําการฝงเข็ม
- ทําปราศจากเชื้อเข็มและอุปกรณ และมีการเก็บรักษาอยางเหมาะสม

1. สถานที่ฝงเข็มและสิ่งแวดลอมสะอาด
หองฝงเข็มควรสะอาดปราศจากฝุนและจัดแบงเปนสัดสวน เตียงฝงเข็มปูคลุมดวยผาปลอด
เชื้อ วัสดุและอุปกรณตาง ๆ จัดวางอยูในถาดอยางเปนระเบียบ เชน เข็ม สําลี แอลกอฮอล 70% ปาก
คีบ ฯ ขณะที่ยังไมใชงานเตียงและวัสดุอุปกรณตาง ๆ ควรคลุมใหมิดชิดดวยผาสะอาดปลอดเชื้อ ถัง
ขยะ ขยะติดเชื้อ และภาชนะทิ้งของมีคม ควรจัดเตรียมและมีการทิ้งทําลายตามหลักการทางการแพทยที่
Page 19

บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม 9

เหมาะสม ภายในหองควรมีแสงสวางเพียงพอ มีระบบการระบายอากาศที่ดี สถานที่ใหบริการควรตั้งอยู


ในบริเวณที่สะอาด มีสิ่งแวดลอมที่ดี

2. การทําความสะอาดมือ
แพทยฝงเข็มควรลางมือใหสะอาดทุกครั้งกอนทําการรักษาผูปวย การลางมือซ้ําอีกครั้งในทันที
กอนจับเข็มแทงบนรางกายผูปวยเปนสิ่งสําคัญยิ่งในการปองกันการติดเชื้อ การลางมือควรฟอกสบูใหทั่ว
ถูขัดมือ นิ้วและเล็บอยางทั่วถึงแลวโกรกลางดวยน้ําสะอาดเปนเวลาอยางนอย 15 วินาที จากนั้นจึงเช็ด
ใหแหงดวยกระดาษเช็ดมือที่สะอาด
แพทยฝงเข็มจํานวนมากมักใชมือคลําไปบนตําแหนงฝงเข็มหลังจากเช็ดทําความสะอาดแลว ใน
กรณีนี้ควรทําความสะอาดนิ้วที่จะคลําซ้ําอีกครั้งกอนคลํา โดยการเช็ดดวย แอลกอฮอล 70%
การใชถุงมือหรือปลอกสวมนิ้วมือปราศจากเชื้อ แนะนําใหใชในกรณีที่แพทยมีบาดแผลที่มือ
หรือนิ้วมือ ซึ่งจะชวยปองกันการติดเชื้อไดทั้งสองฝาย แพทยที่มีแผลติดเชื้อที่มือควรงดทําการฝงเข็ม
จนกวาจะรักษาหาย

3. การเตรียมจุดฝงเข็ม
ตําแหนงที่จะแทงเข็มตองสะอาด ปราศจากบาดแผลหรือหรือลักษณะที่สอแสดงถึงการติดเชื้อ
จุดที่จะแทงเข็มใหเช็ดดวยแอลกอฮอล 70% การเช็ดใหเช็ดที่จุดแทงเข็มกอนแลวเช็ดวนรอบจุดเปนวง
ออกดานนอกคลายการเช็ดผิวกอนทําการผาตัด รอจนแอลกอฮอลแหงจึงแทงเข็ม

4. การทําปราศจากเชื้อเข็มและอุปกรณ
เข็มทุกประเภทรวมทั้งวัสดุอุปกรณตาง ๆ อาทิ ถวยครอบ ถาดใสอุปกรณ ปากคีบ สําลี ฯ
ตองไดรับการทําปราศจากเชื้อ
แนะนําใหใชเข็มปราศจากเชื้อที่ใชเพียงครั้งเดียวแลวทิ้งในทุกกรณี โดยไมละเลยตอเทคนิค
ปลอดเชื้อในขั้นตอนอื่น ๆ เข็มที่ใชเสร็จแลวควรทิ้งทันทีในภาชนะพิเศษสําหรับวัตถุมีคม
เข็มบางและเข็มสอดผิวหนังควรใชเพียงครั้งเดียวแลวทิ้ง เข็มดอกเหมยและเข็มเจ็ดดาวอาจใช
ซ้ํากับผูปวยรายเดิมไดอีกแตตองผานการทําปราศจากเชื้อกอนเสมอ หากตองใชซ้ํากับผูปวยรายอื่นควร
เลือกใชเข็มเจ็ดดาวที่สามารถเปลี่ยนหัวเข็มได โดยทําความสะอาดดามเข็มกอนใช
Page 20

10 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

อุปกรณที่สามารถนํากลับมาใชซ้ําไดควรนําไปแชลางทันทีในน้ํายาที่เตรียมไว แลวโกรกลางดวย
น้ําประปาและทําความสะอาดตามขั้นตอนการทําความสะอาดอุปกรณทางการแพทย จากนั้นจึงบรรจุหอ
เพื่อนําไปทําปราศจากเชื้อ
วัสดุอุปกรณที่ผานการทําปราศจากเชื้อแลวควรจัดเก็บไวในที่สะอาด ปลอดภัย มีการระบาย
อากาศดีและไมอับชื้น ระยะเวลาในการจัดเก็บตามวันหมดอายุซึ่งจะแตกตางกันตามแตละวัสดุอุปกรณ
และวิธีการทําปราศจากเชื้อ
4.1 วิธีการทําปราศจากเชื้อ (Sterilization)
การทําปราศจากเชื้อ หมายถึง การทําลายจุลินทรียทุกชนิดรวมถึงสปอรของแบคทีเรียดวย
โดยทั่วไปอุปกรณที่ทําจากโลหะหรือแกวมักทําปราศจากเชื้อดวยการอบไอน้ําภายใตแรงดัน อุณหภูมิ
และเวลาที่เหมาะสม (ตารางที่ 1.3) ซึ่งเปนวิธีที่สามารถทําลายเชื้อโรคและสปอรไดทุกชนิด รวดเร็ว ไมมี
สารเคมีหรือสารพิษตกคาง และมีใชกันอยางแพรหลาย

ตารางที่ 1.3 แรงดัน อุณหภูมิและเวลา ในการทําปราศจากเชื้อโดย


การอบไอน้ํา ( เชน autoclave, pressure cooker)
แรงดันที่ใช => 15 ปอนดตอตารางนิ้ว (PSI) (=101 kilopascals)
อุณหภูมิ ระยะเวลา (นาที)
115*C 30
121*C 15
126*C 10
134*C 3

4.2 การทําปลอดการติดเชื้อ (Disinfection)


การทําปลอดการติดเชื้อ เปนวิธีการทําลายจุลินทรียทุกชนิดเชนกัน แตไมสามารถทําลายสปอร
ของเชื้อโรคบางชนิดที่ทนตอการทําลายได การทําปลอดการติดเชื้อทําไดโดยการตมหรือแชในสารเคมี
หรือน้ํายาฆาเชื้อ ซึ่งนํามาใชทดแทนในกรณีที่ไมสามารถจัดเตรียมการทําปราศจากเชื้อได
การตมเปนเวลา 20 นาที เปนวิธีการที่ทําไดงายในการระงับจุลชีพกอโรคไดเกือบทั้งหมด
รวมทั้งไวรัสเอดสและไวรัสตับอักเสบ
Page 21

บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม 11

สารเคมีหรือน้ํายาฆาเชื้อใชสําหรับวัสดุอุปกรณที่ไมสามารถทนความรอนสูงได เชน อุปกรณที่


ทําจากยางหรือพลาสติก สารเคมีแตละชนิดมีประสิทธิภาพในการทําลายเชื้อที่หลากหลายไดแตกตางกัน
รวมทั้งมีการเสื่อมสภาพไปตามอายุและสภาพการใชงานจึงมีความนาเชื่อถือนอยกวาการตมและการทํา
ปราศจากเชื้อ นอกจากนี้สารเคมีอาจเปนอันตรายหรือระคายเคืองตอผิวของผูปวยไดจึงควรโกรกลาง
ดวยน้ําสะอาดกอนนําไปใช สารเคมีที่ใชเปนสารเคมีเชนเดียวกับที่ใชในการแพทยทั่วไป เชน เอธิล หรือ
ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล 70% (70% ethyl or isopropyl alcohol) หรือ สารละลาย กลูทารัลดีไฮด
2% (2% glutaraldehyde) เปนตน

การฝกฝนแทงเข็ม
เข็มที่ใชเพื่อการฝงเข็มเปนเข็มที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งบางและยาว ขณะที่ผิวหนังเนื้อเยื่อมีความ
หนาเหนียวและแรงตานทานสูง จึงไมใชเรื่องงายที่ผูไมผานการฝกฝนจะสามารถแทงเข็มผานผิวหนังลง
ไปได การฝกฝนการแทงเข็มจึงเปนสิ่งจําเปนที่แพทยฝงเข็มทุกคนจะตองฝกฝนจนชํานาญ การฝกแทง
เข็มแบงเปน 2 ขั้นตอน คือ ฝกแทงเข็มกับวัสดุจําลอง และฝกแทงเข็มกับรางกายตนเอง
การฝกแทงเข็มกับวัสดุจําลอง วัสดุที่ใชฝกแทงเข็มสามารถทําไดเองดวยกระดาษทิชชูหรือสําลี
โดยกระดาษทิชชูพับใหมีพื้นที่ 5 x 8 ซม. นํามาทบซอนกันจนแนนใหมีความหนาประมาณ 1 ซม. หอ
มัดดวยผากอซหรือใชสําลีอัดใหแนนเปนกอนกลมเสนผาศูนยกลาง 5 – 6 ซม. หอมัดดวยผากอซ การ
ฝกแทงเข็มใชมือซายจับตรึงวัสดุจําลอง มือขวาจับเข็มโดยใชนิ้วหัวแมมือและนิ้วชี้จับดามเข็ม นิ้วที่เหลือ
แผออกประคองตัวเข็มไมใหโคงงอ สงแรงดันจากขอมือดวยแรงที่พอเหมาะ หากดันเร็วหรือแรงเกินไป
เข็มจะคดงอ ขณะกดเข็มอาจปนเข็มไปกลับเล็กนอยดวยก็ได เมื่อสามารถผานเข็มลงไปไดแลว ใหฝก
ปนเข็มตามและทวนเข็มนาฬิกาดวยองศาที่เทากัน และฝกซอยเข็มโดยดึงเข็มขึ้นและกดเข็มลงดวยระยะ
ที่เทากัน เมื่อเริ่มตนฝกใหมควรใชเข็มที่หนาและสั้น จนเมื่อชํานาญจึงใชเข็มที่บางและยาวขึ้น และเพิ่ม
ความหนาของวัสดุจําลองขึ้นอีก (รูป 1.7)
การฝกแทงเข็มกับรางกายตนเอง เมื่อฝกกับวัสดุจําลองจนมัน่ ใจแลว ใหทดลองฝกแทงเข็ม
กับรางกายของตน ซึ่งจะทําใหผูฝกฝนมีประสบการณ ทั้งการควบคุมแรงในการแทงเข็มโดยไมรูสึกเจ็บ
จนเกินไปและไดรับความรูสึกของการถูกฝงเข็ม ตําแหนงที่งายตอการฝกแทงเข็มตนเองคือบริเวณตนขา
เมื่อชํานาญแลวจึงฝกแทงตามจุดตาง ๆ ที่ตองการ รวมถึงอาจทดลองรักษาตนเองดวยการฝงเข็ม วา
Page 22

12 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ไดผลจริงหรือไม หากรักษาตนเองไมไดผลคงยากที่จะรักษาคนอื่นใหไดผล การแทงเข็มใหกับตนเองใน


ตําแหนงจุดและเทคนิคที่ถูกตองจะไมเกิดผลเสียใด ๆ เลย

รูป 1.7 การฝกฝงเข็มกับวัสดุจําลอง

การจัดทาผูป วยเพื่อการฝงเข็ม
การจัดทาผูปวยที่เหมาะสมนอกจากจะชวยใหสามารถฝงเข็มและกระตุนเข็มในจุดที่ตองการได
สะดวกแลว ยังชวยลดภาวะแทรกซอนจากการฝงเข็ม เชน เข็มติด เข็มงอ เข็มหัก ไดดวย การจัดทา
ผูปวยควรคํานึงถึงทั้งดานผูปวยและแพทย กลาวคือ ผูปวยอยูในทาที่สบายและผอนคลายสามารถให
ความรวมมือไดจนเสร็จสิ้นการรักษา และแพทยสามารถใหการรักษาไดอยางมีประสิทธิภาพ ทาที่มักใช
กันโดยทั่วไปในการฝงเข็ม ไดแก
1. ทานอนหงาย (supine) เหมาะสําหรับการฝงเข็มบริเวณ ศีรษะ ใบหนา อก ทอง แขนและ
ขา (รูป 1.8)
2. ทานอนคว่ํา (prone) เหมาะสําหรับการฝงเข็มบริเวณ ศีรษะ คอ ลําตัวดานหลัง และแขน-
ขาดานหลัง (รูป 1.9)
3. ทานอนตะแคง (lateral recumbent) เหมาะสําหรับการฝงเข็มบริเวณดานขางของลําตัว
และแขน-ขา (รูป 1.10)
4. ทานั่งคว่ําหนา (sitting in flexion) เหมาะสําหรับการฝงเข็มบริเวณ ศีรษะ คอและหลัง
(รูป 1.11)
5. ทานั่งตัวตรงวางศอกบนโตะ (sitting erect with elbows resting on a table) เหมาะ
สําหรับการฝงเข็มบริเวณ ศีรษะ คอ ไหล แขน (รูป 1.12)
Page 23

บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม 13

6. ทานั่งตะแคง (sitting with one side of the body exposing the practitioner) เหมาะ
สําหรับการฝงเข็มบริเวณ ขางศีรษะ หู และ ใบหนา ดานที่ตะแคงขึ้น (รูป 1.13)
7. ทานั่งเอนหลังพิงพนักเกาอี้ (straight sitting with the back leaning against the
chair) เหมาะสําหรับการฝงเข็มบริเวณ ศีรษะ หนา คอ อก และแขน-ขา (รูป 1.4)

รูป 1.8 ทานอนหงาย รูป 1.9 ทานอนคว่ํา

รูป 1.10 ทานอนตะแคง

รูป 1.11 ทานั่งคว่ําหนา [[Fig. 139]]


Page 24

14 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

รูป 1.12 ทานั่งตัวตรงวางศอกบนโตะ

รูป 1.13 ทานั่งตะแคงหนา [[Fig. 2-147]]

รูป 1.14 ทานั่งเอนหลังกับพนักเกาอี้


Page 25

บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม 15

ขั้นตอนและวิธีการฝงเข็ม
1. การแทงเข็ม (进针法 JìnZhēnFǎ: Insertion)
การแทงเข็มควรใชทั้งสองมือรวมกันจึงจะทําใหการฝงเข็มดําเนินไปอยางมีประสิทธิภาพ โดย
มือขวาเปนมือที่ใชจับและออกแรงแทงเข็ม สวนมือซายใชเพื่อกดคลึงไปยังตําแหนงจุดเพื่อหาจุดและยึด
ตรึงพื้นผิวที่จะแทงเข็ม ความสําคัญของการใชทั้งสองมือในการแทงเข็มมีการเนนย้ําและสอนปฏิบัติมา
แตโบราณ อาทิ คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง ภาคหลิงซู บทที่ 1 กลาววา “การฝงเข็มใหใชมือขวาในการแทงเข็ม
และใช มื อ ซ า ยในการช ว ยแทง” คั ม ภี ร 81 ป ญ หาทางการแพทย กล า วว า “หมอฝ ง เข็ ม ที่ ด อ ย
ประสบการณมักใชเพียงมือขวาเทานั้น ขณะที่หมอฝงเข็มที่มีประสบการณจะเชื่อมั่นในความสําคัญของ
มือซายดวย” และ “กดใหหนักดวยมือซายเพื่อกระจายชี่ แลวใชมือขวาบรรจงแทงเข็มอยางนุมนวลเพื่อ
หลีกเลี่ยงความเจ็บปวด”
โดยทั่วไปนิยมใชมือขวาในการจับและออกแรงแทงสงเข็มเขาจุด โดยใชนิ้วหัวแมมือและนิ้วชี้
จีบจับที่ดามเข็มใหแนน นิ้วกลางและ/หรือนิ้วที่เหลือแผออกไปตามตัวเข็มเพื่อประคองเข็มไมใหโคงงอ
ขณะออกแรง โดยออกแรงดันมาจากขอมือสงผานไปยังนิ้วที่ดามเข็ม ซึ่งจะทําใหควบคุมแรงและจังหวะ
ในการแทงเข็มไดงาย และผูฝงเข็มไมเกิดอาการเมื่อยลาของมือ การใชมือซายชวยในการแทงเข็มมีหลาย
วิธี ตามความยาวของเข็มและตําแหนงจุดที่แตกตางกัน ดังนี้

1.1 ขวาแทง-ซายกด (inserting the needle aided by the pressure of the finger of the
pressing hand)
กดตรึงขาง ๆ จุดฝงเข็มดวยปลายนิ้วหรือปลายเล็บนิ้วหัวแมมือหรือนิ้วชี้ของมือซาย มือขวา
จับเข็มแทง โดยวางปลายเข็มใหชิดกับปลายนิ้วมือที่กดตรึงอยู แลวออกแรงบรรจงแทงเข็มไปยังจุด วิธี
นี้เหมาะสําหรับการแทงเข็มสั้นและจุดบริเวณมือ-เทา แขน-ขา เชน HeGu (LI 4), NeiGuan (PC 6),
ZhaoHai (KI 6) (รูป 1.15)
Page 26

16 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

รูป 1.15 มือหนึ่งแทงเข็มอีกมือชวยกด


1.2 ขวาจับดาม-ซายจับปลาย (inserting the needle with the help of the puncturing and
pressing hands)
มือซายจับปลายเข็มดวยนิ้วหัวแมมือและนิ้วชี้ ใหปลายเข็มโผลพนออกมา 0.2 - 0.3 ซม. จิ้ม
ปลายเข็มบนตําแหนงจุด มือขวาจับดามและประคองเข็มเหมือนปกติ ออกแรงบรรจงสงเข็มไปยังจุดที่
ตองการ วิธีนี้เหมาะสําหรับตําแหนงจุดอยูลึกและเข็มมีขนาดยาวเกินกวาที่นิ้วมือขวาจะประคองเข็มไวได
เชน HuanTiao (GB 30), ZhiBian (BL 54) (รูป 1.16)

รูป 1.16 มือหนึ่งจับดามอีกมือจับปลาย [[Fig. 146]]


1.3 ขวาแทง-ซายยืดผิว (Inserting the needle with the fingers stretching the skin)
มือซายใชนิ้วหัวแมมือและนิ้วชีจ้ ีบชิดกันแลววางกดแนบกับผิวหนังบนตําแหนงจุดฝงเข็ม กาง
ซึ่งอยูระหวางนิ้วทั้งสอง ผิวหนังที่ตึงเรียบจะงายตอการแทงเข็มและลดความเจ็บปวดขณะแทงเข็ม วิธีนี้
เหมาะสําหรับการแทงเข็มบริเวณที่ผิวหนังหยอนยาน อาทิ บริเวณหนาทอง เชน TianShu (ST 25),
GuanYuan (CV 4) (รูป 1.17)
Page 27

บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม 17

รูป 1.17 มือหนึ่งแทงเข็มอีกมือกดยืดผิวหนัง

1.4 ขวาแทง-ซายดึงผิว (Inserting the needle by pinching the skin)


ใชนิ้วหัวแมมือและนิ้วชี้มือซายหยิบจับผิวหนังบนตําแหนงจุดฝงเข็ม ดึงขึ้นใหผิวหนังยนชิดกัน
เล็กนอย แลวใชมือขวาแทงเข็มลงไปอยางรวดเร็ว วิธีเหมาะกับการฝงเข็มในตําแหนงที่ผิวหนังที่คอนขาง
บาง อาทิ ใบหนา เชน ZanZhu (BL 2), DiCang (ST 4), YinTang (Extra) (รูป 1.18)

รูป 1.18 มือหนึ่งแทงเข็มอีกมือหยิบดึงผิวหนัง


2. มุมและความลึกในการแทงเข็ม
มุมและระดับความลึกที่เหมาะสมในการแทงเข็มขึ้นอยูกับหลายปจจัย ไดแก ตําแหนงของจุด
ฝงเข็ม จุดประสงคในการฝงเข็มและรูปรางของผูปวย
2.1 มุมในการแทงเข็ม
มุมในการแทงเข็ม หมายถึง มุมระหวางตัวเข็มกับผิวหนัง โดยทั่วไปแบงมุมในการแทงเข็มเปน
3 แบบ ไดแก แทงฉาก แทงเฉียงและแทงราบ (รูป 1.19)
Page 28

18 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

แทงฉาก หรือ แทงตรง (直刺 ZhíCì: Perpendicular insertion) หมายถึง การแทงเข็มที่


ตัวเข็มทํามุมกับผิวหนังเปนมุมฉากหรือ 90 องศา จุดฝงเข็มสวนใหญใชการแทงฉาก
แทงเฉียง (斜刺 XiéCì: Oblique insertion) หมายถึง การแทงเข็มที่ตัวเข็มทํามุมกับ
ผิวหนังประมาณ 45 องศา เหมาะสําหรับจุดที่ตื้นหรือมีกลามเนื้อนอย หรือจุดที่เสี่ยงเปนอันตรายตอ
อวัยวะภายใน เชน บริเวณทรวงอก บริเวณหลังสวนอก
แทงราบ (平刺 PíngCì: Horizontal insertion) หมายถึง การแทงเข็มที่ตัวเข็มทํามุมกับ
ผิวหนังนอยกวา 30 องศา เหมาะสําหรับจุดที่ตื้นมีกลามเนื้อบาง เชน จุดบริเวณกะโหลกศีรษะ

รูป 1.19 มุมในการแทงเข็ม A. แทงฉาก (แทงตรง) B. แทงเฉียง C. แทงราบ

2.2 ความลึกในการแทงเข็ม
ในเชิงทฤษฎีความลึกที่เหมาะสมคือความลึกที่เข็มสามารถกระตุนความรูสึกไดชี่โดยไมเปน
อันตรายตอเนื้อเยื่อหรืออวัยวะภายใน ในทางคลินิกความลึกของการแทงเข็มขึ้นกับหลายปจจัย ไดแก
- ตําแหนงของจุดฝงเข็ม เชน จุดบริเวณศีรษะและใบหนา จะแทงเข็มตื้นกวาจุดตามรางกาย
- รูปรางของผูปวย ผูปวยรูปรางอวนใหญมักตองแทงเข็มใหลึกกวาผูที่มีรูปรางผอมบาง
- พยาธิสภาพของผูปวย ผูที่ออนแอ อายุมาก หรือเด็ก ควรแทงเข็มตื้นกวาผูที่แข็งแรง
3. การไดชี่ การรอชี่ และการเรียกชี่
3.1 การไดชี่
Page 29

บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม 19

การไดชี่ (得气 DéQì: Arrival of Qi) หรือ ปฏิกิริยาตอเข็ม (needling sensation)


หมายถึง ความรูสึกถึงการออกฤทธิ์ของเข็มเมื่อแทงเข็มลงไปถึงจุด โดยผูปวยอาจรูสึกปวด, ชา, พอง
แน น หรื อ รู สึ ก หน ว งบริ เ วณรอบจุ ดที่ ฝง เข็ ม หรื อ อาจรู สึก แล น กระจายขึ้ น หรื อ ลงไปตามแนวเส น
ลมปราณ ในขณะเดียวกันแพทยฝงเข็มจะรูสึกวาเข็มในมือตึงแนนเหมือนถูกหนวงเอาไว คัมภีรโบราณ
เปรียบเทียบวา ‘รูสึกหนวงเหมือนปลากระตุกสายเบ็ด’
การไดชี่มีความสําคัญมากในการฝงเข็มใหไดผลในการรักษา คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง ภาคหลิงซู บท
ที่ 1 กลาววา “การรักษาโรคดวยการฝงเข็มจะไมเกิดผลใด ๆ หากไมเกิดการไดชี่” ในคัมภีรแพทยยุคตอ
ๆ มา ยังคงเนนย้ําเรื่องการไดชี่กับผลของการรักษาดวยการฝงเข็ม โดยการไดชี่เร็วบงชี้วาการรักษาจะ
ไดผลดี การไดชี่ที่เนิ่นชาไปบงชี้วาผลของการรักษาจะดอยลง
โดยทั่วไปเมื่อเข็มแทงไปถึงจุดแลวมักเกิดอาการไดชี่ในทันที ในกรณีที่ไมรูสึกไดชี่ แพทยควร
กระตุนเข็มเพื่อใหเกิดการไดชี่เสมอ การกระตุนเข็มขั้นตนเพื่อการไดชี่มี 2 วิธี โดยอาจใชวิธีเดียวหรือทั้ง
สองวิธีรวมกันก็ได ไดแก
3.1.1 การซอยเข็ม (提插法 TíChāFǎ: Lifting and Thrusting)
เมื่อแทงเข็มลึกไปถึงจุดที่ตองการแลว ใหถอนเข็มขึ้ นจนปลายเข็มอยูระดับชั้นใตผิวหนั ง
จากนั้นดันกลับไปยังตําแหนงความลึกเดิมในทิศทางเดิม แลวทําซ้ําอีกจนเกิดผลตามตองการ แตไมควร
ทํามากเกินไปเพราะจะทําใหเนื้อเยื่อบริเวณนั้นเสียหายและเกิดอาการเจ็บปวด ระยะการซอยเข็มที่กวาง
และเร็วจัดเปนการกระตุนแรง ระยะการซอยเข็มที่สั้นและชาจัดเปนการกระตุนที่เบากวา (รูป 1.20)

รูป 1.20 การซอยเข็ม


Page 30

20 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

3.1.2 การปน เข็ม (捻转法 NiānZhuǎnFǎ: Twirling or Rotating)


เมื่อแทงเข็มลึกไปถึงจุดที่ตองการแลว จับดามเข็มดวยนิ้วหัวแมมือและนิ้วชี้ ดันนิ้วหัวแมมือไป
ที่ปลายนิ้วชี้ ดามเข็มจะถูกปนใหหมุนไปตามเข็มนาฬิกาประมาณ 1/2 – 1 รอบ หรือ 180 – 360 องศา
แลวดึงหัวแมมือกลับ เข็มจะปนกลับหมุนทวนเข็มนาฬิกาในองศาเทาเดิม ทําซ้ําจนเกิดผลตามตองการ
การปนไปดานเดียวหลายรอบอาจทําใหปลายเข็มเกี่ยวพันกับเนื้อเยื่อรอบเข็ม ทําใหเนื้อเยื่อเสียหายเกิด
อาการเจ็บปวด เข็มติดหรือถอนเข็มไมได (รูป 1.21)

รูป 1.21 การปน เข็ม

3.2 การรอชี่และการเรียกชี่
เมื่อแทงเข็มและกระตุนเข็มขั้นตนเพื่อการไดชี่แลว ผูปวยไมเกิดความรูสึกหรือไมมีสัญญาณ
ของการไดชี่ อาจคาเข็มไวชั่วคราวแลวคอยกลับมากระตุนซ้ําใหม วิธีนี้เรียกวา “การรอชี่” (候气
HòuQì: waiting for Qi) นอกจากการรอชี่แลว อาจใชเทคนิคเพื่อเรงใหเกิดการมาของชี่ เรียกวา
“เทคนิคเสริม (supplementary manipulation techniques) หรือ การเรียกชี่ (催气 CuīQì:
promoting Qi)” ซึ่งมี 6 วิธี ไดแก

3.2.1 การกด (循法 XúnFǎ: Pressing)


ใชนิ้วหัวแมมือกดไลไปตามแนวเสนลมปราณของจุดที่ฝงเข็มแลวไมเกิดอาการไดชี่ กดไลไป
และกลับมายังจุดฝงเข็ม การกดไลตามเสนลมปราณเปนการเรงเราการไหลเวียนของชี่ในเสนลมปราณไป
Page 31

บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม 21

ยังจุดที่ฝงเข็มเพื่อใหเกิดการไดชี่ วิธีนี้เหมาะกับรายที่มีอาการชี่ติดขัดและมีปฏิกิริยาการไดชี่เนิ่นชากวา
ปกติ (รูป 1.22)

รูป 1.22 การกด


3.2.2 การเกา (刮法 GuāFǎ:Scraping)
ใชนิ้วหัวแมมือหรือนิ้วชี้หรือนิ้วกลาง วางแตะบนหัวเข็มใชแรงกดเพียงเพื่อปองกันไมใหเข็มโยก
หนีขณะเกาเข็ม หากแตะกดแรงเกินเข็มจะโคงงอหรือเคลื่อนลึกลงไป จากนั้นใชปลายเล็บนิ้วที่ถนัดของ
มือเดียวกัน เกาหรือขูดที่ดามเข็มขึ้นหรือลงก็ได หากใชนิ้วชี้แตะหัวเข็มจะใชนิ้วหัวแมมือเกาขึ้น หากใช
นิ้วหัวแมมือแตะหัวเข็มมักใชนิ้วชี้เกาขึ้นหรืออาจใชนิ้วกลางก็ได หากใชนิ้วกลางแตะหัวเข็มสามารถใช
นิ้วชี้เกาเข็มลงและนิ้วหัวแมมือเกาเข็มขึ้นไดทั้งสองทิศทาง (รูป 1.23)

รูป 1.23 การเกา

3.2.3 การดีด (弹法 TánFǎ: Plucking)


ใชนิ้วชี้ดีดเบา ๆ ที่ดามเข็มเพียงแคใหเข็มเกิดการไหวสั่น การไหวสั่นของเข็มเปนการเสริมการ
ไหลเวียนของชีแ่ ละทําใหเกิดอาการไดชี่เร็วขึ้น วิธีนี้ยังสามารถใชเพื่อเปนการกระตุนเข็มซ้ําระหวางการคา
เข็ม รวมทั้งยังใชเปนการกระตุนเพื่อเสริมบํารุงชี่ไดดวย (รูป 1.24)
Page 32

22 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

รูป 1.24 การดีด


3.2.4 การโยก (摇法 YáoFǎ: Shaking)
ใชมือจับที่ดามเข็มแลวโยกเข็มเปนวงแคบ ๆ คลายการกรรเชียงเรือ การโยกเข็มนอกจากเปน
การเสริมใหเกิดการไดชี่ ยังจัดเปนการกระตุนเข็มเพื่อระบายชีไ่ ดดวยโดยการโยกเข็มพรอมกับถอนเข็ม
ออก (รูป 1.25)

[[-----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป------]]
[[-----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป------]]
[[-----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป------]]
[[-----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป------]]

3.2.5 การย้ํา (搓法 CuōFǎ: Trembling)


การย้ําเข็มมี 2 ลักษณะ ไดแก การซอยเข็มสั้นและเร็ว และการปนเข็มแคบและเร็ว โดยจับที่
ดามเข็มดวยนิ้วหัวแมมือและนิ้วชี้ การซอยเข็มสั้นและเร็วโดยการดึงเข็มขึ้นและดันลงใหปลายเข็ม
Page 33

บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม 23

เคลื่อนขึ้นและลงจากจุดเพียงเล็กนอยทําซ้ําอยางรวดเร็ว สวนการปนเข็มแคบและเร็วเปนการปนดาม
เข็มใหเข็มหมุนในองศาเล็กนอยไมถึงครึ่งรอบ ปนไปและกลับอยางรวดเร็ว โดยอาจทําทั้ง 2 ลักษณะไป
พรอมกันก็ได เปนวิธีเรงใหเกิดอาการไดชี่และกระตุนการไหลเวียนของชี่

รูป 1.25 การย้าํ


3.2.6 การบิน (飞法 FēiFǎ: Flying)
นิ้วหัวแมมือและนิ้วชี้จับที่ดามเข็มปนไปและกลับดวยองศาเล็กนอยและเร็วหลายครั้ง แลวเดง
นิ้วทั้งสองออกจากกันปลอยเข็มเปนอิสระอยางรวดเร็ว ซึ่งจะเห็นเข็มสั่นไหวตออีกเล็กนอยหลังจาก
ปลอยมือ ทําซ้ําจนเกิดอาการไดชี่ การเดงนิ้วมือออกจากกันอยางรวดเร็วมองดูคลายการกระพือปกบิน
ของนก จึงเรียกวิธีนี้วา การบิน (รูป 1.26)

รูป 1.26 การบิน


Page 34

24 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

3.3 ปจจัยทีม่ ีอิทธิพลตอการไดชี่


3.3.1 ตําแหนงจุดไมถูกตอง: ตําแหนงจุดที่ถูกตองเปนสิ่งสําคัญมากในการฝงเข็มเพื่อใหเกิด
อาการไดชี่และไดผลดีในการรักษา
3.3.2 ความลึกของการแทงเข็มไมเหมาะสม: จุดฝงเข็มแตละจุดมีระดับความลึกแตกตางกัน
หรือแมแตจุดเดียวกันของผูปวยตางรายก็มีความลึกตางกันดวย การแทงเข็มที่ตื้นหรือลึกเกินไปลวนมี
ผลกระทบตอการไดชี่
3.3.3 วิธีการกระตุนเข็มไมสมบูรณ: การกระตุนเข็มที่ถูกตองและพอเหมาะพอดีเปนสิ่งที่ตอง
ฝกฝนใหชํานาญ การกระตุนเข็มที่ไมสมบูรณยอมกระทบตอการไดชี่และผลการรักษา
3.3.4 สภาพรางกายของผูปวย: ในคัมภีรหฺวังตี้เนยจิง ภาคหลิงซู บทที่ 67 กลาววา “ผูที่มี
หยางชี่สมบูรณมักเกิดการไดชี่อยางรวดเร็ว ผูที่มีอินแกรงและหยางพรองมักเกิดการไดชี่เนิ่นชาหรือดอย
ไป” กลาวอีกนัยหนึ่ง สภาพรางกายที่ออนแอมีผลกระทบใหการไดชี่เนิ่นชา

4 วิธีกระตุนเข็มเพื่อบํารุงและระบาย
การกระตุนเข็มเพื่อ “บํารุง (补 Bǔ: reinforcing)” และ “ระบาย (泻 Xiè: reducing)” เปน
วิธีกระตุนเข็ม 2 แบบ ที่ตรงขามกันและใหผลในการรักษาตางกัน คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง กลาววา “การ
กระตุนเพื่อบํารุงสําหรับกลุมอาการพรองและการระบายสําหรับกลุมอาการแกรง” วิธีกระตุนเข็มที่
สามารถเพิ่มภูมิตานทานและสมรรถภาพการทํางานของอวัยวะที่พรองหนาที่ได เรียกวา “บํารุง” สวนวิธี
กระตุนเข็มที่สามารถขจัดปจจัยกอโรคและปรับสมดุลอวัยวะที่ทําหนาที่มากเกิน เรียกวา “ระบาย"
ในทางปฏิบัติการกระตุนทั้งสองวิธีมีความสําคัญและมีขอบงใชอยางชัดเจนในการปรับการทําหนาที่ของ
อวัยวะภายในและปรับดุลยภาพของอิน-หยาง ขึ้นกับพยาธิสภาพของผูปวย
ในกรณีที่ผูปวยตัวเย็นและสัญญาณชีพออนพรองตองกระตุนเพื่อฟนฟูบํารุงหยางขึ้นมากอน
ในขณะที่ผูปวยที่มีอาการตัวรอนจัดจากการกระทําของปจจัยกอโรคภายนอกตองกระตุนเพื่อระบายรอน
และขจัดปจจัยกอโรค การกระตุนเข็มที่เหมาะสมไมเพียงชวยบรรเทาอาการปวยแตยงั ชวยปรับสมดุล
อวัยวะภายในไดอีกดวย ตัวอยาง อาการปวดทองจากกระเพาะอาหารและลําไสหดเกร็ง การฝงเข็มไม
เพียงคลายอาการหดเกร็งเพื่อบรรเทาปวดเทานั้น ยังชวยใหการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร
เปนไปอยางสมดุล อยางไรก็ตามผลของการฝงเข็มยังขึ้นอยูกับความสมบูรณของ ชี่ที่ปกปองรางกาย
Page 35

บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม 25

หรือ เอวยชี่ (卫气 WèiQì: defensive Qi) ในผูปวยแตละรายดวย ถาเอวยชี่สมบูรณการกระตุนชี่ใน


เสนลมปราณยอมทําไดงายและไดผลดี ในทางตรงขาม ถาเอวยชี่ออ นพรองยอมยากที่จะกระตุนให
เกิดผล
สรรพคุณพิเศษของจุดฝงเข็มบางจุดมักถูกเลือกใชเพื่อการกระตุนบํารุงหรือระบายโดยเฉพาะ
จุดที่มักถูกเลือกใชเพื่อการบํารุงรางกาย เชน QiHai (CV 6), GuanYuan (CV 4), MingMen (GV
4), ZuSanLi (ST 36) จุดที่มักถูกใชเพื่อการระบายรอนออกจากรางกาย เชน ShaoShang (LU 11)
และ ShiXuan (EX-UE 11)

4.1 เทคนิคในการกระตุนเข็มเพื่อบํารุงและระบาย
เทคนิคในการกระตุนเข็มเพื่อบํารุงหรือระบาย มีการพัฒนาคนควาและรวบรวมไวในคัมภีร
แพทยสืบทอดกันมา จนถึงปจจุบันเทคนิคตาง ๆ เหลานี้ยังคงใชไดผลดีในทางคลินิก วิธีกระตุนสวน
ใหญในการบํารุงและระบายจะเปนการกระตุนเข็มที่ตรงขามกัน ในบทนี้รวบรวมวิธีที่มีการสอนและการ
ใชอยางแพรหลาย สามารถเลือกใชวิธีใดวิธีหนึ่งหรือใชหลายวิธีรวมกันก็ได ตามความเหมาะสมของ
พยาธิสภาพผูปวยและตําแหนงของจุดฝงเข็ม
อนึ่ ง การกระตุ น เข็ ม เพื่ อ บํ า รุ ง หรื อ ระบายจะพิ จ ารณาทํ า เป น ขั้ น ตอนต อ จากการได ชี่ แ ล ว
กลาวคือ เมื่อแทงเข็มไปถึงจุดที่ตองการผูปวยควรเกิดอาการไดชี่กอน หากไมเกิดการไดชี่ตองทําการรอ
ชี่หรือเรียกชี่จนกวาจะเกิดอาการไดชี่ จากนั้นจึงทําการกระตุนเพื่อบํารุงหรือระบายตอไป
4.1.1 บํารุงหรือระบายโดยการดันหรือดึงเข็ม (Reinforcing and Reducing by Lifting and
Thrusting the Needle)
คัมภีร 81 ปญหาทางการแพทย กลาววา “การกดเข็มลงลึกอยางหนักคือการกระตุนบํารุง
ขณะที่การดึงเข็มขึ้นมายังสวนตื้นอยางแรงคือการระบาย” เทคนิคของการบํารุงหรือระบายดวยวิธีนี้อยูที่
“ความแรงและความเร็ว” ในการดันเข็มลงลึกหรือดึงเข็มมายังสวนตื้น โดยเมื่อแทงเข็มลงไปถึงจุดที่
ตองการและเกิดการไดชี่แลว หากตองการบํารุงใหดึงขึ้นมายังชั้นใตผิวหนังอยางชาและเบามือแลวดัน
เข็มกลับไปยังจุดเดิมดวยความแรงและเร็ว หากตองการระบายใหดึงเข็มขึ้นมายังชั้นใตผิวหนังอยางแรง
และเร็วแลวดันเข็มกลับไปยังจุดเดิมอยางชา ๆ ดวยความเบามือ
Page 36

26 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

4.1.2 บํารุงหรือระบายโดยการปนเข็ม (Reinforcing and Reducing by Twirling and Rotating


the Needle)
เทคนิคในการบํารุงหรือระบายดวยวิธีนี้ คือ “ความแรง ความเร็ว และความกวาง (องศา)” ใน
การปนเข็มหลังจากเกิดอาการไดชี่แลว โดยการปนเข็มอยางเบามือ ชาและองศาแคบจัดเปนการกระตุน
บํารุง ในทางกลับกัน การปนเข็มอยางแรง เร็วและองศากวางจัดเปนการระบาย คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง
ภาคหลิงซู บทที่ 37 กลาววา “ปนเข็มเชื่องชาคือการบํารุง ปนเข็มรวดเร็วเพื่อเรงการไหลเวียนชี่คือวิธี
ระบาย”
อีกเทคนิคหนึ่งในการปนเข็มเพื่อบํารุงหรือระบาย คือ ความแรง-เร็วและความกวางในการปน
เข็มตามหรือทวนเข็มนาฬิกา การปนเข็มโดยดันหัวแมมือไปขางหนาดวยความแรง เร็วและองศากวาง
จัดเปนการบํารุง ในทางตรงขามการปนเข็มโดยถอยหัวแมมือกลับ (ดันนิ้วชี้ไปขางหนา) ดวยความแรง
เร็วและองศากวางจัดเปนการระบาย คัมภีรแพทยบทนําสูการฝงเข็มและรมยา กลาววา “ปนเข็มโดยดัน
นิ้วหัวแมมือไปขางหนาคือการบํารุง ปนเข็มโดยถอยหัวแมมือมาขางหลังคือการระบาย”
4.1.3 บํารุงหรือระบายโดยความเร็ว-ชาของการแทงและถอนเข็ม (Reinforcing and Reducing
Achieved by Rapid and Slow Insertion and Withdrawal of the needle)
เทคนิคในการบํารุงหรือระบายดวยวิธีนี้ คือ “ความเร็วในการแทงและถอนเข็ม” การกระตุน
บํารุงทําโดยการแทงเข็มอยางชา ๆ ไปยังความลึกที่ตองการ จากนั้นดึงเข็มอยางรวดเร็วใหปลายเข็มมา
อยูใตตอชั้นผิวหนัง พักเข็มไวชั่วครูแลวถอนออก ในทางกลับกัน การระบายทําโดยการแทงเข็มอยางเร็ว
รวดเดียวไปยังความลึกที่ตองการ จากนั้นคอย ๆ ถอนเข็มออกผานแตละชั้นมาอยางชา ๆ คัมภีรหฺวังตี้
เนยจิง ภาคหลิงซู บทที่ 1 กลาววา “แทงเข็มชาและถอนเร็วคือวิธีบํารุง แทงเข็มเร็วและถอนชาคือวิธี
ระบาย”
4.1.4 บํารุงหรือระบายโดยการปดหรือเปดรูถอนเข็ม (Reinforcing and Reducing Achieved by
Keeping the hole Open or Close)
คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง ภาคซูเอวิ่น บทที่ 53 กลาววา “กลุมอาการแกรงเกิดจากการรุกรานของ
ปจจัยกอโรคภายนอก ขณะที่กลุมอาการพรองเกิดจากการสูญเสียชีใ่ นเสนลมปราณหรือเจิ้งชี่ (正气
ZhèngQì: Vital Qi) ออกไป” เมื่อถอนเข็มออกใหรีบกดปดรูถอนเข็มในทันทีเพื่อกันไมใหเสียเจิ้งชี่
จัดเปนการบํารุง ในทางกลับกันขณะถอนเข็มใหโยกเข็มเพื่อทําใหรูถอนเข็มกวางขึ้น เมื่อดึงเข็มออก
Page 37

บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม 27

ปลอยใหรูถอนเข็มเปดไวชั่วครู จัดเปนการระบาย
4.1.5 บํารุงหรือระบายโดยทิศทางของปลายเข็ม (Reinforcing and Reducing Achieved by the
Direction of Needle tip pointing to)
ทิศทางของปลายเข็มชี้ไปตามแนวการไหลเวียนของเสนลมปราณจัดเปนการบํารุง ในทาง
กลับกัน หากทิศทางของปลายเข็มชี้ทวนหรือตานแนวการไหลเวียนของเสนลมปราณจัดเปนการระบาย
ตัวอยาง เสนลมปราณหยางของแขน 3 เสน มีทิศทางไหลเวียนขึ้นจากมือไปยังศีรษะ หากชี้ปลายเข็มขึ้น
ตามแนวเสนลมปราณเปนการบํารุง หากชี้ปลายเข็มลงยอนแนวเสนลมปราณเปนการระบาย
4.1.6 บํารุงหรือระบายโดยฝงเข็มสัมพันธกับการหายใจ (Reinforcing and Reducing Achieved
by Means of Respiration)
การฝงเข็มวิธีนตี้ องสังเกตการหายใจของผูปวย หากตองการบํารุงใหแทงเข็มเขาขณะผูปวย
หายใจเขา และถอนเข็มออกขณะผูปวยหายใจออก หากตองการระบายใหแทงเข็มและถอนเข็มใน
เทคนิคตรงกันขาม
4.1.7 ไมบํารุงไมระบาย (ผิงปูผิงเซี่ย : PíngBǔPíngXiè : Even Movement Method)
เมื่อแทงเข็มจนถึงจุดที่ตองการและเกิดอาการไดชี่แลว ซอยเข็มขึ้นลงและปนเข็มไปกลับดวย
ความเบามือ ความเร็วปานกลางและระยะขึ้น-ลง-ไป-กลับ เทาเทียมกัน ใหผูปวยรูสึกถึงแรงกระตุน
เล็กนอยแลวจึงถอนเข็มออกดวยความเร็วปานกลาง เทคนิคนี้เรียกวา “ไมบํารุงไมระบาย” หรือ “กระตุน
สมดุล” หรือ “กระตุนเทากัน” (平补平泻 PíngBǔPíngXiè: Even movement method) เหมาะ
สําหรับโรคทั่วไปหรือจุดฝงเข็มที่ไมตองการเนนบํารุงหรือระบายเปนกรณีพิเศษ

4.2 กระบวนทากระตุนเข็มเพื่อบํารุงหรือระบาย (复式补泻手法 FùShìBǔXièShǒuFǎ:


Comprehensive reinforcing and reducing methods)
นอกเหนือจากการบํารุงหรือระบาย ดวยวิธีปกติธรรมดาที่กลาวมาแลวขางตน ยังมีการกระตุน
เพื่อบํารุงหรือระบายที่มีเทคนิคการกระตุนเปนชุดที่ซับซอนขึ้นหรือเปนกระบวนทา ซึ่งมีขั้นตอนการ
กระตุนและชื่อเรียกโดยเฉพาะถายทอดตอกันมาตั้งแตอดีต เมื่อเลือกใชกระบวนทาแตละชุดตองทําจน
ครบขั้นตอนจึงจะเกิดผลในการรักษาเต็มที่ ในทางปฏิบัติมีกระบวนทาการกระตุนเข็มเปนจํานวนมาก ใน
ที่นี้จะยกตัวอยางมาเพียง 2 กระบวนทาที่นิยมใชกันแพรหลายในการบํารุงและระบาย
Page 38

28 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

4.2.1 เผาภูผา (烧山火 ShāoShānHuǒ: Setting the Mountain on Fire)


เผาภูผา เปนกระบวนทาเพื่อการบํารุง โดยการซอยเข็มกดลงหนักดึงขึ้นเบา ในแตละชั้นของ
เนื้อเยื่อ จากชั้นตื้นสูชั้นลึกและจบขั้นตอนดวยการถอนเข็มเร็วพรอมปดรูเข็มทันที เมื่อใชวิธีนี้ผูปวยจะ
รูสึกอุนรอนในตําแหนงที่กระตุนเข็ม ซึ่งถือเปนสัญญาณของการสัมฤทธิ์ผลในการใชกระบวนทา เทคนิค
นี้เหมาะที่จะใชในโรคที่เปนกลุมอาการเย็นพรอง (เย็นเพราะหยางพรอง) กลุมอาการปวดที่เกิดจากความ
เย็นและอาการชาที่ดื้อการรักษา
กระบวนทาเริ่มที่การแทงเข็มผานผิวหนังปลายเข็มอยูใตตอผิวหนัง แบงการแทงลงเปน 3 ชั้น
คือ ชั้นตื้น ชั้นกลาง และ ชั้นลึก ชั้นละ 1/3 ของระยะทางจากผิวหนังไปถึงจุดที่ตองการ เชน จุดฝงเข็ม
ลึก 1.5 ชุน แบง 3 ชั้น ชั้นละ 0.5 ชุน จากนั้นแทงเข็มลงชา ๆ เปน 3 จังหวะ จังหวะละชั้น ผานชั้นตื้น
ชั้นกลางและชั้นลึก และเกิดการไดชี่หรือกระตุนจนเกิดการไดชี่ เมื่อไดชี่แลวดึงเข็มรวดเดียวมายังใตตอ
ผิวหนังคือชั้นตื้น จากนั้นซอยเข็มดวยการ ‘กดหนัก-ดึงเบา’ ใหระยะการซอยอยูในชั้นตื้นจํานวน 9 ครั้ง
แลวดันเข็มผานลงไปที่ชั้นกลาง ซอยเข็มลักษณะเดียวกัน 9 ครั้ง จึงดันเข็มลงไปชั้นลึก ซอยเข็มทํานอง
เดียวกัน 9 ครั้ง ผูปวยจะรูสกึ อุน รอนในตําแหนงที่กระตุนเข็ม ถาไมรูสึกอุนใหทําซ้ําอีกจนกวาจะรูสึกอุน
การถอนเข็มใหถอนอยางรวดเร็วและกดปดรูเข็มในทันที (รูป 1.27 A)
4.2.2 ทะลวงฟาใหเย็น (透天凉 TòuTiānLiàng: Penetrating-Heaven Coolness)
กระบวนทานี้ใชเพื่อการระบาย เทคนิคจะตรงกันขามกับกระบวนทาแรก กลาวคือ ดึงเข็มขึ้น
เร็วแทงลงชาในแตละชั้นของเนื้อเยื่อ จากชั้นลึกมาสูชั้นตื้น จบขั้นตอนดวยการเปดรูเข็มทิ้งไวชั่วครู เมื่อ
ใชกระบวนทานี้ ผูปวยจะรูสกึ เย็นที่ตําแหนงกระตุนเข็ม ถือเปนสัญญาณของการสัมฤทธิ์ผลของกระบวน
ทา เทคนิคนี้เหมาะที่จะใชในโรคกลุมอาการรอนแกรง กลุมอาการปวดจากความรอน
แบงชั้นเนื้อเยื่อเปน 3 ชั้น เชนเดียวกับกระบวนทาแรก แทงเข็มรวดเดียวไปยังชั้นลึกถึงจุดที่
ตองการ ถอนเข็มขึ้นเปน 3 จังหวะ ๆ ละ 1 ชั้น จนปลายเข็มมายังใตตอผิวหนังแลวกดแทงรวดเดียวไป
ยังจุดเดิมในชั้นลึก จนเกิดการไดชี่หรือกระตุนจนเกิดอาการไดชี่ เมื่อไดชี่แลวเริม่ ซอยเข็มใหระยะกวาง
อยูในชั้นลึกโดย ‘กดเข็มชา-ดึงเข็มเร็ว’ จํานวน 6 ครั้ง แลวถอยเข็มมาอยูในชั้นกลาง ซอยเข็มใน
ลักษณะเดียวกัน 6 ครั้ง แลวถอยเข็มมาอยูชั้นตื้นซอยเข็มทํานองเดียวกัน 6 ครั้ง ผูปวยจะรูสกึ เย็นตรง
ตําแหนงเข็ม หรือทําซ้ํากระบวนทาจนกวาผูปวยจะรูสึกเย็นที่ตาํ แหนงเข็ม (รูป 1.27B)
Page 39

บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม 29

[[-----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป------]]
[[-----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป------]]
[[-----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป------]]
[[-----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป----รูป------]]

รูป 1.27 A. กระบวนทา เผาภูผา (บํารุง) B. กระบวนทา ทะลวงฟาใหเย็น (ระบาย) [[Fig. 150]]

5. การคาเข็มและการถอนเข็ม (Retaining and Withdrawing the Needle)


การคาเข็ม หมายถึง การปลอยเข็มคางไวกับตัวผูปวยอีกระยะเวลาหนึ่ง หลังจากแทงเข็มไปถึง
จุดและกระตุนเรียบรอยแลว การที่จะคาเข็มหรือไมและระยะเวลาในการคาเข็มขึ้นอยูกับพยาธิสภาพของ
ผูรับการฝงเข็มเปนสําคัญ กรณีทั่วไปหลังจากแทงเข็มถึงจุดจนเกิดอาการไดชี่แลว มักจะคาเข็มตอไปอีก
15 – 20 นาที ในกรณีโรคที่เรื้อรัง รักษายาก มีอาการเจ็บปวดมากหรือมีกลามเนื้อหดเกร็งมาก อาจ
พิ จ ารณาคาเข็ ม ไว น านขึ้ น ซึ่ ง ในระหว า งคาเข็ ม ควรมี ก ารกระตุ น เข็ ม เป น ระยะ ๆ ด ว ยเพื่ อ เพิ่ ม
ประสิทธิภาพในการรักษา ในบางรายที่แทงเข็มกระตุนแลวไมเกิดการไดชี่อาจคาเข็มไวชั่วครูแลวมา
กระตุนใหมกรณีเรียกวา คาเข็มเพื่อรอชี่
การถอนเข็ม คือการดึงเข็มออกจากรางกายหลังจากเสร็จการฝงเข็มแลว วิธีการถอนเข็มใหใช
นิ้วหัวแมมือและนิ้วชี้มือซาย กดที่ผิวหนังรอบเข็ม ใชมือขวาจับเข็มปนไปกลับดวยองศาเล็กนอยเบา ๆ
แลวคอย ๆ ถอนเข็มขึ้นชา ๆ จนถึงระดับชั้นเนื้อเยื่อใตผิวหนังจึงดึงออกอยางรวดเร็ว แลวใชผากอซ
หรือสําลีกดเอาไวชั่วครูเพื่อปองกันเลือดออก ตรวจนับเข็มใหแนใจวาไมมีเข็มคางคาไวโดยไมตั้งใจ

6. เทคนิคการฝงเข็มที่มีบันทึกในคัมภีรหฺวังตี้เนยจิง
คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง ภาคหลิงซู บทที่ 7 กลาวถึงวิธีการฝงเข็มเพื่อแกปญหาอาการเจ็บปวยตาง ๆ ไว 3
ชุด ไดแก 1) การแทงเข็ม 9 วิธี 2) การฝงเข็ม 12 แบบ และ 3) การปกเข็ม 5 เทคนิค
6.1 การแทงเข็ม 9 วิธี
คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง บันทึกวา “การฝงเข็ม 9 วิธี ใชรักษาโรคที่แตกตางกัน 9 ประเภท” ไดแก
Page 40

30 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

1) แทงจุดซู (输刺 ShūCì: Shu-Point Needling): ความผิดปกติของอวัยวะตันทั้งหาให


ฝงเข็มที่ จุดอิ๋ง-น้ําพุ (Ying-Spring) และจุดซู-ลําธาร (Shu-Stream) ของเสนลมปราณที่สังกัดกับ
อวัยวะตันนั้น รวมกับจุดซู-หลัง (Back-Shu) ของอวัยวะนั้น วิธีนี้ใชรักษาโรคของอวัยวะตัน
2) แทงจุดไกล (远道刺 YuǎnDàoCì: Distant Needling) แทงเข็มที่จุดไกลของเสนลมปราณ
ที่เกี่ยวของกับอวัยวะที่มีปญหา โดยใชจุดที่อยูส วนลางของรางกายมารักษารางกายสวนบน (ใชลางรักษา
บน) จุดไกลใชรักษาอวัยวะกลวงทั้งหก โดยเลือกใชจุดเหอลาง (lower He-Sea points) ของอวัยวะ
กลวงทั้งหกจากเสนลมปราณเทาหยางทั้ง 3 เสน วิธีนี้ใชรักษาโรคของอวัยวะกลวง
3) แทงเสนลมปราณ (经刺 JīngCì: Meridian Needling) แทงเข็มตามแนวเสนลมปราณที่มี
ปญหาหรือตามแนวเสนที่สัมพันธกับสวนของรางกายที่มีปญหา วิธีนี้ใชรักษาโรคของเสนลมปราณ
4) แทงกิ่งลมปราณ หรือ แทงเสนเลือดฝอย (络刺 LuòCì: Collateral Needling) แทงเข็ม
บนเสนเลือดเล็ก ๆ ที่อยูตื้นในผิวหนังเพื่อขจัดเลือดคั่งคางติดขัด วิธีนี้ใชรักษาโรคของกิง่ ลมปราณ
5) แทงกะเทาะ (分刺 FēnCì: Crack Needling) แทงเข็มไปยังเนื้อเยื่อแวดลอมตําแหนงที่มี
ปญหา ใชรักษาอาการปวดกลามเนื้อ กลามเนื้อออนแรงและผลตกคางจากการบาดเจ็บในอดีต
6) แทงทะลัก ( 大写刺 DàXiěCì: Evacuation Needling) ใชเข็มรูปกระบี่กรีดผิวหนังเพื่อ
ระบายหนองหรือเลือดปนหนองหรือของเหลวทีค่ ั่งคางอยู
7) แทงตื้น ( 毛刺 MáoCì: Shallow Needling) เปนวิธรี ักษาโรคทีอ่ ยูตนื้ ในระดับผิวหนัง ใน
ปจจุบันวิธีนี้ถูกพัฒนาเปนเข็มผิวหนัง
8) แทงดานตรงขาม (巨刺 JùCì: Contralateral Needling) แทงเข็มไปยังจุดที่อยูดานซาย
ของรางกายเพี่อรักษาพยาธิสภาพที่อยูดานขวา หรือในทํานองกลับกัน หรือแทงซายรักษาขวา-แทงขวา
รักษาซาย
9) แทงเข็มรอน (焠刺 CuìCì: Heat Needling) วิธีนี้ใชเข็มที่เผาไฟจนรอนเปนสีแดง เหมาะ
กับการรักษาโรคปวดตามขอ วัณโรคตอมน้ําเหลือง แผลที่เกิดจากสภาวะอิน
6.2 การฝงเข็ม 12 แบบ
คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง กลาววา “การฝงเข็ม 12 แบบ เพื่อใชรักษาโรคของ 12 เสนลมปราณ”
1) ฝงคู (偶刺 ǒuCì: Coupled Puncture) คือการฝงเข็มดานหนาอกและดานหลัง ในจุดที่อยู
ระดับตรงกัน เรียกวา จุดคูอิน-หยาง วิธีนี้ใชรกั ษาอาการเจ็บหัวใจและเจ็บหนาอก
Page 41

บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม 31

2) ฝงจุดสื่อ (报刺 BoàCì: Trigger Puncture) วิธีนี้ใชรักษาอาการปวดที่ตําแหนงปวดเคลื่อน


ไปหลายแหง หาจุดเจ็บที่แนนอนจุดเดียวไมได โดยการแทงเข็มตรงไปที่จุดกดเจ็บและคาเข็มไวชั่วครู ใชมือ
ซายคลําหาจุดเจ็บจุดอื่นแลวเคลื่อนเข็มไปแทงที่จุดกดเจ็บที่พบ
3) ฝงขาง ( 恢 刺 Hu ī Cì: Lateral Puncture) ฝงเข็มโดยแทงตรงลงไปขางใดขางหนึ่งของ
กลามเนื้อที่ปวดจนเกิดอาการไดชี่ จากนั้นจับเข็มโยกขึ้น-ลง ไปขางหนา-กลับมาขางหลัง ไปซาย-มาขวา
เพื่อขยายรูเข็มใหกวางและคลายกลามเนื้อ หรืออีกวิธีหนึ่งเมื่อแทงเข็มลงตําแหนงดังกลาวจนเกิดการได
ชี่แลว บอกใหผูปวยคอย ๆ ขยับกลามเนื้อสวนที่ปวดอยางนุมนวลเพื่อเปนการเพิ่มการไหลเวียนของชี่ใน
เสนลมปราณและคลายกลามเนื้อที่หดเกร็ง การฝงเข็มขางใชในการรักษาอาการปวดรูมาติก (rheumatic pain)
4) ฝงสามเลม (齐刺 JìCì: Triple Puncture) ฝงเข็ม 3 เลมลงไปยังพื้นที่เดียวกันโดยใหเข็ม
หนึ่งอยูต รงกลาง ที่เหลือแทงขางตอเลมแรกขางละเลม โดยแทงเอียงเล็กนอยใหปลายเข็มชี้เขาหาเลมแรก
วิธีนี้ใชรักษาอาการปวดขอรูมาติกที่เกิดจากลมเย็นกอโรคที่เปนในพื้นที่ไมมากแตโรคอยูลกึ
5) ฝงหาเลม (扬刺 YángCì: Quintuple Puncture) ฝงเข็มในพื้นที่เดียวกันจํานวน 5 เลม
โดยเข็มแรกแทงตรงเปนศูนยกลาง เข็มที่เหลือแทงลอมรอบโดยเอียงปลายเข็มเขาหาเข็มแรก วิธีนี้ใช
รักษาอาการที่เกิดจากลมเย็นกอโรคที่กินพื้นที่คอนขางกวาง
6) ฝงขวาง (直针刺 ZhíZhēnCì : Horizontal Puncture) ใชมือซายหยิบผิวหนังขึ้นเล็กนอย
แลวแทงเข็มเขาผิวหนังในแนวขวางเข็มหรือแนวราบ ตัวเข็มจะอยูในชั้นใตผวิ หนัง โดยเข็มครอมอยูบน
พื้นที่ที่เปนปญหา ใชรักษาอาการที่เกิดจากลมเย็นกอโรคที่ยังจํากัดอยูในชั้นตื้น
7) ฝงจุดซู (输刺 ShūCì: Shu-point Puncture) วิธีนี้ใชการแทงเข็มตรง 2 – 3 จุด คอนขาง
ลึก แลวถอนเข็มออกอยางรวดเร็ว ใชรักษากลุม อาการรอนที่เกิดจากชี่เกิน
8) ฝงเฉียด (短刺 DuǎnCì: Short Puncture) แทงเข็มเขาพรอมกับปนเข็มเล็กนอย แทงเข็ม
ตรงไปยังกระดูกที่มีอาการปวดจากโรคขออักเสบรูมาติซึม คอย ๆ ดันเข็มจนปลายเข็มเฉียดใกลกระดูก
จากนั้นถอยเข็ม-ดันเข็ม-ปนเข็ม อยางนุมนวล ในตําราวา “คลายกับการขัดกระดูก” ใชรักษาโรคขออักเสบ
รูมาติซึมที่มีอาการปวดกระดูกจากความเย็น
9) ฝงผิว (浮刺 FúCì: Superficial Puncture) คือการแทงเข็มเฉียง หรือแทงเข็มตื้น ๆ เพื่อ
รักษากลามเนื้อหดเกร็งจากความเย็น วิธีนี้ พัฒนาเปนเข็มสอดผิวหนังในปจจุบัน
10) ฝงอิน (阴刺 YīnCì: Yin Puncture) เปนการฝงเข็มที่จุด TaiXi (KI 3) เปนจุดบนเสน
ลมปราณไต อยูหลังตอตาตุมในทั้งสองขาง ใชรกั ษาอาการแขนขาเย็น และกลุม อาการเย็น
Page 42

32 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

11) ฝงประชิด ( 傍针刺 BàngZhēnCì: Adjacent Puncture) แทงเข็ม 2 เลมไปยังจุดที่มี


ปญหา เลมหนึ่งแทงตรง อีกเลมแทงเฉียงใหปลายเข็มเขาหาเลมแรก ใชรกั ษาโรคขออักเสบรูมาติซึม
เรื้อรัง
12) ฝงย้ําตื้น (赞刺 ZànCì: Repeated Shallow Puncture) เปนการแทงเข็มตรงซ้ํา ๆ ในชั้น
ตื้นแลวถอนเข็มอยางรวดเร็วเพือ่ ใหเกิดเลือดออก ใชในการรักษาฝฝกบัวและไฟลามทุง

6.3 การปกเข็ม 5 เทคนิค


คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง กลาววา “การปกเข็ม 5 แบบ เพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวของกับอวัยวะตันทั้งหา”
1) ปกตื้นมาก (半刺 BànCì: Extreme Shallow Puncture) เปนการปกเข็มตื้นและถอนเข็ม
ออกในทันทีโดยไมใหมีการบาดเจ็บของกลามเนื้อ เทคนิคนี้ใชรักษาโรคที่สมั พันธกับปอดที่ยังจํากัดอยู
ในชั้นผิวของรางกาย เปนการขจัดหรือระบายปจจัยกอโรคที่ยงั อยูตื้นในชั้นผิวหนัง ใชรักษาอาการไข ไอ
หอบจากลมเย็นกอโรค และโรคผิวหนัง
2) ปกลายเสือดาว (豹文刺 BàoWénCì: Leopard-Spot Puncture) เปนการปกเสนเลือดขนาด
เล็กที่อยูรอบรอยโรคทั้งสี่ดานเพื่อใหมีเลือดออก เนื่องจากหัวใจควบคุมเสนเลือดและการไหลเวียนของ
เลือด เทคนิคนี้จึงมุงเนนไปที่เลือดและชี่ ใชในการรักษาบริเวณที่มีอาการบวมแดง รอนและปวด
3) ปกรอบขอ (关刺 GuānCì: Joint Puncture) เปนการปกเข็มไปที่กลามเนื้อที่อยูรอบขอตอ
แขนหรือขาแตตองไมใหเกิดเลือดออก ใชในการรักษาโรคปวดขอรูมาติซึ่ม เทคนิคนี้มีเปาหมายที่โรคที่
สัมพันธกับตับ เนื่องเพราะตับควบคุมเสนเอ็น
4) ปกเหอกู (合谷刺 HéGǔCì: HeGu Puncture) การปกเข็มเทคนิคนี้เริ่มที่การปกลึกเขาไป
ในชั้นของกลามเนื้อที่มีปญหา จากนั้นดึงเข็มกลับมายังชั้นใตผิวหนัง แลวดันเข็มเขาไปใหมโดยเฉียง
ปลายเข็มไปดานซาย 45 องศากับแนวเข็มแรก แลวดึงกลับมาชั้นใตผิวหนังอีกครั้งแลวดันไปดานขวา 45
องศากับแนวเข็มแรก แนวเข็มทั้งสามจะเปนภาพคลายตีนไก เทคนิคนี้ใชรักษากลามเนื้อที่เปนรูมาติซึ่ม
ซึ่งเปนโรคที่สัมพันธกับมาม เพราะมามควบคุมกลามเนื้อ
5) ปกจุดซู (输刺 ShūCì: Shu-Point Puncture) เปนการปกเข็มลึกไปยังกระดูกเพื่อรักษา
อาการปวดกระดูก เทคนิคนี้มีเปาหมายรักษาโรคที่สัมพันธกับไต เพราะไตควบคุมกระดูก
Page 43

บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม 33

การรักษาโดยการฝงเข็มดวยเข็มและเทคนิคประเภทอืน่
1. การรักษาดวยเข็มสามเหลี่ยม (三棱针法 SānLíngZhēnF ǎ : Three-Edged Needle
Therapy)

การใชเข็มที่มีลักษณะเปนรูปสามเหลี่ยมคลายลิ่มแทงเขาที่ตําแหนงซึ่งเลือกอยางเหมาะสมใหมี
เลือดออกเล็กนอยทําใหหายจากอาการเจ็บปวย เรียกวิธีนี้วา “การรักษาดวยเข็มสามเหลี่ยมหรือเข็มซานหลิง”
ในอดีตเรียกวา ชื่อลั่ว หรือ ชื่อเศวี่ยลั่ว (刺络,刺血络 CìLuò, CìXuěLuò) หมายถึง แทงใหมีเลือด
ออกหรือแทงหลอดเลือด ปจจุบันเรียกวา การปลอยเลือด (Blood letting or Bleeding therapy)
เข็มสามเหลี่ยม ทําจากโลหะสเตนเลสยาว 2 ชุน หรือประมาณ 5 – 6 ซม. ตัวเข็มกลมยาวเปน
ดามสําหรับจับ ปลายเข็มเปนสามเหลี่ยมดานเทาสอบปลายที่แหลมคมสําหรับทิ่มแทง (รูปที่ 1.3)

1.1 ขอบงใช
การรักษาดวยเข็มสามเหลี่ยมมีสรรพคุณชวยเพิ่มการไหลเวียนของชี่และเลือดในเสนลมปราณ
หรือทะลวงเสนลมปราณ กระจายเลือดที่คั่งคางติดขัด เปดทวาร ระบายรอน ลดอาการบวม บรรเทา
ปวด เข็มสามเหลี่ยมมีสรรพคุณเดนในการรักษา
1) การปดกั้นของเสนลมปราณ (blockage of the meridians)
2) เลือดคั่งคาง (blood stasis)
3) กลุมอาการเกิน (excess syndrome)
4) กลุมอาการรอน (heat syndrome)
5) อาการปวดตาง ๆ
การรักษาดวยเข็มสามเหลี่ยมใชไดทั้งโรคเฉียบพลันและเรือ้ รัง เชน ไขสงู หมดสติ กลุมอาการปด
ในโรคหลอดเลือดสมอง เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดตา ตาแดง ฟกช้ํา ฝระยะแรก ริดสีดวงทวาร บวมหรือ
เลือดคั่งเฉพาะที่ ชาตามนิ้วมือนิ้วเทา เปนตน
1.2 เทคนิคการใชเข็มสามเหลี่ยม
เข็มสามเหลี่ยมมีวิธีการใช 4 ลักษณะ ไดแก
Page 44

34 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

1) การเจาะจุด (点刺 DiǎnCì: Spot pricking): โดยเลือกตําแหนงหรือจุดที่ตองการเจาะ บีบ


เคนเบา ๆ ใหเลือดไปคั่งบริเวณที่จะเจาะ เช็ดดวยแอลกอฮอล 70% มือขวาจับดามเข็มดวยนิ้วหัวแมมือ
นิ้วชี้และนิว้ กลาง ใหปลายเข็มโผลออกมา 3 – 5 มิลลิเมตร เล็งตําแหนงที่ตองการเจาะใหแมนยํา ทิ่มเข็มลง
อยางเร็วใหลึกประมาณ 0.1 ชุน แลวดึงเข็มออกทันที ปลอยใหเลือดไหลออกหรือบีบไลเบา ๆ ใหเลือด
ไหลออกเล็กนอย จากนั้นใชสําลีแหงกดรอยเข็มหามเลือด ตําแหนงที่ใชเจาะคือ จุดปลายนิ้วมือ-นิ้วเทา
เชน จุดจิ่ง-ตาน้ํา (Jing-Well), ShiXuan (ET-UE11) หรือ บริเวณศีรษะใบหนา เชน TaiYang
(ET-HN 5) และยอดหู (ear apex)

2) การเจาะหลอดเลือดดํา (刺络 CìLuò: Vessel pricking): โดยการรัดเหนือตําแหนงหลอด


เลือดดําที่ตองการเจาะ เช็ดดวยแอลกอฮอล 70% จับดามเข็มดวยมือขวา เล็งตําแหนงหลอดเลือดดําให
แมนยํา ทิ่มเข็มแทงลงอยางเร็วใหลึกประมาณ 2 – 3 มิลลิเมตร แลวดึงเข็มออกทันที ปลอยใหเลือด
ไหลออกหรือกดไลเลือดเบา ๆ เมื่อเลือดหยุดใหใชสําลีแหงกดปดรอยเข็ม ตําแหนงจุดที่ใชบอย ไดแก
จุด QuChi (LI 11), WeiZhong (BL 40)
3) การเจาะเปนกลุม (散刺 SànCì: Clumpy pricking): หรืออีกชื่อเรียกวา จิ้มเปนรอย
เหมือนลายเสือดาว (豹纹刺 BàoWénCì) จํานวนครั้งของการทิ่มเข็มขึ้นกับขนาดของตําแหนงที่ตองการ
รักษา อาจเปน 10 - 20 ครัง้ หรือมากนอยกวาก็ได รูปแบบการทิ่มเข็มจะวนเปนวงกลมจากภายนอกสู
ภายใน วิธีนี้มีสรรพคุณในการระบายเลือดเสีย ลดการบวมน้ํา สงเสริมการไหลเวียนเลือดและชวยทะลวงเสน
ลมปราณ มักใชในกรณีที่มีเลือดคั่งหรือบวมเฉพาะที่ บวมน้ํา ฝและกลากเกลือ้ น
4) การเขี่ยหรือบง (挑刺 TiāoCì: Picking): ใชมือซายหยิบดึงผิวหนังที่ตองการจะบง
จากนั้นใชเข็มทิ่มลงลึก 1 – 2 มม. เขี่ยสะกิดใหเปนแผล เพื่อทําใหมีเลือดหรือของเหลวไหลออกเล็กนอย
บางครั้งอาจเขี่ยหรือสะกิดลึกถึง 5 มม. เพื่อทําใหเสนใยของเนื้อเยื่อบางสวนขาดออก จากนั้นปดทับดวย
ผาปดแผล มักใชในการรักษาปวดกลามเนื้อรอบหัวไหล ปวดกระเพาะอาหาร โรคของกระดูกคอเสื่อม
นอนไมหลับ หอบหืด ปวดศีรษะ
การปลอยเลือดพิจารณาทําวันละ 1 ครั้ง วันเวนวัน 1-3 ครั้ง นับเปน 1 ชุดการรักษา (Course)
1.3 ขอควรระวัง
1) กอนใชวิธีนี้ตองอธิบายใหผูปว ยเขาใจและยินยอม
Page 45

บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม 35

2) อุปกรณและทุกขั้นตอนการรักษาตองทําดวยเทคนิคปลอดเชื้อ
3) การเจาะจุด ตองทําดวยความรวดเร็ว แมนยํา เบามือ ไมควรปลอยเลือดออกมากเกินไป และ
หามทิ่มแทงถูกหลอดเลือดแดง
4) ควรหลีกเลีย่ งการรักษาในผูที่สภาพรางกายออนแอ สตรีมีครรภหรือหลังคลอดบุตร ผูที่ปวย
หรือรับยาที่ทําใหเลือดออกแลวหยุดยาก
5) วิธีนี้อาจทําใหผูปวยเปนลมได ควรจัดทาใหเหมาะสมและไมทําใหผปู วยหวาดกลัวหรือเจ็บเกินไป

2. การรักษาดวยเข็มผิวหนัง (皮肤针PíFūZhēn: Skin or Dermal Needle Therapy)


เข็มผิวหนังที่นิยมใช ไดแก เข็มดอกเหมยและเข็มเจ็ดดาว (รูปที่ 1.4) โดยใชเคาะหรือตีบน
ผิวหนังบริเวณจุดฝงเข็มหรือตําแหนงที่เหมาะสม เนื่องจากระบบผิวหนังเชื่อมตอกับระบบเสนลมปราณ
และเสนลมปราณเชื่อมโยงอวัยวะภายใน การกระตุนผิวหนังที่เหมาะสมจึงเปนการกระตุนการทํางานของ
ระบบเสนลมปราณและปรับการทํางานของอวัยวะภายในดวย หากอาการของโรคปรากฏในระดับผิวหนัง
การกระตุนดวยเข็มผิวหนังจะชวยฟนฟูการทํางานของอวัยวะภายใน ทําใหอาการเจ็บปวยหายได

2.1 ขอบงใช
การเคาะดวยเข็มผิวหนังเหมาะสมอยางยิ่งในการรักษาความผิดปกติของระบบประสาทและโรค
ของผิวหนัง เชน มึนงงและวิงเวียน อัมพฤกษ-อัมพาต ผิวหนังอักเสบ รวมทั้งสามารถประยุกตใชรักษา
โรคอื่น ๆ ไดอยางกวางขวาง ไดแก นอนไมหลับ, อาการปวดตาง เชน ปวดศีรษะ ปวดตามขอ ปวดเอว
ปวดประจําเดือน, โรคระบบทางเดินอาหาร เชน โรคกระเพาะอาหาร ทองผูก, โรคระบบหายใจ เชน
ทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน โรคหวัด อาการไอ, โรคตา เชน สายตาสั้น ประสาทตาเสื่อม และผมรวง

2.2 เทคนิคการใชเข็มผิวหนัง
การจับเข็มและการเคาะ: จับกําใหปลายดามเข็มอยูในอุงมือ นิ้วชี้เหยียดออกวางปลายนิว้ ลงบน
ดามเข็ม ถือเข็มใหหัวเข็มอยูเหนือตําแหนงที่จะเคาะ เคาะเข็มลงตรง ๆ โดยใชแรงเคาะจากขอมือ เมื่อ
ปลายเข็มสัมผัสกับผิวหนังใหดดี กลับทันที เคาะซ้ําจนเกิดผลตามความตองการ
รูปแบบการเคาะ: การเคาะเข็มผิวหนังแบงตามตําแหนงในการเคาะเปน 3 แบบ ไดแก
Page 46

36 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

1) เคาะไลตามแนวเสนลมปราณ เข็มผิวหนังใชเคาะตามแนวเสนลมปราณไดทุกสวนของรางกาย
แตนิยมใชเคาะไลเสนลมปราณบริเวณดานหลังตั้งแตคอลงมาจนถึงกระเบนเหน็บ ไดแก เสนลมปราณ
เทาไทหยางกระเพาะปสสาวะ และเสนลมปราณตู
2) เคาะลงบนจุด เลือกเคาะจุดตามสรรพคุณของจุดฝงเข็มที่ตองการรักษา นิยมใชกับจุดนอก
ระบบตามแนวขางกระดูกสันหลังหรือ ฮวาถวอเจี๋ยจี่ (HuáTuóJiāJǐ) และจุดสื่ออาการ (Ashì)
3) เคาะบนตําแหนงพยาธิสภาพ หรือ เคาะบนรอยโรค โดยเคาะวนเปนวงจากรอบนอกเขาหา
ศูนยกลางหรือเคาะใหกระจายไปทั่วบริเวณ เชน เคาะรักษาอาการปวดจากเลือดคั่งของขอเทาแพลง หรือ
เคาะรักษากลากเกลื้อน
แรงเคาะ: แรงทีใ่ ชในการเคาะเข็มผิวหนังแบงเปน 3 ระดับ ไดแก
1) ระดับเบา ใชแรงเคาะเพียงเพื่อใหผิวหนังปรากฏเปนรอยแดงจาง ๆ การเคาะเบาใชกับบริเวณ
ศีรษะ ใบหนา หรือผูปวยสภาพรางกายออนแอ ผูส ูงอายุ สตรีมีครรภ หรือโรคในกลุมอาการพรอง โรคเรื้อรัง
ที่เกิดอาการพรอง
2) ระดับปานกลาง ใชแรงก้ํากึง่ ระหวางการเคาะเบากับเคาะหนัก โดยผิวหนังที่เคาะจะปรากฏรอย
แดงและบวมเล็กนอยแตไมมีเลือดซึมออก กรณีทั่วไปในการรักษาดวยเข็มผิวหนังจะใชแรงเคาะในระดับ
ปานกลาง
3) ระดับหนัก ใชแรงเคาะคอนขางมากจนผิวหนังปรากฏเปนรอยแดง บวมและมีเลือดซึมออก
เล็กนอยแตไมถงึ กับช้ําเปนจ้ําเลือด แรงเคาะหนักมักใชตรงตําแหนงที่ปวดบริเวณหลังและสะโพก หรือ
ผูปวยที่รางกายกํายําสภาพแข็งแรง หรือโรคในกลุมอาการแกรง หรือกลุมอาการปวยเฉียบพลัน
ระยะการรักษา สามารถเคาะรักษาไดทุกวันหรือเวนวัน วันละ 1 ครั้ง 10 ครัง้ นับเปน 1 ชุดการ
รักษา เมื่อจบชุดการรักษา พัก 3 – 5 วัน

2.3 ขอควรระวัง
1) ตรวจสอบอุปกรณกอนใชทกุ ครั้ง โดยเฉพาะหัวเข็ม กลุมเข็มตองอยูในระยะหางตามรูปแบบ
ของเข็ม ตัวเข็มตั้งตรงขนานกันไมเฉเอียง ปลายเข็มไมคดงอหรือเปนตะขอและอยูใ นระนาบเสมอกัน
2) เข็มสามารถใชซ้ําไดกับผูปวยรายเดิม โดยการบํารุงรักษาอุปกรณตามเทคนิคปราศจากเชื้อ หามใช
เข็มซ้ํากับผูปวยรายอื่น
Page 47

บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม 37

3) ผิวหนังบริเวณที่จะทําการรักษา ตองทําตามเทคนิคปลอดเชื้ออยางเครงครัด
4) รักษาระดับความแรงและจังหวะการเคาะเข็มที่สม่ําเสมอ ไมเคาะตวัดหรือสะบัดปลาย เพราะ
จะทําใหเจ็บมาก
5) หามเคาะบริเวณผิวหนังที่เปอย เปนแผลหนอง บริเวณที่มีการติดเชื้อหรือเสี่ยงตอการติดเชือ้
5) การเคาะหนักที่มีรอยเข็มมีเลือดซึม ควรเช็ดทําความสะอาดบาดแผลใหเรียบรอย
6) ไมควรเคาะบริเวณที่มีปุมกระดูกปูดนูน

3. การรักษาดวยเข็มสอดผิวหนัง (皮内针PíNèiZhēn: Intradermal needle therapy)


เข็มสอดผิวหนัง หรือ เข็มติดผิวหนัง เปนเทคนิคในการรักษาอีกแบบหนึ่ง โดยใชเข็มที่ผลิตขึ้น
โดยเฉพาะกดหรือสอดติดไวทผี่ ิวหนังแลวปดทับดวยเทปกาว ใหเข็มคาอยูที่ผิวหนังเปนระยะเวลาหนึ่ง
เข็มจะกระตุนจุดตลอดเวลา กระตุนการทํางานของระบบเสนลมปราณและปรับการทํางานของอวัยวะ
ภายใน
เข็มสอดผิวหนังที่นิยมใชมี 2 แบบ คือ เข็มกด (เข็มรูปตะปูกด – Thumbtack type) และ เข็ม
สอดผิว (เข็มรูปเมล็ดขาวสาลี – Grain-like type) (รูปที่ 1.6)
PíngBǔPíngXiè (ผิงปูผิงเซี่ย) ใชรักษาโรคที่เรื้อรังหรือกลุมอาการปวด ซึ่งตองการกระตุนจุดและการ
คาเข็มเปนเวลานาน เชน ปวดศีรษะ นอนไมหลับ ปวดกระเพาะอาหาร ปวดถุงน้ําดี ปวดประจําเดือน
ปวดมดลูก หลั ง คลอด ปวดเอว เด็ ก ป ส สาวะรดที่ น อน อั ม พาตเส น ประสาท โรคหืด ความ
ดันโลหิตสูง เปนคน
PíngBǔPíngXiè (ผิงปูผิงเซี่ย) โดยทั่วไป เข็มกดนิยมใชในการฝงเข็มใบหู สวนเข็มสอดมักใชกับ
จุดฝงเข็มบนรางกาย แตจะนําเข็มกดมาประยุกตใชกับจุดบนรางกายก็ได เข็มมีขนาดเล็กจึงอาจใชเข็ม
หลายอันติดเปนกลุมบนจุดหรือในแนวเสนลมปราณ ตามความเหมาะสม
เนื่องจากเข็มมีขนาดเล็ก การจับดวยนิ้วมือจึงไมสะดวกและมีโอกาสถูกเข็มทิ่มตําหรือปนเปอนไดงาย ควร
จับเข็มดวยปากคีบเนื้อเยื่อ (tissue forceps) หรือคีมจับเสนเลือด (arterial camp) ขนาดพอเหมาะ
เข็มกด ใหวางปลายเข็มตรงกับจุดที่ตองการ กดเข็มตั้งฉากกับผิวหนังจนหัวเข็มชิดกับผิวหนัง ซึ่ง
เข็มจะไมลงลึก เนื่องจากตัวเข็มยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร และหัวเข็มบานกวางปองกันไมใหเข็มเลื่อน
เขาไปไดอีก จากนั้นปดทับดวยเทปกาวที่ไมหลุดลอกงายเพราะตองคาเข็มไวเปนเวลานาน
Page 48

38 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

เข็มสอด ใหวางปลายเข็มตรงกับจุดที่ตองการ แลวดันเข็มเขาไปลึกประมาณ 5 – 8 มิลลิเมตร


(ตัวเข็มยาว 10 มม.) โดยสอดเข็มแนวเฉียงราบใหหัวเข็มวางราบกับผิวหนังไดพอดี แลวปดทับดวยเทป
กาวที่ไมหลุดลอกงาย
ระยะเวลาในการคาเข็ม ขึ้นอยูกับขอบงใชตามพยาธิสภาพของโรค เข็มสามารถคาไวไดนาน 1 –
5 วัน หรืออาจนานถึง 1 สัปดาห อยางไรก็ตามระยะเวลาของการคาเข็มมักแปรผันตามสภาพอากาศและ
ตําแหนงที่ติดเข็ม โดยหากสภาพอากาศรอน เหงื่อออกงาย หรือตําแหนงที่ติดเข็มสกปรกงาย มักคาเข็ม
ไวไมเกิน 1 – 2 วัน ขณะคาเข็มสามารถใหผูปวยกระตุนเข็มโดยการกดย้ํา หรือ กดคลึงเบา ๆ นาน 1 –
2 นาที ทุก 4 ชั่วโมง

3.3 ขอควรระวัง
1) บริเวณที่ติดเข็มและขั้นตอนการติด ตองทําภายใตเทคนิคปลอดเชื้ออยางเครงครัด
2) หลีกเลี่ยงการติดคาเข็มในบริเวณขอหรือตําแหนงที่มีการเคลื่อนไหวอยูตลอดเวลา เพราะจะทํา
ใหเจ็บหรือขัดขวางการเคลื่อนไหว เมื่อติดเข็มเสร็จควรใหผูปวยทดลองเคลื่อนไหวในอิริยาบถตาง ๆ หากมี
อาการเจ็บหรือขัดขวางการเคลื่อนไหว ควรแกไขใหเรียบรอย
3) ไมติดเข็มในบริเวณผิวหนังเปอย เปนแผล หรือมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ
4) ขณะคาเข็ม ควรดูแลผิวหนังบริเวณที่ติดเข็มใหสะอาด ระวังการปนเปอนอันจะนําไปสูการติด
เชื้อ หากไมแนใจใหถอดเข็มทิ้ง เช็ดทําความสะอาดรอยเข็มดวยแอลกอฮอล 70%

4. การกระตุน เข็มดวยไฟฟา (电针 DiànZhēn: Electro-Acupuncture))


การกระตุนเข็มดวยไฟฟาเปนการปองกันและรักษาโรคแบบหนึ่ง โดยเมื่อแทงเข็มลงบนจุดจน
เกิดการไดชี่แลว จึงใชสายไฟตอจากเข็มไปยังเครื่องกระตุนกระแสไฟฟา แลวเปดไฟฟาในความถี่และ
รูปแบบตามขอบงใช
เครื่องกระตุนเข็มไฟฟา มีขนาดและรูปทรงแตกตางกันตามวัตถุประสงคของการใชงาน มีแรงดันไฟฟา
อยูระหวาง 40 – 80 โวลต และกระแสไฟฟานอยกวา 1 มิลลิแอมแปร ใชไดทั้งไฟฟากระแสสลับ (AC:
ไฟฟาภายในอาคาร) และไฟฟากระแสตรง (DC: ไฟฟาจากถานไฟฉายหรือแบตเตอรี่) เครื่องกระตุนเข็ม
Page 49

บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม 39

ไฟฟาถูกพัฒนาเพื่อใชกระตุนเข็มรวมกับการฝงเข็มโดยเฉพาะ มีความปลอดภัย สามารถควบคุมจังหวะ


และความแรงในการกระตุนได ใชทดแทนการกระตุนดวยมือชวยทุนแรงแพทย

รูปที่1.28 เครื่องกระตุนเข็มไฟฟา

4.1 วิธีการใชเครื่องกระตุนเข็มไฟฟา
1) โดยทั่วไป มักเลือกกระตุนเข็มที่จุดหลักและจุดรองที่จําเปน ประมาณ 1 – 3 คู โดยกระตุน
ดวยไฟฟาขณะคาเข็ม กอนกระตุนเข็มดวยไฟฟาตองทําเทคนิคการฝงเข็มใหครบขั้นตอนกอน กลาวคือ
แทงเข็มจนเกิดการไดชี่และกระตุนเข็มเพื่อบํารุงหรือระบายแลว จึงคาเข็มไวเพื่อการกระตุนดวยไฟฟา
2) ปรับแรงขับกระแสไฟฟาที่ตัวเครื่องใหอยูที่ตําแหนงศูนย ในหนึ่งเตาเสียบจะมีสายไฟ 2 เสน
เสนหนึ่งเปนขั้วบวกอีกเสนเปนขั้วลบ ปลายสายมีตัวหนีบสีดําและสีแดงสําหรับหนีบจับที่ดามเข็ม ขั้วลบ
จับที่จุดหลัก ขั้วบวกจับที่จุดรองหรือสลับกันก็ได แตตองไมจับบนเข็มเลมเดียวกันและไมจับคูขามเสน
กึ่งกลางของรางกาย (หมายถึง ใหจับคูเข็มอยูในซีกซายหรือซีกขวาดานเดียวกัน ไมจับขั้วหนึ่งซีกซายอีก
ขั้วซีกขวาของรางกาย) จากนั้นเปดเครื่อง เลือกรูปแบบและความถี่ของคลื่นไฟฟาที่ตองการ แลวคอย ๆ
ปรับหมุนปุมเพิ่มแรงสงกระแสไฟฟาจนถึงระดับที่ผูปวยรูสึกพอทนได เวลาในการกระตุนไฟฟาประมาณ
5 – 20 นาที หรืออาจนานมากกวานั้นในบางกรณี เชน ในรายที่มีอาการปวดรุนแรงหรือการฝงเข็ม
รวมกับการดมยาสลบ
3) ความแรงของกระแสไฟฟา เมื่อเปดเพิ่มไฟเขาแรงระดับหนึ่งเข็มและเนื้อเยื่อระหวางเข็มสอง
ขั้วจะมีการสั่นกระตุกตามความถี่และรูปแบบกระแสที่ตั้งไว ผูปวยจะรูสึกชาหรือปวดพอทนได เรียก
Page 50

40 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ความแรงระดับนี้วา “ระดับรูสึก (feeling threshold)” เมื่อเพิ่มความแรงขึ้นอีกผูปวยจะรูสึกปวดจนทน


ไมได เรียกความแรงระดับนี้วา “ระดับปวด (pain threshold)” ความแรงในการกระตุนที่เหมาะสมควร
อยูระหวางสองระดับนี้ ซึ่งจะแตกตางกันในผูปวยแตละรายและตําแหนงจุดบนรางกาย สวนใหญมักปรับ
ความแรงโดยยึดถือตามความทนไดของผูปวยเปนเกณฑ ในบางรายเมื่อกระตุนไฟฟาไปชั่วครูความรูสึก
ตอแรงกระตุนจะลดลงหรือหายไป กรณีนี้สามารถปรับความแรงกระแสไฟฟาเพิ่มไดอีก หรืออาจหยุด
เครื่องกระตุน 1 – 2 นาที แลวเริ่มกระตุนใหม
4) เครื่องกระตุนเข็มไฟฟาสวนใหญสามารถปรับตั้งเวลาในการกระตุนได เมื่อครบเวลาที่ตั้งไว
เครื่องจะตัดการทํางานโดยอัตโนมัติและสงสัญญาณเตือน เมื่อครบเวลาหรือตองการหยุดกระตุน ใหหมุน
ปุมความแรงกลับไปที่ศูนย แลวปดเครื่อง เก็บสายไฟและถอนเข็มออกตามขั้นตอนการถอนเข็มปกติ

4.2 สรรพคุณและขอบงใชเครื่องกระตุนเข็มไฟฟา
การกระตุนดวยไฟฟาที่เหมาะสม ผานเข็มที่คาอยูตามจุดตาง ๆ สงผลตอรางกายในหลายดาน
ไดแก ชวยปรับการทําหนาที่ของอวัยวะภายใน บรรเทาปวด บรรเทาการหดเกร็งของกลามเนื้อ ชักนําให
สงบงวง (induce sedation) และเพิ่มการไหลเวียนเลือด ความถี่และรูปแบบของคลื่นไฟฟาที่แตกตาง
กันยอมสงผลในการรักษาที่ตางกันดวย คลื่นความถี่สูงระหวาง 50 – 100 ครั้งตอวินาที เรียกวา “คลื่น
ถี่ หรือ dense wave” คลื่นความถี่ต่ําระหวาง 2 – 5 ครั้งตอวินาที เรียกวา “คลื่นหาง หรือ rarefaction
wave”
การกระตุนดวยไฟฟามีหลายรูปแบบ ไดแก คลื่นถี่แบบตอเนือ่ ง (continuous dense wave), คลื่น
หางแบบตอเนื่อง (continuous rarefaction wave), คลื่นหางสลับคลื่นถี่ (rarefaction-dense wave), กระตุน
สลับหยุดเปนชวง (intermittent wave) และ คลื่นรูปฟนเลื่อย (sawtooth wave) ความถี่และรูปแบบ
คลื่นในการกระตุนขึ้นอยูกับพยาธิสภาพที่ตองการรักษาเปนสําคัญ
คลื่นถี่ (dense wave) ชวยชักนําใหเกิดผลในการระงับยับยั้งตอเสนประสาทรับความรูสึกและ
เสนประสาทสั่งงาน มักใชเพื่อทําใหสงบหรืองวง บรรเทาปวด คลายกลามเนื้อและเสนเลือดที่หดเกร็ง ใช
ระงับความรูสึกและการเคลื่อนไหวเพื่อการดมยาผาตัดหรือใชรวมกับการดมยาผาตัด เปนตน
คลื่นหาง (rarefaction wave) ชวยกระตุนจุดฝงเข็มใหแรงขึ้น ทําใหเกิดการหดตัวของ
กลามเนื้อ เพิ่มความตึงใหกับกลามเนื้อและเสนเอ็น กระตุนทั้งเสนประสาทรับความรูสึกและเสนประสาท
สั่งงาน คลื่นหางเหมาะที่จะใชกับโรคอัมพาต การบาดเจ็บของกลามเนื้อ ขอและเอ็น
Page 51

บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม 41

คลื่นหางสลับคลื่นถี่ (rarefaction-dense wave) คลื่นรูปแบบนี้เปนการตั้งคาใหเกิดการ


กระตุนดวยคลืน่ ถี่สลับกับคลื่นหาง คลื่นละ 1.5 นาที สลับกันอยางตอเนื่อง คลื่นรูปแบบนี้มีขอเดนที่ไม
ทําใหเกิดความชาชินตอการกระตุนดวยไฟฟาซึ่งมักเกิดกับการใชคลื่นเดียวแบบตอเนื่อง เหมาะสําหรับ
กระตุนเพื่อเพิ่มการเผาผลาญ (metabolism) เพิ่มการไหลเวียนของชี่และเลือด เพิ่มการหลอเลี้ยง
เนื้อเยื่อ และบรรเทาอาการอักเสบบวม มักใชกับอาการปวด เนื้อเยื่อเคล็ดยอกและช้ําบวม ขออักเสบ
การไหลเวียนของเลือดและชี่แปรปรวน อัมพาตใบหนา กลามเนื้อออนลา เนื้อเยื่อบาดเจ็บจากความเย็น
เปนตน
คลื่นกระตุน สลับหยุดเปนชวง (intermittent wave) เปนรูปแบบการกระตุนดวยคลื่นหางเปน
เวลา 1.5 นาที และหยุดกระตุนเปนเวลา 1.5 นาที สลับกันอยางตอเนื่อง คลื่นรูปแบบนี้ชวยเรงเรา
กลามเนื้อใหตื่นตัว มีผลใหกลามเนื้อลายหดตัว มักใชกับอาการกลามเนื้อออนแรง กลามเนื้อลีบ อัมพาต
คลื่นรูปฟนเลื่อย (sawtooth wave) เปนคลื่นที่มีความผันแปรของรูปแบบคลายฟนเลื่อย มี
ความถี่อยูระหวาง 16 – 25 ครั้งตอวินาที ซึ่งใกลเคียงกับอัตราการหายใจของมนุษย จึงอาจเรียกอีก
อยางหนึ่งวา คลื่นเลียนแบบการหายใจ (respiratory wave) ใชสําหรับกระตุนเสนประสาทฟรีนิค
(phrenic nerve) ซึ่งทําหนาที่ควบคุมกระบังลม โดยกระตุนที่จุด TianDing (LI 17) คลายเปนการสัง่
การหายใจเทียมในกรณีการหายใจลมเหลว นอกจากนี้ยังมีผลในการเพิ่มความตื่นตัวของเสนประสาท
และกลามเนื้อ ปรับสมดุลระบบเสนลมปราณ ทําใหการไหลเวียนของชีแ่ ละเลือดดีขึ้น

4.3 ขอบงใช
การกระตุนเข็มดวยไฟฟาสามารถใชไดในทุกโรคที่สามารถรักษาไดดวยการฝงเข็ม โดยเฉพาะ
กลุมอาการทางจิตซึมเศราสลับคุมคลั่ง (manic-depressive psychosis) อาการปวดเสนประสาท (neuralgia)
อาการอันสืบเนื่องมาจากโรคหลอดเลือดสมอง อาการที่สืบเนื่องมาจากโรคโปลิโอ กลามเนื้อออนเปลี้ย
โรคระบบทางเดินอาหาร กลุมอาการปวดขอ การระงับความรูสกึ หรือรวมกับการดมยาผาตัด

4.4 ขอควรระวัง
1) ตรวจสอบเครื่องกระตุนและสายไฟที่ตอกับเข็มใหพรอมกอนการใชงาน สายไฟที่ใชบอยอาจ
หงิกงอหรือถูกดึงรั้งจนสายทองแดงที่อยูภายในขาดได เตาเสียบสายที่ใชมานานอาจหลวม ทําใหกระแสไฟฟาที่
Page 52

42 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

กระตุนติด ๆ ดับ ๆ ฯลฯ หลังเสร็จการกระตุนไฟฟา ปรับหมุนปุมเพิ่มกระแสไฟไปที่ศูนย ปดเครื่อง


และถอดสายที่หนีบกับเข็มบนตัวผูปวยออกใหเรียบรอยกอน แลวจึงถอนเข็มตามเทคนิคปกติ
2) การกระตุนเข็มดวยไฟฟามีความแรงกวาการกระตุนดวยมือ จึงอาจมีโอกาสเปนลมหรือเกิด
ความเจ็บปวดและสรางความหวาดวิตกใหกับผูปวยไดมากกวา โดยเฉพาะในขณะเปดกระแสไฟเขากระตุนจุด
ตองคอย ๆ ปรับไฟขึ้นอยางระมัดระวังและคอยสังเกตสอบถามอาการผูปว ยตลอดเวลา จนไดระดับที่
ตองการ หามเพิ่มกระแสไฟฟาปริมาณมากอยางพรวดพราด เพราะอาจทําใหผูปวยเปนลม เจ็บปวดหรือ
ตกใจจนควบคุมตัวเองไมได หรือกลามเนื้อหดตัวอยางรุนแรง ซึ่งอาจทําใหเข็มงอ หรือเข็มหักคาได
3) ในผูที่มีโรคหัวใจที่ใสเครือ่ งกระตุนการเตนของหัวใจ ควรงดเวนการกระตุนดวยไฟฟา หรือ
ถาจําเปนตองใช หามจับขั้วไฟฟาตําแหนงของหัวใจ
4) จุดฝงเข็มที่ใกลกับปมประสาทหรือไขสันหลัง ควรใชความแรงในการกระตุนไฟฟาใหนอยลง
กวาปกติเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายตอระบบประสาท
5) การฝงเข็มในสตรีมีครรภ หากมีขอบงใช ตองกระทําดวยความระมัดระวัง และการกระตุน
ดวยไฟฟาตองทําดวยความระมัดระวังยิง่ กวา
6) ไมควรใชเข็มที่ดามเข็มมีปญหาในการนํากระแสไฟฟา ไดแก ดามเข็มที่ผานการเผารมยา ดาม
เข็มที่ผลิตโดยใชฉนวนไฟฟาพันหุมไวและดามเข็มที่เปนสนิม หากจําเปนตองกระตุนไฟฟากับเข็มเหลานี้
ใหใชขั้วหนีบจับที่ตัวเข็มแทน

5. เข็มน้ํา (水针 ShuǐZhēn: Hydro-Acupuncture)


เข็มน้ํา หรืออีกนัยหนึ่งคือการฉีดยาเขาจุดฝงเข็ม หมายถึง การรักษาอาการเจ็บปวยดวยการใช
ยาฉีดเขาที่จุดฝงเข็ม เข็มที่ฉีดยาและน้ํายาที่ฉีดไวตรงจุด จัดเปนการกระตุนจุดฝงเข็มวิธีหนึ่ง จุดจะถูก
กระตุนอยางตอเนื่องจนกระทัง่ ยาถูกดูดซึมหมด ผลของรักษาเปนผลรวมกันของฤทธิ์ยาที่ฉีดและสรรพคุณ
ของจุดฝงเข็ม ซึง่ ผูรกั ษาตองเลือกทั้งยาและจุดฝงเข็มที่เหมาะสมกับวัตถุประสงคของการรักษา
เข็มฉีดยาและกระบอกฉีดยา เปนชนิดเดียวกันกับที่ใชฉีดยาทางการแพทยทวั่ ไป โดยเลือกขนาด
ใหเหมาะสมกับปริมาณยาที่ใชและตําแหนงของจุดที่ฉีด ซึ่งตองเปนเข็มและกระบอกฉีดยาตามมาตรฐาน
การแพทยปจจุบันและใชครั้งเดียวทิ้ง
ยาฉีด ยาที่ฉีดอาจเปนยารักษาโรคแผนปจจุบัน วิตามินหรือสมุนไพร ก็ได แตตองเปนยาที่ผาน
Page 53

บทที่ 1 เทคนิคการฝงเข็ม 43

กระบวนการผลิตปราศจากเชื้อเพื่อใชในการฉีดตามมาตรฐานทางการแพทยเทานั้น ยาที่ใชสําหรับฉีดเขา
กลามเนื้อสามารถประยุกตเปนเข็มน้ําได

5.1 วิธีการใชเข็มน้ํา
1) การเลือกจุดฝงเข็มในการฉีดยา ใชหลักการเดียวกับการเลือกจุดฝงเข็มรักษาโรค หรืออาจ
เลือกจุดกดเจ็บหรือจุดสออาการที่มีลักษณะเปนรอยนูน เปนตุมหรือเปนกอนบริเวณหลังหรือแขนขา
เลือกจุดที่จะฉีดยาประมาณ 2 – 4 จุด ในแตละครั้ง
2) ปริมาณยาฉีด หากเปนยาที่มีขนาดการใชแนนอนในแตละครั้ง ตองใชยาไมเกินขนาดที่กําหนด
โดยทั่วไปหากนํามาใชรักษาดวยเข็มน้ําอาจใชยาเพียง 1/5 – 1/2 ของขนาดยาที่กาํ หนดใหใชก็เพียงพอใน
การรักษา ยากลุมวิตามินที่ไมไดจํากัดขนาดยาไวแนนอนใหฉีดจุดละ 1 – 2 ml ตามความเหมาะสม แตละจุด
อาจใชวิตามินตางชนิดกันก็ได หากใช 5 – 10 % กลูโคส ใหใชประมาณ 5 – 10 ml ตอครั้ง ปริมาณยาที่ฉีดเขา
ในแตละจุดยังมีความแตกตางกันตามตําแหนงของจุด บริเวณใบหูใชปริมาณจุดละ 0.1 ml บริเวณศีรษะ
ใบหนาใชจุดละประมาณ 0.3 – 0.5 ml บริเวณแขน-ขา แผนหลังและทรวงอกใชจุดละประมาณ 0.5 – 2
ml บริเวณเอวหรือสะโพกใชจุดละประมาณ 2 – 5 ml
3) วิธีการฉีดยา
- เลือกกระบอกและเข็มฉีดยาใหเหมาะสมกับปริมาณยาที่จะใชและจุดที่จะฉีดยา
- ทําความสะอาดผิวหนังตามขั้นตอนมาตรฐานการฉีดยา
- มือซายตรึงผิวหนังตรงจุดที่จะฉีดยา มือขวาแทงเข็มผานผิวหนังตรงจุดอยางรวดเร็ว จากนั้น
คอย ๆ ดันเข็มไปยังระดับความลึกของจุดฝงเข็มจนเกิดอาการไดชี่
- ดึงกานกระบอกฉีดยาตรวจสอบวามีเลือดออกหรือไม หากไมมีเลือดออกใหเริ่มฉีดยาได
- ความเร็วในการฉีดยา กรณีทั่วไปจะใชความเร็วระดับปานกลาง กรณีโรคเฉียบพลันหรือกลุม
อาการรอนแกรงใหฉีดยาอยางรวดเร็ว ในกรณีโรคเรื้อรังหรือกลุมอาการพรองควรฉีดยาเขาชา ๆ
- ในจุดที่ใชยาฉีดปริมาณมาก ใหพิจารณาฉีดยาแบบเลนระดับ โดยแบงฉีดยาเปนสวน ๆ จากระดับ
ลึกมายังระดับตืน้ หรือแบงสวนฉีดโดยการเปลี่ยนทิศทางปลายเข็มฉีดยาไปรอบ ๆ จุด
Page 54

44 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

4) แผนการรักษาดวยเข็มน้าํ กรณีโรคเฉียบพลันพิจารณาทําเข็มน้ําทุกวัน วันละ 1 – 2 ครั้ง


กรณีโรคเรื้อรังใหพิจารณาทําวันละ 1 ครั้ง ทุกวันหรือเวนวัน การทําแตละครั้งควรทําสลับจุดกันไป ไม
ฉีดยาซ้ําจุดเดิมติดตอกัน เพราะอาจเปนอันตรายตอเนื้อเยื่อบริเวณดังกลาว ทําเข็มน้ําตอเนื่อง 6 – 10 ครั้ง
นับเปน 1 ชุดการรักษา เมื่อครบ 1 ชุด ใหพัก 1 สัปดาห แลวจึงเริ่มชุดตอไป

5.2 ขอบงใช
โรคที่รักษาไดดวยการฝงเข็มสามารถพิจารณาใชเข็มน้ํารักษาไดทั้งสิ้น โดยทั่วไปเข็มน้ําเหมาะ
สําหรับ อาการไอ โรคหืด ปวดกระเพาะอาหาร ปวดเสนประสาท กลุมอาการปวดตาง ๆ กลุมอาการออน
แรง ปวดหลังและขา อาการเคล็ดยอกและฟกช้ํา โรคผิวหนังตาง ๆ เปนตน

5.3 ขอควรระวัง
1) ศึกษาอยางถองแทและใหความสําคัญกับคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของยาแตละชนิดที่นํามาใช
ทําเข็มน้ํา เชน การออกฤทธิ์ ขนาดยา ขอหามในการใช ผลขางเคียงและอาการแพยาที่อาจเกิดขึ้น ฯ การ
ใชยาฉีดมีความเสี่ยงที่จะเกิดการแพยาได ยาฉีดบางชนิดอาจทําใหผูปวยบางรายแพยาอยางรุนแรงหรือเกิด
ผลขางเคียงได ควรสอบประวัติการแพยาและประเมินความเสี่ยงในผูปวยแตละรายอยางระมัดระวัง
2) กอนฉีดยาควรอธิบายใหผูปวยเขาใจถึงขอบงใช ชนิดของยาที่ใช ฤทธิ์และผลขางเคียงของยาที่
อาจเกิดขึ้น ตลอดจนหลังการฉีดยาอาจเกิดการไดชี่นานเปนวัน
3) หลีกเลี่ยงการฉีดยาเขาขอ โพรงไขสันหลัง หลอดเลือดและเสนประสาท
4) ไมแทงเข็มลึกในตําแหนงที่อาจเกิดอันตรายตออวัยวะภายในไดงาย ไดแก บริเวณคอ อกและหลัง
5) สตรีมีครรภ หามฉีดจุดบริเวณทอง หลังสวนเอวและกนกบ HeGu (LI 4) และ SanYinJiao
(SP 6) เพราะอาจกระตุนใหเกิดการแทงได รวมทั้งตองประเมินความเสี่ยงของยาตอเด็กดวย
6) ผูปวยที่มีความเสี่ยงเรื่องเลือดออกงายหรือเลือดหยุดยาก ควรหลีกเลี่ยงการใชเข็มน้ํา เพราะ
อาจเกิดเลือดออกตรงบริเวณที่ฉีดยาได หากจําเปนควรใหการรักษาดวยความระมัดระวัง
7) ปฏิบัติตามขั้นตอนเทคนิคปลอดเชื้ออยางเครงครัด เพื่อปองกันการติดเชื้อ
Page 55

บทที่ 2
ปฐมบทสูก ารฝงเข็มรักษาโรค
การฝงเข็มและรมยา เปนการปองกันและรักษาโรควิธีหนึ่งของการแพทยแผนจีน โดย
ประยุกตใชตามการวินิจฉัยแยกโรค ซึ่งมีพื้นฐานมาจากทฤษฎีการแพทยจีน การฝงเข็มจึงไมใชแคแทง
เข็มไปตามจุดตาง ๆ บนรางกาย แลวทําใหโรคหรือความเจ็บปวยตาง ๆ หายไปได อีกทั้งจุดฝงเข็มที่มี
มากกวา 700 จุด ทั่วรางกาย ยอมไมอาจแทงไดทั้งหมดในคราวเดียว หากมีหลักปฏิบัติท่ีดี เข็มเพียง
ไมกี่เลมก็สามารถรักษาโรคใหหายเปนปลิดทิ้งได หาไมถึงจะแทงเข็มจนพรุนไปทั้งรางยอมไมบังเกิดผล
ใด ๆ เวนเสียแตวาบังเอิญ ความแตกตางนี้ขึ้นอยูกับทฤษฎีพื้นฐานที่แมนยํา การวินิจฉัยแยกโรคที่
ถูกตอง การเลือกจุดและเทคนิคในการฝงเข็มที่เหมาะสม ซึ่งสามารถเรียนรูและฝกฝนไดไมยาก

หลักทั่วไปในการรักษาโรค
หลักทั่วไปในการรักษาโรค เปนแนวคิดการรักษาโรคแบบองครวมรวมกับการวินิจฉัยแยกโรค
ตามกลุมอาการ ซึ่งเปนหลักพื้นฐานสําคัญที่ครอบคลุมการรักษาโรคทุกวิธี สําหรับการฝงเข็มถือเปนหลัก
พื้นฐานสําคัญในการเลือกจุดและเทคนิคในการฝงเข็ม
1) การปรับสมดุลของอินและหยาง
โดยหลักพื้นฐานของทฤษฎีแพทยจีน ความเจ็บปวยทุกอยางเปนผลมาจากความไมสมดุลของ
สภาวะสองขัว้ ที่ตรงกันขาม ขั้วหนึ่งเรียกวา“อิน”อีกขั้วคือ“หยาง” ปกติอินและหยางภายในรางกาย
มีปฏิสัมพันธกันตลอดเวลา ทั้งการเปลี่ยนแปร-การหักลาง-การยับยั้ง-การบริโภค-การเกื้อกูล-การพึ่งพา
อาศัยซึ่งกันและกัน หากมีปจจัยใดก็ตามที่ทําใหขั้วใดขั้วหนึ่งมีปริมาณหรือหนาที่มากเกินหรือออนดอย
ไป ยอมสงผลกระทบตอปกติภาวะของรางกาย การปรับสมดุลของอินและหยางจึงเปนหลักพื้นฐาน
สําคัญในการรักษาโรค คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง ภาคหลิงซู บทที่ 5 กลาววา “ทําอยางไร เพื่อปรับใหอิน
และหยางเกิดภาวะสมดุล คือสิง่ สําคัญที่สุดในการฝงเข็มรักษาโรค”
หยางเกินทําลายอิน อินเกินทําใหหยางเสียหาย เชน ความรอน (หยาง) มากเกินไปทําลายสาร
จําเปน (อิน), ความเย็น (อิน) มากเกินไปทําลายชี่ (หยาง) ในการรักษาตองทําการลดความรอนหรือขจัด
Page 56

46 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ความเย็น ดวยวิธี “ขจัดสวนเกิน” และ “ลดความแกรง” เมื่อเกิดขั้วหนึ่งแกรงหรือเกิน ในการ


ปรับใหเกิดความสมดุลตองพิจารณาสภาพของอีกขั้วหนึ่งดวย ไมควรทําการรักษาเพียงขัว้ เดียว
เนื่องจากขั้วที่แกรงมักทําลายอีกขั้วหนึ่งไปดวย หากผูปวยมีอาการของหยางแกรง ควรตรวจดูวามีอิน
พรองดวยหรือไม การรักษาตองระบายหยางและบํารุงอินควบคูกันไป
อินพรองยอมเสียหนาที่ในการควบคุมหยาง หยางจึงแสดงออกมากเกิน ปรากฏ “กลุมอาการ
รอนพรอง” (รอนเพราะอินพรอง) ในทางตรงขาม เมื่อหยางพรองยอมควบคุมอินไมได อินแสดงออก
มากเกิน เกิด “กลุมอาการเย็นพรอง”(เย็นเพราะหยางพรอง) คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง ภาคซูเอวิ้น บทที่ 5
กลาววา “โรคหยางใหรักษาอิน โรคอินใหรักษาหยาง” หมายถึง หยางแสดงอาการเดนเนื่องเพราะอิน
พรองตองเสริมบํารุงอินไปควบคุมหยาง ขณะที่อินเดนเพราะหยางพรองตองเสริมบํารุงหยางไปควบคุม
อิน หากมีอาการพรองทั้งอินและหยางตองบํารุงทั้งคู อนึ่งในการรักษาโรคที่มีอินหรือหยางพรองสามารถ
ใชการบํารุงหยางเพื่อรักษาอินพรองและสามารถใชการบํารุงอินเพื่อรักษาหยางพรอง เนื่องเพราะอิน
และหยางเปลี่ยนแปรกันไปมา พึ่งพาและเกื้อกูลซึง่ กันและกัน ตัวอยาง เมื่ออินหรือหยางของอวัยวะ
ภายในพรอง สามารถเสริมบํารุงจุดอวัยวะหนา (Front-Mu point) รวมกับจุดอวัยวะหลัง (Back-
Shu point) เพื่อเสริมบํารุงทั้งชี่อินและชี่หยางของอวัยวะภายในนั้น

อินและหยาง เปนหลักพื้นฐานในการวินิจฉัยแยกกลุมอาการของโรค โดยมีแนวทางการรักษา


กวาง ๆ ในการปรับสมดุลอินและหยาง ไดแก บํารุงเมื่อพรอง ระบายเมื่อเกิน ขจัดความเย็นดวยวิธีอุน
เสริมสารอาหารและชี่ที่ปกปองรางกาย และเสริมเติมการไหลเวียนของเลือดและชี่ เทคนิคในการกระตุน
เข็มที่หลากหลายแตกตาง มีวัตถุประสงคเพื่อปรับสมดุลของหยินและหยางเปนหลัก
2) เสริมสรางภูมิตานทานและขจัดปจจัยกอโรค
หากพิจารณาตามความเปนจริง โรคเกิดขึ้นและดําเนินไปภายใตการตอสูกันระหวาง ชี่ตอตาน
โรค (Antipathogenic Qi) และปจจัยกอโรค (Pathogenic Factor) การระดมหรือเสริมสราง
ความแข็งแกรงใหกับชี่ตอตานโรคเพื่อไปจัดการปจจัยกอโรคเปนวิธีการรักษาโรคที่ถูกตอง อยางไรก็ตาม
การเสริมสรางภูมิตานทานของรางกายใหแข็งแกรงและขจัดปจจัยกอโรคควบคูก ันเปนหลักสําคัญในการ
รักษาโรค
Page 57

บทที่ 2 ปฐมบทสูการฝงเข็มรักษาโรค 47

วิธีเสริมภูมิตานทานใหกับรางกาย ไดแก การเสริมบํารุงชีต่ อตานโรคและเสริมสรางสุขภาพ


เมื่อภูมิตานทานโรคแข็งแกรงยอมขจัดปจจัยกอโรคได และเมื่อปจจัยกอโรคถูกขจัดออกไปภูมิตานทาน
ยอมแข็งแกรงขึน้ ปจจัยทั้งสองมีความเกี่ยวพันกันอยางใกลชิด ภูมิตานทานที่แข็งแกรงสามารถขจัด
ปจจัยกอโรคได ขณะที่ปจจัยกอโรคที่รุนแรงก็สามารถทําลายภูมติ านทานไดเชนกัน
ในทางปฏิบัติ ควรประเมินสภาพของทั้งปจจัยกอโรคและชี่ตอตานโรคอยางรอบคอบ เพื่อใชใน
การตัดสินใจวาจะเสริมภูมิตานทานกอนหรือจะขจัดปจจัยกอโรคกอน ผูปวยทีภ่ ูมิตานทานออนแตปจจัย
กอโรคยังไมรุนแรงควรทําการเสริมภูมิตานทานกอน ผูปวยที่ปจจัยกอโรครุนแรงแตยังไมทําลายภูมิ
ตานทานควรขจัดปจจัยกอโรคกอนเปนสิ่งแรก ถาภูมิตานทานออนและปจจัยกอโรครุนแรงควรทําทั้ง
สองวิธีควบคูกัน
นอกจากนี้ ตองประเมินวาอะไรเปนเหตุในการเกิดโรค กรณีที่ภูมิตานทานออนจึงเกิดโรคได
งาย ตองเนนการเสริมสรางภูมิตานทานเปนหลักแลวจึงหาวิธีเพื่อขจัดปจจัยกอโรค ในทางตรงขาม
ปจจัยกอโรคที่รนุ แรงยอมเอาชนะภูมิตานทานจนเกิดโรคขึ้นได กรณีนี้ควรขจัดปจจัยกอโรคกอนแลวจึง
เสริมสรางภูมิตานทานที่ถูกทําลายไปกลับคืนมา ในกรณีวิกฤติท่ผี ูปวยมีสภาพทรุดโทรมจนภูมิตานทาน
ออนพรองอยางมากและไดรับปจจัยกอโรคที่รุนแรง ควรขจัดปจจัยกอโรคกอนแลวจึงหาวิธีเสริมสราง
ภูมิตานทาน
3) แยกแยะปฐมภูมิจากทุติยภูมิ
ปฐมภูมิและทุติยภูมิมีความหมายที่แตกตางแตสัมพันธกัน ในกรณีของชี่ตอตานโรคและปจจัย
กอโรค ชี่ตอตานโรคจัดเปนปฐมภูมิและปจจัยกอโรคเปนทุติยภูมิ หากมองระหวางสาเหตุและอาการที่
ปรากฏ สาเหตุจัดเปนปฐมภูมิ อาการที่ปรากฏเปนทุติยภูมิ หากพิจารณาในตําแหนงของรอยโรค สวนใน
จัดเปนปฐมภูมิ สวนนอกเปนทุติยภูมิ ในกรณีของการดําเนินโรค โรคหรือภาวะตนเหตุคือปฐมภูมิ สวน
โรคหรือภาวะแทรกซอนคือทุติยภูมิ แนวความคิดนี้เปนการมองปญหาหรือโรคใหครอบคลุมทั้งสองดาน
ที่แตกตางแตเกี่ยวเนื่องสัมพันธกัน อาการที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปเปนปรากฏการณและเปนดานทุติยภูมิ
ตนเหตุของปญหาคือแกนและเปนดานปฐมภูมิ
ในเวชปฏิบัติ โรคควรไดรับการประเมินไปตามสถานะเปน ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตนเหตุแหงโรค
อาการที่ปรากฏ เฉียบพลันและเรื้อรัง กลาวอีกนัยหนึ่งคือสืบคนใหชัดเจนอยางรอบดานที่แตกตางและ
Page 58

48 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

สัมพันธกันแลวจึงใหการรักษาไปตามนั้น โดยทั่วไป เหตุปฐมภูมิหรือตนเหตุ รวมถึงหากมีอาการปรากฏ


แบบเฉียบพลัน ควรพิจารณาใหการรักษากอน ถาอาการและตนเหตุมีความสาหัสทั้งคูควรใหการรักษา
ไปพรอมกัน
การพยายามมองหาเหตุปฐมภูมิหรือตนเหตุเปนสิ่งสําคัญในทางคลินิก ดานปฐมภูมิหรือสาเหตุ
ของโรคควรไดรบั การวินิจฉัยอยางชัดเจนเพื่อที่จะรักษาถึงตนตอของปญหา โรคบางอยางมีอาการตางกัน
แตมีสาเหตุของโรคเหมือนกันซึ่งสามารถใหการรักษาไดดวยวิธีเดียวกัน ตัวอยาง อาการเจ็บคอจากอิน
ไตพรอง และอาการปวดหลังสวนเอวจากอินไตพรอง สามารถใหการรักษาเหมือนกันโดยการเสริมบํารุง
อินไต คัมภีรแพทยโบราณเรียกวา “โรคตางกันรักษาเหมือนกัน” ในทางกลับกัน โรคบางอยางมีอาการ
เหมือนหรือคลายคลึงกันแตมีตนเหตุของโรคตางกัน การรักษายอมตางกันไปตามสาเหตุของโรค
ตัวอยาง อาการปวดศีรษะจากหยางตับทํางานมากเกินควรรักษาโดยการเสริมอินระบายหยาง แตหาก
ปวดศีรษะจากชีแ่ ละเลือดพรองตองรักษาโดยการเสริมบํารุงชี่และเลือด หรือปวดศีรษะจากลมเย็น
กระทําตอเสนลมปราณควรใหการรักษาโดยการขจัดลมเย็น หรือเรียกวา “โรคเหมือนกันรักษา
ตางกัน”
ในบางภาวะที่อาการของโรคอยูในขั้นวิกฤติ หากไมไดรับการแกไขในทันทีอาจมีผลตอการรักษา
ตนเหตุหรืออาจทําใหเสียชีวิตไปกอน ในกรณีนี้มีความจําเปนที่จะตองรักษาอาการกอนตามหลักที่วา
“เมื่อมีอาการเฉียบพลันรุนแรงใหรักษาอาการกอน แลวจึงรักษาตนเหตุเมื่ออาการบรรเทา” ตัวอยาง

ผูปวยไอเรื้อรังจากโรคหืด เกิดเปนไขหวัด มีไขและกลัวหนาว ควรรักษาไขหวัดซึ่งเปนอาการเฉียบพลัน


กอน เมื่อไขหวัดบรรเทาจึงทําการรักษาโรคหืดและไอเรื้อรังซึง่ เปนโรคปฐมภูมิ แตถาโรคปฐมภูมิและ
ทุติยภูมิมีความรุนแรงทั้งคูจําเปนตองใหการรักษาไปพรอมกัน
ในการแพทยแผนจีน การปองกันโรคถือเปนเรื่องที่สําคัญสําหรับโรคปฐมภูมิ การปองกันโรคมี
ความหมายครอบคลุมถึงการปองกันกอนการสัมผัสโรคหรือเหตุแหงโรคและปองกันไมใหแยลงหลังจาก
เกิดโรคแลว คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง ภาคซูเอวิ้น กลาววา “แพทยที่เกงยอมรักษาโรคตั้งแตยังไมปวย
แพทยธรรมดาใหการรักษาเมื่อเกิดโรคขึ้นแลว” ดวยเหตุนี้ในประเทศจีนจึงมีการคิดคนและถือปฏิบัติ
กิจกรรมเพื่อสงเสริมสุขภาพมาอยางยาวนานนับพันป เชน ชี่กง ไทเกก การปรับสภาพรางกายใหเหมะ
สมกับสภาพแวดลอมและฤดูกาล ฯ สําหรับการฝงเข็มและรมยา การกระตุนบํารุง จุด ZuSanLi (ST
36) เปนจุดที่ดีจุดหนึ่งในการสงเสริมสุขภาพและปองกันโรคไดอยางกวางขวาง สิ่งสําคัญคือแพทยตอง
Page 59

บทที่ 2 ปฐมบทสูการฝงเข็มรักษาโรค 49

มีความรูอยางถองแทเกี่ยวกับการเกิดโรค การดําเนินโรคและวิธีการติดโรค รวมทั้งสามารถวินิจฉัยโรค


ไดตั้งแตเริ่มเกิดและรักษาโรคกอนที่จะดําเนินแยลง

4) รักษาโรคตามสภาพผูปวยและสภาวะสิง่ แวดลอม
สภาพอากาศ ฤดูกาล ภูมิประเทศ อายุของผูปว ย สภาพรางกายและปจจัยอื่น ๆ ทั้งภายนอก
และภายใน ตองนํามาพิจารณารวมในการตัดสินใจใหการรักษาดวยวิธีที่เหมาะสม
4.1) สภาพอากาศและฤดูกาล: จากการเฝาสังเกตความสัมพันธระหวางมนุษยและสิง่ แวดลอม
มาแตโบราณ พบวา สภาพภูมิอากาศและฤดูกาลที่แตกตางกันสงผลตอการเกิดโรคที่ตางกัน และ
จําเปนตองปรับวิธีการรักษาใหเหมาะสม คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง ภาคหลิงซู บทที่ 9 กลาววา “ในฤดูใบไม
ผลิ ปจจัยกอโรคมักกระทําตอรางกายในระดับตื้น, ในฤดูรอน ปจจัยกอโรคมักกระทําตอรางกายระดับ
ผิวหนัง, ในฤดูใบไมรวง ปจจัยกอโรคมักกระทําตอรางกายในระดับกลามเนื้อ และในฤดูหนาว ปจจัยกอ
โรคมักกระทําตอรางกายในระดับเสนเอ็นและกระดูก ในการรักษาโรคจึงตองเลือกวิธีการใหเหมาะสม
ตามสภาพอากาศและฤดูกาล”โดยทั่วไป การฝงเข็มในฤดูใบไมผลิและฤดูรอนจะใชเทคนิคฝงเข็มตื้น
สวนในฤดูใบไมรวงและฤดูหนาวนิยมใชเทคนิคการฝงเข็มลึก
นอกเหนือไปกวานั้น ชวงเวลาในการฝงเข็มก็มีความสําคัญในแตละโรค ตัวอยางเชน โรค
มาลาเรียที่มีอาการไขหนาวสั่นเปนเวลา ควรฝงเข็มกอนเกิดอาการหนาวสั่น 2 – 3 ชั่วโมง, อาการปวด
ประจําเดือน ควรทําการฝงเข็มในชวงหลายวันกอนมีประจําเดือน
4.2) ภูมิประเทศหรือตําแหนงทางภูมิศาสตร: วิธีการฝงเข็มที่เหมาะสมควรพิจารณาใชให
เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ วิถีการดําเนินชีวิตในแตละภูมิประเทศมีความแตกตางและหลากหลาย
สงผลตอสรีรรางกายและการดําเนินพยาธิสภาพ ดังนั้นวิธีการฝงเข็มรักษาโรคควรปรับใหเหมาะสมกับ
สภาพภูมิประเทศดวย คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง ภาคซูเวิ่น บทที่ 12 กลาววา “ภูมิประเทศทางเหนือ
ประชาชนอาศัยอยูบนที่สูงและภูเขา เผชิญกับสภาพอากาศหนาวและลมที่รุนแรง ผูคนที่ชอบอาศัยอยู
นอกบานและดื่มนม เปนผลใหทองอืดปวดทองจากการสะสมของความเย็น ควรใหการรักษาดวยวิธีการ
รมยา” “ภูมิประเทศทางใต มีสภาพความชื้นสูง เต็มไปดวยหมอกควันและน้ําคางจัด ผูคนมักชอบรส
เปรี้ยวและรับประทานอาหารหมักดองเปนผลใหกลามเนื้อเกร็งตึงและผิวหนังแดง ประชาชนที่อาศัยใน
แถบนี้มีแนวโนมที่จะเกิดอาการตะคริวของกลามเนื้อ เสนเอ็น และปวดขอรูมาติซึ่ม ควรใหการรักษา
Page 60

50 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ดวยวิธีการฝงเข็ม” ตัวอยางจากคัมภีรดังกลาวเปนการแสดงใหเห็นวา วิธีการรักษาโรคมีความสัมพันธ


กับสภาพภูมิประเทศ วิถีชีวิตและธรรมชาติของโรค
4.3) สภาพของผูปวย: การรักษาโรคตองปรับใหเหมาะสมกับอายุ เพศและปจจัยประกอบอืน่
ๆ ของผูปวยแตละราย ตัวอยาง เพศหญิงและชาย มีสรีระรางกายและปจจัยโนมนําในการเกิดโรคที่
แตกตางกันอยางชัดเจน การรักษาจึงตองเลือกใหเหมาะสมกับเพศของผูปวยดวย หรือผูปวยในแตละวัย
มีสรีรวิทยาและการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพที่แตกตางกัน การรักษาจึงตองเลือกใหเหมาะสมกับอายุ
ของผูปว ยดวยเชนกัน ปจจัยประกอบอื่น ๆ ของรางกาย เชน แข็งแรงหรือออนแอ สมบูรณหรือทรุด
โทรม ภาวะคอนขางรอนหรือเย็น ยอมมีผลในการเลือกวิธกี ารรักษาดวยเชนกัน คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง
ภาคหลิงซู บทที่ 38 กลาววา “ผูที่อยูในวัยกลางคนสภาพแข็งแรง เลือดและชี่สมบูรณ หากเกิดการ
เจ็บปวย ใหรักษาดวยการฝงเข็มที่คอนขางลึกและคาเข็มไวระยะเวลาหนึ่ง” “เด็กซึ่งยังมีกลามเนื้อ
ออนแอ ชี่และเลือดมีปริมาณนอย การรักษาดวยการฝงเข็มควรฝงแบบตื้นและกระตุนเบา” และ บทที่
5 กลาววา “ฝงเข็มลึกและคาเข็มไวระยะหนึง่ กับผูที่ใชแรงงานรางกายกํายํา ขณะที่ฝงเข็มตื้นในผูที่ใช
สมองรางกายบอบบาง”

วิธีการรักษาโรค (Therapeutic Method)


วิธีการรักษาโรคเปนไปตามหลักการรักษาและการวินิจฉัยแยกโรคตามกลุมอาการ ซึ่งรวมถึง
การเลือกจุดฝงเข็มและเทคนิคในการฝงเข็มและรมยา การฝงเข็มรักษาโรคตองคํานึงถึง 4 เรื่อง ที่
เกี่ยวของสัมพันธกันอยางยิ่ง ไดแก ทฤษฎี (Theory) วิธีการ (Method) การสั่งตํารับจุด
(Prescription) และจุดฝงเข็ม (Acupoint) วิธีการรักษาโรคที่มีบันทึกไวในคัมภีรแพทยโบราณ
สืบทอดกันมามี 6 วิธี ไดแก 1) การเสริมบํารุง (Reinforcing) 2) การระบาย (Reducing) 3) การ
อุน (Warming) 4) การชําระ (Clearing) 5) การทําใหเคลื่อนขึ้น (Ascending) และ 6) การทําให
เคลื่อนลง (Descending)
1) การเสริมบํารุง (Reinforcing)
การเสริมบํารุง ใชเพื่อเพิ่มความแข็งแกรงใหกับภูมิตานทานและอวัยวะภายใน และเติมเต็ม
ใหกับอิน- หยาง ชี่และเลือด การเสริมบํารุงมีขอบงใชในกลุมอาการพรอง คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง ภาคหลิงซู
บทที่ 10 กลาววา “การเสริมบํารุงใชในรายที่มีอาการพรอง” และ บทที่ 73 “อินและหยางพรองควร
Page 61

บทที่ 2 ปฐมบทสูการฝงเข็มรักษาโรค 51

ใหการรักษาดวยการรมยา” วิธีการเสริมบํารุงที่ใชกันบอย ไดแก การเสริมบํารุงชี่ไต (reinforcing


kidney Qi) การเสริมบํารุงชีม
่ ามและกระเพาะอาหาร (reinforcing Qi of the spleen and
stomach) การเติมเต็มชี่และเลือด (replenishing Qi and blood) และการบํารุงอินไต
(nourishing kidney yin)
การเสริมบํารุงชีไ่ ต ใชจุด ShenShu (BL 23), GuanYuan (CV 4), TaiXi (KI 3)
เปนตน ใชการฝงเข็มกระตุนบํารุงหรือการรมยา
การเสริมบํารุงชีม่ ามและกระเพาะอาหาร ใชจุด ZhongWan (CV 12), QiHai (CV 6),
ZuSanLi (ST 36) เปนตน ใชการฝงเข็มกระตุนบํารุงหรือการรมยา
การเติมเต็มชี่และเลือด ใชจุด PiShu (BL 20), GeShu (BL 17), ZuSanLi (ST
36), SanYinJiao (SP 6) เปนตน ใชการฝงเข็มกระตุนบํารุงหรือการรมยา
การบํารุงอินไต ใชจุด TaiXi (KI 3), ZhaoHai (KI 6), ZhiShi (BL 52) เปน
ตน ใชการฝงเข็มกระตุนบํารุงหรือการรมยา
วิธีการเสริมบํารุงไมควรใชในรายที่มีปจจัยกอโรคมากหรือแกรงเกิน หรือยังไมไดกําจัดปจจัย
กอโรคออกไป หรือในกลุมอาการพรองที่ไดรับปจจัยกอโรครุนแรงหรือแกรงเกิน
2) การระบาย (Reducing)
การระบายใชในการขจัดปจจัยกอโรคและแกไขการติดขัด เพื่อชวยฟนฟูภูมิตานทานของ
รางกาย แนะนําใหใชกับกลุมอาการเกิน คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง ภาคหลิงซู บทที่ 10 กลาววา “ปจจัยกอ
โรคที่มากและแกรงเกินควรขจัดออกไปดวยวิธีการระบาย” และในภาคซูเอวิ้น บทที่ 5 กลาววา
“เลือดติดขัดควรไดรับการแกไขโดยการปลอยเลือด” วิธีการระบายที่ใชบอย ไดแก การขจัดลมเพื่อ

บรรเทากลุมอาการภายนอก (dispelling wind to relieve the exterior syndrome),


กระตุนการถายและระบายรอน (promoting defecation and reducing heat), เสริมการ
ไหลเวียนเลือดใหคลองและแกไขเลือดคั่งคาง (invigorating blood circulation and
removing blood stasis), การแกไขอาการรับอาหารไมได (removing indigestion)
การขจัดลมเพื่อปลดเปลื้องกลุมอาการภายนอก ใชจุด FengChi (GB 20), HeGu (LI 4)
เปนตน ใชการฝงเข็มกระตุนระบาย
Page 62

52 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

กระตุนการถายและระบายรอน ใชจุด QuChi (LI 11), TainShu (ST 25),


FengLong (ST 40) เปนตน ใชการฝงเข็มกระตุนระบาย
เสริมการไหลเวียนเลือดใหคลองและแกไขเลือดคั่งคาง ใชการเจาะปลอยเลือดที่จุดที่สัมพันธ
กับตําแหนงอาการ เพื่อรักษาเลือดติดขัด
การแกไขอาการรับอาหารไมได ใชจุด JianLi (CV 11), ZuSanLi (ST 36),
SiFeng (ET) ใชการฝงเข็มกระตุนระบาย
วิธีการระบายไมควรใชในกลุมอาการพรอง หรือ กลุมอาการแกรงที่เปนผลมาจากความพรอง
3) การอุน (Warming)
วิธีการอุน ใชเพื่อทําใหอุนและแกไขการอุดตันของเสนลมปราณ อุนและบํารุงหยางชี่ อุนจง
เจียวเพื่อขับไลความเย็น และฟนฟูหยางจากการยุบแฟบหรือเหือดแหงจนถึงขั้นวิกฤติ (yang
collapse) วิธีการอุนใชสําหรับกลุมอาการเย็น คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง ภาคซูเอวิ้น บทที่ 74 กลาววา
“กลุมอาการเย็นควรรักษาดวยวิธีการทําใหอุน” และ บทที่ 73 กลาววา “ถาเสนลมปราณมีสภาพ

แนนตึงใหทําการรมยา” ในภาคหลิงซู บทที่ 64 กลาววา “ในรายที่มีอาการแข็งเปนกอน รักษาดวยการ


อุนและสงเสริมใหการไหลเวียนชี่คลองตัว” และ บทที่ 48 กลาววา “ใชการรมยาใหอนุ ในรายที่มี
ความเย็นเขาเลือด” วิธีการอุน ที่ใชบอย ไดแก ขจัดความเย็นจากเสนลมปราณ (remove cold
from the meridians) การอุนจงเจียวเพื่อขับสลายความเย็น (warming the middle
energizer to dispel cold) ฟนฟูหยางจากการแหงเหือด (restoring yang from
collapse)
การขจัดความเย็นจากเสนลมปราณดวยการอุน โดยการคาเข็มหรือรมยาที่จุดตาง ๆ ตามแนว
เสนลมปราณที่มีปญหาถูกกระทําจากลมเย็นกอโรค
การอุนจงเจียวเพื่อขับสลายความเย็น ใชจุด ZhongWan (CV 12) และ ZuSanLi (ST 36)
โดยการคาเข็มหรือรมยา
การฟนฟูหยางจากการแหงเหือด ใชจุด GuanYuan (CV 4) และ ShenQue (CV 8) เพื่อ
รักษาอาการเย็นของแขนขาจากการลดลงอยางมากของหยางชี่
วิธีการอุนไมใชกับกลุมอาการรอน และการรมยาควรใชอยางระมัดระวังสําหรับกลุมอาการอิน
พรอง
Page 63

บทที่ 2 ปฐมบทสูการฝงเข็มรักษาโรค 53

4) การชําระ (Clearing)
วิธีการชําระ หรือเปนที่รูกันวา เปนวิธีการลดไข (febrifugal approach) ใชเพื่อการ
กําจัด
ความรอนกอโรค สําหรับกลุมอาการรอน คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง ภาคซูเวิ่น บทที่ 74 กลาววา “กลุมอาการ
รอนใหรักษาดวยการแทงเข็มอยางรวดเร็ว” และ “ความรอนกอโรคที่อยูภายในจะตองถูกกําจัด
ออกไป” วิธีการชําระที่ใชบอย ไดแก ขับสลายความรอนกอโรค (dispelling the pathogenic heat)
กลุมอาการรอนของอวัยวะภายใน (heat syndrome in the zang-fu organs) กําจัดความรอนและกู
ชีพ (clearing off heat and resuscitation)
ขับสลายความรอนกอโรค ใชจดุ DaZhui (GV 14), QuChi (LI 11) และ HeGu (LI 4)
โดยการฝงเข็มกระตุนระบาย
กลุมอาการรอนของอวัยวะภายใน ใชจุด จิ่ง-ตาน้ํา (Jing-Well point) และ จุด อิ๋ง-น้ําพุ
(Ying-Spring point) ของเสนลมปราณที่เกี่ยวของสัมพันธกับอวัยวะที่มีปญหา โดยการฝงเข็มกระตุน
ระบาย หรือการเจาะปลอยเลือด
กําจัดรอนและกูช ีพ ใชจุด RenZhong (GV 26) และ 12 จุดจิ่ง-ตาน้ํา ไดแก ShaoShang
(LU 11), ShaoChong (HT 9), ZhongChong (PC 9), ShangYang (LI 1), GuanChong (TE 1)
และ ShaoZe (SI 1) ของมือทัง้ สองขางรวม 12 จุด โดยการฝงเข็มกระตุนระบายหรือเจาะปลอยเลือด
5) การทําใหเคลื่อนขึ้น (Ascending)
วิธีการทําใหเคลื่อนขึ้น หรือดึงขึ้น ใชสําหรับเพิ่มหยางชี่และดึงรั้งอวัยวะภายในที่หยอนเคลื่อน
ลงต่ํากวาตําแหนงปกติ ความลมเหลวในการเคลื่อนขึ้นของหยาง และการตกลงต่ําของชี่ในจงเจียว
คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง ภาคซูเอวิ้น บทที่ 74 กลาววา “อวัยวะทีห่ ยอนยื่นใหรักษาดวยวิธีการดึงขึ้น” และ
“ชี่จากสวนบนที่เคลื่อนลงต่ํา ตองผลักดันกลับขึ้นไป” ภาคหลิงซู บทที่ 10 กลาววา “อวัยวะหยอน

รักษาดวยการรมยา”
ในทางปฏิบัติ วิธีการทําใหเคลื่อนขึ้น ทําโดยการฝงเข็มกระตุนบํารุงหรือรมยาในจุดที่เปน
ปญหา รวมกับจุด BaiHui (GV 20), QiHai (CV 6), GuanYuan (CV 4), ZuSanli (ST 36) ใช
สําหรับการรักษาอาการมึนงงวิงเวียนจากความลมเหลวในการเคลื่อนขึ้นของหยาง การตกลงต่ําของชี่ใน
Page 64

54 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

จงเจียว อวัยวะภายในหยอน มดลูกปลิ้นหรือดากปลิ้น (prolapse uteri or rectum) มี


ประจําเดือนนานเกินปกติ
วิธีนี้ไมควรใชในผูปวยที่มีอินพรองและหยางทํางานมากเกิน
6) การทําใหเคลื่อนลง (Descending)
วิธีการทําใหเคลื่อนลง หรือดึงลง ใชเพื่อทําใหชที่ ี่แปรปรวนขึ้นสูงเกินลดกลับลงมา และเพื่อทํา
ให หยางสงบ คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง ภาคซูเอวิ้น บทที่ 74 กลาววา “ชี่ที่ไหลเวียนขึ้นสูงอยางผิดปกติ ควร
เหนี่ยวรั้งดวยวิธีการทําใหเคลื่อนลง” ภาคหลิงซู บทที่ 64 กลาววา “ชักนําชี่ใหต่ําลงถาพบวามัน
เคลื่อนขึ้นสูงเกินเหตุ” และบทที่ 19 กลาววา “ฝงเข็มที่จุดจูซันหลี่ (ST 36) เพื่อทําใหชี่ของ
กระเพาะอาหารที่แปรปรวนเคลื่อนต่ําลงมา” วิธีการทําใหเคลื่อนลงที่ใชบอย ไดแก ปรับสมดุลกระเพาะ
อาหารโดยทําใหชี่ที่แปรปรวนเคลื่อนลง (regulation of the stomach by keeping its
perverted qi to descend) สงบหยางตับ (subduing liver yang)
การปรับสมดุลกระเพาะอาหารโดยทําใหชี่ที่แปรปรวนเคลื่อนลง ใชจุด TanZhong (CV 17),
ZhongWan (CV 12), NeiGuan (PC 6) และ ZuSanLi (ST 36) โดยการฝงเข็มกระตุนเสมอ
กัน (ไมบํารุงไมระบาย)
สงบหยางตับ ใชจุด FengChi (GB 20), TaiChong (LR 3) และ YongQuan (KI 1)
โดยการฝงเข็มกระตุนระบาย
วิธีนี้ไมควรใชกบั กลุมอาการพรอง หรือ กลุม อาการสวนบนพรองสวนลางเกิน วิธีการทําให
เคลื่อนลงยังแบงออกเปนหลายเทคนิค ซึ่งอาจมีการกลาวถึงในบทการรักษาโรคตาง ๆ

หลักพื้นฐานสําหรับตํารับจุดและการเลือกจุด (The Basic Principle for


Prescription and Selection of Points)
การฝงเข็มและรมยาเปนการรักษาโรคโดยการแทงเข็มหรือรมยาไปยังจุดที่มีตําแหนงแนนอน
บนรางกาย การสั่งตํารับจุดที่เหมาะสมซึ่งประกอบดวย การเลือกใชจุดฝงเข็มและวิธีการรักษา ซึ่งมี
ความสําคัญตอผลของการรักษา ในตํารับจุด ควรเลือกจุดฝงเข็มมาใชรวมกันตามสรรพคุณของจุดและ
วางแผนกระตุนจุดโดยอาศัยหลักตามการวินิจฉัยแยกกลุมอาการของโรค ในทีน่ ี้จะกลาวถึงหลักพื้นฐาน
ในการสั่งตํารับจุดและการเลือกจุดฝงเข็ม
Page 65

บทที่ 2 ปฐมบทสูการฝงเข็มรักษาโรค 55

1) การสั่งตํารับจุด (Acupuncture Prescription)


1.1) ใบสั่งตํารับจุด: ใบสั่งตํารับจุดเปนบันทึกการตัดสินใจวางแผนการรักษาโรคที่วินิจฉัยไว
ซึ่งประกอบดวยจุดและวิธีการทีเ่ ลือกใช เพื่อเปนแนวทางในขณะทําการรักษาใหเกิดความรอบคอบ
ใบสั่งตํารับจุดควรมีรายชื่อจุดฝงเข็มที่จะใชรว มกันและวิธีการกระตุนจุด เชน กระตุนบํารุงหรือระบาย
ระยะเวลาการรักษา ความถี่ในการรักษา ฯ การบันทึกรายชื่อจุดควรบันทึกตามลําดับเพื่อความสะดวกใน
การใชงาน เชน ลําดับจากสวนบนสูสวนลางของรางกาย จากดานหลังมาดานหนา หรือบันทึกตามลําดับ
ความสําคัญของจุดก็ได จากนั้นจึงลงรายละเอียดของแตละจุดไวขาง ๆ รวมทั้งวิธีการกระตุน ระยะเวลา
ในการคาเข็ม ฯ
สัญลักษณวิธกี ารกระตุนเข็ม ที่นิยมใชในการเขียนใบสั่งตํารับจุด ไดแก
T หรือ + หมายถึง กระตุนบํารุง
# หรือ - หมายถึง กระตุนระบาย
+/- หมายถึง กระตุนเสมอกัน หรือ เทากัน (ไมบํารุงไมระบาย)
# หมายถึง เข็มผิวหนัง
# หมายถึง เข็มสอดผิวหนัง
# หมายถึง เจาะปลอยเลือดดวยเข็มสามเหลี่ยม
# หมายถึง รมยา
# หมายถึง รมยาดวยโกฐแทง
# หมายถึง เข็มอุน

1.2) จํานวนจุดในตํารับจุด: โรคมีจํานวนมาก แตละโรคมีความหลากหลายทั้งการเกิดและการ


ดําเนินโรค ตํารับจุดจึงมีความแตกตางกันไปตามสภาพและความหลากหลายของแตละโรค คัมภีรหฺวังตี้
เนยจิง ภาคซูเอวิ้น บทที่ 74 กลาววา “โรคอาจปรากฏอาการที่มีความรุนแรงแตกตางกันไป การรักษา
โรคควรปรับใหเหมาะสมไปตามสภาพ และตํารับจุดอาจมีจํานวนจุดมากหรือนอยก็ได” ภาคหลิงซู บท
ที่ 59 กลาววา “โรคมีการเปลี่ยนแปลงอยูเสมอ วิธีการรักษาโรคจึงมีมากมายที่จะตองพิจารณาใชตาม
สถานการณ ในรายที่อาการเบาอาจใชจํานวนจุดนอย สวนรายที่อาการหนักอาจเลือกใชจํานวนจุดมาก
Page 66

56 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ขึ้น” โดยทั่วไป ตํารับจุดสามารถแบงตามจํานวนจุดที่ใชเปน 5 ขนาด ไดแก ตํารับจุดชุดใหญ ตํารับจุด


ชุดเล็ก ตํารับจุดชุดผสม ตํารับจุดคู และตํารับจุดเดี่ยว
ตํารับจุดชุดใหญ หมายถึง ตํารับจุดที่เลือกใชจุดจํานวนมาก ซึ่งมักใชกับความผิดปกติอยาง
มากของอวัยวะภายในและระบบเสนลมปราณ เชน อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก ฯ
ตํารับจุดชุดเล็ก หมายถึง ตํารับจุดที่เลือกใชจดุ นอยกวา มักใชกับโรคที่พบไดทั่วไป เชน ไข
จับสั่น ปวดลิ้นป ฯ
ตํารับจุดชุดผสม หมายถึง การประยุกตใชกลุม จุดที่มีสรรพคุณหรือจุดประสงคตางกัน ตั้งแต
สองกลุมจุดขึ้นไป เพื่อการรักษาผูปวยที่ซับซอน มีอาการหลายอยางเกิดขึ้นพรอม ๆ กัน เชน มีอาการ
ปวดศีรษะเกิดขึ้นพรอมกับมีอาการทองรวง
ตํารับจุดคู หมายถึง การเลือกใชเพียง 2 จุด หรือจุดคูที่มีสรรพคุณเสริมกัน เชน จุดอวัยวะ
หลังรวมกับจุดอวัยวะหนา (Shu-Mu) จุดเหยวียนรวมกับจุดลั่ว (Yuan-Luo) และการใชจุดคูบน-ลาง
ของจุดเชื่อมโยงเสนลมปราณวิสามัญทั้งแปด (รายละเอียดอยูในบทที่ 1 และตารางที่ 1-7 ของตําราการ
ฝงเข็ม-รมยาเลม 1)
ตํารับจุดเดี่ยว หมายถึง การเลือกใชเพียงจุดเดียวในการรักษาอาการที่เกิดขึ้น ตัวอยาง ใชจดุ
XiMen (PC 4) รักษาอาการเจ็บหนาอกจากโรคหัวใจ, ใชจุด ShuiGou (GV 26) รักษาอาการปวด
หลังสวนเอว เปนตน
2) หลักการเลือกจุดฝงเข็ม
การเลือกจุดฝงเข็มเปนหลักพื้นฐานสําคัญของการฝงเข็มและรมยา ซึ่งตองอาศัยความรูทาง
ทฤษฎีเกี่ยวกับอวัยวะภายในและระบบเสนลมปราณ วิถีการไหลเวียนของเสนลมปราณ โรคและ
ความสัมพันธกับระบบเสนลมปราณ และสรรพคุณของจุดฝงเข็ม การเลือกจุดฝงเข็มอาจเลือกโดยการ
อางอิงกับเสนลมปราณ หรืออางอิงกับพยาธิสภาพก็ได ในทางปฏิบัติมักใชการอางอิงผสมผสานกัน
2.1) การเลือกจุดโดยอางอิงเสนลมปราณ แบงเปน 3 วิธี ไดแก เลือกจุดจากเสนลมปราณที่
เกิดโรค เลือกจุดจากเสนลมปราณคูสัมพันธ และเลือกจุดจากหลายเสนลมปราณ
2.1.1) การเลือกจุดจากเสนลมปราณที่เกิดโรค หมายถึง เลือกจุดจากเสนลมปราณที่โรคเขา
กระทํา หรือเสนลมปราณที่สังกัดอยูกับอวัยวะที่มีปญหา
Page 67

บทที่ 2 ปฐมบทสูการฝงเข็มรักษาโรค 57

2.1.2) การเลือกจุดจากเสนลมปราณคูสัมพันธ หมายถึง การเลือกจุดจากเสนลมปราณที่สังกัด


กับอวัยวะภายในที่เปนคูสัมพันธกัน เชน ปอดกับลําไสใหญ มามกับกระเพาะอาหาร เปนตน หรือ
เลือกใชจุดที่มีความสัมพันธ “แม-ลูก” จากเสนลมปราณคูสัมพันธตามหลักปญจธาตุก็ได
2.1.3) การเลือกจุดจากหลายเสนลมปราณ ใชสําหรับรักษาอาการที่เกิดจากพยาธิสภาพของ
หลายเสนลมปราณ หรือเมื่อผูปวยไมดีขึ้นจากการเลือกใชจุดจากหนึ่งหรือสองเสนลมปราณ ก็สามารถ
เลือกใชจุดเพิ่มเติมจากเสนลมปราณอื่น ๆ ไดตามสรรพคุณที่ตองการ
2.2) การเลือกจุดโดยอางอิงกับพยาธิสภาพ แบงออกเปน 3 กลุม ไดแก การเลือกจุดใกล การ
เลือกจุดไกล และการเลือกจุดตามอาการ
2.2.1) เลือกจุดใกล (Selection of nearby points) หมายถึง การเลือกจุดที่อยูใน
บริเวณหรือรอบบริเวณหรือตําแหนงของรอยโรคหรือพยาธิสภาพ แบงเปน 2 สวน ไดแก จุดถิ่น และ
จุดประชิด
2.2.1.1) การเลือกจุดถิน่ (Selection of local points) หรือจุดในถิ่นโรค หมายถึง
จุดที่อยูในบริเวณที่เปนโรค ตัวอยาง เลือกจุด JingMing (BL 1) และ ZanZhu (BL 2) สําหรับ
โรคตา, จุด JuLiao (ST 3) และ YingXiang (LI 20) สําหรับโรคของจมูก, จุด TingGong
(SI 19) และ TingHui (GB 2) สําหรับโรคหู, จุด ZhongWan (CV 12) สําหรับโรคบริเวณลิ้นป
เปนตน หากมีตําแหนงโรคที่แนนอนใหเลือกใชจุดในถิ่นโรคกอน เวนแตมีขอหามในการฝงเข็มตรงจุด
ถิ่น เชน มีแผลหรือแผลเปน ฯ จึงเลือกใชจุดประชิดแทน
2.2.1.2) การเลือกจุดประชิด (Selection of adjacent point) หมายถึง เลือกจุดที่
อยูรอบหรือใกลชิดกับบริเวณที่เปนโรค ตัวอยาง เลือกจุด ShangXing (GV 23) และ TongTian
(BL 7) สําหรับโรคของจมูก, จุด FengChi (GB 20) และ FengFu (GV 16) สําหรับอาการปวด
ศีรษะ, จุด ZhangMen (LR 13) และ TianShu (ST 25) สําหรับอาการปวดจากกระเพาะอาหาร
เปนตน จุดประชิดอาจเลือกใชลําพังหรือใชรว มกับจุดในถิ่นโรคก็ได
อนึ่ง จุดบนศีรษะที่ถูกเลือกเพือ่ รักษาปญหาของอวัยวะรับสัมผัสทั้งหา และจุดบนลําตัวที่ถูก
เลือกเพื่อรักษาปญหาของอวัยวะภายใน ก็จัดเปนการเลือกจุดอยูประเภทการเลือกจุดใกลดวย
2.2.3) การเลือกจุดไกล หมายถึง เลือกจุดที่อยูหางไกลจากบริเวณที่เปนโรค โดยทั่วไปจุดไกล
มักนิยมเลือกจุดที่อยูปลายตอขอศอกหรือขอเขา คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง ภาคซูเอวิ้น บทที่ 70 กลาววา
Page 68

58 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

“เลือกจุดสวนลางเพื่อรักษาปญหาของสวนบน เลือกจุดสวนบนเพื่อรักษาปญหาของสวนลาง และเลือก


จุดขางลําตัวเพือ่ รักษาปญหาของสวนกลางลําตัว” ตัวอยาง เลือกจุด ZuSanLi (ST 36) เพื่อรักษา
ปญหาของทองและลิ้นป, เลือกจุด HeGu (LI 4) เพื่อรักษาความผิดปกติของใบหนา, เลือก XingJian
(LR 2) เพื่อรักษาอาการตาบวมแดง, เลือก BaiHui (GV 20) เพื่อรักษาอาการอุจจาระรวงเรื้อรัง
การเลือกจุดไกลถือเปนสวนสําคัญอันหนึ่งในการเลือกจุดฝงเข็ม เชน เลือกจุดของแขนและขา
เพื่อรักษาความผิดปกติของศีรษะ ลําตัวและอวัยวะภายใน ระบบเสนลมปราณเปนเครือขายการ
ไหลเวียนที่เชื่อมโยงครอบคลุมทั่วรางกายทั้งแนวยาวและแนวขวาง ทั้งสวนตื้นและสวนลึก การใชจุด
รวมกันมีแนวคิดหลากหลายตามความเหมาะสม อาทิ ใชจุดรวมบน-ลาง ใชจุดรวมซาย-ขวา ใชจุดรวม
นอก-ใน และใชจุดรวมใกล-ไกล (ตารางที่ 2.1)
2.3) การเลือกจุดตามอาการ (Selection of symptomatic points) หมายถึง เลือกจุดที่มี
สรรพคุณเดนในการรักษาอาการของโรคตามอาการที่ปรากฏ ตัวอยาง เลือกจุด DaZhui (GV 14) และ
QuChi (LI 11) เพื่อรักษาอาการไข, เลือกจุด ShuiGou (GV 26) และ YongQuan (KI 1) รักษา
อาการหมดสติในผูปวยฉุกเฉิน
การเลือกจุดแบบสืบทอดประสบการณกันมาโดยไมไดอาศัยการวิเคราะหทางทฤษฎี ซึ่งมักเปน
จุดประสบการณโดยใชจุดนอกระบบ จัดเปนการเลือกจุดในกลุมนี้ดวย เชน ใชจุด SiFeng (EX-UE
10) เพื่อรักษาอาการเบื่ออาหารในเด็ก ใชจุด ErBai (EX-UE 2) ในการรักษาริดสีดวงทวาร (ตารางที่
2.2)
Page 69

บทที่ 2 ปฐมบทสูการฝงเข็มรักษาโรค 59

ตารางที่ 2.1 ตัวอยางการเลือก จุดใกล (จุดถิ่น และ จุดประชิด) และ จุดไกล


ตําแหนงโรค จุดถิน่ จุดประชิด จุดไกล
HeGu (LI 4)
หนาผาก YangBai (GB 14) BaiHui (GV 20)
NeiTing (ST 44)
ศีรษะ WaiGuan (TE 5)
TaiYang (EX-HN 5)
FengChi (GB 20) ZuLingQi (GB 41)
ShuaiGu (GB 8)
ดานขาง ZuQiaoYin (GB 44)
HouXi (SI 3)
TianZhu (BL 10) KunLun (BL 60)
ตนคอ DaZhui (GV 14)
YaMen (GV 15) YaoYangGuan (GV
3)
YangLao (SI 6)
MuChuang (GB
ตา JingMing (BL 1) TaiChong (LR 3)
16)
GuangMing (GB 37)
ShangXing (GV23) LieQue (LU 7)
จมูก YingXiang (LI 20)
JuLiao (ST 3) LiDui (ST 45)
DiCang (ST 4) HeGu (LI 4)
ปากและแกม QuanLiao (SI 18)
JiaChe (ST 6) JieXi (ST 41)
TingGong (SI 19) ZhongZhu (TE 3)
หู TingHui (GB 2) FengChi (GB 20) XiaXi (GB 43)
YiFeng (TE17) FengShi (GB 31)
LianQuan (CV 23)
YuJi (LU 10)
คอ TianRong (SI 17) TainZhu (BL 10)
ZhaoHai (KI 6)
RenYing (ST 9)
NeiGuan (PC 6)
อก TanZhong (CV 17) ZhongFu (LU 1)
FengLong (ST 40)
ZhiGou (TE 6)
QiMen (LR 14)
ชายโครง ZhangMen (LR 13) YangLingQuan(GB
DaBao (SP 21)
34)
NeiGuan (PC 6)
ทองสวนบน ZhongWan (CV 12) LiangMen (ST 21)
ZuSanLI (ST 36)
SanYinJiao (SP 6)
ทองสวนลาง GuanYuan (CV 4) TianShu (ST 25)
QuQuan (LR 8)
ShenShu (BL 23) WeiZhong (BL 40)
หลังสวนเอว CiLiao (BL 32)
DaChangShu (BL 25) HouXi (SI 3)
BaiHuanShu(BL
ทวารหนัก ChangQiang (GV 1) ChengShan (BL 57)
30)
Page 70

60 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ตารางที่ 2.2 ตัวอยางการเลือกจุดตามอาการ


อาการ จุดฝงเข็ม
ไข ตัวรอน DaZhui (GV 14), QuChi (LI 11), HeGu (LI 4)

หมดสติ ShuiGou (GV 26), ShiXuan (EX-UE 11)

เหงื่อออกกลางคืน HouXi (SI 3), YinXi (HT 6)

กรามเกร็ง ขบฟน XiaGuan (ST 7), JiaChe (ST 6), HeGu (LI 4)

ไอ หอบหืด TianTu (CV 22), DingChuan (EX-B 1)

แนนอก หายใจไมสะดวก TanZhong (CV 17), NeiGuan (PC 6)


เจ็บอกจากหัวใจ NeiGuan (PC 6), XiMen (PC 4)

เจ็บชายโครง ZhiGou (TE 6), YangLingQuan (GB 34)

ทองอืด QiHai (CV 6), ZuSanLi (ST 36)

ทองผูก ZhiGou (TE 6), ZhaoHai (KI 6)

ลมชัก HeGu (LI 4), TaiChong (LR 3)

เลือดกําเดาออก ShangXing (GV 23), HeGu (LI 4)

การประยุกตใชจุดพิเศษ (Application of Specific Points)


จุดพิเศษ หมายถึง จุดสามัญหรือจุดในระบบเสนลมปราณที่มีคุณสมบัติหรือสรรพคุณเพิ่มเติม
เปนพิเศษจากจุดสามัญอื่น ๆ ดวยสรรพคุณพิเศษของจุดเหลานี้ จึงสามารถนํามาใชพลิกแพลงรักษาโรค
ไดกวางขวางครอบคลุมและเกิดประสิทธิผลยิ่งขึน้ รายละเอียดเกี่ยวกับจุดพิเศษอยูใน ตําราการฝงเข็ม
รมยา เลม 1 บทที่ 1 ทฤษฎีเสนลมปราณและจุดฝงเข็ม ในบทนี้จึงกลาวถึงเฉพาะลักษณะและการ
ประยุกตใชจุดพิเศษเหลานี้ในทางคลินิก
1) จุดซูทั้งหา หรือ จุดอูซู (五输穴 WǔShūXué: Five Shu points)
จุดซูทั้งหา สามารถเลือกใชได 2 กรณี ไดแก เลือกใชตามสรรพคุณของจุดและเลือกใชตาม
หลักปญจธาตุ
Page 71

บทที่ 2 ปฐมบทสูการฝงเข็มรักษาโรค 61

การเลือกใชจุดซูทั้งหาตามสรรพคุณของจุด คัมภีร 81 ปญหาทางการแพทย บทที่ 68 กลาววา


“จุดจิ่ง-ตาน้ํา (井 Jǐng: Jing-Well) ใชรักษาอาการแนนหนาอก-ลิ้นป, จุดหญง หรือ อิ๋ง-น้ําพุ (荣

Róng or Ying: Rong or Ying-Spring) ใชรก ั ษาโรคที่มีไข, จุดซู-ลําธาร (输 Shū: Shu-Stream) ใช
รักษาอาการรูสกึ หนักตามรางกายและปวดขอ, จุดจิง-แมน้ํา (经 Jīng: Jing-River) สําหรับอาการไอและ
หอบหืด ทั้งที่เกิดจากความเย็นและความรอน และ จุดเหอ-ทะเล ( 合 Hé: He-Sea) ใชรกั ษาอาการ
ทองรวงจากชีไ่ หลเวียนแปรปรวน”โดยทั่วไป จุดซูทั้งหา สามารถเลือกใชตามสรรพคุณ ดังนี้
จุดจิ่ง-ตาน้ํา เปนจุดที่ปลายนิ้วมือ-นิ้วเทา มักอยูตรงรอยตอระหวางผิวหนังสีเขมและสีจาง ซึง่
เปนจุดเชื่อมตออินและหยาง เลือดและชี่ จึงเปนจุดที่มักใชในกรณีฉุกเฉินเพื่อเปดทวารในรายที่เปนลม
หมดสติหรือหมดสติจากอาการโคมา โรคเกี่ยวกับสติสัมปชัญญะหรืออาการทางจิตที่สัมพันธกับอวัยวะ
ตัน และใชรักษาอาการแนนหนาอก-ลิ้นป
จุดหญง-น้ําพุ ใชสําหรับโรคตาง ๆ ที่มีอาการไข (febrile diseases)
จุดซู-ลําธาร ใชบรรเทาอาการปวดโดยเฉพาะปวดขอ และการรับความรูสึกผิดปกติ โดยเฉพาะ
ความรูสึกหนัก ๆ จากอาการน้ําคั่ง
จุดจิง-แมน้ํา ใชสําหรับอาการไอและหอบหืดทั้งที่เกิดจากความเย็นและความรอน รวมถึงโรค
อื่น ๆ ที่เกิดจากการกระทําของปจจัยกอโรคภายนอก
จุดเหอ-ทะเล ใชสําหรับอาการผิดปกติของอวัยวะกลวงทั้งหก เชน คลื่นไสอาเจียน อุจจาระรวง
มึนงงวิงเวียนศีรษะ รวมถึงใชชกั นําชี่ที่แปรปรวนขึ้นเบื้องสูงใหกลับลงมา
กลาวโดยสรุป จุดจิ่ง-ตาน้ํา สําหรับโรคทางจิตหรือสติสัมปชัญญะที่สัมพันธกับอวัยวะภายใน,
จุดหญง-น้ําพุ จุดซู-ลําธาร และ จุดจิง-แมน้ํา สําหรับอาการผิดปกติของอวัยวะภายนอกตลอดแนวเสน
ลมปราณ, จุดเหอ-ทะเล สําหรับปญหาที่เกี่ยวของสัมพันธกบั อวัยวะกลวง ในกรณีนี้รวมถึงจุดเหอลาง
ดวย
การเลือกใชจุดซูทั้งหาตามหลักปญจธาตุ จุดซูทั้งหาของแตละเสนลมปราณสามารถจัด
แบงเปนจุดธาตุทั้งหาที่มีความสัมพันธกันในเชิงปญจธาตุดวย แตละจุดซูของเสนลมปราณอินและเสน
ลมปราณหยางมีความสัมพันธกับธาตุที่แตกตางกัน ตัวอยาง จุดจิ่ง-ตาน้ําของเสนอินเปนธาตุไม สวน
ของเสนหยางเปนธาตุทอง เปนตน รายละเอียดความสัมพันธของจุดซูทั้งหาและธาตุทั้งหา แสดงไวใน
ตารางที่ 2.3 และ 2.4 จุดซูทั้งหาสามารถพิจารณาเลือกใชตามหลักความสัมพันธระหวางธาตุ โดยเฉพาะ
Page 72

62 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

กฎความสัมพันธ “แม-ลูก” ไดแก อาการพรองเสริมบํารุงที่แม และอาการแกรงระบายที่ลกู


ตารางที่ 2.3 จุดซูท้งั หา ปญจธาตุ และจุดแม-ลูก ของเสนลมปราณอิน
จุดหญง-
จุด/ ธาตุ จุดจิ่ง-ตาน้ํา จุดซู-ลําธาร จุดจิง-แมน้ํา จุดเหอ-ทะเล
น้ําพุ
เสนอิน ธาตุไม ธาตุดิน ธาตุทอง ธาตุน้ํา
ธาตุไฟ
เสนมือไทอิน ShaoShang YuJi TaiYuan JingQu ChiZe
ปอด (LU 11) (LU 10) (LU 9) (แม) (LU 8) (LU 5) (ลูก)

เสนมือเจวี๋ยอิน ZhongChong LaoGong DaLing JianShi QuZe


เยื่อหุมหัวใจ (PC 9) (แม) (PC 8) (PC 7) (ลูก) (PC 5) (PC 3)

เสนมือเสาอิน ShaoChong ShaoFu ShenMen LingDao ShaoHai


หัวใจ (HT 9) (แม) (HT 8) (HT 7) (ลูก) (HT 4) (HT 3)

เสนเทาไทอิน YinBai DaDu TaiBai ShangQiu YinLingQuan


มาม (SP 1) (SP 2) (แม) (SP 3) (SP 5) (ลูก) (SP 9)

เสนเทาเจวี๋ยอิน DaDun XingJian TaiChong ZhongFeng QuQuan


ตับ (LR 1) (LR 2) (ลูก) (LR 3) (LR 4) (LR 8) (แม)

เสนเทาเสาอิน YongQuan RanGu TaiXi FuLiu YinGu


ไต (KI 1)(ลูก) (KI 2) (KI 3) (KI 7) (แม) (KI 10)

ตารางที่ 2.4 จุดซูท้งั หา ปญจธาตุ และจุดแม-ลูก ของเสนลมปราณหยาง


จุด/ธาตุ จุดจิ่ง-ตาน้ํา จุดหญง-น้ําพุ จุดซู-ลําธาร จุดจิง-แมน้ํา จุดเหอ-ทะเล
เสนหยาง ธาตุทอง ธาตุน้ํา ธาตุไม ธาตุไฟ ธาตุดิน
เสนมือหยางหมิง ShangYang ErJian SanJian YangXi QuChi
(LI 1) (LI 2) (ลูก) (LI 3) (LI 5) (LI 11) (แม)
ลําไสใหญ
เสนมือเสาหยาง GuanChong YeMen ZhongZhu ZhiGou TianJing
(TE 1) (TE 2) (TE 3)(แม) (TE 6) (TE 10) (ลูก)
ซานเจียว
เสนมือไทหยาง ShaoZe QianGu HouXi YangGu XiaoHai
(SI 1) (SI 2) (SI 3)(แม) (SI 5) (SI 8) (ลูก)
ลําไสเล็ก
Page 73

บทที่ 2 ปฐมบทสูการฝงเข็มรักษาโรค 63

เสนเทาหยางหมิง LiDui NeiTing XianGu JiaXi ZuSanLi


(ST 45) (ลูก) (ST 44) (ST 43) (ST 41)แม) (ST 36)
กระเพาะอาหาร
เสนเทาเสาหยาง ZuQiaoYin XiaXi ZuLingQi YangFu YangLingQuan
(GB 44) (GB 43)(แม) (GB 41) (GB 38)(ลูก) (GB34)
ถุงน้ําดี
เสนเทาไทหยาง ZhiYin ZuTongGu ShuGu(ลูก) KunLun WeiZhong
(แม) (BL 66) (BL 60) (BL 40)
(BL 65)
กระเพาะปสสาวะ (BL 67)

ตารางที่ 2.5 จุดแม-ลูก ของอวัยวะภายใน


ปญจธาตุ อวัยวะภายใน จุดแม จุดลูก
ปอด TaiYuan (LU 9) ChiZe (LU 5)
ธาตุทอง
ลําไสใหญ QuChi (LI 11) ErJian (LI 2)

ไต FuLiu (KI 7) YongQuan (KI 1)

ธาตุน้ํา กระเพาะ
ZhiYin (BL 67) ShuGu (BL 65)
ปสสาวะ
ตับ QuQuan (LR 8) XingJian (LR 2)
ธาตุไม
ถุงน้ําดี XiaXi (GB 43) YangFu (GB 38)

ธาตุไฟ หัวใจ ShaoChong (HT 9) ShenMen (HT 7)

(จักรพรรดิ) ลําไสเล็ก HouXi (SI 3) XiaoHai (SI 8)

ธาตุไฟ เยื่อหุมหัวใจ ZhongChong (PC9) DaLing (PC 7)


(เสนาบดี) ซันเจียว ZhongZhu (TE 3) TianJing (TE 10)

มาม DaDu (SP 2) ShangQiu (SP 5)


ธาตุดิน
กระเพาะอาหาร JieXi (ST 41) LiDui (ST 45)

ตัวอยางเพื่อความเขาใจ เรื่องการประยุกตใชจุดหาซูตามหลักปญจธาตุของกลุมอาการแกรง
และกลุมอาการพรอง ของเสนลมปราณมือไทอินปอด
Page 74

64 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

กรณีที่ 1: กลุมอาการพรองของเสนลมปราณมือไทอนิ ปอด


- ลักษณะทางคลินิก: อาการไอเรื้อรัง หอบเหนื่อยงายเมื่อออกแรง เสียงเบาไรพลัง เหงื่อออก
งาย ชีพจรเบาเล็กเหมือนเสนดาย
- การเลือกจุดบนเสนปอด: ใหเสริมบํารุงจุด T à iYuā n (LU 9) เนื่องเพราะปอดเปนธาตุ
ทองมีธาตุแมเปนธาตุดิน จุดธาตุดินของเสนลมปราณอิน คือ จุดซู-แมน้ํา ๆ ของเสนปอด ไดแก TàiYu
ān (LU 9)
- การเลือกจุดบนเสนที่เกี่ยวของ: ใหเสริมบํารุงจุด TàiBài (SP3) ของเสนมาม และ QūChí
(LI 11) ของเสนลําไสใหญ เนื่องเพราะมามเปนธาตุดินซึ่งเปนธาตุแมของธาตุทอง TàiBài (SP3) เปน

จุดธาตุดินของเสนมาม (จุดธาตุดินของเสนลมปราณธาตุดิน) ลําไสใหญเปนอวัยวะคูส ัมพันธกับปอดซึ่ง


เปนธาตุทองเชนเดียวกัน เสนลําไสใหญเปนเสนลมปราณหยางซึ่งมีจุดธาตุดิน คือ จุดเหอ-ทะเล ไดแก Q
ūChí (LI 11)
กรณีที่ 2: กลุมอาการแกรงของเสนลมปราณมือไทอนิ ปอด
- ลักษณะทางคลินิก: มีอาการไอเฉียบพลัน เสียงดังและกระดาง หอบเหนื่อย แนนหนาอก
นอนราบไมได ชีพจรลอยและลื่น
- การเลือกจุดบนเสนปอด: ใหระบายจุด ChǐZé (LU 5) เนื่องเพราะ เปนจุดธาตุน้ําของเสน
ปอด ซึ่งธาตุน้ําเปนธาตุลูกของธาตุทอง
- การเลือกจุดบนเสนที่เกี่ยวของ: ใหระบายจุด YīnGǔ (KI 10) ของเสนไตและ ÈrJiān (LI
2) ของเสนลําไสใหญ เนื่องเพราะ YīnGǔ (KI 10) เปนจุดธาตุน้ําของเสนไต ซึ่งเปนเสนลมปราณธาตุ
น้ํา (จุดธาตุน้ําของเสนลมปราณธาตุน้ํา) ธาตุน้ําเปนธาตุลูกของธาตุทอง เสนลําไสใหญเปนเสน
ลมปราณหยางคูสัมพันธกับเสนปอดซึ่งเปนธาตุทองเชนเดียวกัน มีจุดธาตุน้ํา คือ จุดหญง-น้ําพุ ไดแก
ÈrJiān (LI 2)

2) จุดเหอลาง (下合穴 XiàHéXué: Lower He-Sea points)


จุดเหอลางเปนจุดเหอ-ทะเล 6 จุด ของเสนลมปราณหยางที่สังกัดกับอวัยวะกลวงทัง้ หก ซึ่งอยู
บนเสนลมปราณเทาหยาง 3 เสน เปนจุดที่ใชรักษาโรคที่เกีย่ วของกับความผิดปกติของอวัยวะกลวงทั้ง
หก ดังสรุปไวในตารางที่ 2.6
Page 75

บทที่ 2 ปฐมบทสูการฝงเข็มรักษาโรค 65

ตารางที่ 2.6 จุดเหอลาง สรรพคุณและตําแหนงบนเสนลมปราณ


อวัยวะกลวง จุดเหอลาง สรรพคุณในการรักษา เสนลมปราณ
กระเพาะอาหาร ZuSanLi (ST 36) โรคของกระเพาะอาหารเชนปวดกระเพาะ
ShangJuXu (ST เสนเทาหยางหมิง
ลําไสใหญ 37)
โรคของลําไสใหญ เชน โรคบิด
กระเพาะอาหาร
ลําไสเล็ก XiaJuXu (ST 39) โรคของลําไสเล็ก เชน ทองลั่นโครกคราก
WeiZhong (BL
กระเพาะปสสาวะ 40)
โรคของกระเพาะปสสาวะ เชน ปสสาวะขัด เสนเทาไทหยาง
ซานเจียว WeiYang (BL 39) โรคของชองทอง เชน ทองมาน กระเพาะปสสาวะ
YangLingQuan เสนเทาเสาหยางถุง
ถุงน้ําดี (GB 34)
โรคของถุงน้ําดี เชน ปวดทอน้ําดี อาเจียน
น้ําดี

3) จุดเหยวียน (原穴 YuánXué: Yuan-Source points)


จุดเหยวียน เปนจุดบนเสนลมปราณสามัญ 12 เสน ๆ ละ 1 จุด รวม 12 จุด มีตําแหนงอยู
ใกลขอมือหรือขอเทา จุดเหยวียนของเสนลมปราณอินเปนจุดเดียวกับจุดซู-ลําธาร จุดเหยวียนของเสน
ลมปราณหยางเปนจุดที่อยูถัดจากจุดซู-ลําธาร (ตารางที่ 2.7) จุดเหยวียนใชรักษาความผิดปกติของ
อวัยวะภายในตนสังกัด ไดแก อวัยวะตันทั้งหาและอวัยวะกลวงทั้งหก และยังเปนจุดสะทอนความ
ผิดปกติของอวัยวะตันทั้งหา คัมภีรหฺวังตี้เนยจิง ภาคหลิงซู บทที่ 1 กลาววา “เมื่ออวัยวะตันทั้งหาเปน
โรคจะแสดงอาการที่จุดเหยวียนของเสนลมปราณที่สังกัดอวัยวะนั้น ดวยเหตุนี้หากสามารถศึกษาถึง
ความสัมพันธระหวางอวัยวะตันและอาการที่ปรากฏภายนอกตรงจุดเหยวียนที่สงั กัดได ยอมไมยากที่จะ
เขาใจถึงธรรมชาติของโรคของอวัยวะตันทั้งหา” และ “จุดเหยวียนทั้ง 12 จุด มีประสิทธิภาพในการ
รักษาโรคของอวัยวะตันทั้งหาและอวัยวะกลวงทั้งหก”
จุดเหยวียนสามารถใชรกั ษาความผิดปกติของอวัยวะภายใน ทั้งกลุมอาการพรองและแกรง
โดยอาจเลือกใชจุดเหยวียนเพียงลําพัง หรือใชรวมกับจุดลัว่ ที่สัมพันธนอก-ในกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การรักษา

4) จุดลั่ว (络穴 LuòXué: Luo-Connecting points)


จุดลั่วเปนจุดที่เสนลั่วแยกออกมา เสนลมปราณสามัญ 12 เสน มีจุดลั่วที่อยูปลายตอขอศอก
และขอเขาเสนละ 1 จุด บนลําตัวมีจุดลั่ว 3 จุด เปนของเสนลมปราณตู เสนลมปราณเญิ่น และจุดลั่ว
Page 76

66 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ใหญของเสนลมปราณมามเสนละ 1 จุด รวมทั้งสิ้น 15 จุด (ตารางที่ 2.7)


ในดานการวินิจฉัยโรค จุดลั่วสามารถใชเสริมในการวินิจฉัยโรคได โดยโรคของเสนลมปราณ
อาจมาสื่ออาการที่จุดลั่วในลักษณะของการเจ็บ ปวด ชา แข็งเปนไตหรือมีสีผิดปกติ
สําหรับการรักษาโรคสามารถเลือกใชจุดลั่วได 3 แนวทาง ไดแก
4.1) การใชจุดลั่วรักษาโรคของเสนลั่ว (ลักษณะทางคลินิกของโรคของเสนลัว่ 15 เสน อยูใ น
เรื่องการวินิจฉัยแยกโรคตามกลุม อาการ) ตัวอยาง โรคของเสนลั่วของเสนลมปราณหัวใจ หากเปนกลุม
อาการเกินจะมีอาการแนนในอก หากเปนกลุมอาการพรองจะมีอาการเสียงแหบแหง รักษาโดยฝงเข็ม
กระตุนระบายหรือบํารุงที่จุด TongLi (HT 5)
4.2) การใชจุดลั่วรักษาโรคของเสนลมปราณ จุดลั่วบนแขนและขามีเสนลัว่ แยกออกมาเชื่อม
สัมพันธนอก-ในกับเสนลมปราณคูสัมพันธ จึงใชรักษาโรคเสนลมปราณไดทั้งสองเสนลมปราณที่สัมพันธ
กัน ตัวอยาง จุด LieQue (LU 7) จุดลั่วของเสนลมปราณปอด ใชรักษาโรคของเสนปอด เชน อาการไอ
และหอบหืด รวมทั้งสามารถใชรักษาโรคของเสนลําไสใหญ-คูสัมพันธไดดวย เชน อาการปวดฟน เจ็บคอ
ChangQiang (GV 1) จุดลั่วของเสนลมปราณตูที่ปลายตอกระดูกกนกบ มีเสนลั่วแยกออก
กระจายขึ้นขนาบ 2 ขาง กระดูกสันหลังตลอดแนวจนถึงศีรษะ ใชสําหรับรักษาโรคของหลังและโรคของ
เสนลมปราณตู, JiuWei (CV 15) จุดลั่วของเสนลมปราณเญิ่นบริเวณลิ้นป มีเสนลั่วแยกออกกระจาย
ครอบคลุมหนาทองและเชื่อมโยงกับชีข่ องทอง ใชสําหรับรักษาโรคของทองและเสนลมปราณเญิ่น, จุดลั่ว
ใหญ DaBao (SP 21) จุดสุดทายของเสนมามที่สีขางลําตัว มีเสนลั่วแยกออกกระจายครอบคลุมสีขาง
ชายโครงและมีความพิเศษที่เชื่อมโยงกับชีแ่ ละเลือดทั่วรางกายดวย ใชสําหรับรักษาโรคเฉพาะที่ ไดแก
ชายโครงและทรวงอก รวมทั้งสามารถใชรักษากลุมอาการเลือดและชีไ่ หลเวียนไมคลองและโรคขอตาง ๆ
ทั่วรางกายดวย
4.3) การใชจุดลั่วรักษาโรคเรือ้ รัง โดยเฉพาะโรคเรื้อรังของอวัยวะภายใน มีคาํ กลาววา “โรค
เริ่มเกิดในเสนลมปราณ เมื่อเรื้อรังจะคางคาอยูใ นเสนลั่ว”โรคเมื่อเรื้อรัง ชี่และเลือดที่ไมดีและเสมหะ
ความชื้นจะยายจากเสนลมปราณไปสะสมยังเสนลั่วทําใหรักษายากยิ่งขึ้น จุดลั่วจึงมีประโยชนในการ
รักษาโรคเรื้อรังของอวัยวะภายในและโรคที่เกิดจากปจจัยกอโรคภายใน โดยการแทงเข็มตื้น หรือ/และ
เจาะปลอยเลือด เพื่อรักษากลุมอาการเกินในเสนลั่ว
Page 77

บทที่ 2 ปฐมบทสูการฝงเข็มรักษาโรค 67

จุดลั่วสามารถใชรวมกับจุดเหยวียนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาในลักษณะ“จุดรวมเหย
วียน-ลั่ว”
5) จุดรวมเหยวียน-ลั่ว
จุดเหยวียนและจุดลั่วตางมีสรรพคุณพิเศษในการรักษาโรคไดตามขอบงใชของแตละจุด หาก
นํามาใชรวมกันอยางเหมาะสมจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาไดครอบคลุมยิ่งขึ้น การใชจุดเหย
วียนรวมกับจุดลั่วในการรักษาโรค เรียกวา จุดรวมเหยวียน-ลั่ว (the combination of the Yuan-
Primary point and the Luo-Connecting point) โดยอาศัยหลักการของ ‘เจาบานกับแขก’
จุดเหยวียน-ลั่วที่ใชรวมกันตองเปนจุดบนเสนลมปราณคูสัมพันธนอก-ใน กรณีที่อวัยวะคู
สัมพันธเกิดมีความผิดปกติรวมกัน โดยอวัยวะที่เปนตนเหตุหรือปวยกอนจัดเปน‘เจาบาน’ใหเลือกใช
จุดเหยวียน สวนอวัยวะคูสัมพันธที่ไดรับผลกระทบหรือมีอาการทีหลังจัดเปน‘แขก’ใหเลือกใชจุดลัว่
ตัวอยาง โรคเกิดที่ปอดกอนและตอมาเกิดมีอาการของลําไสใหญรวมดวย ใหใชจุด TàiYuān (LU 9)
จุดเหยวียนของเสนปอด รวมกับจุด PiānLì (LI 6) จุดลั่วของเสนลําไสใหญ การเลือกใชจุดในลักษณะ
จุดรวมเหยวียน-ลั่ว บางครั้งเรียกวา‘จุดรวมนอก-ใน’ (combination of the exterior-interior
points) หรือ ‘จุดปฐมภูมิ-เหยวียนรวมกับทุติยภูมิ-ลั่ว’ (the combination of Primary Yuan
points and the secondary Luo points) (ตารางที่ 2.7)
ตารางที่ 2.7 จุดเหยวียน และ จุดลั่ว
เสนลมปราณ จุดเหยวียน จุดลั่ว
เสนมือไทอินปอด TaiYuan (LU 9) LieQue (LU 7)
เสนมือหยางหมิงลําไสใหญ HeGu (LI 4) PianLi (LI 6)
เสนเทาหยางหมิงกระเพาะอาหาร ChongYang (ST 42) FongLong (ST 40)
เสนเทาไทอินมาม TaiBai (SP 3) GongSun (SP 4)
เสนมือเสาอินหัวใจ ShenMen (HT 7) TongLi (HT 5)
เสนมือไทหยางลําไสเล็ก WanGu (SI 4) ZhiZheng (SI 7)
เสนเทาไทหยางกระเพาะปสสาวะ JingGu (BL 64) FeiYang (BL 58)
เสนเทาเสาอินไต TaiXi (KI 3) DaZhong (KI 4)
เสนมือเจวี๋ยอินเยื่อหุมหัวใจ DaLing (PC 7) NeiGuan (PC 6)
เสนมือเสาหยางซานเจียว YangChi (TE 4) WaiGuan (TE 5)
Page 78

68 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ตารางที่ 2.7 จุดเหยวียน และ จุดลั่ว (ตอ)


เสนลมปราณ จุดเหยวียน จุดลั่ว
เสนเทาเสาหยางถุงน้ําดี QiuXu (GB 40) GuangMing (GB 37)
เสนเทาเจวี๋ยอินตับ TaiChong (LR 3) LiGou (LR 5)
เสนลมปราณเริ่น - JiuWei (CV 15)
เสนลมปราณตู - ChangQiang (GV 1)
จุดลั่วใหญของเสนเทาไทอินมาม - DaBao (SP 21)

6) จุดซี (郗穴 XīXué: Xi-Cleft points)


จุดซี 16 จุด มีตําแหนงอยูบนแขนและขา เปนจุดซีของเสนลมปราณสามัญ 12 เสน เสนละ 1
จุด และของเสนลมปราณวิสามัญ อินเฉียว หยางเฉียว อินเอวยและหยางเอวย เสนละ 1 จุด (ตารางที่
2.8)
จุดซี มีสรรพคุณในการรักษาโรคที่มีอาการเฉียบพลันหรืออาการรุนแรง ในทางปฏิบัติ จุดซีของ
เสนลมปราณอินใชรักษากลุมอาการที่มีเลือดออกผิดปกติของอวัยวะที่อยูในความดูแลของเสนลมปราณ
นั้น เชน KǒngZuì (LU 6) จุดซีของเสนมือไทอินปอด ใชรกั ษาอาการไอเปนเลือด, ZhongDu (LR 6)
จุดซีของเสนเทาเจวี๋ยอินตับ ใชรักษาอาการเลือดประจําเดือนออกผิดปกติ เปนตน จุดซีของเสน
ลมปราณหยางมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดของอวัยวะตาง ๆ ที่อยูในแนวเสนทางการไหลเวียน
ของเสนลมปราณนั้น เชน LiángQiū (ST 34) จุดซีของเสนเทาหยางหมิงกระเพาะอาหาร ใชรักษา
อาการปวดกระเพาะอาหาร, YangLao (SI 6) จุดซีของเสนมือไทหยางลําไสเล็ก สําหรับบรรเทาอาการ
ปวดไหล เปนตน
นอกจากเลือกใชจุดซีเพียงลําพังเพื่อรักษาอาการตามขอบงชี้แลว ยังสามารถเลือกใชจุดซี
รวมกับจุดอิทธิพลทั้งแปดเพื่อเสริมสรรพคุณการรักษาไดดวย เชน ใชจุด LiangQui (ST 34) รวมกับ
ZhongWan (CV12) จุดอิทธิพลของอวัยวะกลวงสําหรับการรักษาอาการปวดกระเพาะอยางเฉียบพลัน
รุนแรง, ใชจุด KongZui (LU 6) รวมกับ TanZhong (CV 17) จุดอิทธิพลของชี่ สําหรับรักษาอาการ
ไอเปนเลือดที่เกิดจากชี่ไหลเวียนแปรปรวน เปนตน
Page 79

บทที่ 2 ปฐมบทสูการฝงเข็มรักษาโรค 69

7) จุดอิทธิพลทั้งแปด (八会穴 BāHuìXué: The eight influential points)


จุดอิทธิพลทั้งแปด เปนจุดที่มีผลตอการทําหนาที่ของอวัยวะทัง้ แปด ไดแก อวัยวะตัน, อวัยวะ
กลวง, ชี่, เลือด, เสนเลือด, กระดูก, ไขกระดูก และเสนเอ็น ในทางคลินิก จุดอิทธิพลทั้งแปดนําไปใช
รักษาโรคที่เกี่ยวของกับอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่จุดนั้นมีอิทธิพลอยู โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง โรคของความ
พรองหรือออนกําลัง (ตารางที่ 2.9)
ตารางที่ 2.8 จุดซี
เสนลมปราณอิน จุดซี เสนลมปราณหยาง จุดซี
KongZui (LU
เสนมือไทอินปอด เสนมือหยางหมิงลําไสใหญ WenLiu (LI 7)
6)
เสนมือเจวี๋ยอินเยื่อหุมหัวใจ XiMen (PC 4) เสนมือเสาหยางซันเจียว HuiZong (TE 7)
เสนมือเสาอินหัวใจ YinXi (HT 6) เสนมือไทหยางลําไสเล็ก YangLao (SI 6)
เสนเทาไทอินมาม DiJi (SP 8) เสนเทาหยางหมิงกระเพาะอาหาร LiangQiu (ST 34)
เสนเทาเจวอินตับ ZhongDu(LR6) เสนเทาเสาหยางถุงน้ําดี WaiQiu (GB 36)
เสนเทาเสาอินไต ShuiQuan(KI 5) เสนเทาไทหยางกระเพาะปสสาวะ JinMen (BL 63)
เสนอินเฉียว JiaoXin (KI 8) เสนหยางเฉียว FuYang (BL 59)
เสนอินเหวย ZhuBin (KI 9) เสนหยางเหวย YangJiao (GB 35)

ตารางที่ 2.9 จุดอิทธิพลทั้งแปด


อวัยวะ จุดอิทธิพล เสนลมปราณ สรรพคุณ (ตัวอยาง)
ZhangMen เสนเทาเจวี๋ยอิน.
อวัยวะตัน (LR 13)
โรคอวัยวะตัน โดยเฉพาะตับและมาม เชน ตับโต มามโต
ตับ
ZhongWan โรคของอวัยวะกลวง โดยเฉพาะกระเพาะอาหารและลําไส
อวัยวะกลวง (CV 12)
เสนเญิ่น
เชน ปวดกระเพาะอาหาร แนนทอง
โรคที่เกี่ยวของกับการทําหนาที่ของชี่ เชน แนนหนาอก
TanZhong
ชี่ (CV 17)
เสนเญิ่น หอบเหนื่อย หอบหืด สะอึก เซื่องซึม สํารอกอาหาร เรอ
ลม
โรคเลือดและอาการเลือดออก เชน ซีด เลือดคั่ง
GeShu เสนเทาไทหยาง. เลือดออกงาย อาเจียนเปนเลือด ถายเปนเลือด ไอเปน
เลือด (BL 17) กระเพาะปสสาวะ เลือด เลือดกําเดาออก ประจําเดือนออกมากหรือเรื้อรัง
เลือดออกจากริดสีดวงทวาร
Page 80

70 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

โรคของเสนเลือดและการไหลเวียน เชน หลอดเลือด


TaiYuan เสนมือไทอิน.
เสนเลือด (LU 9)
อักเสบ เสนเลือดตีบ หลอดเลือดแข็ง ความดันโลหิตต่ํา
ปอด
หรือสูง
XuanZhong เสนเทาเสาหยาง. โรคของไขกระดูกและระบบประสาท เชน ซีด อัมพฤกษ
ไขกระดูก (GB 39) ถุงน้ําดี หรืออัมพาต ขาออนแรง
DaZhu เสนเทาไทหยาง. โรคของกระดูกและขอ เชน ปวดกระดูก ปวดขอตาง ๆ
กระดูก (BL 11) กระเพาะปสสาวะ (ขอของ คอ ไหล หลัง แขน-ขา ฯ)
YangLingQuan เสนเทาเสาหยาง. โรคของเสนเอ็นตาง ๆ เชน ขอติด-ปวดขอจากเอ็นอักเสบ
เสนเอ็น (GB 34) ถุงน้ําดี เสนเอ็นหดรั้งจากอัมพาต เอ็นหดเกร็งหรือกระตุก

8) จุดเชื่อมโยงเสนวิสามัญทั้งแปด (八脉交会 BāMàiJiāoHuì: 8 Confluent points)


จุดเชื่อมโยงเสนวิสามัญทั้งแปด เปนจุดฝงเข็มในเสนลมปราณสามัญที่มีตําแหนงอยูบนแขน
และขา 8 จุด ที่สามารถเชื่อมโยงไปถึงเสนลมปราณวิสามัญทั้ง 8 เสนได ในเวชปฏิบัติ จุดทั้งแปดเปนจุด
ที่ถูกเลือกใชบอยและมีประโยชนหลากหลาย โดยสามารถเลือกใชได 2 กรณี ไดแก การเลือกใชจุดเดี่ยว
และการเลือกใชจุดคู
การเลือกใชจุดเดี่ยว สําหรับรักษาโรคของเสนลมปราณวิสามัญและอวัยวะที่เกีย่ วของ ตัวอยาง
จุด HouXi (SI 3) สําหรับโรคที่เกี่ยวของกับเสนลมปราณตู ไดแก กระดูกสันหลังแข็งเกร็งและปวด
กลามเนื้อหลังเกร็งกระตุก ปวดศีรษะ และลมชัก, จุด GongSun (SP 4) สําหรับโรคที่เกี่ยวของกับเสน
ลมปราณชง ไดแก ปวดเกร็งในชองทอง หอบหืด ประจําเดือนไมสม่ําเสมอ ภาวะเปนหมันทั้งชายและ
หญิง เปนตน
การเลือกใชจุดคู โดยเลือกจุดหนึ่งที่แขนรวมกับอีกจุดหนึ่งที่ขา ทําใหเสริมสรรพคุณการรักษา
โรคไดกวางขวางตามสวนของรางกายที่ครอบคลุมถึง แบงเปน 4 คู ดังสรุปไวในตารางที่ 2.10

ตาราง 2.10 จุดเชื่อมโยงเสนวิสามัญทั้งแปด และ สรรพคุณจุดคู


จุดฝงเข็ม เสนสามัญ ตนสังกัด เสนวิสามัญ สรรพคุณครอบคลุมพื้นที่
NeiGuan (PC 6) เสนมือเจวี๋ยอินเยื่อหุมหัวใจ เสนอินเอวย ทรวงอก หัวใจ กระเพาะ
GongSun (SP 4) เสนเทาไทอินมาม เสนชง อาหาร
LeiQue (LU 7) เสนมือไทอินปอด เสนเญิ่น ทรวงอก ปอด กระบังลม
Page 81

บทที่ 2 ปฐมบทสูการฝงเข็มรักษาโรค 71

ZhaoHai (KI 6) เสนเทาเสาอินไต เสนอินเฉียว ชองคอ (throat)


HouXi (SI 3) เสนมือไทหยางลําไสเล็ก เสนตู
หัวตา หู ทายทอย (nape)
เสนเทาไทหยางกระเพาะ
ShenMai (BL 62) เสนหยางเฉียว ลําคอ (neck) ไหล หลัง
ปสสาวะ
WaiGuan (TE 5) เสนมือเสาหยางซานเจียว เสนหยางเอวย หางตา แกม หลังหู ลําคอ
ZuLinQi (GB 41) เสนเทาเสาหยางถุงน้ําดี เสนตั้ย ไหล

9) จุดซูหลัง หรือ จุดอวัยวะหลัง (背俞穴: BèiShūXué: Back-Shu points)


จุดอวัยวะหลังเปนจุดบนเสนลมปราณเทาไทหยางกระเพาะปสสาวะที่ชขี่ องสิบสองอวัยวะ
ภายในซึ่งเปนตนสังกัดของสิบสองเสนลมปราณสามัญไหลเวียนมาบรรจบเพิ่มเติม จุดอวัยวะหลังมี
จํานวน 12 จุดคูซาย-ขวา และมีชื่อจุดตามอวัยวะที่สัมพันธอยู (ตารางที่ 2.11)
จุดอวัยวะหลังใชรักษาโรคของอวัยวะภายในที่สัมพันธอยู โดยเฉพาะโรคของอวัยวะตัน (ใชจุด
หยางรักษาโรคอิน) เชน จุด FeiShu (BL 13) ใชรักษาโรคของปอด, XinShu (BL 15) ใชรักษาโรค
ของหัวใจ เปนตน
จุดอวัยวะหลังยังสามารถใชรักษาโรคที่เกี่ยวของกับอวัยวะตันทั้งหาไดดวย ไดแก โรคของ
อวัยวะรับสัมผัสทั้งหา, ทวารทั้งเกา, ผิวหนัง, กลามเนื้อ, เสนเอ็นและกระดูก เชน จุด GanShu (BL
18) ใชรักษาโรคตาและเสนเอ็นหดเกร็ง เพราะตับเปดทวารที่ตาและตับควบคุมเสนเอ็น, จุด ShenShu
(BL23) ใชรก ั ษาโรคของหูเพราะไตเปดทวารที่หู โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศเพราะไตสะสมสารจําเปน
และพัฒนาระบบสืบพันธุ โรคไขสันหลังเสื่อมเพราะไตดูแลกระดูก ไขกระดูกและไขสันหลัง เปนตน
ในทางคลินิก จุดอวัยวะหลังสามารถเลือกใชลําพังหรือใชรวมกับจุดอวัยวะหนาหรือจุดมู

10) จุดมู หรือ จุดอวัยวะหนา (幕穴 MùXué: Front-Mu points)


จุ ด อวั ย วะหน า เป น จุ ด บนหน า อกและท อ งที่ ชี่ ข องสิ บ สองอวั ย วะภายในซึ่ ง เป น ต น สั ง กั ด
ของสิ บ สองเสนลมปราณสามัญไหลเวียนมาบรรจบเพิ่มเติม จุดอวัยวะหนา12จุดเปนจุดเดี่ยวอยูบนเสน
ลมปราณ เญิ่น 6 จุด และอีก 6 จุดคูซาย-ขวา บนเสนลมปราณสามัญที่ผานดานหนาของลําตัว (ตารางที่
2.11)
Page 82

72 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

จุดอวัยวะหนาใชรักษาโรคของอวัยวะภายใน โดยเฉพาะโรคของอวัยวะกลวง (ใชจุดอินรักษา


โรคหยาง) และอาการผิดปกติในบริเวณจุด เชน จุด ZhōngWǎn (CV 12) ใชรกั ษาโรคของกระเพาะ
อาหารและอาการปวดแนนลิ้นป, TiānShū (ST 25) ใชรักษาโรคของลําไสใหญ ปวดทองและทองเดิน
เปนตน เชนเดียวกับจุดอวัยวะหลัง จุดอวัยวะหนาสามารถเลือกใชลําพังหรือใชรว มกับจุดอวัยวะหลัง
การใชจุดรวมอวัยวะหนา-หลัง หรือ จุดรวมซู-มู คือ การใชจุดของอวัยวะเดียวกันทั้งดานหลัง
และดานหนารวมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา เชน ใชจุดกระเพาะอาหารหลัง WeiShu (BL 21)
รวมกับจุดกระเพาะอาหารหนา ZhōngWǎn (CV 12) สําหรับการรักษาโรคของกระเพาะอาหาร

ตารางที่ 2.11 จุดอวัยวะหลัง (ซู) และ จุดอวัยวะหนา (มู)


อวัยวะภายใน จุดอวัยวะหลัง จุดอวัยวะหนา_เสนตนสังกัด
ปอด FeiShu (BL 13) ZhongFu (LU 1)_เสนปอด
เยื่อหุมหัวใจ JueYinShu (BL 14) TanZhong (CV 17)_เสนเญิ่น
หัวใจ XinShu (BL 15) JuQue (CV 14)_เสนเญิ่น
ตับ GanShu (BL 18) QiMen (LR 14)_เสนตับ
ถุงน้ําดี DanShu (BL 19) RiYue (GB 24)_เสนถุงน้ําดี
มาม PiShu (BL 20) ZhangMen (LR 13)_เสนตับ
กระเพาะอาหาร WeiShu (BL 21) ZhongWan (CV 12)_เสนเญิ่น
ซันเจียว SanJiaoShu (BL 22) ShiMen (CV 5)_เสนเญิ่น
ไต ShenShu (BL 23) JingMen (GB 25)_เสนถุงน้ําดี
ลําไสใหญ DaChangShu (BL 25) TianShu (ST 25)_เสนกระเพาะอาหาร
ลําไสเล็ก XiaoChangShu (BL 27) GuanYuan (CV 4)_เสนเญิ่น
กระเพาะปสสาวะ PangGuangShu (BL 28) ZhongJi (CV 3)_เสนเญิ่น

11) จุดตัด (交会穴 JiāoHuìXué: Crossing points)


จุดตัดเปนจุดที่เสนลมปราณอยางนอย 2 เสน มีวิถีมาตัดทับกัน ทําใหจุดตัดมีคุณสมบัติคลาย
เปนสี่แยกที่สามารถรักษาโรคไดทุกเสนลมปราณที่มาตัดผานกัน จุดตัดจึงมีสรรพคุณมากกวาจุดสามัญ
ที่เปนอยู จึงจัดเปนจุดพิเศษเชนกัน จุดตัดมีจํานวนประมาณ 90 จุด สวนใหญอยูบนลําตัว สวนที่เหลือ
กระจายอยูตามรยางคและศีรษะ (ตารางที่ 2.12 จุดตัดของเสนหยาง และ 2.13 จุดตัดของเสนอิน) แต
Page 83

บทที่ 2 ปฐมบทสูการฝงเข็มรักษาโรค 73

ละจุดตัดมีสรรพคุณตางกันตามสรรพคุณเดิมและสรรพคุณของเสนลมปราณที่มาตัดทับ ตัวอยาง จุด


SanYinJiao (SP 6) เปนจุดตัดทับกันของเสนลมปราณเทาอินทั้งสามเสน จึงใชรก ั ษาไดทั้งโรคของเสน
มามซึ่งเปนตนสังกัดและเสนตับและเสนไตที่มาตัดผาน, จุด ZhongJi (CV 3) และ GuanYuan (CV
4) ของเสนลมปราณเญิ่น ที่มีเสนลมปราณเทาอินทั้งสามเสนมาตัดทับอยู จึงมีสรรพคุณรักษาโรคไดทั้ง
ของเสนเญิ่นและของเสนเทาอินทั้งสามเสน, จุด DaZhui (GV14) ของเสนลมปราณตู ที่เสนลมปราณ
หยางของมือและเทาทุกเสน สงสาขามาตัดทับอยู จึงมีสรรพคุณรักษาโรคของเสนลมปราณตูและของเสน
ลมปราณหยางไดทุกเสน

ตาราง 2.12 จุดตัดบนเสนลมปราณหยาง


เสนลมปราณ
Yang-Link

Yang-Heel
หมายเหตุ

Belt
จุด GV BL SI GB TE ST LI

ShenTing (GV 24) O X X


ShuiGou (GV 26) O X X
BaiHui (GV 20) O X
NaoHu (GV 17) O X
FengFu (GV 16) O X
YaMen (GV 15) O X
DaZhui (GV 14) O X X X X X X
TaoDao (GV 13) O X
JingMing (BL 1) O X X
DaZhu (BL 11) O X
FengMen (BL 12) X O
FuFen (BL 14) O X
FuYang (BL 59) O X X จุดซีของเสนหยางเชียว
ShenMai (BL 62) O X X เสริมโดยเสนหยางเชียว
จุดเริ่มตนเสนหยาง
PuCan (BL 61) O X X
เชียว
JinMen (BL 63) O X X
NaoShu (SI 10) O X X X
BingFeng (SI 12) O X X X X
QuanLiao (SI 18) O X
TingGong (SI 19) O X X
TongZiLiao (GB 1) X O X
Page 84

74 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ShangGuan (GB 3) O X X
HanYan (GB 4) O X X
XuanLi (GB 6) X O
QuBin (GB 7) X O
ShuaiGu (GB 8) X O
FuBai (GB 10) X O
TouQiaoYin (GB 11) X O
WanGu (GB 12) X O
BenShen (GB 13) O X
YangBai (GB 14) O X
TouLinQi (GB 15) X O X
MuChuang (GB 16) O X
ZhengYing (GB 17) O X
ChengLing (GB 18) O X
NaoKong (GB 19) O X
FengChi (GB 20) O X
RiYue (GB 24) O ตัดกับเสนมาม
DaiMai (GB 26) O X
WuShu (GB 27) O X
WeiDao (GB 28) O X
JuLiao (GB 29) O X
HuanTiao (GB 30) X O
YangJiao (GB 35) O X จุดซีของเสนหยางเอวย
TianLiao (TE 15) O X
YiFeng (TE 17) X O
JiaoSun (TE 20) X O X
ErHeLiao (TE 22) X X O
ChengQi (ST 1) O X จุดตัดกับเสนเญิ่น
JuLiao (ST 3) O X
DiCang (ST 4) O X X
XiaGuan (ST 7) X O
Page 85

บทที่ 2 ปฐมบทสูการฝงเข็มรักษาโรค 75

TouWei (ST 8) X O X
QiChong (ST 39) O จุดเริ่มตนของเสนชง
ตัดเสนลั่วของลําไส
BiNao (LI 14) O
ใหญ
JianYu (LI 15) O X
JuGu (LI 16) O X
YingXiang (LI 20) X O
O = เสนตนสังกัด X = เสนตัด; GV = เสนตู; BL = เสนกระเพาะปสสาวะ;SI = เสนลําไสเล็ก;
GB = เสนถุงน้ําดี; TE = เสนซันเจียว; ST = เสนกระเพาะอาหาร; LI = เสนลําไสใหญ;
Yang-Link = เสนหยางเอวย; Yang-Heel = เสนหยางเชียว; Belt = เสนตั้ย

ตาราง 2.13 จุดตัดบนเสนลมปราณอิน


เสนลมปราณ
Yin-Link

Yin-Heel

CV SP LU LR PC KI HT Chong หมายเหตุ
จุด
ChengJiang (CV ตัดกับเสนกระเพาะ
O
24) อาหาร
LianQuan (CV 23) O X

TianTu (CV 22) O X

ตัดกับเสนกระเพาะ
ShangWan (CV 13) O
อาหารและเสนปอด
ตัดกับเสนกระเพาะ
ZhongWan (CV 12) O อาหาร ลําไสเล็ก และ
เสนซานเจียว
XiaWan (CV 10) O X
YinJiao (CV 7) O X
GuanYuan (CV 4) O X X X
ZhongJi (CV 3) O X X X
QuGu (CV 2) O X
HuiYin (CV 1) O X ตัดกับเสนตูและเสนชง
Page 86

76 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

SanYinJiao (SP 6) O X X
ChongMen (SP 12) O X
FuShe (SP 13) O X X
DaHeng (SP 15) O X
FuAi (SP 16) O X
ZhongFu (LU 1) X O
ตัดกับเสนกระเพาะ
ZhangMen (LR 13) O X
ปสสาวะ
QiMen (LR 14) X O X
ตัดกับเสนกระเพาะ
TianChi (PC 1) O
ปสสาวะ
HengGu (KI 11) O X
DaHe (KI 12) O X
QiXue (KI 13) O X
SiMan (KI 14) O X
ZhongZhu (KI 15) O X
HuangShu (KI 16) O X
ShangQu (KI 17) O X
ShiGuan (KI 18) O X
ตาราง 2.13 จุดตัดบนเสนลมปราณอิน (ตอ)
เสนลมปราณ
Yin-Link

Yin-Heel

หมายเหตุ
Chong

จุด CV SP LU LR PC KI HT

YinDu (KI 19) O X


FuTongGu (KI 20) O X
YouMen (KI 21) O X
ZhaoHai (KI 6) O X ถูกเสริมโดยเสนอินเชียว
JiaoXin (KI 8) O X จุดซีของเสนอินเชียว
ZhuBin (KI 9) O X
O= เสนตนสังกัด; X = เสนตัด; CV = เสนเญิ่น; SP = เสนมาม; LU = เสนปอด;
Page 87

บทที่ 2 ปฐมบทสูการฝงเข็มรักษาโรค 77

LR = เสนตับ; PC = เสนเยื่อหุมหัวใจ; KI = เสนไต; HT = เสนหัวใจ;


Yin-Link = เสนอินเอวย; Yin-Heel = เสนอินเชียว; Chong = เสนชง (Thoroughfare vessel)

12) เลือกจุดตามกระแสการไหลเวียนในเสนลมปราณที่สัมพันธกับเวลาโลก (นาฬิกาชีวิต)


(Selecting Points by Earth Meridian Ebb-Flowing Rule)
โลกหมุนรอบตัวเองทําใหเกิดกลางวันและกลางคืนใชเวลา 24 ชั่วโมง หรือ 1 วัน จีนในอดีต
แบง 1 วัน เปน 12 ชั่วยาม สัมพันธกับการไหลเวียนของ 12 เสนลมปราณสามัญที่สังกัดกับ 12 อวัยวะ
ภายใน เลือดและชี่ในเสนลมปราณทั้งสิบสองมีการไหลเวียนเชื่อมโยงกันอยูตลอดเวลา อุปมาดังสายน้ํา
ที่มีกระแสขึ้นและลงหมุนเวียนไมขาดชวง ในแตละวันเสนลมปราณแตละเสนจะมีกระแสการไหลเวียน
ขึ้นสูงสุด 1 ครั้ง ใชเวลาเสนละ 1 ชั่วยาม (2 ชัว่ โมง) จากหลักทฤษฎีนี้จึงเกิดแนวคิดในการฝงเข็มเพื่อ
บํารุงหรือระบายใหสัมพันธกับกระแสการไหลเวียนสูงสุด โดยยังอาศัยหลักการเดิมคือ “ลูกพรองบํารุง
แม, แมเกินระบายลูก” จุดแม-ลูกอาศัยตามหลักปญจธาตุ จุดธาตุของแตละเสนลมปราณอาศัยอิงตาม
จุดธาตุของจุดซูทั้งหา ที่กลาวมาแลวขางตน
จากหลักฐาน ที่บันทึกไวในคัมภีรหฺวังตี้เนยจิง ไดมีการประยุกตใชทฤษฎีความสัมพันธของ
เวลาโลกกับกระแสการไหลเวียนในเสนลมปราณ เพื่อการรักษาโรคและการฝงเข็มมากวา 2000 ป ใน
ปจจุบันทฤษฎีนี้ถูกนําไปอางอิงในหลายวงการอยางกวางขวางในนามของ “นาฬิกาชีวิต (Organic
Clock) หรือ ชีวนาฬิกา (Biological clock)”

การประยุกตใชเวลากระแสเสนลมปราณ หรือนาฬิกาชีวิตในการฝงเข็ม (ตารางที่ 2.14) โดย


เมื่ออวัยวะภายในเกิดภาวะเกินหรือแกรงใหเลือกระบายจุดลูกของเสนลมปราณนั้นในชวงเวลาที่กระแส
ขึ้นสูงสุด หากอยูในภาวะพรองใหเลือกบํารุงจุดแมในชวงเวลาทีก่ ระแสการไหลเวียนในเสนลมปราณ
กําลังลดลงคือชวงเวลาถัดจากชวงกระแสสูงสุด ตัวอยาง ภาวะปอดแกรง ใหเลือกระบายจุดลูกของธาตุ
ทอง คือ จุดธาตุน้ํา ไดแก ChiZe (LU 5) ในชวงกระแสสูงสุด เวลา 3.00 – 5.00 น., หากปอดอยู
ในภาวะพรอง ใหเลือกบํารุงจุดแม คือ จุดธาตุดิน ไดแก TaiYuan (LU 9) ในชวงกระแสลดลง เวลา
5.00 – 7.00 น. เปนตน
หากพนชวงเวลาที่จะบํารุงหรือระบายไปแลว หรือไมปรากฏอาการพรองหรือแกรงชัดเจน ให
เลือกฝงเข็มที่จดุ เหยวียน หรือ จุดธาตุเจาเรือน หมายถึง จุดธาตุเดียวกันกับอวัยวะของเสนลมปราณนั้น
Page 88

78 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

โดยฝงเข็มกระตุนแบบเสมอกัน เชน ตองการฝงกระตุนปอด ใหเลือกจุดเหยวียนของเสนปอด ไดแก


TaiYuan (LU 9) หรือ จุดธาตุเจาเรือนของเสนปอด คือ จุดธาตุทอง ไดแก JingQu (LU 8) เปน
ตน
นอกจากนี้นาฬิกาชีวิตยังอาจใชชวยในการวินิจฉัยโรคของอวัยวะภายในได เชน โรคหืด ที่มี
อาการชี่ปอดติดขัดไหลเวียนไมคลอง เมื่อถึงชวงที่การไหลเวียนของชีส่ ูงสุดจะเกิดอาการมากขึน้ จึงมัก
เกิดอาการไอ จับหืดชวงเชามืด หรือชวงเวลา 3.00 – 5.00 น. เปนตน

ตารางที่ 2.14 การเลือกใชจุดตามนาฬิกาชีวิต


ชวงเวลา ยามจีน / ชวงเวลา / ชวงเวลา / จุดหยวน /
อวัยวะ
(นาฬิกา) ชั่วยาม จุดระบาย จุดบํารุง จุดธาตุเจาเรือน
Yin (อิน) TaiYuan (LU 9)
ปอด 3-5 3-5 5-7
ยาม 3 ChiZe (LU 5) TaiYuan (LU 9) JingQu (LU 8)
HeGu (LI 4)
Mou (โหมว) 5-7 7-9
ลําไสใหญ 5-7 ShangYang (LI
ยาม 4 ErJian (LI 2) QuChi (LI 11)
1)

Chen (เฉ ChongYang (ST


กระเพาะ 7-9 9 - 11 42)
7-9 ริน)
อาหาร LiDui (ST 45) JieXi (ST 41)
ยาม 5 ZuSanLi (ST 36)

Si (สื้อ) TaiBai (SP3)


มาม 9 - 11 9 - 11 11 - 13
ยาม 6 ShangQiu (SP5) DaDu (SP 2) TaiBai (SP3)

Wu (อู) 13 - 15 ShenMen (HT7)


หัวใจ 11 - 13 11 - 13
ยาม 7 ShaoChong (HT ShaoFu (HT8)
ShenMen (HT7)
9)
Wei (เอวย) WanGu (SI4)
ลําไสเล็ก 13 - 15 13 - 15 15 - 17
ยาม 8 XiaoHai (SI8) HouXi (SI 3) YangGu (SI5)

Shen (เซ
กระเพาะ JingGu (BL64)
15 - 17 ริน) 15 - 17 17 - 19
ปสสาวะ ShuGu (BL 65) ZhiYin (BL 67) ZuTongGu (BL66)
ยาม 9
Page 89

บทที่ 2 ปฐมบทสูการฝงเข็มรักษาโรค 79

You (โยว) TaiXi (KI 3)


ไต 17 -19 17 - 19 19 - 21
ยาม 10 YongQuan(KI 1) Fuliu (KI 7) YinGu (KI 10)

เยื่อหุม Xu (ซวี) DaLing (PC 7)


19 - 21 19 - 21 21 - 23
หัวใจ ยาม 11 DaLing (PC 7) ZhongChon(PC 9) LaoGong (PC 8)

Hai (หั่ย) YangChi (TE 4)


ซันเจียว 21 - 23 21 - 23 23 - 1
ยาม 12 TainJing (TE 10) ZhongZhu (TE3) ZhiGou (TE6)

Zi (จือ) QiuXu (GB 40)


ถุงน้ําดี 23 - 1 23 - 1 1-3
ยาม 1 YangFu (GB 38) XiaXi (GB 43) ZuLinQi (GB41)

Chou (โฌว) 1-3 TaiChong (LR 3)


ตับ 1-3 3-5
XingJian (LR DaDun (LR 1)
ยาม 2 QuQuan (LR 8)
2)
Page 90

80 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2
Page 91

บทที่ 3
การฝงเข็มระบบศีรษะ และใบหู
การฝงเข็มที่หนังศีรษะ ( 头针 : TóuZhēn :Scalp Acupuncture )
การฝงเข็มที่หนังศีรษะเปนการปองกันและรักษาโรคโดยการกระตุนจุดเฉพาะบนหนัง
ศีรษะ ซึ่งสวนใหญเปนโรคทางสมอง

วิธีหาแนวหลัก 2 แนว
1.เสนแนวกึ่งกลางหนาหลัง (前后正中线 :QiánHòuZhèngZhōngXiàn : antero-
posterior midline )
วิธีหา จุดเริ่มตนระหวางคิ้ว ไปตามแนวกึ่งกลางกะโหลกศีรษะ ไปยังปุมโหนกกระดูกทายทอย(รูปที่ 3/1)

รูปที่ 3/1 แสดงการแบงเขตแนวกึ่งกลางดานหลัง และเสนแนวดานขางศีรษะ


2. เสนแนวดานขางศีรษะ ( 眉忱线: MéiChénXiàn : eyebrow occiputline)
Page 92

82 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

วิธีหา จุดเริ่มตนที่กึ่งกลางคิ้ว ไปตามเสนผานจอนผม ไปยังปุมโหนกกระดูกทายทอย (รูปที3่ /1)


ซึ่งประกอบดวย 13 บริเวณ ไดแก
2.1บริเวณควบคุมการเคลือ่ นไหว ( 运动区: YùnTòngQū :The motor area ) (รูปที่ 3/2)

รูปที่ 3/2 แสดงบริเวณควบคุมการเคลื่อนไหว

วิธีหา แบงครึ่งเสนแนวกึ่งกลางหนาหลัง ขยับออกไปขางหลัง 0.5 ซ.ม. จุดนี้เปนจุดเริ่มตนจากจุดนี้


ลากไปดานขางศีรษะ ไปสิ้นสุดที่จุดตัดเสนดานขางศีรษะและจอนผม แบงเสนนี้เปน 5 สวนเทาๆกัน
- 1/5 ตอนบน ใชควบคุมการเคลื่อนไหว จึงใชรักษาอาการของขาดานตรงขามและลําตัว
- 2/5 ตอนกลาง ควบคุมการเคลื่อนไหว จึงใชรักษาแขนดานตรงขาม
- 2/5 ตอนลาง ใชควบคุมการเคลื่อนไหวของใบหนา จึงใชรกั ษาอาการของโรคปากเบี้ยว
น้ําลายไหล เสียงแหบ (dysphonia)
Page 93

บทที่ 3 การฝงเข็มระบบศีรษะ และใบหู 83

รูปที่ 3/3 แสดงการแบงบริเวณควบคุมกิจกรรมตาง ๆ ของสมอง

2.2. บริเวณรับความรูสึก ( 感觉区 : GǎnJuéQū : The sensory area )


วิธีหา ขยับไปทางดานหลัง The motor area 1.5 ซ.ม. ลากจากแนวกึง่ กลางลงมาขนานกับ
The motor area แบงเปน 5 สวน เทาๆกัน
- 1/5 ตอนบน เปนบริเวณรับความรูสึกของขา ศีรษะ และลําตัวดานตรงขามจึงใชรักษา
อาการของขาดานตรงขามที่มีความผิดปกติ เชน ปวดหรือชาของขา ปวดเอวราวลงขา ปวดทายทอย
เสียงดังในหู
- 2/5 ตอนกลาง เปนบริเวณรับความรูสึกของแขน จึงใชรกั ษาอาการของแขนดานตรงขาม
เชน อาการปวดชาของไหลและแขน
- 2/5 ตอนลาง เปนบริเวณรับความรูสึกของใบหนา จึงใชรกั ษาความผิดปกติของใบหนา
ดานตรงขาม เชน โรคปวดจากเสนประสาทสามแฉก (trigeminal neuralgia) ปวดศีรษะไมเกรน
ปวดกราม ปวดฟน
Page 94

84 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

2.3 บริเวณควบคุมการสั่น ( 舞蹈震颤控区 :WǔDǎoZhènChànKngZhìQū:

The Chorea-trembling controlled area) (รูปที่ 3/3)


วิธีหา จากแนวเสน The motor area ขยับไปดานหนา 1.5 ซ.ม. ขนานกับเสน The motor area
ใชรักษาอาการสัน่ ทั้งหลาย เชน Parkinson , chorea ทั้งนี้ ถาผูปวยมีอาการสัน่ ขางใดขางหนึ่ง
ใหปกเข็มดานตรงขาม แตถาผูปวยมีอาการสัน่ ทั้งสองขาง ใหปกเข็มทั้งสองขาง
2.4 บริเวณควบคุมอาการเวียนศีรษะและการไดยน ิ ( 云听区:YūnTīngQū :
The vertigo-auditory area ) ( รูปที่3/3 )
วิธีหา จากเหนือยอดหู 1.5 ซ.ม. ลากเสนระนาบไปดานหนา 2 ซ.ม. และดานหลัง 2 ซ.ม. รวม 4 ซ.ม.
โดยมีจุดกึ่งกลางที่ยอดหู
ใชรักษา Minere`s disease , prbycusis เวียนศีรษะ
nd
2.5 บริเวณควบคุมการพูดที่ 2 (语言二区: YǔYánÈrQū : The 2 speech area )
(รูปที่ 3/3 และ 3/4)

รูปที่ 3/4 แสดงการแบงบริเวณควบคุมการพูด


Page 95

บทที่ 3 การฝงเข็มระบบศีรษะ และใบหู 85

วิธีหา จากปุมนูนตรงมุมศีรษะดานขาง ( parietal tubercle) ไป postero-inferior 2 ซ.ม. ลากเสน


ขนานกับเสนแนวกึ่งกลางศีรษะ (antero-posterior midline ) ยาว 3 ซ.ม.
ใชรักษา nominal aphasia ซึ่งหมายถึง เรียกชื่อวัตถุไมได แตผูปวยยังพูดได บอกไดวา
วัตถุนั้นใชทําอะไร เชน เรียกชือ่ “ปากกา”ไมได แตบอกไดวาสิ่งนี้ใชในการเขียน เปนตน
rd
2.5 บริเวณควบคุมการพูดที่ 3 ( 语言三区 : YǔYánSānQū : The 3 speech area )
(รูปที่3/3)
วิธีหา จากจุดกึ่งกลางของบริเวณควบคุมอาการเวียนศีรษะและการไดยิน ลากเสนไปทางดานหลัง 4
ซ.ม. ดังนั้นจะทับเสนบริเวณควบคุมอาการเวียนศีรษะและการไดยิน (ยาวตอไปดานหลังอีก 2 ซ.ม. )
ใชรักษา sensory aphasia หมายถึง ผูปวยฟงคนอื่นพูดไมเขาใจ แตยังพูดได ทําให
พูดจาโตตอบกับญาติไมรูเรื่อง ญาติจะรูสึกวาผูปวยถามอยางตอบอีกอยาง
2.6 บริเวณใชงาน ( 运用区 : YùnYòngQū : The usage area ) (รูปที่ 3/3)
วิธีหา จากจุดปุมนูนดานขางศีรษะ (parietal tubercle) เปนจุดเริ่มตน ลากเสน 3 เสน ยาวเสนละ 3 ซ.ม. เสน
แรกลากตั้งฉากลงยาว เสนที่ 2 ทํามุม 40 องศา กับเสนแรกไปทางดานหนา เสนที่ 3 ทํามุม 40 องศากับ
เสนที่สองไปทางดานหลัง
ใชรักษา Apraxia หมายถึง ผูปวยเคลื่อนไหวได แตเคลื่อนไหวใหเกิดเปนงานไมได เชน ติด
กระดุมไมได วิธีรักษาโดยใชปก เข็ม 3 เลม ตามแนวเสนทั้งสาม
2.7 บริเวณควบคุมการเคลื่อนไหวและรับความรูสึกของขา (足运感区:
ZúYùnGǎnQū :
The foot motor and sensory area ) ( รูปที่ 3/4 )
วิธีหา จากจุดแบงครึง่ เสนแนวกึง่ กลางศีรษะ ขยับไปซายขวา 1 ซ.ม. จากจุดนี้ลากไปดานหลัง 3 ซ.ม.
ใชรักษาปวด ชา ออนแรงของขาดานตรงขาม ปสสาวะบอยจากโรคสมอง ปสสาวะเล็ดใน
เวลากลางคืน มดลูกหยอน
2.9 บริเวณควบคุมการมองเห็น ( 视区: ShìQū : The optic area ) รูปที่ 4/4
วิธีหา ลากเสนตั้งฉากกับแนว occipital protuberance โดยขนานเสนแนวกึ่งกลางหางออกไป
ซายขวา ขางละ 1 ซ.ม. ทั้งสองขาง ลากเสนตั้งฉากขึ้นดานบนยาว 4 ซ.ม.
ใชรักษา cerebrocortical visual disturbance
Page 96

86 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

2.10 บริเวณควบคุมการทรงตัว ( 平衡区: PíngHéngQū : The balance area )


(รูปที่ 4/4 )
วิธีหา ลากเสนตั้งฉากกับแนว occipital protuberance โดยขนานเสนแนวกึ่งกลางหนาออกไป
ซายขวาขางละ 3.5 ซ.ม. ลากเสนตั้งฉากลงดานลางยาว 4 ซ.ม.
ใชรักษาอาการทรงตัวไมไดจากโรคของสมองเล็ก (Cerebellum equilibrium disturbance )
2.11 บริเวณกระเพาะ ( 胃区, The gastric area )
วิธีหา แนวเดียวกับเสนลมปราณกระเพาะอาหาร โดยลากเสนจากไรผมดานหนาขึ้นไปดานบนขางละ 1 เสน
ยาว 2 ซ.ม. ในแนวมานตาขณะมองตรง
ใชรักษา กระเพาะอาหารอักเสบ ปวดกระเพาะ ความรูสึกไมสบายทอง

รูปที่ 3/5 แสดงบริเวณกระเพาะอาหาร บริเวณทรวงอกและบริเวณอวัยวะสืบพันธุ


Page 97

บทที่ 3 การฝงเข็มระบบศีรษะ และใบหู 87

2.12 บริเวณทรวงอก ( 胸腔区 : XiōngQiāngQū : The thoracic area ) (รูปที่ 3/5)


วิธีหา อยูกึ่งกลางระหวางเสนแนวกึ่งกลางดานหนา และเสนกระเพาะอาหาร เสนนี้ยาว 4 ซ.ม.
โดยลากขึ้นบนและลงลาง 2 ซ.ม. จากไรผมดานหนา
ใชรกั ษาอาการใจสั่น ใจหวิว แนนหนาอก ปวดทรวงอก สะอึก หอบ
2.13 บริเวณอวัยวะสืบพันธุ (生殖区: ShēngZíhQū: The reproductive area) (รูปที่ 5/4)
วิธีหา อยูดาน lateral ของเสนกระเพาะอาหาร โดยระยะหางจากเสนกระเพาะอาหารเทากับ
ระยะหางของเสนกระเพาะอาหารกับเสนทรวงอก ลากจากไรผมดาน หนาขึ้นไป 2 ซ.ม.
ใชรักษามดลูกหยอน ประจําเดือนมากไป ตกขาว บริเวณอวัยวะสืบพันธุ อาจใชรว มกับ
บริเวณควบคุมการเคลื่อนไหวและรับความรูสึกของขา(The foot motor and sensory area) เพื่อใช
รักษามดลูกหยอน
อยางไรก็ตาม ไดมีการปรับปรุงตําแหนงของจุดฝงเข็มของศีรษะอีกครั้งเมื่อป พ.ศ. 2527 (คศ.1984)
เพื่อใชเปนมาตรฐานตามสากล ในหนังสือเลมนี้ จึงขอนําสิ่งที่ไดปรับปรุงใหมมากลาวดวย โดยแบงเปน
4 บริเวณ คือบริเวณหนาผาก กระหมอม ขมับและทายทอย ซึ่งมีเสนรวมทั้งหมดจํานวน 25 เสน
(เสนซาย ขวา และตรงกลาง) ดังนี้ คือ
1. เสนตรงกลางหนาผาก (额中线:ÉZhōngXiàn)
- ตําแหนงยาว 1 ชุน หนาตอจุด ShénTíng (GV24:神庭)ซึ่งอยูบนเสนลมปราณตู
- การรักษา โรคจิตประสาท โรคจมูก เปนตน
2. เสนขางหนาผากที่หนึ่ง (额一线: ÉYīXiàn)
- ตําแหนง ยาว 1 ชุน หนาตอ จุด MéiChōng (BL3: 眉 冲 ) ซึ่งอยูบนเสนลมปราณ
กระเพาะปสสาวะและอยูเสนกลางหนาผาก
- การรักษา โรคหัวใจขาดเลือด หอบหืด หลอดลมอักเสบ โรคจมูก นอนไม หลับ เปนตน
3. เสนขางหนาผากที่สอง (额二线: ÉÈrXiàn)
- ตําแหนง ยาว 1 ชุน หนาตอจุดTóuLínQì (GB15:头临泣) ซึ่งอยูบ นเสนลมปราณถุง
น้ําดี และอยูถัดจากเสนขางหนาผากที่หนึ่ง
- การรักษา โรคกระเพาะเรื้อรัง โรคลําไสอกั เสบ โรคตับมาม เปนตน
Page 98

88 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

4. เสนขางหนาผากที่สาม (额三线: ÉSānXiàn)


- ตําแหนง จากจุด TóuWéi (ST8: 头维)ซึ่งอยูบนเสนลมปราณกระเพาะเขามาทางดาน
ใน 0.75 ชุน ลากเสนลงลาง 1 ชุน
- การรักษา สมรรถภาพเสื่อมทางเพศชาย ปสสาวะเล็ด เปนตน

GV24 ShénTíng เสนตรงกลางหนาผาก


BL3 MéiChōng
เสนขางหนาผากที่หนึ่ง
GB15 TóuLínQì
เสนขางหนาผากที่สอง
TóuWéi ST8
เสนขางหนาผากที่สาม

รูปที่ 3/6 แสดงการแบงแนวเสนบริเวณหนาผาก

5. เสนกลางกระหมอม (顶中线: DǐngZhōngXiàn)


- ตําแหนง จากจุด BǎiHuì (GV20:百会)ลากเสนไปขางหนาเชื่อมจุด QiánDǐng
(GV21:前顶)ซึ่งอยูบนเสนลมปราณตู
- การรักษา โรคของเอว ขา เทา เชน ออนแรง ชา ปวด เปนตน
Page 99

บทที่ 3 การฝงเข็มระบบศีรษะ และใบหู 89

เสนกลางกระหมอม

EX-HN1 SìShénCōng

รูปที่ 3/7 แสดงเสนกลางกระหมอม


6. เสนเชื่อมกระหมอมและขมับดานหนา (顶颞前斜线: DǐngNièQiánXiéXiàn)
ตําแหนง เปนเสนที่ลากระหวางจุดหนาของ SìShénCōng (EX-HN1: 四神聪) และจุด XuánLí
(GB6:悬厘) ซึ่งอยูบนเสนลมปราณถุงน้ําดี
การรักษาแบงเสนขนานกระหมอมทางดานหนา เปน 5 สวน 1 ใน 5 สวนบนใชรกั ษาอาการ
ออนแรงของขา 2 ใน 5 สวน ใชรักษาออนแรงแขนและ 2 ใน 5 สวนลางใชรักษาอาการออนแรงของ
ใบหนา เชน อัมพฤกษครึ่งซีกของใบหนา, ความผิดปกติของการพูดทางมอเตอร, น้ําลายไหล เปนตน

เสนเชื่อมกระหมอม EX-HN1 SìShénCōng

และขมับทางดานหนา GV20 BǎiHuì

GB6 XuánLǐ เสนเชื่อมกระหมอม


และขมับทางดานหลัง

GB7 QūBìn

รูปที่ 3/8 แสดงเสนเชื่อมกระหมอมและขมับดานหนา


Page 100

90 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

7.เสนเชือ่ มกระหมอมและขมับทางดานหลัง (顶颞后斜线: DǐngNièHòuXiéXiàn) (รูปที่ 3/8)


ตําแหนง เปนเสนที่ลากระหวางจุด B ǎ i H u ì ( G V 2 0 : 百 会 )ซึ่งอยูบนเสนลมปราณตู และ
QūBìn (GB7) ซึ่งอยูบนเสนลมปราณถุงน้ําดี เสนนี้จะขนานกระหมอมทางดานหนา
การรักษา แบงเสนขนานกระหมอมทางดานหลังเปน 5 สวน 1 ใน 5 สวนบนใชรกั ษาความรูสกึ ผิดปกติ
ของขา 2 ใน 5 สวนกลางใชรกั ษาความรูส ึกผิดปกติของแขน และ 2 ใน 5 สวนลางใชรักษาความรูส ึกผิดปกติของ
ใบหนา
8.เสนขางกระหมอมที่หนึ่ง (顶旁一线: DǐngPángYīXiàn) (รูปที่ 3/9)
ตําแหนง หางจากแนวกึง่ กลาง 1.5 ชุน คือจากจุด TōngTiān (BL7:通天) ซึ่งอยูบนเสน
ลมปราณกระเพาะปสสาวะ ลากไปทางดานหลัง 1.5 ชุน ขนานแนวกึ่งกลาง
การรักษาใชรักษาโรคของเอวและขา เชน ออนแรง ชา ปวด เปนตน

BL7 TōngTiān
GB17 ZhèngYíng
เสนขางกระหมอมที่หนึ่ง
GB4 HànYàn

GB18 ChéngLíng
เสนขมับ
ดานขางดาน เสนขางกระหมอมที่สอง

GB6 XuánLǐ GB18 ChéngLíng

เสนขมับดานหลัง

GB7 QūBìn

รูปที่ 3/9 แสดงเสนขางศีรษะที่ 1 เสนขางศีรษะที่ 2 เสนขางศีรษะดานหนา และเสนขางศีรษะดานหลัง


Page 101

บทที่ 3 การฝงเข็มระบบศีรษะ และใบหู 91

9.เสนขางกระหมอมที่สอง (顶旁二线: DǐngPángÈrXiàn) (รูปที่ 3/9)


ตําแหนง หางจากแนวกึง่ กลาง 2.25 ชุน คือจากจุด ZhèngYíng (GB17:正营) ลากไป
ทางดานหลัง 1.5 ชุน ถึงจุด ChéngLíng(GB18:承灵)ซึ่งเปนจุดลมปราณถุงน้ําดี
การรักษาใชรักษาโรคของไหล, แขนและมือ เชน ออนแรง ชา ปวด เปนตน
10.เสนขมับดานหนา (颞前线:NièQiánXiàn) (รูปที่ 3/9)
ตําแหนง อยูบริเวณขมับ ลากเสนจากจุด H à n Y à n ( G B 4 : 颔 厌 )ถึง จุด X u á n L í
(GB6:悬厘)ซึ่งเปนจุดบนเสนลมปราณถุงน้ําดี
การรักษา ไมเกรน ความผิดปกติของการพูดทางมอเตอร อัมพฤกษครึ่งซีกของใบหนา โรคของ
ชองปาก เปนตน
11.เสนขมับดานหลัง (颞后线:NièHòuXiàn) (รูปที่ 3/9)
ตําแหนง ที่บริเวณขมับ ลากเสนเชื่อมระหวางจุด Shuài Gǔ (GB8:率谷)และจุด QūBìn
(GB7:曲鬓) ซึ่งอยูบนเสนลมปราณถุงน้ําดี
การรักษาใชรักษาโรคไมเกรน เสียงดังในหู หูหนวก เวียนศีรษะ เปนตน
12.เสนกลางทายทอย (枕中正中线: ZhěnZhōngZhèngZhōngXiàn.) (รูปที่ 3/9)
ตําแหนง ที่บริเวณทาย ลากเสนจากจุด เฉียงเจียน (..............., BU 18) ถึงจุด NǎoHù
(GV17: 脑户)ซึ่งเปนจุดเสนลมปราณตู ยาว 1.5 ชุน
การรักษาใชรักษาโรคทางตา
Page 102

92 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

เสนกลางทายทอย
BL9 YùZhěn

GV17 NǎoHù เสนขางทายทอยบน

GV18 QiángJiān
เสนขางทายทอยลาง

รูปที่ 3/10 เสนกลางทายทอย เสนขางกลางทายทอยบน และเสนกลางทายทอยลาง


13.เสนขางทายทอยบน (枕下旁线: ZhěnXiàPángXiàn) (รูปที่ 3/10)
ตําแหนง ที่บริเวณทายทอย จากจุดแนวเดียวกับจุด NǎoHù (GV17:脑户)ออกไปสองขางๆ ละ
0.5 ชุน ลากเสนยาว 1.5 ชุน จะไดเสนนี้สองเสน
การรักษาใชรักษาสายตาสั้น เปนตน
14.เสนขางทายทอยลาง (枕上旁线:ZhěnShàngPángXiàn) (รูปที่ 3/10)
ตําแหนง ที่ตําหนงบริเวณทายทอย จากจุดวี่เจิ่น YùZhěn(BL9:玉枕)ซึ่งอยูบนเสนลมปราณ
กระเพาะปสสาวะ ลากเสนลงลางยาว 2 ชุน จะไดเสนนี้สองเสน
การรักษาใชรักษาอาการทรงตัวไมไดดีจากโรคสมองเล็ก ปวดศีรษะบริเวณทายทอย เปนตน

วิธีฝงเข็ม
ใหผูปวยนั่งหรือนอน ใชเข็มเบอร 26 ถึง 28 ยาว 2 ถึง 3 ชุน ปกในแนว 30 องศากับหนัง
ศีรษะลึกเขาไปในผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อใตผิวหนัง โดยใชความเร็วและ กระตุนเข็มดวยนิ้วโปงและนิ้วชี้
200 ครั้งตอนาที นาน 2 – 3 นาที จากนั้นคาเข็มอีก 5 – 10 นาที กระตุนซ้ํา 2 – 3 รอบ สําหรับผูปวยอัม
พฤกษหรืออัมพาต ระหวางกระตุนเข็ม ใหผูปวยขยับแขนขาไปพรอมกัน ( active movement ) สวนผูป ว ย
ที่ขยับไมได ใหแพทยขยับแขนขาผูปวยไปดวย ( passive movement ) ถาผูปวยมีความรูสึกอุน ชา เย็น
หรือกระตุก ขณะเคลื่อนไหว จะทําใหผลการรักษาดียิ่งขึ้น อาจใชเครื่องกระตุนเข็มแทนการกระตุนดวยมือ
การฝงเข็มที่ศีรษะ ทําทุกวันหรือวันเวนวัน 10 – 15 ครั้งเปนหนึ่งคอรส พัก 1 สัปดาห
หลังจากนั้นคอยเริ่มใหการรักษาระยะที่สอง
Page 103

บทที่ 3 การฝงเข็มระบบศีรษะ และใบหู 93

ขอควรระวัง
การฝงเข็มทีไ่ ดผล ตองอาศัยการวินิจฉัยโรคทีถ่ ูกตอง การฝงเข็มและกระตุนที่เหมาะสม ระวัง
ผูปวยเปนลมระหวางกระตุนเข็ม รวมทัง้ การใชอุปกรณที่ปลอดเชื้อ ถาผูปวยมีไขสูง อักเสบ ภาวะหัวใจลมเหลว
หรือเสนเลือดสมองแตก และยังอยูในระยะเลือดออก ตองงดการฝงเข็มที่หนังศีรษะ

เข็มหู ( 耳针:ĚrZhēn : Ear Acupuncture Therapy)


เสนลมปราณเกี่ยวของกับหู การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับหูสามารถใชปองกันและรักษาโรคได
เชน ปวดศีรษะตรวจดูตําแหนงบนหูสวนใดโปงพอง สามารถปกเข็มรักษาหรือปลอยเลือดได โดยจุด
ฝงเข็มของหูเสมือนทารกในครรภทากลับหัว (รูปที่ 3/11)เปนวิธีการทําไดงาย ฤทธิ์ขางเคียงนอยประหยัดและไดผลดี

รูปที่ 3/11 แสดงจุดฝงเข็มของหูเสมือนทารกในครรภทากลับหัว


Page 104

94 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

เสนลมปราณเปนเครือขายใหญ สามารถเชื่อมโยงอวัยวะทัง้ ภายในและภายนอก


1. เสนที่เกี่ยวกับหู เชน เสนหยางหมิงกระเพาะ เสาหยางซันเจียว ไทหยางลําไสเล็ก หยางหมิง

ลําไสใหญ ไทหยางกระเพาะปสสาวะ เสาหยางถุงน้ําดี เสาอินไต เจวี๋ยอินตับ ฉีจิงปามาย


2. หูเกี่ยวของกับอวัยวะจั้งฝู เชน ไตเปดทวารที่หู ตับพรอง การไดยินลดลง ตับแกรง ทําให

ปวดศีรษะ หูออื้ (โกรธ) มามพรองทวารทั้งเกาไมคลอง ปอด ควบคุมชี่เกี่ยวกับการฟง คอหอยและเสนเสียง


ชี่ปอดพรองจะไมไดยิน หัวใจเปดทวารที่ลิ้นซึ่งเปนกอนเนื้อขนาดเล็ก จึงตองอาศัยเปดทวารที่หูดวย
3. หูเกี่ยวกับการเจ็บปวยของรางกาย

หูสีคล้ําเล็ก ไตจะเล็ก หูหยาบใหญ แสดงวา ไตใหญ หูอยูสูงแสดงวา ไตอยูค อนขางสูง หูมรี อย


บุมลึกๆ ขางหลัก แสดงวา ไตอยูคอนขางต่ํา หูแข็งและหนา แสดงวา ไตมีประสิทธิภาพสมบูรณ หูบางไม
แข็งแรงแสดงวาไตไมแข็งแรง เด็กเปนโรคอีสุกอีใส ฝดาษ ถาหลังหูแดงรอน แสดงถึงพยากรณโรคดี แต
ถาหลังหูดําคล้ํา แสดงถึงโรคจะรุนแรงมากขึ้น แตถาหลังติ่งหูแดง มีแผลเรื้อรัง ที่ mastiod process
แสดงถึงมักมีพยาธิสภาพในสมอง ถายอดหูเย็นๆ แสดงถึงเด็กกําลังจะออกหัด สวนผูปวยเบาหวานดู
ขอบหูจะแหงเกรียมดํา ไมมีประกาย

องคประกอบของใบหู
ใบหู ประกอบดวย กระดูกออน ไขมัน เนื้อเยื่อบางๆ เสนประสาทฝอยเล็กๆ มากมาย นอกจากนี้ยัง
มีเสนประสาทมาควบคุมจากไขสันหลังระดับคอที่ 2 และ 3 เสนประสาทสมองคูที่ 5 ( Trigeminal nerve )
เสนประสาทสมองคูที่ 7 ( Facial nerve ) ซึ่งมาหลังหู เสนประสาทสมองคูที่ 10 ( Vagus nerve ) ซึ่ง
ควบคุมคอหอย ดังนั้นโรคที่เกิดจากเสนประสาทเหลานี้รักษาที่หูได
ตําแหนงทางกายวิภาคศาสตรของใบหู (ดังรูปที่ 3/12)
สวนตางๆของรางกายบนใบหู (ดังรูปที่ 3/13)
การกระจายของจุดบนใบหู (ดังรูปที่ 3/14 3/15 และ3/16)
การเรียกชือ่ สวนตางๆของใบหู (Terminology for the anatomical regions of the auricular surface)
(รูปที่ 12)
1. บริเวณขั้วของวงใบหู ĚrLúnJiǎo (เออรหลุนเจี่ยว:耳轮脚 : Helix crus) สัมพันธกับกระบังลม
Page 105

บทที่ 3 การฝงเข็มระบบศีรษะ และใบหู 95

2. บริเวณขอบหู ĚrLún (เออรหลุน : 耳 轮 : Helix )เปนบริเวณขอบนอกสุดของใบหู


สัมพันธกับทอลซิล ทางเดินหายใจสวนบน
3. บริเวณตรงขามวงใบหู DuìĚrLún ( ตุยเออรหลุน : 对耳轮 : Antihelix ) สัมพันธกับ

กระดูกสันหลัง และรวมถึงจุดกระดูกสันหลังสวนคอ อก เอว และกระเบนเหน็บ ขอบในรวมถึงจุดคอ


ทรวงอกและทอง
4. สวนเหนือบริเวณตรงขามวงใบหู DuìĚrLúnShàngJiǎo ( ตุยเออรหลุนซางเจีย ่ : 对耳轮上脚 :
Superior Antihelix crus) สัมพันธกับขา จุดนิ้วเทา ขอเขา เขา ตาตุมและสนเทา
5. สวนใตบริเวณตรงขามวงใบหู DuìĚrLúnXiàJiǎo ( ตุยเออรหลุนเซี่ยเจี่ยว :对耳轮下脚 :

Inferior Antihelix crus ) สัมพันธกับบริเวณตะโพก รวมถึงจุดประสาทขา (เสนประสาท sciatic)


ตะโพก และประสาทซิมพาเรติค
6. บริเวณคลายทองเรือ ĚrLúnZhōu (เออรโจว : 耳舟 : Scapha ) สัมพันธกับแขนและ

รวมถึงจุดไหปลารา ขอ ไหล แขน ศอก ขอมือ นิ้วมือ


7. บริเวณแองสามเหลี่ยม SānJiǎoWō ( ซันเจี่ยววอ : 三角窝 : Triangular fossa )

สัมพันธกับอวัยวะสืบพันธุ รวมถึงจุดมดลูก เสินเหมินและกระดูกเชิงกราน


8. บริเวณรอบๆขางของวงใบหู ĚrLúnJiǎoZhōuWéi (เออรหลุนเจี่ยวโจวเหวย:耳轮脚周围 :

Orifice of the external auditory meatus ) สัมพันธกับทางเดินอาหาร รวมถึง จุดปาก หลอดอาหาร


ลําไสเล็กสวนตน
9. บริเวณอุงใบหู ĚrJiǎTǐng (เออรเจี่ยถิง : 耳甲艇 : Cymba conchae) สัมพันธกับบริเวณทอง

รวมถึงจุดกระเพาะ ปสสาวะ ไต ตับออน ถุงน้ําดี ตับ มาม


10. บริเวณอุงหนารูหู ĚrJiǎQiāng (เออรเจี่ยเชียง :耳甲腔 : Cavum conchae) สัมพันธ

กับบริเวณทรวงอก ซึ่งรวมถึงจุด หัวใจ ปอด ซันเจียว


11. บริเวณรอยหยักระหวาง Tragus PíngJiānQiēJì (ผิงเจียนเชียจี้ : 屏间切迹 :Intertragic

notch) สัมพันธกับจุดตอมไรทอ รังไข อัณฑะ


12. บริเวณ Tragus ĚrPíng ( เออรผิง :耳屏 : Tragus ) สัมพันธกบ ั จุดจมูกชั้นใน คอหอย
ยอดติ่งหูสัมพันธกับตอมหมวกไต บริเวณรอยหยักเหนือ Tragus PíngShàngQiēJì (ผิงซางเชียจี้ :
屏上切迹 : Supratragic notch) สัมพันธกับจุดหูชั้นนอก
Page 106

96 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

บริเวณตรงขาม Tragus DuìĚrPíng (ตุยเออรผิง : 对耳屏 : Antitragus) สัมพันธกับ


13.

บริเวณศีรษะดานหนา จุด Subcortex (สวนใตเปลือกสมอง) ทายทอย จุดติง้ ฉวน(จุดหอบ) และตอมน้ําลาย


14. บริเวณติง่ หู ĚrChuí (เออรฉุย :耳垂 : Ear lobule) สัมพันธกับบริเวณใบหนา ขากรรไกร

บนลาง เพดานและพื้นใตลิ้น ตา ตอมทอนซิล หูชั้นใน จุดระงับความรูสึกถอนฟน บน ลาง


15. บริเวณหลังหู ĚrBèi (เออรเปย :耳背 : Ear back) สัมพันธกับบริเวณหลัง รวมถึงจุด

หลังสวนบน หลังสวนลาง

ตําแหนงของจุดบนใบหู
การกระจายของจุดบนใบหูตามที่ไดกลาวมาแลว มีความแตกตางกันตามขนาดและรูปรางของใบ
หูของแตละคน ตารางตอไปนี้อาจใชสําหรับหาตําแหนงของจุดตางๆบนใบหูได (รูปที่ 14 , 15 และ 16)

พื้นที่บนใบหู ชื่อของตําแหนง ตําแหนงทางกายวิภาค


บริเวณขั้วของวงใบหู หูสวนกลาง (HX1) อยูตรงขัว้ ของวงใบหู สัมพันธกับกระ
(เออรหลุนเจี่ยว : Helix crus) บังลมใชรกั ษาสะอึก ไอเปนเลือด
ปสสาวะรดที่นอนในเด็ก
สวนลางของลําไสใหญสว น อยูตรงปลายของวงใบหู ใตจุดลําไสใหญ
เรคตั้ม (HX2)
บริเวณขอบหู หลอดปสสาวะ (HX3) อยูบนวงใบหู ในระดับเดียวกับจุด
(เออรหลุน:Helix ) กระเพาะปสสาวะ
อวัยวะสืบพันธุภ ายนอก อยูบนวงใบหู ในระดับเดียวกับมุมลาง
(HX4) ของบริเวณตรงขามวงใบหู
ทวารหนัก (HX5) อยูบนวงในหูดานหนาระดับ
Superior antihelix crus
ยอดหู พับใบหูมาขางหนา จุดนี้อยูที่ปลายบน
(Ear apex HX 6,7) สุดของใบหู
ตุมหู ( Tubercle HX8) อยูที่ Helix tubercle ใชรักษาเวียน
ศีรษะ ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง
Page 107

บทที่ 3 การฝงเข็มระบบศีรษะ และใบหู 97

พื้นที่บนใบหู ชื่อของตําแหนง ตําแหนงทางกายวิภาค


ปอด 1-4 , HX 9-12 แบง Helix เปน 4 สวนใชรักษาโรค
ปอด
นิ้วเทา AH 2 สวนบนของ Superior anti helix
บริเวณตรงขามวงใบหู crus
(Antihelix) ขอเทา AH 3 อยูใตมุมในของสวนเหนือบริเวณตรง
ขามวงใบหู
ขอเขา AH 4 กึ่งกลาง 1/3 ของ Superior anti
helix crus
ขอตะโพก AH 5 สวนลาง 1/3 ของ Superior anti
helix crus

Sciatic nerve AH 6 Anterior 2/3 ของ inferior anti


บริเวณตรงขามวงใบหู helix crus
Sympathetic nervous อยูสวนหนาของ AH 6
(Antihelix) system AH 6a
กน AH 7 Lateral 1/3 ของ inferior antihelix
ทอง AH 8 Medial 2/5 ของ antihelix
กระดูกสันหลังระดับเอว Lateral ตอทอง
(Lumbosacral vertebrae)
AH9
ทรวงอก AH 10 อยูที่บริเวณตรงขามวงใบหู ระดับ
เดียวกับบริเวณรอยหยักเหนือ
Tragus
กระดูกสันหลัง ระดับอก Posterior ตอทรวงอก
AH 11
คอ AH 12 Lower 1/5 ของ anterior antihelix

กระดูกสันหลังระดับคอ Posterior ตอคอ


AH 13
นิ้วมือ SF 1 สวนบนของ scapha
Page 108

98 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

พื้นที่บนใบหู ชื่อของตําแหนง ตําแหนงทางกายวิภาค


ฟงซี 风溪 Fengxi จุดกึ่งกลางระหวางนิ้วมือและขอมือ
SF1 , Zi ใชรักษาภูมิแพ ผิวหนังและจมูก
ขอมือ SF 2 อยูในบริเวณคลายทองเรือ, ระดับ
บริเวณคลายทองเรือ (เออรโจว)
(Scapha)
เดียว กับรอยหยักของวงใบหู ต่ําจาก
ขอมือลงมา
ขอศอก SF 3 ต่ําจากขอมือลงมา
ขอไหลและรอบไหล SF 4,5 อยูในบริเวณคลายทองเรือ , ในระดับ
เดียวกันกับบริเวณรอยหยักเหนือ
Tragus ต่ําจากขอศอกลงมา
ไหปลารา SF 6 อยูในบริเวณคลายทองเรือ ในระดับ
เดียวกันกับจุดคอ
Upper Triangular Fossa สวนบนของ anterior 1/3 ของ
TF 1
fossa ใชรักษาความดันโลหิตสูง
บริเวณแองสามเหลี่ยม เสนอวัยวะสืบพันธ TF 2 สวนลางของ anterior 1/3 ของ
(Triangular fossa) fossa
Middle Triangular สวนกลางของ 1/3 ของ fossaใช
Fossa TF 3
รักษาหอบหืด
เสินเหมิน TF 4 สวนบนของ Posterior 1/3 ของ
fossa ใชรักษานอนไมหลับ อาการปวด
ชวงเชิงกราน TF 5 สวนลางของ Posterior 1/3 ของ
fossa
ปาก CO 1 Anterior 1/3 ของinferior helix
บริเวณอุงหนารูหู crus
หลอดอาหาร CO 2 Middle 1/3 ของinferior helix crus
(Orifice of the external
auditory meatus) กระเพาะอาหารสวนบน CO 3 Posterior 1/3 ของinferior helix
crus
กระเพาะอาหาร CO 4 ตรงปลายสุดของ Helix crus
Page 109

บทที่ 3 การฝงเข็มระบบศีรษะ และใบหู 99

พื้นที่บนใบหู ชื่อของตําแหนง ตําแหนงทางกายวิภาค


ลําไสเล็กสวนตน CO 5 บริเวณอุงใบหูดานที่ติดกับบริเวณขั้ว
ลําไสเล็ก, ลําไสใหญ, ของวงใบหูแบงออกเปน 3 สวน สวน
ไสติ่ง CO 6, CO 7 ในคือจุดลําไสใหญ สวนกลางคือจุด
ลําไสเล็ก สวนนอกคือจุดลําไสเล็ก
สวนตน ระหวางจุดลําไสเล็กกับจุด
ลําไสใหญก็คือจุดไสติ่ง
Angle of Cymbaconchae อยูmedial inferior ของ inferior
CO 8 antitragus crus
บริเวณอุงใบหู กระเพาะปสสาวะ CO 9 medial inferior ของ inferior
(Cymba conchae) antitragus crus
ไต CO 10 lateral inferior ของ inferior
antitragus crus
ตับออน , ถุงน้ําดี CO 11 lateral superior ของ cymba
conchae
บริเวณอุงใบหู ตับ CO 12 lateral inferior ของ cymba
conchae
(Cymba conchae)
มาม CO 13 สวนลางของจุดตับ
ปอด CO 14 อยูตรงบริเวณพืน้ ที่รอบๆจุดหัวใจและ
หลอดลม
บริเวณอุงหนารูหู หัวใจ CO 15 ตรงกลางของบริเวณอุงหนารูหู สวนที่
(Cavum conchae,
intertragic notch)
แอนที่สุด
หลอดลม CO16 อยูบริเวณระหวางหัวใจและรูหู
ซานเจียว CO17 Lateral และ inferior ตอรูหู
ตอมไรทอ CO18 อยูใน intertragic notch
จมูก(ภายนอก) TG 1 , 2i อยูกึ่งกลางของบริเวณ Tragus

บริเวณ Tragus คอหอย TG 3 Upper ½ ของ medial side ของ


Tragus
Page 110

100 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

พื้นที่บนใบหู ชื่อของตําแหนง ตําแหนงทางกายวิภาค


จมูก(ภายใน) TG 4 Lower ½ ของ medial side ของ
Tragus
ยอด Tragus ขอบนอกของสวนบนของ Tragus
Tragic Apex TG1p ใชลดไข ปวดฟน
ตอมหมวกไต TG2p ขอบนอกของสวนลางของ Tragus

ศีรษะดานหนา AT 1 ใตจุดติ้งฉวน ติดกับขอบบนของติ่งหู


ติ้งฉวน(จุดหอบ)AT 1,2,4i ตรงปลายสุดของบริเวณตรงขาม
Tragus
บริเวณตรงขาม ทายทอย AT 3 อยูบริเวณใตและหลังจุดสมอง
Tragus (Antitragus)
กานสมอง AT 3,4i ตรงรอยตอระหวางบริเวณตรงขาม
Tragus
และบริเวณตรงขามวงใบหู
Subcortex (สวนใตเปลือก อยูคตรงผิวในของบริเวณตรงขาม
สมอง) AT 4 Tragus

ฟน LO 1 Medial upper ของติ่งหู


ลิ้น LO 2 Middle upper ของ Tragus
บริเวณติ่งหู (Ear lobule) กราม LO 3 Lateral upper ของติ่งหู
แบงติง่ หูเปน 9 ชองตามรูปที่ 13 Frontal Ear Lobe LO 4 Medial middle ของติ่งหู

ตา LO5 จุดกึ่งกลางของติ่งหู
หูสวนใน LO 6 Lateral middle ของติ่งหู
แกม LO 5 ,6i ระหวาง LO 5และ LO 6
ทอนซิล LO7,8,9 Lower ของติ่งหู
Page 111

บทที่ 3 การฝงเข็มระบบศีรษะ และใบหู 101

พยาธิสภาพของสวนตาง ๆ ของรางกาย
1. ความผิดปกติของแขน จะพบผิดปกติที่เออรโจว
2. ความผิดปกติของขา จะพบที่ตยุ เออรหลุนซางเจียวและเซี่ยเจียว
3. ความผิดปกติของลําตัวจะพบที่ตุยเออรหลุน
4. ความผิดปกติของใบหนา หู จมูก ลําคอ จะพบที่ Tragusและเออรฉุย
5. ความผิดปกติของศีรษะ จะพบที่ตุยเออรผิง
6. ความผิดปกติของชองทองตอนลาง จะพบที่เออรเจี่ยติง
7. ความผิดปกติของการยอยอาหาร จะพบที่รอบ ๆ ขาของเออรหลุน
8. ความผิดปกติของอุงเชิงกราน จะพบที่ซานเจียววอ

การหาจุดบนใบหู
1. หาจุดกดเจ็บ ดวยดามเข็มสามเหลี่ยม หัวเข็มหมุดหรือหัวไมขีดไฟ
2. ใชอปุ กรณชว ย เชน เครื่องสํารวจไฟฟาสําหรับจุดแทงเข็ม เพือ่ หาจุดที่เหนี่ยวนํากระแสไฟฟา
มากที่สุดมาทําการรักษา วิธีใชเครื่องคือ ใหผูปวยถือขั้วไฟฟาดวยมือขางหนึ่ง ขั้วไฟฟาอีกขางหนึ่งจอ
ตรงจุดตาง ๆ ในบริเวณที่เราเลือก แลวหาจุดทีห่ นาปทมของเครื่องวัดกระแสไฟฟาบอกคาสูงที่สุดมาทํา
การรักษา
3. วิธีสงั เกตโดยตรง ในบางโอกาสหรือบางโรค จะมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหรือเปลีย ่ นสี
โดยเฉพาะบริเวณที่เราเลือกไวสาํ หรับทําการรักษา เชน รอยถลอก จุดเล็ก ๆ สีดําหรือแดง

หลักการเลือกจุดฝงเข็มบนใบหู
1. เลือกจุดตําแหนงของโรคที่เกิด เชน เลือกจุดกระเพาะอาหารสําหรับอาการปวดกระเพาะอาหาร

เลือกจุดประสาทซิมพาเทติก สําหรับความผิดปกติในหนาที่ของอวัยวะภายในและการหมุนเวียนโลหิต
2. เลือกจุดตามทฤษฎีแพทยแผนจีน เกี่ยวกับการจําแนกโรค เชน เลือกจุดตาสําหรับรักษาโรค

เกี่ยวกับตา ขณะเดียวกันใหเลือกจุดตับรวมดวย เนื่องจากตับมีความสัมพันธกับตา ในไขหวัดธรรมดา


และโรคผิวหนัง เลือกจุดปอด เนื่องจากปอดสัมพันธกับผิวหนังและรูขุมขน
3. เลือกจุดตามทฤษฎีแพยทตะวันตก เชน ปวดประจําเดือน นอกจากเลือกจุดมดลูกแลว ยังเลือก
Page 112

102 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

จุด Subcortex (สวนใตเปลือกสมอง) และจุดตอไรทอดวย


4. เลือกจุดโดยอาศัยประสบการณ เชน เลือกจุดรองสําหรับลดความดันในโรคความดันโลหิตสูง

เลือกจุดติ้งฉวนสําหรับโรคหอบหืด เลือกจุดไสติ่งสําหรับโรคไสติ่งอักเสบ

การเลือกจุดบนใบหูสําหรับการรักษาโรคในระบบตาง ๆ
1. ระบบทางเดินอาหาร จุดกระเพาะอาหาร ลําไสใหญ ลําไสเล็ก ตับออน ถุงน้ําดี มาม ตับ
ประสาทซิมพาเธติก ทอง ตอมไรทอ เสินเหมิน
2. ระบบทางเดินหายใจ จุดติ้งฉวน หลอดลม ปอด ทรวงอก ทายทอย เสินเหมิน ประสาทซิมพา

เทติกตอมไรทอ
3. ระบบหมุนเวียนโลหิต จุดหัวใจ ปอด ตอมหมวกไต เสินเหมิน ประสาทซิมพาเธติก
ตอมไรทอ
4. ระบบทางเดินปสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ จุดไต กระเพาะปสสาวะ ตอมหมวกไต ทาย

ทอย เสินเหมิน ประสาทซิมพาเธติก ตอมไรทอ


5. โรคเกี่ยวกับประสาทและจิตใจ จุด Subcortex (สวนใตเปลือกสมอง) ทายทอย

ศีรษะดานหนา หัวใจ กระเพาะอาหาร ไตและเสินเหมิน


6. โรคทางสูติ-นรีเวชวิทยา จุดรังไข ตอมไรทอ ไต มดลูก ประสาทซิมพาเธติก

7. โรคของอวัยวะรับความรูสึก

หู - จุดหูชั้นใน ทายทอย ตอมหมวกไต ไต เสินเหมิน

จมูก - จุดจมูก (ภายใน) ตอมหมวกไต จมูก (ภายนอก)


คอหอย - จุดคอหอย ตอมไรทอ ยอดหูติ่ง ไต หัวใจ ตอมหมวกไต เสินเหมิน
ตา - จุดตา ตับ

8. แกอักเสบและระงับปวด จุดที่สัมพันธกับบริเวณที่เปน จุดเสินเหมิน ตอมหมวกไต

ทายทอย Subcortex (สวนใตเปลือกสมอง)


9. โรคผิวหนัง จุดที่สัมพันธกับบริเวณที่เปน ตอมไรทอ ปอด ตอมหมวกไต เสินเหมิน
Page 113

บทที่ 3 การฝงเข็มระบบศีรษะ และใบหู 103

การกระตุนจุดบนใบหู
1. ใชเข็มขนาดความยาว 0.5 ชุน ทําการปราศจากเชื้อบริเวณนั้นแลวแทงตรงหรือชอนตรงจุดนั้น
ลึกถึงกระดูกออนบนใบหู ระวังแทงทะลุใบหู จะรูสึกตึง ๆ หรือรอน ถาผูปวยไมรูสึกใด ๆ ก็ใหยกเข็ม
ขึ้น แลวเอียงไปยังทิศทางอื่นจนกระทั่งผูปวยเกิดความรูสึกเจ็บที่สุด คาเข็ม 20– 30 นาที กระตุนเข็ม
เปนชวง ๆ สม่ําเสมอหรือกระตุนตลอดเวลา ถาใชเข็มหู (Pin-like needle) สามารถคาเข็มได 2-3
เลม การฝงเข็มทําวันละ 1 ครั้งหรือวันเวนวัน โดย 10 ครั้งเปนหนึ่งคอรส
2. ใชเครื่องกระตุนไฟฟา มักฝงเข็มไมลึก จึงควรมีตัวหนีบเล็ก ๆ หนีบเข็มไว และกั้น

ระหวางเข็มแตละจุดดวยสําลีชุบแหง ความแรงพอดีไมปวดมากนัก
3. ติดดวยเม็ดผักกาดหรือเข็ม เหมาะกับโรคเรื้อรัง และตองรักษานาน เม็ดผักกาดหรือเม็ด

แมเหล็ก ติดแลวใหผูปวยกดเอง ตําแหนงละ 1-3 นาที วันละ 3 ถึง 5 ครั้ง โดยคาเม็ดผักกาดหรือเข็ม


3-5 วัน กอนเปลี่ยนใหม

ขอควรระวัง
1. การฝงเข็มหูตองทําภายใตเทคนิคการปลอดเชื้ออยางเครงครัด
2. การฝงเข็มหู มีขอหามในกรณีใบหูอักเสบ หญิงตั้งครรภที่มีประวัติแทงบอยๆ
Page 114

104 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2


Page 115

บทที่ 4
การรักษาอาการโรค
1. โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Diseases)
ใจสั่น
(Palpitation)
อาการใจสั่น หมายถึง อัตราการเตนหรือจังหวะการเตนของหัวใจผิดปกติไป โดยผูปวย
สามารถรับรูไดถึงความผิดปกติรวมกับมีอาการวิตกกระวนกระวาย อาการใจสั่นเล็ก ๆ นอย ๆ อาจเกิด
จากอาการตกใจอยางฉับพลันหรือใชกําลังหนักเกินไป ขณะทีอ่ าการใจสั่นอยางรุนแรงมักเกิดจากปญหา
ของอวัยวะภายใน

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
1) เสินไมสงบ (Disturbance of the mind) (ชี่หัวใจและถุงน้ําดีพรอง)
คนขวัญออนมักมีอาการใจสั่นเมื่อถูกทําใหตกใจดวยเสียงดัง สิง่ ที่ไมคาดหวัง หรือสภาวะแวด
ลอมที่รูสึกไมปลอดภัย คัมภีรแพทยจักรพรรดิหวังตี้ ภาคซูเหวิ่น บทที่ 19 กลาววา “ความตกใจทําให
ชี่ไมสงบเพราะหัวใจไมมั่นคง หนักแนน เสินจึงไมมีที่ยึดเหนี่ยวและความคิดก็ไมมีระเบียบระบบ”
ปจจัยอื่นที่ทําใหเกิดอาการใจสั่น ไดแก มีการสะสมของเสลดรอน อารมณเก็บกดและโกรธ
กระเพาะอาหารทําหนาที่แปรปรวน และไฟเสลดเคลื่อนขึ้นบน
2) ชี่และเลือดพรอง (Insufficiency of qi and blood) (หัวใจและมามพรอง)
โรคเรื้อรัง สภาพรางกายออนแอ เสียเลือด หรือคิดมาก ทําลายหัวใจและมาม รวมทั้งขัดขวาง
การสรางชี่และเลือด ชี่และเลือดพรองไมสามารถหลอเลี้ยงหัวใจไดเพียงพอ มีผลกระทบตอความมั่นคง
ของเสิน เกิดอาการใจสั่น
3) ไฟกระทํามากเกินจากภาวะอินพรอง - อินพรองเกิดไฟ (Hyperactivity of fire due to yin
deficiency)
Page 116

106 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

การทําลายอินไตจากการหมกมุนมีเพศสัมพันธมากเกิน หรือความออนเพลียทรุดโทรมจากโรค
ที่ปวยมาเปนเวลานาน ทําใหน้ําไตไมสามารถควบคุมไฟหัวใจได การทํางานไมสอดประสานกันของหัวใจ
และไตรวมกับการกําเริบของไฟ รบกวนตอเสิน ทําใหเกิดอาการใจสั่น
4) ของเหลวที่อันตรายคั่งคาง - ภาวะที่น้ําทนหัวใจ (Retention of harmful fluid)
ของเหลวที่อันตรายคั่งคางเกิดจาก หยางหัวใจลดลง หรือ การพรองของหยางมามและไต
กระทบถึงหัวใจทําใหเกิดอาการใจสั่น

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
1)สภาพเสินไมสงบ (Disturbance of the mind)
ลักษณะทางคลินิก: ใจสั่น หวาดกลัวและตื่นตกใจ กระสับกระสาย กระวนกระวาย ฝนมาก
จนรบกวนการนอน เบื่ออาหาร
ลิ้น ลิ้นซีด ฝาขาว หรือลิ้นแดง ฝาเหลืองเหนียว
ชีพจร จมชา (Chen Xi Mai 沉 细脉) หรือลื่นเร็ว (Hua Su mai 滑数脉)
ในรายที่เกิดจากเสลดรอน ลิ้นมีฝาสีเหลือง-เหนียว และชีพจรลืน่ -เร็ว
การวิเคราะหอาการ:
ความหวาดกลัวทําใหชี่ไหลเวียนสับสน ความตกใจทําใหชไี่ หลลง การรบกวนจิตใจทําให
ควบคุมตัวเองไมได จึงเกิดอาการใจสั่น ตื่นกลัวและตกใจงาย ฝนจนรบกวนการนอน กระวนกระวาย
กระสับกระสาย ลิ้นมีฝาขาวบาง ชีพจรคอนขางเร็ว แสดงวาเกิดจากจิตใจไมสงบ ลิ้นมีฝาเหลืองเหนียว
ชีพจรลื่น-เร็ว บงถึงเสลดรอน
2) ชี่และเลือดพรอง (Insufficiency of qi and blood)
ลักษณะทางคลินิก: ใจสั่น สีหนาหมองคล้ํา มึนงง ตามัว หายใจตื้น ออนเพลีย
ลิ้น ซีดมีรอยฟน
ชีพจร ออน เล็กเหมือนเสนดาย หรือ ไมสม่ําเสมอ (thready weak or intermittent
pulse) 细弱或结代 (pin –yin)
Page 117

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 107

การวิเคราะหอาการ:
ใจสั่นเกิดจากชีแ่ ละเลือดพรองจนไมสามารถหลอเลี้ยงหัวใจไดเพียงพอ สีหนาหมองเกิดจากชี่
และเลือดพรอง มึนงงเกิดจากชี่และเลือดไปหลอเลี้ยงสมองไมเพียงพอ หัวใจควบคุมเลือดและหลอด
เลือด เปดทวารที่ลิ้น เมื่อชี่และเลือดพรองทําใหลิ้นซีดมีรอยฟน ชีพจรเบาเล็กเหมือนเสนดาย หรือเตน
ไมสม่ําเสมอ
3) ไฟกระทํามากเกินจากภาวะอินพรอง (Hyperactivity of fire due to yin deficiency)
ลักษณะทางคลินิก: ใจสั่น กระสับกระสาย กระวนกระวาย นอนไม๖หลับ มึนงง ตามัว มีเสียงในหู
ลิ้น แดง ฝานอย
ชีพจร เล็กเหมือนเสนดาย-เร็ว (Xi Su Mai 细数脉)
การวิเคราะหอาการ:
อินไตพรองจนไมสามารถควบคุมไฟหัวใจได ทําใหจิตใจไมสงบ เกิดอาการใจสั่น นอนไมหลับ
กระสับกระสาย เมื่ออินพรอง หยางจึงทําหนาที่เกินที่สวนบนของรางกาย เกิดอาการมึนงง เสียงดังในหู
ลิ้นแดง-ฝาบางและชีพจรเล็ก-เร็ว เปนอาการแสดงของหยางทําหนาที่มากเกินเพราะอิน
4) ของเหลวที่อันตรายคั่งคาง (Retention of harmful fluid)
ลักษณะทางคลินิก: ใจสั่น ขากเสมหะเปนเมือกใส แนนในอกและลิ้นป ออนเพลีย แขน-ขาเย็น
ลิ้น เคลือบดวยฝาขาว
ชีพจร ลื่น ตึงเหมือนเสนลวด (Xian Hua Mai 弦滑)
ในรายที่หยางของมามและไตพรอง จะมีปสสาวะนอย กระหายน้ําแตไมอยากดื่มน้ํา ลิ้นมีฝา
ขาว-ลื่น ชีพจรลึก เร็ว และตึงเหมือนเสนลวด
การวิเคราะหอาการ:
ของเหลวที่อันตรายคั่งคางจะกดหยางหัวใจ ทําใหหยางชี่ไมสามารถไปหลอเลี้ยงแขนขาไดจึง
เกิดอาการเย็นและออนลา ลิ้นมีฝาขาวและชีพจรลื่น-ตึงบงชี้วาเกิดจากของเหลวที่อันตราย การไหลเวียน
ชี่ที่ไมคลองที่เกิดจากหยางของมามและไตพรองทําใหปสสาวะนอย กระหายน้ําแตไมอยากดื่มน้ํา ลิ้นมีฝา
ขาว-ลื่น ชีพจรลึก-ตึงบงชีว้ าหยางของมามและไตพรองและมีของเหลวคัง่ คาง ชีพจรเร็วจากหยางหัวใจ
ลดลง
Page 118

108 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

การรักษา
การฝงเข็ม: เลือกจุดบนเสนลมปราณหัวใจ เสนลมปราณเยื่อหุมหัวใจ จุดอวัยวะหนา (Front-Mu)
และจุดอวัยวะหลัง (Back-Shu) ของหัวใจ เปนจุดหลัก
- ถาเกิดจากสภาพจิตใจไมสงบกระตุนเข็มแบบเสมอกัน (ผิงปูผิงเซี่ย) เพื่อทําใหหัวใจสงบ
- ถาชี่และเลือดพรองกระตุนเข็มแบบบํารุงเพื่อบํารุงหัวใจและสงบเสิน
- กรณีไฟกระทํามากเกินไปจากอินพรองใหใชกระตุนรวมกันทั้งบํารุงและระบายบางจุด
- ในกรณีของเหลวที่อันตรายคั่งคางใหกระตุนเพื่อการระบายกอนแลวกระตุนบํารุงหรือรวมกับ
การรมยาเพื่ออุนหยางและสลายของเหลวที่อันตราย
จุดหลัก : XinShu (BL15), JuQue (CV14), ShenMen (HT7), NeiGuan (PC6)
จุดเสริม:
- สภาพจิตในไมสงบ: TongLi (PC5), QiuXu (GB40) ถารวมกับมีการสะสมของ
เสลดรอนเพิ่ม FengLong (ST40) DanShu (BL19)
- ชีแ่ ละเลือดพรอง: PiShu (BL20) WeiShu (BL21) ZuSanLi (ST36)
- ไฟทํางานมากเกินจากอินพรอง: JueYinShu (BL14) หรือ ShaoFu (HT8)
ShenShu (BL23) TaiXi (KI3) หรือ ZhaoHai (KI6)

- ของเหลวที่อันตรายคั่งคาง : ShuiFen (CV9), GuanYuan (CV4), ShenQue (CV8),


YinLingQuan (SP9)
อธิบาย
ShenMen (HT7) เปนจุดเหยวียน (Yuan-primary point) ของเสนลมปราณหัวใจ XinShu
(BL15) และ JuQue (CV14) เปนจุดอวัยวะหลังและหนาของหัวใจ NeiGuan (PC6) เปนจุดลั่ว
(Luo-Connecting point) ของเสนลมปราณเยื่อหุมหัวใจ ใชรวมกันเพื่อเพิ่มและปรับสมดุลเลือดและชี่
ของหัวใจเพื่อสงบจิตใจ
TongLi (PC5) จุดลั่วของเสนลมปราณหัวใจ, QiuXu (GB40) จุดเหยวียนของเสน
ลมปราณถุงน้ําดี ใชรว มกันเพื่อสงบจิตใจและปรับสมดุลถุงน้ําดี
FengLong (ST40) จุดลั่วของเสนลมปราณกระเพาะอาหาร, DanShu (BL19) จุดอวัยวะ
Page 119

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 109

หลังของถุงน้ําดี ใชรวมกันสลายเสลดและขจัดรอน
PiShu (BL20) รวมกับ WeiShu (BL21) เพื่อปรับสมดุลมามและกระเพาะอาหาร เพื่อ
สงเสริมการสรางชี่และเลือด, ZuSanLi (ST36) เปนจุดสําคัญในการบํารุงชีแ่ ละเลือด
ShenShu (BL23) และ TaiXi (KI3) หรือ ZhaoHai (KI6) เพื่อเสริมสรางอินไต
JueYinShu (BL14) หรือ ShaoFu (HT8) เพื่อระบายไฟหัวใจ
GuanYuan (CV4), ShuiFen (CV9), ShenQue (CV8) และ YinLingQuan (SP9) ใช
รวมกันเพื่อฟนฟูหยางหัวใจ เสริมสภาพมาม และสลายของเหลวที่อันตราย

หมายเหตุ
อาการใจสั่นที่กลาวถึงในบทนี้ สามารถประยุกตใชไดทั้งกับใจสั่นจากอาการวิตกกังวลและใจ
สั่นจากหัวใจเตนผิดจังหวะ (Cardiac arrhythmia)
Page 120

110 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ใจสั่น
Page 121

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 111

ความดันโลหิตสูง
(Hypertension)
ความดันโลหิตสูงเปนโรคของหลอดเลือดที่พบไดบอย วินิจฉัยโดยการวัดความดันหลอดเลือด
แดงมากกวา 140/90 มิลลิเมตรปรอท และอาจมีอาการอื่นรวมดวย เชน ปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ
นอนไมหลับ ฯ ความดันโลหิตสูงแบงเปน 2 ชนิด คือ ปฐมภูมิและทุติยภูมิ ความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ
หมายถึงความดันโลหิตสูงที่ไมมสี าเหตุจากโรคตาง ๆ ที่ทําใหเกิดความดันในหลอดเลือดแดงสูง สวน
ความดันโลหิตสูงทุติยภูมิหมายถึงความดันโลหิตที่เกิดจากโรคตาง ๆ ที่มีผลใหความดันในหลอดเลือด
แดงสูงขึ้น เชน โรคไตวาย โรคของตอมไรทอบางชนิด ฯ
ความดันโลหิตสูงปฐมภูมิพบไดบอยทั้งหญิงและชายที่อายุมากกวา 40 ป ในระยะตนอาจไมมี
อาการใด ๆ หรือบางรายอาจมาดวยปญหาปวดศีรษะ มึนงง นอนไมหลับ ตามัว เปน ๆ หาย ๆ ในรายที่
เรื้อรังจะเกิดภาวะแทรกซอนตออวัยวะตาง ๆ เชน การทํางานของหัวใจ ไต หลอดเลือดหัวใจและหลอด
เลือดสมอง ฯ การแพทยแผนจีนจัดความดันโลหิตสูงไวในกลุม ปวดศีรษะ (Tou Tong) และ วิงเวียน
(Xuan Yun) ซึ่งเกิดจากความไมสมดุลของอินและหยาง โดยอาจมีสาเหตุจากอารมณซึมเศราเก็บกด
หรืออารมณโกรธเปนเวลานานจนเกิดชี่ติดขัดกลายเปนไฟทําลายอินตับทําใหเกิดหยางหรือไฟตับแกรง
หรือสาเหตุจากอินไตและอินตับพรองเกิดหยางตับแกรง รวมถึงการรับประทานอาหารที่ไมเหมาะสมมี
ไขมันและรสจัดเกินไปทําใหความชื้นสะสมกลายเปนเสมหะสะสมคั่งคาง

การวิเคราะหแยกกลุมโรค
1. ไฟตับแกรง (over-activity of liver fire)
ลักษณะทางคลินิก: ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะ มึนงง หนาแดง ตาแดง ลิน้ ขม หงุดหงิด ทองผูก
ลิ้น ตัวลิ้นแดง ฝาเหลือง
ชีพจร เร็ว และ ตึงเหมือนเสนลวด (Xian Su mai 弦数脉) (wiry and rapid)
2. การสะสมของเสมหะขน (accumulation of turbid phlegm)
ลักษณะทางคลินิก: ความดันโลหิตสูง มึนงง ปวดแบบพอง ๆ ในศีรษะ แนนหนาอกและลิ้นป เบื่อ
อาหาร รูสึกหนักแขนขา
Page 122

112 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ลิ้น ฝาขาวเหนียว
ชีพจร ลื่นและตึงเหมือนเสนลวด (wiry and smooth)
3. หยางแกรงรวมกับอินพรอง
ลักษณะทางคลินิก: ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะ มึนงง มีเสียงในหู หงุดหงิด นอนไมหลับ หลังสวน
เอวและเขามีอาการปวดและออนแรง แขนขามีอาการชาหรือสัน่
ลิ้น ตัวลิ้นแดง มีฝาเล็กนอย
ชีพจร เล็กและตึงเหมือนเสนลวด (thready and wiry)
4. อินและหยางพรอง
ลักษณะทางคลินิก: ความดันโลหิตสูง มึนงง ตามัว ใจสั่น มีเสียงในหู หลังสวนเอวและเขามีอาการปวด
และออนแรง นอนไมหลับ ปสสาวะบอยตอนกลางคืน
ลิ้น ตัวลิ้นแดง มีฝาเล็กนอย
ชีพจร จมและออน(Chen Xi Mai 沉) (deep and weak)

การรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
1.1 ไฟตับแกรง
หลักการ สงบตับ ระบายไฟ
จุดหลัก กระตุนระบายจุด FengChi (GB20), TaiChong (LR3), XingJian (LR2),
QuChi (LI11), HeGu (LI11)
จุดเสริม
- หงุดหงิด นอนไมหลับ: ระบาย ShenMen (HT7), XiaXi (GB43), BenShen (GB13)
- ทองผูก: ระบาย ZhiGou (TE6)
อธิบาย:
- FengChi (GB20) จุดตัดของเสนลมปราณถุงน้ําดีและเสนลมปราณหยางเหวย ใชเพื่อ
ระบายไฟในศีรษะและตา และบรรเทาอาการปวดศีรษะ
- TaiChong (LR3), XingJian (LR2) ใชเพื่อระบายไฟตับ
Page 123

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 113

- QuChi (LI11), HeGu (LI11) ใชเพื่อลดความรอนและลดความดันโลหิต

1.2 การสะสมของเสมหะขน
หลักการ สลายเสมหะขน
จุดหลัก - กระตุนระบาย: FengLong (ST40), QuChi (LI11)
- กระตุนบํารุง-ระบายเทากัน (ผิงปูผิงเสี่ย):FengChi(GB20), ZhongWan(CV12),
NeiGuan(PC6)
จุดเสริม:
- คลื่นไสหรืออาเจียน: ระบาย YinLingQuan (SP9), TouWei (ST8); บํารุง
ZuSanLi (ST36)
-
มึนงงรุนแรง: ระบาย BaiHui (GV20)
อธิบาย : - FengLong (ST40), QuChi (LI11) ใชเพื่อกําจัดเสมหะ
- ZhongWan (CV12) เสริมบํารุงจงเจียวเพื่อลดการสรางเสมหะ
- FengChi (GB20), NeiGuan (PC6) บรรเทาอาการในศีรษะและทรวงอก

1.3 หยางแกรงรวมกับอินพรอง
หลักการ เสริมอิน ควบคุมหยาง
จุดหลัก - กระตุนบํารุง: GanShu (BL18), ShenShu (BL23)
- กระตุนระบาย: TaiChong (LR3)
- กระตุนบํารุง-ระบายเทากัน (ผิงปูผิงเสี่ย) : FengChi (GB20), NeiGuan (PC6),
SanYingJiao (SP6)
จุดเสริม :
- นอนไมหลับ ใจสั่น: แทงจุด ShenMen (HT7) ชี้ปลายเข็มถึง YinXi (HT6)
- มึนงง: ระบาย YinTang (EX-HN3)
- รูสึกชามากตามแขนขา: ระบาย QuChi (LI11), YangLingQuan (GB34)
อธิบาย: - GanShu (BL18), ShenShu (BL23) เสริมบํารุงอินตับและไต รวมถึงบํารุงเลือดเพือ่ รักษา
ปญหาพื้นฐานของปญหา ไดแก อินไตพรองสงผลใหอินตับพรองตาม
- TaiChong (LR 3), FengChi (GB20) ใชสงบตับเพื่อควบคุมหยางไมใหเคลื่อนขึ้นและ
สงบลม
Page 124

114 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

- NeiGuan (PC6), SanYingJiao (SP6) ใชบํารุงอินและสงบจิตใจ

1.4 อินและหยางพรอง
หลักการ: บํารุงอิน เสริมหยาง
จุดหลัก - กระตุนบํารุง: ShenShu (BL23), GuanYuan (CV4), QiHai (CV4),
SanYinJiao (SP6)
- กระตุนบํารุง-ระบายเทากัน (ผิงปูผิงเสี่ย) : FengChi (GB20), BaiHui (GV20)
จุดเสริม:
- นอนไมหลับ ใจสั่น: แทงจุด ShenMen (HT7) ชี้ปลายเข็มถึง YinXi (HT6)
- มึนงง: กระตุนบํารุง-ระบายเทากันจุด SiShenCong (EX-HN1)
้ แหง: บํารุง TaiXi (KI3)
- รูสึกคอและลิน
- ขาหรือเทาบวม: บํารุง YinLingQuan (SP9)
อธิบาย: - ShenShu (BL23), GuanYuan (CV4), QiHai (CV4) เสริมบํารุงอินและหยางไต
- SanYinJiao (SP6) เสริมบํารุงอินไต
- FengChi (GB20), BaiHui (GV20) ระงับตับและสยบลม

2. การฝงเข็มหู
เลือกจุด: Subcortex, Sympathetic, Shenmen, Ear apex, Liver, Groove for
lowering blood pressure
วิธีการ: แทงเข็มกระตุนแรงปานกลางและคาเข็ม 30 นาที หรือ ใชเข็มสอดผิวหนังหรือเม็ด
วัสดุติดหูแปะคาไว
3. เข็มผิวหนัง
ตําแหนง : ดานหลังบริเวณขางตอแนวกระดูกสันหลังตลอดแนว และบริเวณลําคอขางตอ
หลอดลม
วิธีการ : ใชเข็มดอกเหมยเคาะเบาจนถึงแรงระดับปานกลาง จากดานบนลงดานลางวันละ 1 ครั้ง
4. เข็มสามเหลี่ยม
จุดปลอยเลือด: DaZhui (CV14), QuZe (PC3), WeiZhong (BL40),
TaiYang (EX-HN5)
Page 125

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 115

วิธีการ: ใชเข็มสามเหลี่ยมเจาะที่จุด 1-3 ครั้ง แลวครอบถวยตามอีก 15 นาที โดยเลือกทําครั้งละ1 คู ทุก


3-5 วัน โดยใหมีเลือดออกแตละครั้งรวมประมาณ 5 มิลลิลิตร
5. การฝงเข็มศีรษะ
ตําแหนง : Foot motor sensory area, Thoracic area, Vasomotor area
Page 126

116 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ความดันโลหิตต่ํา
(Hypotension)
ความดันโลหิตต่ํา หมายถึง ภาวะที่มีความดันโลหิตต่ํากวา 90/60 mmHg อยางตอเนื่องเปน
เวลานาน (ผูสูงอายุความดันโลหิตต่ํากวา 100/70 mmHg) แพทยแผนปจจุบันแบงออกเปนสามกลุม
ใหญโดยพิจารณาจาก สภาพสุขภาพรางกาย ลักษณะทาทางและกรรมพันธุ ซึ่งความดันโลหิตต่ําที่เกิด
ที่มีสาเหตุจากสุขภาพรางกายจะพบไดมากที่สุด และมักพบในรางกายที่ผอมและออนแอ อาจมีสาเหตุ
มาจากกรรมพันธุรวมดวย พบมากในเพศหญิงชวงอายุ 20 – 50 ป และผูสูงวัยที่มีความเกี่ยวพันกับ
ลักษณะทาทางและมีอายุมาก จะพบขณะเปลี่ยนอิริยาบถจากนอนเปนยืนหรือนั่ง เพราะรางกายไม
สามารถปรับความดันโลหิตไดทันทวงที ทําใหความดันโลหิตอาจลดลงไดมากกวา 20 mmHg และหาก
มีความเจ็บปวยรวมดวยอาการจะเปนมากขึ้น สาเหตุที่สองความดันโลหิตต่ําอาจเกิดจากโรคภัยไขเจ็บ
หรือยาที่ใชทําใหเกิดอาการขึ้น จากทองเสีย เลือดออกมาก โรคของกลามเนื้อหัวใจ เชน กลามเนื้อหัวใจ
ตายจากหลอดเลือดหัวใจอุดตัน จากโรคอัมพาตที่มีผลตอไขสันหลัง หรืออาจเกิดจากยาลดความดัน
โลหิตหรือยาตานโรคซึมเศรา หรือยาอื่น ๆ ที่มีผลลดความดันโลหิต เปนตน
ศาสตรการแพทยจีนจัดภาวะความดันโลหิตต่ําไวในกลุม ”วิงเวียน Xuán Yūn” “ออนแอไร
กําลัง Xū Sǔn” เนื่องจากภาวะชี่พรองเปนพื้นฐาน เกี่ยวพันถึง หัวใจ ปอด มาม ไต และอวัยวะภายใน
ตาง ๆ เสนลมปราณที่ไปหลอเลี้ยงหัวใจ ปอด มีภาวะชี่พรองไมสามารถผลักดันเลือดใหไปหลอเลี้ยง
อวัยวะตาง ๆ ไดอยางพอเพียงรวมถึงชี่มามออนแอ ทําใหไมสามารถเปลี่ยนแปลงชี่และเลือดได ชี่ไต
พรอง ชี่และเลือดไมสามารถโคจรไดเปนปกติเกิดพรองในเสนลมปราณและทําใหการหลอเลี้ยงบํารุงทํา
ไดไมดี สิ่งตางๆเหลานี้ลวนเปนสาเหตุของโรคทั้งสิ้น
อาการและอาการแสดงออก
กลุมที่มีอาการเล็กนอย จะมีอาการเพียงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ความอยากอาหารลดลง
เหนื่อยออนเพลีย สีหนาซีด การยอยอาหารไมดี เมารถ เมาเรืองาย รวมทั้งควบคุมอารมณไดไมดี
ปฏิกิริยาเชื่องชา จิตใจไมกระปรี้กระเปรา กลุมที่มีอาการมากจะมีอาการหัวใจเตนเร็วไมสม่ําเสมอ มัก
เวียนศีรษะในทายืน หายใจลําบาก เสียงคอยคลุมเครือ รางกายขาดการบํารุง แขนขาทั้งสี่หนาวเย็นหรือ
อาจเปนมากจนหมดสติได
Page 127

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 117

การวิเคราะหแยกกลุมอาการโรค
1 หยางหัวใจออนแอ มีอาการวิงเวียนศีรษะ ขี้ลืม จิตใจเศราซึมหดหู รูสึกเพลีย งวงซึมเฉื่อยชา สี
หนาซีดขาว แขนขาทั้งสี่ออนเพลียไมมีแรง มือเทาเย็น
ลิ้น ซีดอวนนิ่ม
ชีพจร จม(เฉิน) เล็ก(ซี่) หรือ เชื่องชา(หวน) และไมมีแรง(อูลี่)
2 จงชี่ไมเดิน มีอาการเวียนศีรษะ หายใจลําบาก เหงื่อออกเอง แขนขาทั้งสี่ปวดเมื่อยไมมีแรง ความ
อยากอาหารลดลง
ลิ้น ซีด ฝาขาว
ชีพจร เชื่องชา(หวน) ไมมแรง(อูลี่)
3 หยางหัวใจและไตพรอง มีอาการวิงเวียนศีรษะ หูอื้อ ใจสั่น เมื่อยเอวเขาออน แขนขาเย็นมีเหงื่อ
ออกงาย มือเทาเย็น ความตองการทางเพศลดลง ปสสาวะบอยในชวงกลางคืน
ลิ้น ซีด ฝาบางขาว
ชีพจร จม(เฉิน) เล็ก(ซี่)
4 หยางชี่ออนแอ มีอาการวิงเวียนศีรษะ สีหนาซีดคล้ํา คลื่นไสอาเจียน แขนขาเย็นมีเหงื่อออกงาย
ทาทางการเดินไมมั่นคง ยืนลําบาก สติสัมปชัญญะเคลิบเคลิ้ม ใจลอย เปนมากก็อาจเปนลมได
ลิ้น ซีด
ชีพจร จม(เฉิน) เล็ก(ซี่) ไมมีแรง(อูลี่)

การรักษา
1 การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
หลักการรักษา บํารุงหัวใจและมาม ปรับสมดุลชี่และเลือด บํารุงไตเติมไขกระดูก อุนหยางปรับชี่ ใชการ
ฝงเข็มและรมยาไปในคราวเดียวกันได กระตุนแบบบํารุง
จุดที่ใช เลือกจุดบนเสนลมปราณเทาไทหยาง (จุดซูของหลัง) เปนสิ่งสําคัญอันดับแรก
BǎiHuì (GV20) XīnShū (BL15) PíShū (BL20)
ShènShū (BL23) QìHǎi (CV6) ZúSānLǐ(ST36)

อธิบาย - BǎiHuì (GV20) ตําแหนงอยูสูงที่สุด สังกัดเสนลมปราณตู เปนที่รวมของหยาง เชื่อมตอ


Page 128

118 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

กับสมอง ใชเพื่อปรับยกชีใ่ หสูงขึ้น


- QìHǎi (CV6) ตําแหนงอยูที่ใตสะดือ สังกัดเสนลมปราณเยิ่น ใชเพื่อเพิ่มบํารุงชี่

- ZúSānLǐ (ST36) ใชบํารุงมาม ปรับสมดุลชี่และเลือด

- XīnShū (BL15), PíShū (BL20), ShènShū (BL23) ใชเพื่อเสริมบํารุงหัวใจ

มาม ไต เพิ่มชี่ เสริมบํารุงเลือด


จุดเสริม - หยางหัวใจพรอง เพิม่ DànZhōng (CV17), JuéYīnShū (BL14) จะชวยให
หยางหัวใจคึกคัก กระปรี้กระเปราขึ้น
- จงชีไ่ มเดิน เพิ่ม ZhōngWǎn (CV12), WeìShū (BL21) จะชวยบํารุงจงชี่
- หยางหัวใจและไตพรอง เพิ่ม NeìGuān (PC6), TaìXī (KI3) จะชวยอุนบํารุงหัวใจ
และไต
- หยางชี่พรองหรือหลุด เพิ่ม ShénQuè (CV8), GuānYuán (CV4) ใชการรมยา
เพื่อใหดึงหยางกลับมา และทําใหหยางแข็งแรง
- วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ เพิ่ม YìnTáng (EX-HN3), TaìYáng (EX-HN5) ใช
บํารุงเสริมกําลังสมองหยุดวิงเวียน
- นอนไมหลับ ขี้ลืม เพิ่ม SìShénCōng (EX-HN1) ใชเพื่อสงบเสินเพิ่มสมาธิ
- แขน-ขาทั้งสีไ่ มอุน เพิ่ม รมยาที่ DàZhuī (GV14),MìngMén (GV4) ใชเพื่ออุน
กระตุนหยาง
- อารมณแปรปรวนไมคงที่ เพิ่ม NeìGuān (PC6), SùLiáo (GV25) เพื่อยกเพิ่มหยาง
ใหสูงขึ้น

วิธีการกระตุนเข็ม ฝงเข็มรมยาตามตําแหนงที่กลาวมาโดยกระตุนแบบเสริมบํารุง จุดซูที่หลังเมื่อจะ


แทงเข็มใหระวังทิศทางและมุมของเข็ม รวมทั้งระดับความลึกตื้นดวย จุด BǎiHuì (GV20) ใชการรม
ยาซ้ําหลังฝงเข็มได จุด ZúSānLǐ (ST36) สามารถรมยาไดตลอดทั้งป
2 การรักษาดวยวิธีอื่นๆ
(1) เข็มผิวหนัง ใชตําแหนงจุดดังที่กลาวมา กระตุน คราวละ 2 – 3 นาทีทุกจุดสลับกันไป
(2) เข็มหู เลือกจุด Heart, Adrenal, และเพิ่มจุดตามอาการคือ วิงเวียน เพิ่ม Kidney
Page 129

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 119

(Zhen3 or Chen2) , ออนแรง เพิ่ม Spleen , ความทรงจําลดลง เพิ่ม PiZhiXia และ YuanZhong,
หัวใจเตนไมสม่ําเสมอหรือรูสึกอึดอัดแนนทรวงอก เพิ่ม Thorax (Xiong) และ ShénMén เลือกคราว
ละ 3 – 5 จุด ใชเม็ด WangBuLiuXing วางบนจุดปดทับดวยพลาสเตอร กระตุนไมแรง เปลี่ยนทุก 2
วัน สลับหูกัน
[ บันทึกขอความจากตําราโบราณ ]
ShiYongZhenJiuXue : ความดันโลหิตต่ํา เลือกจุด

1 NeìGuān SùLiáo
2 GuānYuán ZúSānLǐ

โดยจับคูกับจุด DàZhuī และ MìngMén

[ หมายเหตุผูเขียน ]
1 การฝงเข็มรมยามีบทบาทและไดประโยชนตอการรักษาโรคเปนอยางมาก แตภาวะความดัน
โลหิตต่ํามีสาเหตุที่เกี่ยวของมากมายไมวาจะเกิดจากความเจ็บปวยเรื้อรัง หรือสาเหตุอื่นใดก็ตาม ผูปวย
ควรกระตือรือรนเพื่อมารับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุใหแนชัด หากเกิดภาวะความดันโลหิตต่ํากะทันหัน
ควรใหการปฐมพยาบาลเบื้องตนกอนถึงมือแพทย
2 ผูปวยผูส ูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตต่ํา การเคลื่อนไหวในเวลาปกติควรเปนไปดวยความ
เชื่องชาไมวาจะลุก ยืน หรือเดินก็ตาม
3 ผูปวยควรกระตือรือรนและสนใจเขารวมในเรื่องของการออกกําลังกายที่เหมาะสม ปรับปรุง
เสริมสรางรางกายใหแข็งแรงอยูเสมอ บํารุงรางกายดวยการดื่มน้ําใหมาก รับประทานอาหารประเภทน้ํา
แกงอุน ๆ บอย ๆ และรับประทานเกลือเทาที่จําเปนแตนอยเชนคนทั่วไป
Page 130

120 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

รูปแสดงตําแหนงจุดฝงเข็ม
โรคความตันโลหิตต่ํา
Page 131

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 121

โรคหลอดเลือดหัวใจ
(Coronary Heart Disease)
โรคหัวใจโคโรนารี่ (coronary heart disease: CHD) เปนโรคของหัวใจที่เกิดจากปญหาการ
ไหลเวียนของหลอดเลือดแดงที่หลอเลี้ยงหัวใจ ชื่อวา หลอดเลือดแดงโคโรนารี (coronary artery) โดย
อาจเกิดจากหลอดเลือดโคโรนารี่หดตัว(coronary spasm)หรือเกิดจากรูหลอดเลือดโคโรนารี่ตีบตันจาก
ผนังหลอดเลือดดานในหนาตัวเปนเปอนหรือกอนพังผืด (atheromatous plaques) การเปลี่ยนแปลง
ของผนังหลอดเลือดดังกลาว เรียกวา หลอดเลือดตีบแข็ง หรือ atherosclerosis (atherosclerotic
vascular disease) โรคหัวใจที่เกิดจากหลอดเลือดโคโรนารีตีบแข็ง เรียกวา โรคหลอดเลือดโคโรนารี่
(coronary artery disease: CAD) อยางไรก็ตาม เนื่องจาก CAD เปนสาเหตุหลักของ CHD จึงมัก
ใชทั้งสองคําทดแทนกันในความเขาใจเดียวกัน
หลอดเลือดโคโรนารี่ตีบตันสงผลโดยตรงตอการทํางานหัวใจ อาจทําใหเสียชีวติ ทันทีจากหัวใจ
หยุดเตนหรือหัวใจวายรุนแรง หรือเกิดอาการใจสั่นจากการเตนของหัวใจผิดปกติ และอาการอันเกิดจาก
กลามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกลามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งผูปวยจํานวนหนึ่งอาจมาดวยอาการเจ็บหนาอกที่มี
ลักษณะเฉพาะ เรียกวา เจ็บหนาอกจากกลามเนื้อหัวใจ (angina pectoris) หรือมีอาการเหนื่อยงาย
หายใจลําบาก แนนหนาอก บวม จากภาวะหัวใจวาย
การแพทยแผนจีนจัดโรคหลอดเลือดหัวใจไวในกลุมอาการแนนหนาอก (Xiong Bi) เจ็บหนา
อก (Jue Xin Tong) และ เจ็บหัวใจ (Zhen Xin Tong) โดยมีสาเหตุมาจาก อารมณ การไมไหลเวียน
ของชี่ตับและเลือดของหัวใจ และเสมหะขนอุดตันหลอดเลือด

การวิเคราะหแยกกลุมโรค
1.ชี่และเลือดไหลเวียนไมคลองจากเสมหะขน
(Stagnation of Qi and blood by turbid phlegm)
ลักษณะทางคลินิก: เจ็บหนาอกราวไปไหลและหลัง รูส ึกอึดอัดในอก หายใจตื้น ใจสั่น คลื่นไส
เสมหะมาก
ลิ้น: ตัวลิ้นซีด ฝาขาวหนาและเหนียว
Page 132

122 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ชีพจร: ลื่นและตึงเหมือนเสนลวด หรือ จมและตึงเหมือนเสนลวด (wiry and smooth or


deep and wiry)
2. หลอดเลือดอุดตันจากเลือดไมไหลเวียน (Obstruction of collaterals by stagnant blood)
ลักษณะทางคลินิก: เจ็บหนาอก หายใจตื้น รูสึกอึดอัดในอก
ลิ้น สีมวงคล้ํามีจ้ําเลือด
ชีพจร เล็กและฝด หรือ ไมสม่ําเสมอ (ขาดชวงเปนระยะ หรือขาดชวงไมแนนอน) (thready
and unsmooth or regularly or irregularly interrupted)
3. หัวใจและมามพรอง (Deficiency of heart and spleen)
ลักษณะทางคลินิก: ปวดตื้อที่หัวใจ ใจสั่น หายใจตื้น เบื่ออาหาร ออนเพลีย เซื่องซึม
ลิ้น ลิ้นซีด
ชีพจร จมและเล็กเหมือนเสนดาย หรือ ไมสม่ําเสมอ (ขาดชวงเปนระยะ หรือขาดชวงไม
แนนอน) (deep and thready pulse or irregularly or regularly interrupted)
4. หยางหัวใจและหยางไตพรอง (Deficiency of heart and kidney yang)
ลักษณะทางคลินิก: รูสึกอึดอัดและปวดตื้อในอก ใจสั่น หายใจตื้น อาการมากขึ้นเมื่อออกแรง กลัว
หนาว แขนขาเย็น หลังสวนเอวและเขามีอาการปวด ออนแรงและเย็น ขาบวม
ลิ้น ลิ้นซีด
ชีพจร เล็กและออนแรง หรือ ขาดชวงเปนระยะ (Thready and weak or interrupted)
5. ชี่และหยางเหือดแหง (Collapse of Qi and yang)
ลักษณะทางคลินิก: เจ็บจุก หรือเจ็บเสียดแทงที่อกแบบเฉียบพลัน ราวไปทีไ่ หลหรือหลังสวนบน สี
หนาหมองคล้ํา แขนขาเย็น เหงื่อแตก ริมฝปากมวงคล้ํา หรือหมดสติ
ลิ้น สีมวงคล้ํา
ชีพจร จมและพรอง หรือขาดชวงเปนระยะ (thready and feeble or intermittent)

การรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
Page 133

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 123

1.1 ชี่และเลือดไหลเวียนไมคลองจากเสมหะขน
หลักการ: กระตุนหยาง ขจัดเสมหะขน ทําใหไหลเวียนคลอง
ตํารับจุด: - กระตุนบํารุงหรือรมยา: XinShu (BL15), JuQue (CV14), ZuSanLi (ST36)
- กระตุนระบาย: DanZhong (CV17), FengLong (ST40)
- กระตุนเทากัน: NeiGuan (PC6)
จุดเสริม:
- เจ็บหนาอกรุนแรง: ระบาย XiMen (PC4)
อธิบาย:
- XinShu (BL15), JuQue (CV14) จุดอวัยวะหลังและหนาของหัวใจ (Shu-Mu) ใชเพื่อ
เสริมบํารุงหยางหัวใจ กระตุนการไหลเวียนเลือดหัวใจและบรรเทาอาการเจ็บหัวใจ
- DanZhong (CV17) จุดอิทธิพลตอชี่ ใชเพื่อสงเสริมการไหลเวียนของชี่และบรรเทาอาการ
เจ็บหนาอก
- NeiGuan (PC6) สงเสริมการไหลเวียนของชี่และบรรเทาอาการเจ็บหัวใจ
- FengLong (ST40),ZuSanLi (ST36) เสริมบํารุงมามและกระเพาะอาหารและเปลี่ยนรูป
เสมหะ
1.2 หลอดเลือดอุดตันจากเลือดไมไหลเวียน
หลักการ : สงเสริมการไหลเวียนเลือด ขจัดเลือดคั่ง กระตุนหลอดเลือด
ตํารับจุด - กระตุนบํารุงหรือรมยา: XinShu (BL15), JuQue (CV14)
- กระตุนระบาย: DanZhong (CV17), GeShu (BL17), XiMen (PC4)
- กระตุนเทากัน: NeiGuan (PC6)
จุดเสริม:
- เจ็บหนาอกรุนแรง: ระบาย YinXi (HT6)
- อึดอัดในอกและลิ้นใหญ: บํารุงหรือรมยา ZuSanLi (ST36), FengLong (ST40)
อธิบาย:
-XinShu (BL15), JuQue (CV14) จุดอวัยวะหลังและหนาของหัวใจ (Shu-Mu) ใชเพื่อ
Page 134

124 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

เสริมบํารุงหยางหัวใจ กระตุนการไหลเวียนเลือดหัวใจและบรรเทาอาการเจ็บหัวใจ
- DanZhong (CV17) จุดอิทธิพลตอชี่ ใชเพื่อสงเสริมการไหลเวียนของชี่และบรรเทาอาการ
เจ็บหนาอก
- GeShu (BL17) สงเสริมการไหลเวียนเลือดและขจัดเลือดคัง่
- NeiGuan (PC6),XiMen (PC4) สงเสริมการไหลเวียนของชี่ในเสนลมปราณหัวใจและ
บรรเทาปวดหัวใจ
1.3 หัวใจและมามพรอง
หลักการ: บํารุงหัวใจและมาม เสริมพลังเลือดและชี่ สงเสริมการไหลเวียนของเลือดและชี่
ตํารับจุด - กระตุนบํารุงหรือรมยา: XinShu (BL15), JueYinShu (BL14), PiShu (BL20),
ZuSanLi (ST36)
- กระตุนเทากัน: DanZhong (CV17), NeiGuan (PC6), GeShu (BL17)
จุดเสริม:
- เบื่ออาหาร: บํารุงหรือรมยา ZhongWan (CV12)
- ชีพจรหายเปนชวง ๆ: กระตุนเทากัน ShenMen (HT7)
อธิบาย:
- XinShu (BL15), PiShu (BL20), GeShu (BL17) จุดอวัยวะหลังของ หัวใจ มาม และ
จุดอิทธิพลตอเลือดตามลําดับ ใชเพื่อบํารุงเลือดของหัวใจและมาม การรมยามีผลในการอุนชีห่ ยางและ
สงเสริมการไหลเวียนเลือดเพื่อบรรเทาปวดหัวใจ
- JueYinShu (BL14) จุดอวัยวะหลังของเยื่อหุมหัวใจ ดีในการบํารุงหยางในอกที่ออนแอ
สามารถอุนหยางหัวใจและขับไลความเย็น
- NeiGuan (PC6) สงเสริมการไหลเวียนของชี่ บรรเทาอาการเจ็บหัวใจ
- ZuSanLi (ST36) บํารุงมามและกระเพาะอาหารเพื่อเสริมกําลังชี่

1.4 หยางหัวใจและหยางไตพรอง
หลักการ: บํารุงหัวใจและไต และอุนหยาง
ตํารับจุด - กระตุนบํารุงหรือรมยาที่จุด XinShu (BL15), GuanYuan (CV4), QiHai (CV6),
ShenShu (BL23), ZuSanLi (ST36)
Page 135

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 125

- กระตุนระบาย: NeiGuan (PC6)


จุดเสริม:
- ขาบวม: รมยาที่จุด YangLingQuan (SP9)
อธิบาย:
- XinShu (BL15), ShenShu (BL23) จุดอวัยวะหลังของหัวใจและไต ตามลําดับ ใชเสริม
บํารุงหัวใจและไต
- GuanYuan (CV4), QiHai (CV6) กระตุนพลังหยาง
- ZuSanLi (ST36) บํารุงจงเจียวเพื่อสงเสริมการสรางชี่หยาง
NeiGuan (PC6) สงเสริมการไหลเวียนชี่หัวใจและบรรเทาปวดหัวใจ

1.5 ชี่และหยางเหือดแหง
หลักการ : กูชวี ิต ฟนฟูหยางจากความเหือดแหง
ตํารับจุด - กระตุนบํารุงหรือรมยา: JueYinShu (BL14), ZuSanLi (ST36)
- รมยา 20-40 นาทีที่จุด ShenQue (CV8), GuanYuan (CV4), QiHai (CV6),
BaiHui (CV20)
- กระตุนระบาย: NeiGuan (PC6)
จุดเสริม:
- หมดสติ: ระบาย ShuiGou (GV26)
- หายใจรวยริน: ระบาย SuLiao (GV25)
อธิบาย:
- ShuiGou (GV26), SuLiao (GV25), NeiGuan (PC6) กระตุนเข็มแรงจนผูปวยฟน
คืนสติ
- ShenQue (CV8), GuanYuan (CV4), QiHai (CV6), BaiHui (CV20) รมยาเปน
เวลา 20-40 นาที เพื่อฟนฟูหยางและกูชวี ิต
- ZuSanLi (ST36) เพิ่มภูมิตานทานใหรางกาย
- JueYinShu (BL14), NeiGuan (PC6) สงเสริมการไหลเวียนเลือดและชี่ของหัวใจและ
บรรเทาปวดหัวใจ
Page 136

126 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

รูปจุดฝงเข็ม
โรคหลอดเลือดหัวใจ
Page 137

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 127

2. โรคระบบ Neuro – psychiatric Diseases


Cerebrovascular Accident (Windstroke)
Cerebrovascular Accident (Windstroke) เปนภาวะฉุกเฉิน มีลักษณะสูญเสียความรูสึก
ทันที หรือ อัมพาตครึ่งชีก พูดไมชัด ปากเบี้ยว หนังตาตก พยาธิสภาพมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
อยางรวดเร็วคลาย “ลม” โดยกอนมีอาการของโรค ผูปวยมักมีอาการนําคือ เวียนศีรษะและชาแขนขา
ออนเพลีย จิตใจกระสับกระสาย
แผนภูมิที่ 1 แสดงสรุปสาเหตุและกลไกการเกิดโรค
อายุมากหรือใชงานชี่ อินพรองและเกิด ไฟหยางตับ
มากไป..เกิด หยาง ลุกโชน

รับประทานอาหารมัน
สะสมของความชื้น การอุดตันของ
มาก ดื่มเหลา กินไม
และเสมหะ จิงลั่ว
เหมาะสม
Zhong Feng
การรบกวนทางอารมณ เกิดไฟในหัวใจมากขึ้น ไฟหยางตับลุก
โชนทันทีทันใด

ชี่ และเลือดพรอง เกิดการโจมตีของ ลมตับพัดลอย


ลมราย ขึ้นบน

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
บอยครั้งพบในคนสูงอายุและสุขภาพไมดี มีลักษณะ บนแกรง ลางพรอง
1. พบในคนที่รับประทานอาหารมันมาก และชอบดื่มแอลกอฮอล สงผลใหรบกวนการทํางาน
ของมาม เปนเหตุใหมีความชื้นมาก กอใหเกิดการสะสมของเสมหะและเปลี่ยนเปนความรอน
2. คนสูงอายุหรือ ผูปวยที่ทํางานหนักหรือมีเพศสัมพันธมาก ทําใหอินไตพรอง หยางตับแกรง
3. เกิดจากอารมณกังวล ครุนคิดมาก อารมณโกรธ ทําใหเสียสมดุลอิน-หยาง กอใหเกิดหยางตับ
Page 138

128 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

และไฟหัวใจกําเริบ
4. ชี่ และเลือดพรอง ทําใหเกิดการไหลเวียนของเสนลมปราณไมคลองจนอุดตัน เสนเอ็นและ
กลามเนื้อขาดการหลอเลี้ยง ทําใหเกิดตัวกอโรคชนิดลม (เฟงเสีย)

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
1.ชนิดเปนตามอวัยวะจั้งฝู (จงจั้งฝู) เปนชนิดที่มีอาการหนัก แบงเปน
1.1 กลุมปด (Tense Syndrome; Bi zheng) มีอาการวูบหมดสติลมลงทันที
ตาเหลือกคาง กัดฟน มือเทากําแนน หนาและหูแดง หายใจแรง เสมหะในคอมาก ปสสาวะไมออก ทองผูก
ลิ้น แดงฝาเหลืองหนาหรือเทาเขม
ชีพจร ตึง ใหญ เร็ว (Xian Hong Da Su Mai : 弦洪大数脉)
1.2 กลุมเปด (Flaccid Syndrome: Tuo zheng) มีอาการ หมดสติ มือแบ มือเทาเย็น
ตาปด ซีด เหงื่อออกบริเวณศีรษะและใบหนา มีเสียงกรน อาปากคาง อาจมีอุจจาระปสสาวะราด
ลิ้น ซีด หดรั้ง มีฝาขาวเหนียว
ชีพจร ลอยกระจาย (คลําแทบไมพบ) (San Mai :散脉)
2.ชนิดที่เปนตามจิงลั่ว( จงจิงลั่ว) เปนชนิดเบาไมหมดสติ ซึ่งแยกเปน 2 กรณีคือ
2.1 เปนเฉพาะตําแหนงจิงลั่ว ผูปวยไมหมดสติ (ไมกระทบจั้งฝู)
2.2 เปนระยะที่ฟนคืนสติขึ้นมา หลังจากผานระยะจงจั้งฝู แตจิงลั่วยังมีการอุดตัน

วิเคราะหตามกลุมปด (Tense Syndrome: Bi zheng)


หยางตับทําใหเกิดลมมีผลให ชี่และเลือดโหมขึ้นบน รวมกับมีการสะสมของเสมหะและไฟ
รบกวนสมอง ทําใหเกิดหมดสติทันที กํามือแนน กัดฟนแนน หายใจมีเสียงดัง ปสสาวะไมออก ทองผูก
การที่มีลมและเสมหะมากทําใหมีเสียงกรนในลําคอ
ลิ้น แดง ฝาเหนียวเหลืองหรือเทาดํา
ชีพจร ตึง ใหญ เร็ว ( Xian Hong Da Shu Mai 弦洪大数脉) บงถึงลมผสมกับ เสมหะ
ความรอนและไฟ
Page 139

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 129

วิเคราะหตามกลุมเปด (Flaccid Syndrome: Tuo zheng)


เนื่องจากการออนแรงอยางรุนแรงของเหยียนชี่ ทําใหเกิดการแยกของอินและหยาง และทําให
ชี่ของอวัยวะจั้งฝูตางๆ หมดกําลัง มีอาการอาปากคาง ตาปด เสียงกรน หายใจแผวเบา แขนขาออนแรง
กลั้นปสสาวะไมอยู
ลิ้น ออนตัว
ชีพจร ลอยกระจาย (San Mai :散脉 (คลําแทบไมพบ) เกิดเนื่องจากมีการขาดเลือด
รวมกับไตหยางออนกําลัง

วิเคราะหชนิดที่เปนตามจิงลั่ว
เนื่องจากมีลมและเสมหะเขาไปในเสนลมปราณทําใหอินหยางเสียสมดุล หรือเกิดจากกรณีที่
เปนแบบจงจั้งฝูแลวเริ่มมีการฟนตัวดีขึ้น แตยังมีการอุดตันของลมและเสมหะบริเวณเสนลมปราณทําให
ยับยั้งการไหลเวียนของเลือดและชี่

การรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
1.1 กรณีที่เปนตามอวัยวะจั้งฝู
1.1.1 กรณีกลุมปด
วิธีการ ฟนคืนสติดวยวิธีเปดทวารสมองใหรูสกึ ตัว (Xing Nao Kai Qiao : 醒脑开窍)
ลดลม ไฟ เสมหะที่คาง โดยการระบายที่จุดตามเสนลมปราณตูมายและจุดจิ่ง (Jing-Well) และเสน
ลมปราณตับ
จุดหลัก RenZhong (GV26), BaiHui (GV20), FengLong (ST40), TaiChong (LR3)
YongQuan (KI1) และจุดจิ่ง (Jing-Well) ไดแก LU11, HT9, PC9, LR1, KI1,
SP1 เปนตน
จุดเสริม
ก. กัดฟนแนน ใช XiaGuan (ST7) JiaChe (ST6) HeGu ( LI4)
ข. Aphasia และลิน้ แข็ง ใช YaMen (GV15) LianQuan (CV23) TongLi (HT5)
Page 140

130 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ค. มีเสียงเสมหะในลําคอ ใช TianTu(CV22) FengLong(ST40)

อธิบาย
- RenZhong (GV26) และ BaiHui (GV20) ชวยเปดทวารสมอง ปรับเสินใหรูสึกตัว มีผลชวย
ฟนคืนสติ
- การปลอยเลือดบริเวณจุดจิ่ง จะชวยลดความรอนของรางกายสวนบน ดังนั้นชวยลดลมภายใน
- YongQuan (KI1) ชวยถายเทความรอนลงเบื้องลาง วิธีนี้เปนการเลือกจุดรางกายสวนลาง เพื่อ
รักษาสวนบน
- XiaGuan (ST7), JiaChe (ST6) และ HeGu ( LI4) เปนการเลือกโดยใชหลักจุดเฉพาะทีแ ่ ละ
จุดไกล ใชรักษาอาการกัดฟนแนน เนื่องจากเสนลมปราณลําไสใหญและกระเพาะอาหารผานแกม
- YaMen (GV15) และ LianQuan (CV23) เปนจุดเฉพาะที่และจุดใกลเคียง ของลิ้น TongLi
(HT5) เปนจุดลั่วของหัวใจชวยบรรเทาอาการลิ้นแข็ง เนื่องจากลิ้นเปนทวารเปดของหัวใจ
- TianTu (CV22) มีประสิทธิภาพชวยขับเสมหะ
- FengLong (ST40) เปนจุดลั่วของเสนลมปราณกระเพาะอาหาร ชวยทําใหการทํางานของมาม
และ กระเพาะอาหารดีขึ้น จึงชวยลดเสมหะ
- TaiChong (LR3) ชวยทําใหหยางตับสงบ

1.1.2 กรณีกลุมเปด
วิธีการ รมยาที่เสนลมปราณเญิ่นมาย เพื่อเพิ่มหยาง
จุดหลัก - ShenQue (CV8) โดยรมยาผานเกลือ สําหรับ QiHai (CV6) และ GuanYuan
(CV4) ใชรมยาโดยตรงจนปลายมือปลายเทาอุนขึ้น

อธิบาย
สามจุด หลั ก ดั ง กล า วอยู ส ว นล า งของทอ งบริเ วณเส น ลมปราณเญิ่ นม า ย เปน จุ ด หลั ก ที่ มี
ประสิทธิภาพรักษาภาวะหยางหลุด (Yang Collapse) ได การรมยาบริเวณ GuanYuan (CV4) ซึ่งเปน
จุดที่พบกันของเสนลมปราณอิน 3 เสนสามารถเพิ่มเหยียนชี่ และดึงหยางกลับจากภาวะหยางหลุด
(Yang Collapse) ได
ในกรณีที่ไมสามารถแยกวาเปนภาวะเปดหรือปด หามปลอยเลือดที่บริเวณจุดจิ่ง(Jing-Well)
Page 141

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 131

ใหฝงเข็มที่จุด RenZhong (GV26) เพื่อใหรูสึกตัว และจุด ZuSanLi (ST36) เพื่อปรับสมดุลของ


รางกาย
การฝงเข็มที่จุด RenZhong (GV26) ใชวิธีปกแบบนกกระจอกจิก

1.2 ชนิดที่เปนตามจิงลั่ว
วิธีการ ใชจุดตามแนวเสนลมปราณตูมาย และเสนลมปราณหยางของดานที่มีอาการเปนหลัก
เพื่อควบคุมชี่และเลือด แกไขภาวะอุดตันของเสนลมปราณ และกําจัดลม
จุดหลัก BaiHui (GV20), TongTian (BL7), FengFu (GV16)
แขนใช JianYu (LI15), QuChi (LI11), WaiGuan (TE5), HeGu (LI4)
ขาใช HuanTiao (GB30), YangLingQuan (GB34), ZuSanLi (ST36), JieXi (ST41)
จุดเสริม
ก. FengChi (GB20) และ TaiChong (LR3) ใชกําจัดลมหยาง โดยวิธีระบาย รวมกับใช
TaiXi (KI3) และ SanYinJiao (SP6) เพื่อบํารุง
ข. DaLing (PC7) และ XingJian (LR2) ใชในกรณีมีไฟในหัวใจและตับเกินโดยวิธีระบาย
รวมกับใช TaiXi (KI3) บํารุง
ค. DiCang (ST4) และ JiaChe (ST6) ใชในกรณีปากเบี้ยว
อธิบาย
จุดหลัก เสนลมปราณตูมาย เปนทะเลของลมปราณหยาง การใช BaiHui (GV20)
FengFu (GV16) รวมกับ TongTian (BL7) สามารถกําจัดลมและลดภาวะอุดตันของเสนลมปราณ
จุดเสริม FengChi (GB20) และ TaiChong (LR3)ใชเพื่อลดลมและทําใหตับสงบ TaiXi (KI3)
ใชบํารุงไตกระตุน ใหเกิดไตอินเพื่อชวยบํารุงตับ SanYinJiao (SP6) ใชบํารุงอินและทําใหหยางสงบ
- กรณีไฟหัวใจและตับเกิน DaLing (PC7) และ XingJian (LR2) ใชระบายและกําจัดไฟ
TaiXi (KI3) ใชบํารุงหยางซึง่ ชวยลดไฟ
- DiCang (ST4) และ JiaChe (ST6) ใชเพื่อสงเสริมใหการเคลื่อนไหวของชี่ ในเสนลมปราณ
รอบใบหนาดีขึ้น
Page 142

132 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ในคัมภีรอวี่หลงจิงกลาวไววา ระยะแรกอาจฝงเข็มแบบบํารุงดานดีกอ น แลวตามดวยฝงเข็ม


แบบระบายดานที่มีพยาธิสภาพ โดยใชจุด
ShouSanLi (LI10) QuChi (LI11) HeGu (LI4)
JianJing (GB21) HuanTiao (GB30) YangLingQuan (GB34)
XuanZhong (GB39) YinLingQuan (SP9) XueHai (SP10)
ZuSanLi (ST36) KunLun (BL60)

2. การฝงเข็มศีรษะ
เลือกใชจุดฝงตรงขามดานที่มีอาการ โดยฝงเข็มบริเวณ Motor area, Speech area 1 และ2,
Sensory area
วิธีการ ใชเข็มหมุน 180-200 ครั้ง/นาที แตละรอบควรทํา 3-5 นาที คาเข็มไว 30 นาที โดยกระตุน 3 รอบ

หมายเหตุ
- Windstroke หมายถึง ภาวะCerebral Hemorrhage, Thrombosis, Embolism, Subarachnoid
Hemorrhage

- การปองกัน
ในคนสูงอายุที่มีภาวะชี่พรองและเสมหะคั่ง หรือมีภาวะหยางตับเกิน มีอาการเวียนศีรษะ ใจสัน่
อาจมีอาการนําเชน ลิ้นแข็ง พูดไมชัด และชาปลายนิ้ว ตองควบคุมอาหารและปรับสภาพชีวิตใหถูก
สุขลักษณะเนนการออกกําลังกายและพักผอนใหเพียงพอ ทั้งยังตองควบคุมปจจัยเสี่ยงเชน ความดันโลหิตสูง
ในกรณีชี่พรองอาจรมยาบริเวณจุด ZuSanLi (ST36) และ XuanZhong (GB39) เพื่อ
ปองกันการเกิดโรคซ้ํา
Page 143

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 133

กลุมปด
Page 144

134 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

กลุมเปด

ชนิดที่เปนตามจิงลั่ว
Page 145

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 135

ปวดเสนประสาทไซแอทติก
(Sciatica)
Sciatica เปนอาการปวดบริเวณเอว แกมกน ดานหลังของตนขาและดานขางของหนาแขงปวด
ราวไปเทา โดยทั่วไปปวดดานเดียวและจะถูกกระตุนเมื่อกมเอวหรือเคลื่อนไหวขาสวนลาง Sciatica
มีหลายสาเหตุตามแนวศาสตรการแพทยจีนมอง Sciatica เปนเรื่องของกลุมอาการอุดตัน (Bi Syndrome)
ทําใหปวด เอว ปวดกระเบนเหน็บและปวดขา

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
1. สาเหตุหลักเกิดจากพยาธิสภาพคือ ลมภายนอก ความเย็น ความชื้น อุดตันเสนลมปราณ
2. ชี่ของไตพรอง
3. จากบาดเจ็บ การฟกช้ําและการคั่งของชี่และเลือดในเสนลมปราณ

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
1. ปวดจากความเย็น ความชื้น และลม
. อาการปวดจะกําเริบบอยครั้งหลังกระทบความเย็นและความชืน้ โดยอาการปวดมีลักษณะปวด
เมื่อย ตึง รูสึกหนักๆ เย็นๆ หรือเกร็ง บริเวณเอวกระเบนเหน็บ ทําใหกม เงย เคลื่อนไหวไมสะดวก
หรือขัด
ลิ้น ฝาขาวเหนียว.
ชีพจร มีไดหลายแบบตามสาเหตุของโรค
2. ชี่ของไตพรอง
อาการดําเนินไปอยางชาๆ ปวดเมื่อยไมรุนแรง บริเวณกระเบนเหน็บ อาการปวดมากขึ้นหลัง
ทํางาน เอวและขาออนแรง สีหนาซีด
ลิ้น สี คอนซีด
ชีพจร เล็ก-จม (Chen Xi Mai 沉细脉)
Page 146

136 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

3. เลือดและชี่คั่ง
อาจมีประวัติไดรับบาดเจ็บบริเวณเอว มีอาการปวดเฉพาะที่เหมือนถูกเข็มทิ่มแทง อาการมาก
ขึ้นเมื่อนั่งนาน ทํางานหนักตรากตรํา หรือมีการเคลื่อนไหวหลังหรือเอว
ลิ้น มวง
ชีพจร ตึง-ฝด (XianSeMai 弦涩脉 )

การรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก DaChangShu (BL25), ShenShu (BL23), HuaTuoJiaJi (EX-B2) บริเวณเอว
CiLiao (BL32), WeiZhong (BL40), YangLingQuan (GB34)
XuanZhong (JueGu) (GB39), HuanTiao (GB30) Ashi point (จุดกดเจ็บ)
จุดเสริม
- กรณีสาเหตุจากลม เย็น ชื้น ใชจุด DaZhui (GV14) YinLingQuan (SP9)
- กรณีชี่ของไตพรอง ใชจุด PangGuangShu (BL28) TaiXi (KI3)
- กรณีเลือดคั่ง ใชจุด RenZhong (ShuiGou) (GV26) และ Ashi point (จุดกดเจ็บ)

2. การฝงเข็มหู
ใชจุด Sciatic nerve จุด Buttock จุด Lumbosacral vertebra จุด Shenmen และจุด
Subcortex

วิธีการ เลือก 2-3 จุด ในการรักษาแตละครั้ง กระตุนเข็มแรง และคาไว 30 นาที ใหการรักษาทุกวัน ๆ ละ


1 ครั้งอาจใชการรักษาดวยเม็ดแมเหล็กติดหูตามจุดดังกลาว
3. Electrotherapy
จุดที่ใช HuaTuoJiaJi (EX-B2) บริเวณเอว YangLingQuan (GB34)
WeiZhong (BL40)
วิธีการ ปกเข็มบริเวณจุดดังกลาว เมื่อเตอชี่ ใชไฟกระตุน 20 นาที โดยใชไฟ Dense wave หรือ
Sparse-dense wave ใหการรักษาวันละครั้ง
Page 147

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 137

ปวดเสนประสาทไซแอทติก
Page 148

138 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ปวดศีรษะ
(Headache)
ศีรษะปนศูนยรวมของเสนหยางมือและเทา ชี่ เลือดของอวัยวะจั้งฝูทั้งหมด ดังนั้น สาเหตุ
ปจจัยจากภายนอก ภายในที่รบกวนชี่และเลีอด ทําใหลดการไหลเวียนของชี่ สงผลใหปวดศีรษะ
สาเหตุภายนอกของปวดศีรษะสวนใหญเกิดจากลม สวนสาเหตุภายในของปวดศีรษะสวนใหญเกิดจาก
ตับหยางเกิน หรือขาดทั้ง ชี่และเลือด อาการปวดศีรษะพบไดในอาการเจ็บปวยหรือโรคมากมาย ในที่นี้
จะไมกลาวถึงการปวดศีรษะที่รักษาโรค แลวอาการปวดศีรษะหายไป

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
1. มีการลุกลามของลมเขาไปบริเวณเสนลมปราณสวนบนของรางกาย สงผลใหชี่และเลือดอุดตัน
เมื่อมีอากาศเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด หรือโดนลมจะกระตุนใหปวดศีรษะ
2. ในคนไขที่หยางของรางกายเกิน ปวดศีรษะอาจเกิดจากตับหยางเกิน เนื่องจากมีการคั่งของชี่
หรือตับไดรับบาดเจ็บจากอารมณโกรธ ซึ่งมีการทําลายอิน จากความรอนที่เกิดจากอารมณติดขัดของตับ
3. ปวดศีรษะอาจเกิดจากขาดทั้งชี่และเลือด เนื่องจากไดรับอาหารไมสม่ําเสมอ ทํางานหนักเครียด
สุขภาพทรุดโทรมจากโรคเรื้อรัง หรือภาวะพรองแตกําเนิด

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
1. ปวดศีรษะเนื่องจากลมกระทบเสนจิงลั่ว
อาการหลักปวดศีรษะเกิดขึ้นทันทีที่โดนลม อาการปวดอาจขยายไปบริเวณตนคอและบริเวณหลัง
อาการปวดรุนแรง ปวดนาเบื่อและปวดคงที่ตลอดเวลา จึงเรียกกลุมโรคนี้วา “ head wind ” (tou
feng เขียนภาษาจีน):……….)
ลิ้น ฝาบางขาว
ชีพจร ตึงแนน (Fou Jin Mai .浮紧脉)
วิเคราะห
ปวดจากชี่อุดตันโดยมีสาเหตุภายนอกจากลม เนื่องจากลมที่มากทําใหปวดรุนแรงและปวดนาเบื่อ
Page 149

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 139

ลมเปนปจจัยพยาธิสภาพ หยางซึ่งมักจูโจมบริเวณสวนบนของรางกาย ดังนั้น อาการปวดจากลม


อาจจะขยายไปตนคอและหลัง อาการปวดคงที่ตลอดเวลาเนื่องจากมีการคั่งของเลือดซึ่งเปนผลจากชี่
คั่งคางไมไหลเวียน
ลิ้น ฝาบางขาวเปนสัญลักษณบงถึงเสนลมปราณโดนจูโจมโดยลม
ชีพจร ตึงแนน (Fou Jin Mai 浮紧脉)
2. ปวดศีรษะเนื่องจากตับหยาง เกิน
อาการหลัก ปวดศีรษะ ตามัว ปวดรุนแรงที่ขางใดขางหนึ่งของศีรษะ รอน หนาแดง กระวน
กระวาย รสขมในปาก
ลิ้น แดงฝาเหลือง
ชีพจร ตึง และเร็ว (Xian Su Mai 弦数脉 )
วิเคราะห
ปวดศีรษะและตามัวเนื่องจากการเพิ่มเกินของตับหยาง ซึ่งกระทบบริเวณศีรษะ รสขมในปาก
บงถึงมีการสะสมความรอนในเสนลมปราณถุงน้ําดี ซึ่งเปนผลเกิดจากการเพิ่มเกินของตับหยางและ
กระทบถุงน้ําดี โดยถุงน้ําดีและตับสัมพันธกันแบบนอก-ใน อาการปวดศีรษะทั้งสองขางอยางรุนแรง
เปนเพราะเสนลมปราณถุงน้ําดีทอดผานศีรษะดานขาง ชีพจรเร็วและ String-taut (Xian Su Mai ) ลิน้
แดงฝาเหลือง เปนสัญลักษณบงถึงมีความรอนในถุงน้ําดีและตับ
3. ปวดศีรษะเนื่องจากการพรองของชี่และเลือด
อาการหลัก ปวดศีรษะไมรูจักหาย เวียนศีรษะ ตามัว ออนเพลีย ใบหนาขาดความสดชื่น
อาการปวดทุเลาถาไดรับความอุน กําเริบถาไดรับความเย็น จิตใจเครียด
ลิ้น ซีดฝาบางขาว
ชีพจร ออนแรงและเหมือนเสนดาย (Xi Mai 细脉)
วิเคราะห
อาการปวดศีรษะตลอดเวลาเกิดจากขาดชี่ เปนเหตุใหไมสามารถทําใหหยางขึน้ บน และอินลงลาง
อาการปวดถูกกระตุนโดยความเครียดและการทํางานหนักซึ่งตองใชชี่มากขึ้นอาการออนเพลียและปวด
บรรเทาโดยความอุน และถูกกระตุนโดยความเย็นเกิดเนื่องจากรางกายไมสามารถกระจาย หยางชี่ของ
Page 150

140 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ใบหนาขาดความสดชื่น เวียนศีรษะและตามัวบงถึง ชีแ่ ละเลือดขึ้นไปหลอเลี้ยงไมพียงพอ


ลิ้น ซีดฝาบางขาว
ชีพจร ออนแรง (Xi Su Mai : 细数 脉) เปนการแสดงถึงอาการพรองทั้งชีแ่ ละเลือด
ในทางคลินิก ตําแหนงปวดศีรษะสามารถแบงแยกตามความสัมพันธกับแนวเสนลมปราณ
- ปวดบริเวณทายทอยและตนคอ สัมพันธกับเสนลมปราณกระเพาะปสสาวะ
- ปวดบริเวณหนาผากและรอบเบาตา สัมพันธกับเสนลมปราณกระเพาะอาหาร
- ปวดบริเวณดานขางขมับสัมพันธกับเสนลมปราณถุงน้ําดี
- ปวดบริเวณ Parietal สัมพันธกับเสนลมปราณตับ

หลักการรักษา
1. ปวดศีรษะเนื่องจากลมรบกวนเสนลมปราณ
วิธีการ
ระบายลม ลดการอุดตันของลมปราณ ปรับการไหลเวียนชี่และเลือด ลดปวดโดยฝงเข็มทัง้
จุดใกลและจุดไกลตามแนวที่สมั พันธกับเสนลมปราณ ใชวิธีระบาย
- ปวดศีรษะตามแนว Occipital ใชจุด FengChi (GB20) KunLun(BL60) HouXi(SI3)
- ปวดศีรษะตามแนวFrontal ใชจุด TouWei (ST8) YinTang (EX-HN3)
ShangXing (GV23) HeGu (LI4)NeiTing(ST44)
- ปวดศีรษะตามแนวTemporal ใชจุด TaiYang (EX-HN5) ShuaiGu (GB8)
WaiGuan(TE5) ZuLinQi (GB41)
- ปวดศีรษะตามแนวParietalใชจุด BaiHui (GV20) HouXi (SI3) ZhiYin(BL67)
TaiChong (LR3)
อธิบาย
แนวการรักษาขางตนเปนการประสานกันระหวางการใชจุดใกลและจุดไกลตามตําแหนงปวด
ศีรษะและบริเวณแนวลมปราณที่โดนกระทบ
2. ปวดศีรษะเนื่องจากตับหยางเกิน
วิธีการ
เลือกจุด Jueyin และเสนลมปราณเสาหยาง เพื่อสงบหยางตับ โดยใชวิธีระบาย
Page 151

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 141

ใชจุด FengChi (GB20) BaiHui (GV20) XuanLu (GB5) XiaXi (GB43)


XingJian (LR2)
อธิบาย
เสนลมปราณ Jueyin แลนมาถึงบริเวณ Parietal และเสนลมปราณเสาหยางวิ่งมาถึงดานขาง
ศีรษะ 2 ขาง เมื่อประสานระหวางการใชจุดใกลและจุดไกลจะสามารถลดความรอนในลมปราณและสงบ
ตับหยาง
3. ปวดศีรษะเนื่องจากขาดทั้งชี่ และเลือด
วิธีการ
ตองเพิ่มการไหลเวียนของชี่ และเลือด กระตุนใหชี่ที่ดีไหลขึ้น โดยปกเข็มบริเวณเสนลมปราณ
ตูมายและเญิ่นมายตามแนว Back shu ใชวิธีกระตุนเข็มแบบเสริม
ใชจุด BaiHui (GV20) QiHai (CV6) GanShu (BL18) PiShu (BL20)
ShenShu (BL23) ZuSanLi (ST36)
อธิบาย
ใช QiHai (CV6) เพื่อปรับชี่หลัก ใช BaiHui (GV20) เพื่อเพิ่มหยางที่สะอาด ใช GanShu
(BL18) PiShu (BL20) ShenShu (BL23) เนี่องจากเปนจุดสัมพันธกับตับ มามและไต โดยตับ
สะสมเลือด มามควบคุมเลือด ไตเก็บจิงเลือดได จิงเปลี่ยนเปน ดังนั้น 3 จุดดังกลาวสามารถใชเพื่อเพิ่ม
กําลังของไตและปรับชี่กับเลือด บํารุง ZuSanLi (ST36) เพื่อใหกระเพาะอาหารผลิตชี่และเลือด
หมายเหตุ
- ปวดศีรษะเกิดจากหลายสาเหตุ การฝงเข็มใหผลเปนที่นาพอใจในกรณีปวดศีรษะจาก
ไมเกรน โรคหลอดเลือด ปวดศีรษะจากระบบประสาท
- การเคาะดวยเข็มผิวหนังและครอบกระปุก
จุดหลัก แนะ L1-S4
จุดเสริม FengChi (GB20) TaiYang YangBai (GB14)
วิธีการ
เคาะบริเวณ L1-S4 และเคาะบริเวณเสนลมปราณที่เกี่ยวของ สําหรับปวดเฉียบพลันอาจ
เคาะบริเวณ TaiYang และ YangBai (GB14) ใหเลือดออกเล็กนอยแลวตอดวยการครอบกระปุก
Page 152

142 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ปวดศีรษะเนื่องจากลมรบกวนเสนลมปราณ

ปวดศีรษะเนื่องจากตับหยางเกิน
Page 153

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 143

ปวดศีรษะเนื่องจากขาดทั้งชี่ และเลือด
Page 154

144 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ปวดประสาทดานขางลําตัว
(INTERCOSTAL NEURALGIA)

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
เปนอาการปวดแบบ refer pain ซึ่งเกิดจากพยาธิสภาพตอเสนประสาท intercostal หรือราก
ประสาทในระดับที่เกี่ยวของ สาเหตุมักไมไดเกิดจากเสนประสาทหรือรากประสาทโดยตรง แตมักเปนผล
มาจากโรคอื่นๆ เชนติดเชื้องูสวัด (Herpes Zoster) อุบัติเหตุที่ทรวงอก การติดเชื้อในปอดและเยื่อ
หุมปอด Costochondritis.
อาการปวดสวนใหญปวดแปลบๆหรือปวดแบบเข็มแทง (Stabbing pain) ซึ่ง aggravated
โดยการไอหรือหายใจแรงๆ และมักมีจุดเฉพาะที่ที่สามารถกระตุนใหรูสึกเจ็บได ในทางศาสตรการแพทย
แผนจีนเรียกอาการนี้วา XieTong(揳痛)
การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
1. ชี่ของตับติดขัด
เจ็บชายโครงแนนอึดอัดหนาอกและทอง เบื่ออาหารปากมีรสขม อารมณซึมเศรา
ลิ้น ฝาขาวบาง หรือเหลือง
ชีพจร ตึง (Xian Mai: 弦脉)
2. เสมหะตกคางอุดตันในเสนจิงลั่ว
อาจจะพบบอยในพวกไดรับอุบตั ิเหตุ หกลมหรือ sprain อาการปวดคงอยูเฉพาะที่ ปวดตึงๆ
หรือปวดเหมือนมีอะไรแทง(Fixed distending pain or stabbing pain) อาการเปนมากเวลาหายใจ
หรือไอ ผูปวยหายใจสั้น ไอมีเสมหะ
ลิ้น มีฝาขาว เหนียว
ชีพจร ตึงเล็ก (Xian Xi Mai:弦细脉)
3. ขาดเลือดเพราะอินของตับพรอง
ปวดตื้อที่ชายโครง ลิ้นขม กระหายน้ํา วิงเวียนศีรษะ ตาลาย
ลิ้น แดง แทบไมมีฝา ชีพจร เล็ก เร็ว (.Xi Su Mai :细数脉)
Page 155

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 145

การรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
1.1 ชี่ของตับติดขัด
หลักการรักษา สงบตับ regulate ชี่ตับและบรรเทาปวด
จุดหลัก GanShu (BL18) ± Combination Back shu -
QiMen (LR14) ± Front Mu ของตับ
TaiChong (LR3) - จุด yuan ของตับและถุงน้ําดีเปนการรักษา
QiuXu (GB40) - เปยว-หลี่ ในนอกเพื่อการปรับชี่ตับใหสมดุลย
HeGu (LI4) -
ครอบกระปุกที่ GanShu (BL18) และ QiMen (LR14) ชวยไดอกี ทางหนึ่ง
จุดเสริม
ในกรณีปวดอยางรุนแรงเพิ่ม NeiGuan (PC6) -
GeShu (BL17) -
DaBao (SP21) -
1.2 เสมหะตกคางอุดตันเสนจิงลั่ว
หลักการรักษา ระบายปอด (Ventilate the Lung) regulateชี่ สลายเสมหะ ระงับปวด
จุดหลัก ChiZe (LU5) - ระบายชี่ปอด
LieQue (LU7) -
DanZhong (CV17) - Promote ใหชี่หมุนเวียน
NeiGuan (PC6) - ลดอาการไอ ลดอาการปวด
ZuSanLi (ST36) ± เสริมความแข็งแรงตอ Middlejiao
FengLong ST40) ± ทําใหควบคุมเสมหะได
ZuLinQi (GB41) - คูของจุดอิทธิพลทั้ง 8 เพื่อ regulate ซานเจียว
WaiGuan (TE5) - promote water metabolism
และการเดินของชี่ ลดอาการปวดได
TianTu (CV22) ปกใหเตอชี่แลวเอาออกไมคาเข็ม
Page 156

146 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

จุดเสริม ถามี Mental depression เพิ่ม TaiChong (LR3) -


1.3 ขาดเลือดเพราะอินของตับพรอง
หลักการรักษา บํารุงอินของตับ activate collateral ลดอาการปวด
จุดหลัก GanShu (BL18) + BackShu ชวยบํารุงตับและ
QuQuan (LR8) + จุด He ของเสนตับ Collateral ลดปวด
SanYinJiao (SP6) + บํารุงอินสงผานสู Collateral
TaiXi (KI3) +
จุดอื่นๆที่อาจใช ShenShu (BL23) ZuSanLi (ST36)
XingJian (LR2)
จุดเสริม หากมีอาการวิงเวียนสายตาพรามัว เพิ่ม FengChi (GB20)

2. การฝงเข็มหู
ใชจุด Chest Shenmen Xiajiaoduan Brain Liver Gallbladder
เลือกใช 3-4 จุดตอครั้ง กระตุนแรง คาเข็ม 30-60 นาที 10ครั้ง/รอบการรักษา
3.ใชเข็ม 7 ดาว รวมกับครอบกระปุก
ใชจุด Thoracic Jiaji 1-8 (จาก DaZhu (BL11) ถึง GuanYuanShu (BL26) เฉพาะ
ดานที่มีอาการปวดใหผูปวยนอนคว่ํา เข็ม 7 ดาวเคาะจุดละ 5 ครั้งจากบนลงลาง apply cupping 5 นาที
แลวใหนอนตะแคงเอาดานไมปวดลง จากนั้นเอาเข็ม 7 ดาวเคาะไปตาม intercostal space ที่มีปญหา
และ intercostal space ที่อยูบ นและลางของบริเวณที่มีปญหา โดยเคาะ 5 ครั้งจากดานหลังไปดานหนา
แลวครอบกระปุกบริเวณที่เคาะอีก 5 นาที
ทําวันละครั้ง 5 ครั้ง/รอบการรักษา หากหายไมสนิทและจะทํารอบการรักษาใหม ควรรอพัก
ประมาณ 3-5 วัน
Page 157

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 147

 
ชี่ของตับติดขัด

 
เสมหะตกคางอุดตันเสนลมปราณ 
Page 158

148 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

 
ขาดเลือดเพราะอินของตับพรอง 
Page 159

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 149

อัมพาตใบหนา
(FACIAL PARALYSIS)
สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
อัมพาตของใบหนาอันเกิดจากการอักเสบของเสนประสาทใบหนา (เสนประสาทสมองคูที่ 7 facial nerve)
ดวยสาเหตุตางๆ อาการทางคลินิกจะพบวามีอาการออนกําลังของกลามเนื้อบนใบหนา ทําใหหลับตาไดไม
แนนสนิท และมุมปากเบี้ยวเอียงลงปดปากไมสนิทแนน มีอาการเสียการรับรสของปลายลิน้ ดานที่เปน
และในระยะแรกๆของโรคอาจมีอาการปวดหลังใบหู ในทางการแพทยแผนจีนถามี deviation of the
mouth เรียก Kou Wai(口歪) หรือ Kou Pi(口僻) ถามี deviation of mouth and eye เรียก
Kou Yan Wai Xie 口眼歪斜)

การวินิจฉัยกลุมอาการของโรค
1. ลมภายนอกกระทําตอเสนหยางหมิงและเสาหยาง ทําใหมีการอุดตันของชีใ่ นเสนจิงลั่ว จึงไม
สามารถหลอเลีย้ งกลามเนื้อไดผูปวยจะมีอาการปากเบี้ยวปดปากไมแนน ปดตาไมแนน เกิดทันที มีไข
กลัวหนาว
ลิ้น เล็กฝาขาว
ชีพจร ลอย (Fou Mai 浮脉)
หลักการรักษา
ระบายลมและขจัดการอุดตันจากเสนลมปราณลั่ว
จุดฝงเข็มและการกระตุน
จุดหลัก FengChi (GB20) -
DiChang (ST4) +-
JiaChe (ST6) +- ดานเดียวกับโรคที่เปน
SiBai (ST2) +-
YangBai (GB14) + -
HeGu (LI4) - * ปกดานตรงหรือปกทั้ง 2 มือ
Page 160

150 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

FengChi (GB20) ชวยระบายลมและทะลวงเสนลั่ว


DiChang (ST4)
JiaChe (ST6)
SiBai (ST2) กระตุนเสนลั่วที่ใบหนา
YangBai (GB14)
HeGu (LI4) เปนจุด Yuan ของเสนหยางหมิงมีความสําคัญในการรักษาโรคของหนาและ
ศรีษะ ชวยระบายลม ทุเลา exterior syndrome ทําใหชี่และเลือดบนใบหนาหมุนเวียนดีขึ้น
จุดเสริม
- เปนไขกลัวหนาวเพิ่มจุด DaZhu (GV14) -
- ปดตาไมสนิท น้ําตาไหลเพิ่มจุด CuanZhu (BL2) ±

YangBai (GB14) ±
YuYao (EX-HN4) ±

- ปวดหลังหูเพิ่มจุด YiFeng (TE17) -


- ลิ้นรับรสไมไดเพิ่มจุด LianQuan (CV23) +
- Flattening of nasolabial groove YingXiang (LI20)
- Deviation of nasolabial groove ShaiGou (GV26)
- Deviation of mentolabial groove ChengJiang (CV24)

หมายเหตุ
- การกระตุนเข็มในระยะแรกของโรคตองทําดวยความนุมนวล
- จุด JiaChe (ST6) และ DiChan (ST4) ปกในแนว horizontal หันเขาหากัน
- จุดฝงเข็มบนใบหนากระตุนเบาใชการรมยารวมดวยได
- จุดไกลจากใบหนาสามารถกระตุนแรงได
2. ชี่และเลือดไมเพียงพอทําใหเกิดลมภายใน พบในคนที่เปนโรคมานาน ปาก/ตาเบี้ยว ใบหนา
เกร็ง (Facial spasm) และชา ปดตาไมสนิท
ลิ้น ซีด ฝาขาวบาง
ชีพจร ตึง เล็ก (Xian Xi Mai 弦细脉.)
Page 161

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 151

หลักการรักษา บํารุงเลือด สงบลม


จุดหลัก JiaChe (ST6) +
DiChang (ST4) + ปกเข็มดานเดียวกับโรคชวย
YingXiang (LI20) + activate qi และเลือดใหหมุนเวียน
SiBai (ST2) +
บริเวณที่เปนโรค บํารุงกลามเนื้อ
SI18 (QuanLiao) +
และลดอาการเกร็ง
GB20 (FenqChi) ± สงบลมลดอาการเกร็งกลามเนื้อ
ZuSanLi (ST36) + บํารุง Middejiao ชวยการสรางเลือด
HeGu (LI4) -
TaiChong (LR3) - เปด 4 ดาน เพื่อสงบตับ สงบจิตใจ
จุดเสริม
-หากมีอาการไมสบายในทรวงอกหรือคลื่นไส
เพิ่ม FengLong (ST40) -
- ปดตาลําบาก เพิ่ม ZanZhu (BL2) +
TaiYang (EX-HN5) +
ดานเปนโรค
- ปากเบี้ยวดื้อตอการรักษา เพิ่ม ShuiGou (GV26) +
ChengJiang (CV24) +
Page 162

152 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

อัมพาตใบหนาจากลมภายนอกกระทําตอเสนหยางหมิงและเสาหยาง

อัมพาตใบหนาจาก ชี่และเลือดไมเพียงพอทําใหเกิดลมภายใน
Page 163

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 153

ปวดประสาทใบหนา
(TRIGEMINAL NEURALGIA)
สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
เปน transient paroxysmal neuralgic pain ของเสนประสาทสมองคูที่5 ซึ่งเปนประสาทรับ
ความรูสึกบนใบหนา อาการปวดมักเปนเหมือนเข็มแทง ไฟช็อต หรือแสบรอน ในบริเวณที่แขนงของ
เสนประสาทสมองคูที่ 5 ทั้ง 3 แขนงเลี้ยงอยู แขนงที่เปนบอยที่สุดคือแขนงที่3 ซึ่งเลี้ยงจากมุมปากมาที่
กรามลางและคาง หรือแขนงที่2 ที่เลี้ยงบริเวณโหนกแกมมาถึงจมูก อาการมักจะกําเริบเวลามีการ
เคลื่อนไหวหรือสัมผัสใบหนาเชน ขณะพูด เคี้ยว ลางหนา แปรงฟน กระทบเย็บ สัมผัสหรือกดที่
Trigger points จะ aggravated ใหเกิดอาการขึ้นมาไดทางการแพทยแผนจีนเรียกกลุมอาการเหลานี้
วา MianTong (面痛)

การวินิจฉัยกลุมอาการของโรค
1. เสนจิงลั่วอุดตันโดยลมเย็นและเสมหะ
อาการและอาการแสดง เกิดอาการปวดเหมือนเข็มแทงฉับพลันทันทีและรุนแรงทีใ่ บหนา
อาการปวดจะถูก aggravated ใหรุนแรงโดยความเย็นและสามารถทุเลาลงดวยความอบอุน
ลิ้น ซีด ฝาบางขาว เหนียว
ชีพจร ลอย (Fou Mai : 浮脉) หรือลอยเบาไมมีแรง (Ru Mai: 濡脉)
2. เสนจิงลั่ว อุดตันโดยลมรอนและเสมหะ
อาการและอาการแสดง อาการปวดเหมือนเข็มแทงหรือรอน (burning)
เกิดทันทีบริเวณ
ใบหนา หนาแดง ตาแดง เหงื่อออกมาก กระหายน้ํา ปสสาวะนอยและสีเขม อาการเปนมากขึ้นเมื่อ
กระทบรอนและทุเลาเมื่อกระทบเย็น
ลิ้น แดง ฝาเหลือง เหนียว
ชีพจร ตึงลื่นและเร็ว ( Xian Su Mai :滑数脉)
Page 164

154 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

3. ไฟตับกําเริบ
อาการและอาการแสดง ปวดแบบเข็มแทงหรือรอน เหมือนไฟลวกบนใบหนาทันที อาการ
กําเริบ โดยความรอนและทุเลาดวยความเย็น หนาแดง ตาแดง กระสับกระสาย อึดอัดในทรวงอกและ
ชายโครง กระหายน้ํา ปากขม ปสสาวะนอยสีเขม ทองผูก
ลิ้น แดง ฝาลิ้นเหลือง
ชีพจร ตึง เร็ว (Xian Su Mai: 弦数脉)
4. ชี่พรองทําใหเลือดคั่งในเสนจิงลั่ว
อาการและอาการแสดง อาการปวดบนใบหนาปวดถี่ เหมือนเข็มแทงปวด รุนแรงแทบทน
ไมได ผิวหนาแหง คล้ํา ผมรวง เหงื่อออกงาย กลัวลม เสียงพูดไมมีกําลัง
ลิ้น ซีดปนคล้ํา มีจุดจ้ําเลือดบนลิ้น ฝาขาว
ชีพจร ตึง เร็ว (Xian Xi Se Mai 弦细涩脉 )
หลักการรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
1.1. เสนจิงลั่ว ถูกอุดตันดวยลมเย็นและเสมหะ
หลักการรักษา - ระบายลมและความเย็น สลายเสมหะ ทะลวงเสนลมปราณ ระงับปวด
จุดหลัก - Ashi points ±
- FengChi (GB20) - , Mox
- WaiGuan (SJ5) - , Mox
- FengLong (ST40) - , Mox
- ZuSanLi (ST36) ± , Mox
Ashi points: ชวยกระตุนการไหลเวียนของชี่และเลือดในบริเวณที่มีอาการปวด
- หนาผาก ใชจดุ ZanZhu (BL2) YangBai (GB14) TouWei (ST8) YuYao
(EX-HN-4) (เสริมจุดไกล HouXi (SI3))
- กรามบน ใชจุด SiBai (ST2) QuanLiao (SI18) HeLiao (LI19)
JuLiao (ST3) YingXiang (LI20)
Page 165

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 155

- กรามลาง ใชจุด JiaChe (ST6) XiaGuan (ST7) YiFeng (TE17)


- ChengJiang (CV24) เสริมจุดไกล NeiTing (ST44)
- FengChi (GB20) และ WaiGuan (TE5) ชวยระบายลมและความเย็นจากภายนอก
- FengLong (ST40) และ ZuSanLi (ST36) บํารุง Middle Jiao ขับเสมหะ
จุดเสริม - หากมีอาการปวดรุนแรงเพิ่ม NeiGuan (PC6) GeShu (BL17)
1.2. เสนลมปราณ และ Collateral อุดตันโดยลมรอนและเสมหะ
หลักการรักษา
ระบายลมและความรอน สลายเสมหะ กระตุนเสนลมปราณ ระงับปวด
จุดหลัก - Ashi ใชเหมือนเดิม
- ShangYang (LI1)
- GuanChong (TE1)
- ShaoZe (SI1)
- QuChi (LI11)
- FengLong (ST40)
- ShanYang (LI1) - เปนจุด Jing ของเสนหยางของ
- GuanChong (TE1) - มือทั้ง 3 เสน ชวยระบายลมรอน
- ShaoZe (SI1) - ออกจากเสนหยางทั้ง 3 เสน
- QuChi (LI11) - ชวยระบายความรอนจากหยางหมิง
- FengLong (ST40) - สลายเสมหะ
จุดเสริม - ถามีไขปวดหัวเพิ่ม HeGu (LI4) - FengChi (GB20) –

1.3. ไฟตับกําเริบ
หลักการรักษา : ระบายไฟตับ
จุดหลัก Ashi points ใชเหมือนเดิม
Page 166

156 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

YeMen (TE2) -
XingJian (LR2) - กําจัดไฟจากตับ
XiaXi (GB43) -
QuQuan (LR8) + บํารุงอินของตับเพื่อกําจัดไฟ
จุดเสริม - แนนหนาอก เจ็บชายโครง ZhiGou (TE6) -
- อุจจาระแหง NeiTing (ST44) -
- กระสับกระสาย อารมณโกรธเกิดงาย DaLing (PC7) –
1.4. ชี่พรองทําใหเลือดคั่งในจิงลั่ว และ Collateral
หลักการรักษา : กระตุนเสนลมปราณ สลายเลือดคั่ง
จุดหลัก - Ashi points เหมือนเดิม
- GeShu (BL17) - ,Mox จุดควบคุมเลือด
- GanShu (BL18) - , Mox เปนจุดbackshu ของตับ ชวยการไหลเวียนของเลือด
และ กําจัดเลือดคั่ง
SanYinJiao (SP6) ±,Mox บํารุงทั้งชี่และเลือด
ZuSanLi (ST36) ±,Mox ชวยใหการไหลเวียนดีขึ้น
GuanYuan (CV4) +

2. การฝงเข็มหู
- ใชจุด AT1 Forehead, LO3 Mandible, TF4 Ear Shenmen , LO5 6i
Cheeks, AH6a Sympathetic ใช 2-3 จุดตอครั้ง จําเปนตองกระตุนแรง คาเข็ม30นาที หรือใช
เข็มหู หรือใชเม็ดหวังปูหลิวสิง ติดที่จุดเอาไวกด 
Page 167

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 157

 
ปวดประสาทใบหนาจากเสนจิงลั่วอุดตันโดยลมเย็นและเสมหะ

ปวดประสาทใบหนาจากเสนลมปราณ และ Collateral อุดตันโดยลมรอนและเสมหะ


Page 168

158 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ปวดประสาทใบหนาจากไฟตับกําเริบ

ปวดประสาทใบหนาจากชี่พรองทําใหเลือดคั่งในจิงลั่วและ Collateral
Page 169

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 159

นอนไมหลับ
(Insomnia)
การนอนไมหลับ หมายถึง การไมสามารถนอนหลับเปนปกติ เชน หลับยาก หลับแลวตื่นงาย
ตื่นแลวหลับตอยาก หลับไมสนิท บางรายที่รุนแรงอาจไมนอนตลอดทั้งคืน

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
มักเกิดจาก ความวิตกกังวล เครียด การเปลี่ยนแปลงอารมณอยางรุนแรง การปวยเปนโรค
เรื้อรัง เปนตน ศาสตรการแพทยแผนจีนเรียกอาการนี้วา “Shi Migem” ซึ่งเกิดจากการทํางาน
ผิดปกติของ หัวใจ มาม ตับ ไต อินพรอง และการทํางานของหยางตับมากเกินไป

การวินิจฉัยกลุมอาการโรค
1 . ไฟหัวใจและไฟตับมากเกิน
มีอาการหลับแลวตื่นงาย ฝนมาก จิตใจวาวุน โกรธงาย วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะแบบแนน ๆ
เจ็บแนน ๆ ที่หนาอก มีรสขมในปาก หิวน้ํา ปสสาวะสีเขมและอุจจาระแข็ง
ลิ้น แดงฝาเหลือง
ชีพจร ตึงและเร็ว (.Xian Su mai 弦数脉)
2.เสมหะรอนกระทบหัวใจ
มีอาการกระสับกระสาย นอนไมหลับ วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะแบบหนัก ๆ ปวดแบบแนน ๆ
อืด ๆ ที่หนาอกและลิ้นป หรืออาเจียนเปนเสมหะเหนียว มีรสของในปาก และรูส ึกเหนียวในปาก
ลิ้น แดงฝาเหลืองเหนียว
ชีพจร ลื่นและเร็ว (Hua su mai 滑数脉.)
3. ชี่ติดขัดและเลือดคั่ง
มีอาการนอนไมหลับเรื้อรัง จิตใจหดหู ปวดแนนตึงหนาอก เรอบอย สีหนาหมองคล้ํา
ลิ้น สีคล้ํามวง
ชีพจร ฝด (Se Mai .涩脉)
Page 170

160 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

4. หัวใจและมัามพรอง
มีอาการหลับยาก ฝนมาก ตื่นงาย ใจสั่น ขี้หลงขี้ลืม ออนเพลียงาย ไมอยากอาหาร สีหนาซีด
ลิ้น ซีดฝาบาง
ชีพจร ออนและเล็ก (.Xi Ruo Mai .细弱.脉)
5. หัวใจและไตทํางานไมประสานกัน
มีอาการนอนไมหลับ รูสึกทอแท วิงเวียนศรีษะ มีเสียงในหู รอนที่ฝามือ ฝาเทา และหนาอก
ปากแหง หลังและเขาปวดและออนแรง ใจสั่น ขี้หลงขี้ลืม อสุจเิ คลื่อน
ลิ้น แดง
ชีพจร เล็กและเร็ว (Xi Su Mai 细数脉)
หลักการรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก : ShenMen (HT7) SanYinJiao (SP6)
จุดเสริม :
- ไฟหัวใจและไฟตับมากเกิน เพิ่มจุด FengChi (GB20) JianShi (PC5)
LaoGong (PC8) XingJian (LR2)
- เสมหะรอนกระทบหัวใจ เพิ่มจุด FengChi (GB20) NeiGuan (PC6)
ZuSanLi (ST36) FengLong (ST40) LiDui (ST45)
- ชี่ติดขัดและเลือดคั่ง เพิ่มจุด Geshu (BL17) JueYinShu (BL14) NeiGuan (PC6)
Taichong (LR3)
- หัวใจและมัามพรอง เพิ่มจุด BaiHui (GV20) XinShu (BL15) PiShu (Bl20)
ZuSanLi(ST 36)
- หัวใจและไตทํางานไมประสานกัน เพิ่มจุด XinShu (BL15) ShenShu (BL23)
TaiXi (KI3)

การรักษาแตละครั้งเลือก 3-5 จุด สําหรับนอนไมหลับจากไฟหัวใจและไฟตับมากเกิน เสมหะ


รอนกระทบหัวใจ ชี่ติดขัดและเลือดคั่งใหปกแบบระบาย หัวใจและมามพรองปกแบบบํารุงหรืออาจใช
รมยาที่จุดดานหลัง สําหรับสาเหตุจากหัวใจและไตทํางานไมประสานใหปนเข็มระบายที่จุด ShenMen
(HT17) จุดฝงเข็มอื่น ๆ ปกแบบบํารุง
Page 171

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 161

2. การฝงเข็มหู
ใชจุด Shenmen, Heart, Kidney, Spleen และ Subcortex
เลือกใช 2-3 จุด กระตุนความแรงระดับกลาง คาเข็มไว 20 นาที หรือใชเม็ดผักกาดติดตาม
จุดดังกลาวขางตน กอนนอนกระตุน 2-3 นาที

         

การนอนไมหลับ
Page 172

162 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

โรคพารกินสัน
(PARKINSON’S DISEASE)

เปนกลุมอาการที่มีความผิดปรกติในการเคลื่อนไหว เชื่องชา (Bradykinesia)เนื่องจากสาร


Dopamine ลดลงในสวนของสมองที่เรียกวา corpus striatum เพราะเซลลประสาทตนกําเนิดของสาร
Dopamine ที่มาจาก Substantia nigra (สวนที่มีเม็ดสีดําในกานสมอง-Midbrain) เกิดการเสื่อมและ
ฝอลง ขณะเดียวกันสารสือ่ สมองอีกตัวหนึ่งคือ Acetylcholine ในstriatum ก็จะทํางานเดนขึ้นเพราะ
มีสัดสวนที่มากกวา Dopamine เปนเหตุใหเกิดอาการrigidity (การเกร็งแข็ง)และTremor (อาการสั่น)
โดยปรกติการทํางานตามปรกติของ corpus striatum ตองอาศัยสัดสวนของสารสื่อประสาท
Dopamine และ Acetyl choline ที่เหมาะสม Dopamine ลดลง Acetylcholine ก็จะทํางาน
เดนขึ้น เปนเหตุใหเกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติในโรคนี้ อาการของโรคมักเริ่มปรากฏเมื่ออายุ 50-60ป
ในศาสตรการแพทยจีน Parkinson’s disease จะถูกจัดเขาไปอยูรวมกับกลุมอาการชัก ซึ่ง
มักเกิดจากลมตับเปนสาเหตุจึงไมคอยมีตําราจีนเลมใดแยกโรคนี้ออกมาสอนเดี่ยวๆ

สาเหตุและการแยกกลุมอาการของโรค
1. ชี่และเลือดพรอง
อาการและอาการแสดง มือ แขน ขาสั่นเปนมานาน ไมคอยพูด คอตึง แขนขาตึงเคลื่อนไหว
ไมออก ทรงตัวเดินไมดี วิงเวียนตาลาย เหงื่อแตก ยิ่งมีการเคลื่อนไหวยิง่ มีอาการมาก
ลิ้น ซีด บวมโต มีรอยฟน
ชีพจร เล็ก (Xi Mai 细脉)
2. เสมหะและความรอนกระตุนใหเกิดลมตับ
อาการและอาการแสดง อวนไมคอยอยากออกแรง แนนในอก ปากแหง เหงื่อออก วิงเวียน
มีเสมหะเหลืองๆ คอและหลังตึง มือ แขน ขา สั่น
ลิ้น แดง ฝาเหลืองเหนียว
ชีพจร ตึง เล็ก (.Xian Xi Su Mai 弦细数脉 )
Page 173

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 163

3. อินของไตและตับพรอง
อินของไตพรองไมสามารถไปเพิ่มเติมหลอเลี้ยงอินของตับ อินของตับไมเพียงพอ กอใหเกิด
ลมตับ มักเกิดจากการทํางานหนักตรากตรําเกินไป หรือมีเพศสัมพันธมากเกินไป
อาการและอาการแสดง มีอาการผายผอม วิงเวียนมีเสียงในหู มีปญหาในการนอนหรือ
นอนไมหลับ ปวดศีรษะ ความจําเสื่อม เหงื่อออกกลางคืน วุนวายใจ ปวดหลัง เขาออน แขนขาชา คอ
หลังตึง หัวสั่น คางสั่น กัดฟนแนน แขนขาเกร็งหมือนเปนตะคริว เดินเคลื่อนไหวเชื่องชา
ลิ้น เล็ก สั่น ตัวลิ้นแดง ไมมีฝา
ชีพจร เล็ก เร็ว (Xi Su Mai 细数脉) หรือชีพจรลอย (Fu Mai 浮脉)
หลักการรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
1.1 ชี่และเลือดพรอง
หลักการรักษา
กระตุนบํารุงชี่ และเลือดใหไหลเวียนในเสนลมปราณเพื่อระบายลม
การเลือกจุดฝงเข็ม
ZuSanLi (ST36) + บํารุงชี่และเลือด
SanYinJiao (SP6) +
GuanYuan (CV4) + บํารุงเลือด
QuQuan (LR8) + บํารุงอิน และเลือดของตับ
1.2 เสมหะและความรอนกระตุนใหเกิดลมตับ
หลักการรักษา
สลายเสมหะ,ขจัดความรอน,ระบายลม ทําใหการไหลเวียนในเสนลมปราณสะดวกขึ้น
การเลือกจุดฝงเข็ม FengLong (ST40) - ระบายเสมหะ
ZhongWan (CV12) + บํารุงมาม สลายเสมหะ
PiShu (BL20) +
SanYinJiao (SP6) + ชวยระบายเสมหะ
YinLinQuan (SP9) +
Page 174

164 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

TaiChong (LR3) - สงบลมตับ


1.3 อินของไตและตับพรอง
หลักการรักษา
บํารุงอิน ระบายลม ทําใหเสนลมปราณไหลเวียน
การเลือกจุดฝงเข็ม
GuanYuan (CV4) +
ShenShu (BL23) + บํารุงอินของไต
TaiXi (KI3) +
SanYinJiao (SP6) +
GanShu (BL18) ± บํารุงอินของตับ
QuQuan (LR8) ±
TaiChong (LR3) - สงบลมตับ
ขอแนะนําที่สําคัญ
1. ควรใชจุดที่เราใชระบายลมทั่วๆไปดังนี้
FengChi (GB20) QuChi (LI11) ºXiaoChanXue(Controlling Tremor
point) จุดนี้อยู 1.5 cun ใตตอ ShaoHai(HT3) WaiGuan (TE5) YangLingQuan (GB34)
TaiChong (LR3)

2. การเลือกจุดเฉพาะที่เพื่อลดอาการสั่น Tremor เปนสิ่งจําเปน


- อาการสัน่ ของแขนและมือ เพิ่มจุด
QuChi (LI11) WaiGuan(TE5) ShouSanLi (LI10) HeGu(LI4)

- อาการสัน่ ของขาและเทา เพิ่มจุด


BiGuan (ST31) ZuSanLi(ST36) FengShi (GB31) YangLingQuan (GB34)
JieXi (ST41) QiuXu(GB40)

. การฝงเข็มศีรษะ

ใหใช Chorea-Tremor area ดานตรงขามของอาการสั่น 


Page 175

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 165

 
โรคพารกินสันเกิดจากชี่และเลือดพรอง 
 
 

 
โรคพารกินสันเกิดจากเสมหะและความรอนกระตุนใหเกิดลมตับ 
 
 
Page 176

166 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

 
 

โรคพารกินสันเกิดจากอินของไตและตับพรอง 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Page 177

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 167

4. โรคระบบ Locomotor
กระดูกคอเสื่อม
( Cervical Spondylosis )
กระดูกคอเสื่อม เปนกลุมอาการโรคที่เกิดที่ไขสันหลัง รากประสาทและระบบไหลเวียนเลือดที่
ระดับคอ เนื่องจากไดรับภยันตรัยของเนื้อเยื่อเนื่องจากการงอกของกระดูกคอ หมอนรองกระดูกกดทับ
หรือการหนาตัวของแผนเสนเอ็น ทําใหผูปวยเกิดอาการปวดบริเวณศีรษะ คอ หัวไหล แขน หรือหนาอก

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
เกิดจากการแทรกซึมของลม ความเย็น และความชื้น ทําใหเกิดอาการอุดตันในเสนจิงลั่ว ทั้ง
ชี่และเลือด หรือเกิดจากความเสื่อมของตับและไต รวมกับการขาดชี่และเลือดจากอายุที่มากขึ้น สงผล
ใหเสนเอ็นขาดสารอาหารหรือเกิดจากภยันตรัยของเสนเอ็น และเสนเลือด

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
1. การกระทบจากลม ความเย็นภายนอก
ทําใหเกิดอาการขอฝด หรือปวดของคอ ไหล หรือแขน แขนและมืออาจรูสึกเย็น ชา หรือหนัก
โดยเฉพาะเมื่ออาการเย็น หรือลมพัด จะทําใหอาการปวดรุนแรงยิ่งขึ้น
ลิ้น พบบางและขาว
ชีพจร ลอยและตึง (Fu Jin Mai 浮紧脉)
2. การอุดตันของชี่และเลือด
เกิดอาการ วดตึงหรือแปลบ ๆ บริเวณคอ ไหลหรือแขน รวมทั้งอาจมีปวดบวมราวไปแขน
รวมกับมึนงง ปวดศีรษะ จิตใจหดหู และอาจมีอาการปวดหนาอก
ลิ้น บางและขาว ลิน้ หนา
ชีพจร ไมสม่ําเสมอ ลึก บาง (Chen Jie Dai Mai 沉结代脉 )
Page 178

168 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

3. ความเสื่อมของตับและไต
เกิดอาการชา และปวดบริเวณคอ ไหล และแผนหลังอยางชาๆ รวมกับอาการมึนงง ตาพรา
เสียงดังในหู หูอื้อ ปวดหรือออนแรงของเขา ขา อาการรุนแรงมากขึ้นเมื่อทํางานตรากตรํา
ลิ้น บาง ปวดบริเวณลิ้น
ชีพจร ลึก บาง และออน (Chen Ruo Mai 沉弱脉)
การรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก
Cervical Jiaji (Ex-B2) FengChi (GB20) DaZhui ( BL11) และจุดกดเ Ashi โดยจุดที่
คอใชเทคนิค rotating and twirling หรือใชรมยารวมกับการครอบกระปุก
จุดเสริม
- กรณีเกิดจากการกระทบจากลมและความเย็นภายนอก เพิ่มจุด HeGu (LI4) WaiGuan
(TE15) FengMen (BL12) และ JianJing (GB21) โดยใชเทคนิคระบายเข็ม
- กรณีเกิดจากการอุดตันของชีแ่ ละเลือด เพิ่มจุด HeGu (LI4) QuChi (LI11)
JianYu (LI15) GesShu (BL17) YangLinQuan (GB34) โดยใชเทคนิคระบายเข็ม
- กรณีเกิดจากความเสื่อมของตับและไต เพิ่มจุด GanShu ( BL18) ShenShu (BL23)
ZuSanLi (ST36) XuanZhong (GB39) และ TaiChong (LR3) โดยใชเทคนิคระบายเข็ม

2. การฝงเข็มหู
ใชจุด Neck (AH12) Cervical Vertebra (AB13) Shoulder (SF4,5) Kidney (CO10)
และ Ear ShenMen (TF4) เลือกใชครัง้ ละ 2 ถึง 3 จุด กระตุนเข็มดวยแรงขนาดปานกลางและอยาง
แรง หลังจากนั้นคาเข็ม 20 ถึง 30 นาที วันละ 1 ครั้ง หรือวันเวนวัน อาจใชเม็ดแมเหล็ก หรือเม็ดพืชกด
แทนเข็ม
Page 179

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 169

กระดูกคอเสื่อม
Page 180

170 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

กลามเนื้อคออักเสบ
( Neck sprain )
กลามเนื้อคออักเสบ เปนภาวะอักเสบของกลามเนื้อคอ พบบอยหลังตื่นนอน ทําใหผูปวยมีโอา
การปวดตึงรวมกับเคลื่อนไหวคอลําบากอยางฉับพลัน
สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
เกิดจากการนอนที่ไมเหมาะสม หรือไดรับการกระทบจากลม หรือความเย็นบริเวณตนคอ
การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
ผูปวยมีอาการปวดบริเวณคอและตนคอขางเดียวหรือสองขาง การเคลื่อนไหวคอลําบาก รวม
ทั้งสงผลตอ ศีรษะ ไหลและแผนหลัง
การรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
ใชจุดกดเจ็บ (Ashi) บริเวณคอ และ HouXi (SI3) โดยใชเทคนิคระบายเข็ม เมื่อฝงเข็มจุด
Ashi แลวตามดวยการครอบกระปุก สําหรับการฝงเข็มจุด HouXi (SI3) ใหผูปวยเคลื่อนไหวคอขณะ
ฝงเข็มดวย
2. การฝงเข็มหู
ใชจุด Pt.Neck , Pt.Cervical และจุดกดเจ็บ ใชเทคนิคกระตุนเข็มอยางแรง โดยคาเข็ม 60
นาทีทุกวัน

กลามเนื้อคออักเสบ
Page 181

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 171

เสนเอ็นอักเสบของศอกดานนอก
(Lateral epicondylitis)
เสนเอ็นอักเสบของศอกดานนอก เปนภาวะที่พบบอยโดยเสนเอ็นดานนอกของผูปวยไดรับ
บาดเจ็บ อยางเรื้อรังจากแรงกระชากหรือบิด ทําใหผูปวยมีอาการปวดและมีจุดกดเจ็บบริเวณศอกดาน
นอก เมื่อใหผูปวยออกแรงตานการตรวจ ขณะงอขอมือขึ้น (dorsiflexion)

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
เกิดจากการไดรับบาดเจ็บอยางเรื้อรัง หรือการแทรกของลม ความเย็น และความชื้น ทําใหชี่
และเลือดไมสามารถหมุนเวียนไดตามปกติในจิงลั่วบริเวณขอศอก

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
ผูปวยมีอาการปวดบริเวณดานนอกของศอกอยางชาๆ อาจราวไปปลายแขน ไหลหรือหลัง กํา
หยิบสิ่งของลําบาก โดยเฉพาะเมื่อบิดผา

หลักการรักษา
โดยใขจุดกดเจ็บ (Ashi), QuChi (LI11) ShouSanLi (LI10) และ HeGu (LI4)
เลือกใชจุดบนเสนหยางหมิงของแขนครั้งละ 1 ถึง 2 จุด โดยวิธีระบาย ตามดวยคาเข็ม 20 ถึง 30 นาที
อาจใชรมยาบริเวณจุดเจ็บ

เสนเอ็นอักเสบของศอกดานนอก
Page 182

172 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

คอแข็งเกร็ง
(Stiff neck)
คอแข็งเกร็ง เปนภาวะพบไดบอยที่ทําใหผูปวยมีอาการแข็งเกร็ง และปวดบริเวณคอขางเดียว
หรือทั้งสองขางขณะเดียวกันจะปวด เมื่อขยับหรือหมุนคอ

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
เกิดจากการทําลายเนื้อเยื่อบริเวณคออันเนื่องจาก การใชหมอนที่ไมเหมาะสม หรือเกิดจากการ
แทรกของลมหรือความเย็นเขาทางแผนหลัง ทําใหชี่และเลือดไมสามารถหมุนเวียนไดตามปกติในจิงลั่ว

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
โดยจาการตรวจผูปวย จะมีอาการคอแข็งเกร็งและปวดบริเวณคอ โดยเฉพาะอาการจะรุนแรง
มากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวคอทําใหผูปวยอยูน ิ่ง คอเอียงไปทางขางที่มีพยาธิสภาพ ทําใหปวดบริเวณ
ไหล หลัง และศีรษะ และพบจุดกดเจ็บเฉพาะที่

หลักการรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
ใชจุดกดเจ็บ (Ashi), FengChi (GB20) และ HouXi (SI3) โดยใชเทคนิคระบายเข็ม หรือ
อาจใชรนยาเฉพาะที่ เมื่อถอนเข็มแลว ตามดวย cupping สําหรับการฝงเข็มจุด HouXi (SI3) ให
ผูปวยเคลื่อนไหวคอขณะฝงเข็ม และใหปกจุดนี้กอน หลังจากนัน้ จึงทยอยปกจุดอื่นๆ

2. การฝงเข็มหู
ใชจุด Neck ( AH12 ) , Cervical Vertebra ( AH13 ) และจุดกดเจ็บ โดยใชเทคนิคกระตุน
เข็มอยางแรง ใหผูปวยเคลื่อนไหวคอขณะฝงเข็มหลังจากนั้นคาเข็ม 15 ถึง 20 นาที
Page 183

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 173

คอแข็งเกร็ง
Page 184

174 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ขอไหลอักเสบ
(Periarthritis of shoulder, Scapulohumeral
periarthritis)
ขอไหลอกั เสบ เปนภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรังของขอไหลและเนื้อเยื่อโดยรอบ ทําใหผูปวยมี
อาการเจ็บและใชงานขอไหลไมไดตามปกติ ทําใหเกิดปญหาขอไหลติด (Frozen shoulder) ตามมา
พบบอยในผูปวยอายุ 50 ป

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
เกิดจากการกระทบความเย็น ไดรับบาดเจ็บฉับพลันหรือเรื้อรังของไหล

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
ผูปวยมีอาการปวดบริเวณไหลรา วไปคอและแผนหลัง อาการมากขึ้นเวลากลางคืนหรือขณะ
เคลื่อนไหล เมื่อนานขึ้นผูปวยจะเคลื่อนไหวไหลไดนอยลง จนเกิดอาการไหลติดในที่สุด

หลักการรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
- จุดหลัก
ใชจุด JianYu (LI15) JianZhen (SI9) BiNao (LI14) และ TiaoKou (S38)
- จุดเสริม
- กรณีปวดดานในของไหล (medial aspect) เพิ่มจุด ChiZe (LU5) TaiYuan (LU9 )
และ YingLingQuan (SP9)
- กรณีปวดดานนอกของไหล (lateral aspect) และสะบัก เพิ่มจุด HouXi (SK3)
TianZong (SI11) และ YangLingQuan (GB34)
- กรณีปวดดานหนาของไหล (anterior aspect ) เพิ่มจุดHeGu (LU4) QuChi (LI11)
และ ZuSanLi (ST36) โดยใชเทคนิคระบายเข็ม แลวคาเข็ม 30 นาที ทุกวัน
Page 185

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 175

2. การฝงเข็มหู
ใชจุด Pt.Shoulder, Pt. Shoulder joint, Pt. Cervical และ Pt. Adrenal โดยเลือกใชครัง้
ละ 2-3 จุด กระตุนเข็มอยางแรง ใหผูปวยเคลือ่ นไหวขอไหลขณะฝงเข็ม จากนั้นคาเข็ม 20 นาที อาจใช
เม็ดแมเหล็กหรือเมล็ดพืชกดแทนเข็มก็ได

ขอไหลอักเสบ
Page 186

176 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

กลามเนื้อหลังสวนเอวอักเสบเฉียบพลัน
(Acute lumber sprain)

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
กลามเนื้อหลังสวนเอวอักเสบเฉียบพลัน มีสาเหตุมาจากทาทางที่ไมถูกตอง กลามเนื้อออกแรง
มากเกินไป หรือหกลมกระแทก อาการแสดงออกคืออาการปวดหลังสวนเอวเฉียบพลัน จํากัดการ
เคลื่อนไหวของเอว ศาสตรการแพทยจีน กลาววา การปวดหลังสวนเอว มีสาเหตุจาก การออกกําลังกาย
ที่ไมเหมาะสม หรือการหกลมกระแทกช้ํา นําไปสูความผิดปกติของเสนเอ็นบริเวณหลังสวนเอว มีการคั่ง
ของชีแ่ ละเลือด ในเสนลมปราณบริเวณนั้นๆ

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
อาการปวดหลังสวนเอวเฉียบพลัน เมื่อมีการเคลื่อนไหวจะปวด มีการจํากัดการเคลื่อนไหวของ
เอว คือเอวไมสามารถเหยียดตรงได นอนหงายหรือพลิกตัวไปมาลําบาก รวมทั้งการยืนจะไมสะดวก มัก
มีการแกรงของกลามเนื้อบริเวณขารวมดวย
ลิ้น สีชมพูหรือ มวงคล้ํา
ชีพจร ตึง (Xian Mai 弦脉)
หลักการรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดที่ใช ShuiGou (GV 26), HouXi (SI 3), WeiZhong (BL 40), YaoYangGuan
(GV 3), DaChangShu (BL 25) และ Ashi point เลือกใชครั้งละ 2 – 4 จุด ปกแบบระบาย
- ShuiGou หรือ HouXi เปนจุดแรกที่ปก แลวหมุนกระตุน เข็ม พรอมกับใหผูปวยขยับเอว
เคลื่อนไหว
จุด ShuiGou ใชปกเฉียงขึ้นบน
จุด WeiZhong ใชเข็มปกปลอยเลือด
จุดบริเวณเอว สามารถใชการรมโกฐ หรือครอบกระปุกก็ได
Page 187

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 177

2. การฝงเข็มหู
ใชจุด Lumbosacral vetebra (AH9) Shenmen (TF4)
Subcostical (AT4) และ (Reaction point) Wangbuliuxingzi
โดยใชเทคนิคกระตุนเข็มอยางแรง แลวคาเข็มนาน 30 – 60 นาที หรือใชเม็ดหวังปูหลิวสิงก็ได

กลามเนื้อหลังสวนเอวอักเสบเฉียบพลัน
Page 188

178 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

4.โรคระบบทางเดินหายใจ
อาการไอ
(Cough)
ไอ เปนอาการที่พบบอยในระบบการหายใจ อาจจะมีสาเหตุมาจากปจจัยกอโรคภายนอกรางกาย
หรือเกิดจากสาเหตุภายในอันเปนปญหาของปอด หรือปญหาของอวัยวะอื่นที่มผี ลกระทบตอปอด

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
1.การรุกรานจากปจจัยกอโรคภายนอก
(Invasion by the exogenous pathogenic factors)

ปอดควบคุมการไหลเวียนของชี่ และเปนเสมือนหนึ่งหลังคาปองกันอวัยวะตันทั้งหา สวนบน


ของปอดเชื่อมติดกับหลอดลม ชองคอ และเปดทวารที่จมูก ทําหนาที่ในการหายใจ อวัยวะภายนอกปอด
สัมพันธกับผิวหนังและเสนขน เมื่อปอดถูกกระทบจากปจจัยกอโรคภายนอก ชี่ของปอดถูกปดกั้นการ
ไหลเวียนติดขัด ไหลเวียนลงเบื้องลางไมได จึงทําใหเกิดอาการไอ
การเปลี่ยนแปลงของอากาศในแตละฤดูกาล กอใหเกิดปจจัยภายนอกที่เปนสาเหตุของการไอ 2
ประเภท ไดแก ลมเย็น และ ลมรอน
2) ผลกระทบจากปจจัยภายในรางกาย (Internal injury)
หมายถึง อาการไอที่เปนผลมาจากการทําหนาที่ของอวัยวะภายในบกพรอง เชน การไอที่มี
สาเหตุมาจากปอดแหงและอินพรอง ทําใหชี่ปอดไหลเวียนลงสูเบื้องลางไมได หรือ การไอที่เกิดจาก
ผลกระทบจากความผิดปกติของอวัยวะภายในอื่น ตัวอยาง กรณีที่หยางของมามพรอง เกิดการสะสม
ของความชื้นแปรสภาพเปนเสลดไปยังปอด รบกวนสมดุลการทํางานของชี่ปอดทําใหเกิดอาการไอ หรือ
ในกรณีชี่ตับติดขัดแปรสภาพเปนไฟ ลุกลามไปทําลายน้ําในปอด ก็ทําใหเกิดอาหารไอเชนกัน ในตํารา
แพทยจีนโบราณ กลาววา “อาการไอ ไมไดแปลวาปอดมีปญหาเพียงอยางเดียว แตตองวินิจฉัยปญหา
จากอวัยวะภายในอื่น ๆ ดวย” ไมสําคัญวาอวัยวะภายในใดมีปญหา หากมีผลกระทบถึงปอด ยอมทํา
Page 189

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 179

ใหเกิดการไอได ในทางคลินิกแบงสาเหตุการไอจากผล กระทบของอวัยวะภายในเปน 2 ประเภท ไดแก


ภาวะปอดแหงรวมกับอินพรอง และ ปอดถูกเสลดปดกั้น

การวินิจฉัยแยกสาเหตุของอาการไอ
1. การรุกรานจากปจจัยกอโรคภายนอก
1.1) ปจจัยประเภทลมเย็น
ลักษณะทางคลินิก: ไอ คันคอ เสมหะสีขาว-ใส กลัวหนาว ไขไมมีเหงื่อ ปวดศีรษะ คัดจมูก
น้ํามูกขาว-ใส
ลิ้น เคลือบบางดวยฝาสีขาว
ชีพจร ลอย (Fu Mai 浮脉 )
การวิเคราะหอาการ:
ไอ คันคอ เสมหะขาวใส คัดจมูก น้ํามูกไหล เกิดจากลมเย็นกอโรค กระทําตอปอด มีผลตอ
การกระจายของชี่ปอดและการหายใจติดขัด
ปวดศีรษะ กลัวหนาว ไขไมมีเหงื่อ เกิดจากลมเย็นกอโรคกระทําตอผิวหนังและรูขุมขน
ฝาบางสีขาวทีล่ นิ้ และชีพจรลอย บงชี้วา ลมเย็นกอโรคยังจํากัดอยูในปอดและสวนตื้นของ
รางกาย
1.2) ปจจัยประเภทลมรอน
ลักษณะทางคลินิก: ไอ เสมหะขนสีเหลือง ไอจนตัวโยน (ไอลึกรุนแรง) กระหายน้ํา เจ็บคอ มี
ไขหรือปวดศีรษะ กลัวลม มีเหงื่อออก
ลิ้น เคลือบบางดวยฝาสีเหลือง
ชีพจร ลอยและเร็ว (Fu Su Mai ( 浮数脉)
การวิเคราะหอาการ:
ลมรอนกอโรคกระทําตอปอด ทําใหทางเดินของชี่ปอดติดขัดสูญเสียการไหลเวียนลงสูเบื้องลาง
รวมกับของเหลวในปอดถูกความรอนแปรสภาพเปนเสลด ทําใหเกิดอาการไอ มีเสมหะเหลืองขน ถาชี่
ปอดติดขัดรุนแรงจะทําใหไอจนตัวโยน ความรอนเผาผลาญของเหลวในรางกาย ทําใหกระหายน้ํา คอ
แหง และเจ็บคอ
Page 190

180 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ปวดศีรษะ กลัวลม เหงื่อออก และมีไข เกิดจากปจจัยกอโรคกระทําตอผิวหนังและรูขุมขนจน


สูญเสียความตานทาน ฝาเหลืองบาง ชีพจรลอยและเร็ว บงชีว้ า ลมรอนกอโรคยังจํากัดอยูในปอดและ
สวนตื้นของรางกาย
1.3ลมแหงกระทบปอด
ลักษณะทางคลินิก ไอแหง ๆ มีเสมหะนอยและเหนียวหรือไมมี หากไอรุนแรงมีเลือดฝอยปน
ออกมากับเสมหะ โพรงจมูกแหง คอแหง แนนหนาอกและปอด ตัวรอนปวดศีรษะ อุจจาระแข็ง
ปสสาวะสีเขม
ลิ้น แดงดูแหง ฝาบางขาว
ชีพจร เล็กเหมือนเสนดายและเร็ว (Xi Su Mai 细数脉)
2. ผลกระทบจากปจจัยภายในรางกาย
2.1) เสลดปดกั้นปอด
ลักษณะทางคลินิก: ไอ รวมกับมีเสมหะขาวเหนียวจํานวนมาก (Profuse, white and sticky
sputum) อึดอัดแนนในอก เบื่ออาหาร
ลิ้น เคลือบดวยฝาขาวและเหนียว
ชีพจร ลื่น (Hua Mai 滑脉)
การวิเคราะหอาการ:
มามทําหนาที่นสารอาหารที่แปรสภาพแลวลําเลียงไปเก็บที่ปอด หากมามลมเหลวในการขนถาย
และแปรสภาพ ของเหลวจะคั่งคางและแปรเปลี่ยนเปนเสลดไปสะสมในปอด ทําใหชี่ปอดติดขัดและ
ไหลเวียนสูเบื้องลางไมคลอง สงผลใหเกิดการไอรวมกับเสมหะสีขาวจํานวนมาก รวมถึงเสมหะอาจ
เหนียวหนืดขึ้นตามสภาพความรุนแรง
อาการอึดอัด แนนในอก และเบื่ออาหาร เกิดจากความชื้นสะสมในจงเจียว (water dampness
stays in the middle energizer) ฝาขาวเหนียว และ ชีพจรลื่น บงชี้วา เสมหะคั่งคางอุดตันภายใน
2.2) ปอดแหงรวมกับอินพรอง
ลักษณะทางคลินิก: ไอแหง ๆ ไมมีเสมหะ หรือมีเสมหะเล็กนอย จมูกแหง คอแหง เจ็บคอ
ถมเลือด หรือ ไอเปนเลือด มีไขตอนบาย แกมและจมูกแดงเรื่อ (malar flush)
ลิ้น แดง มีฝาบาง ๆ
Page 191

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 181

ชีพจร เล็กเหมือนเสนดายและเร็ว (Xi Su Mai 细数脉)


การวิเคราะหอาการ
ความแหงมักผลาญสารน้ําจากรางกาย หากปอดเกิดสภาพแหง จะทําใหเสือ่ มหนาที่ แสดง
อาการโดยการไอแหง ๆ ไมมีเสมหะ หรือมีเพียงเล็กนอย รูสกึ เยื่อบุโพรงจมูกและคอแหง หรือเจ็บคอ
หากความแหงทําลายถึงเสนเลือดปอด จะมีเลือดปนมากับเสมหะ หรือไอเปนเลือด
ถาอินปอดพรองรวมกับความรอนภายใน (ภาวะรอนเพราะอินพรอง) จะมีอาการไขตอนบาย
และอาจมีหนาแดงเรื่อที่แกมและจมูกแดงเรื่อ (malar flush)
ลิ้นแดงมีฝาบาง และชีพจรเร็วเล็กเหมือนเสนดาย (thready rapid pulse) บงชีว้ า อินพรอง
และปอดแหง
2.3 หยางของมามและไตพรอง ไอรวมกับหายใจหอบ หากเคลื่อนไหวอาการจะมากขึน้
เสมหะใส ทาทางขี้หนาว ตัวเย็นมือเทาเย็น หรืออาจมีตัวบวมน้ํา ปสสาวะไมคลอง
ลิ้น ซีด ฝาบางขาวเหนียวเล็กนอย
ชีพจร จมเล็ก (Chen Xi mai………..)
2.4 ไฟตับแผดเผาปอด ไอถีต่ ิด ๆ กันเปนชวง ๆ เสมหะนอยและเหนียว ขากยากอาจมี
เลือดปนบางเล็กนอย ปวดชายโครงเมื่อไอ ตาแดง ปากขม อุจจาระผูก ปสสาวะเขม
ลิ้น บริเวณขอบและปลายสีแดง ฝาบางเหลือง
ชีพจร ตึง เร็ว (Xian Shu Mai………….)
2.5 ………(ไมมีรายละเอียด แตมีชื่อจุดที่ใชรกั ษา)
หลักการรักษา
1)การรุกรานจากปจจัยกอโรคภายนอก:
หลักการ : เลือกจุดหลักบนเสนลมปราณมือไทอินและหยางหมิง ในกรณีลมเย็นสามารถ
ใชไดทั้งการฝงเข็มและรมยา กรณีลมรอนใชการฝงเข็มเทานั้น กระตุนใหหนาที่ของปอดดีขึ้นและบําบัด
อาการตาง ๆ
จุดหลัก LieQue (LU7) HeGu (LU4) FeiShu (BL13)
จุดเสริม:
Page 192

182 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

- คอบวมเจ็บ เพิ่มจุด ShaoShang (LU11)


- ไขและกลัวหนาว เพิ่มจุด DaZhui (GV14) WaiGuan (TE5)
อธิบาย : เสนลมปราณมือไทอินและหยางหมิง เปนคูสัมพันธนอกใน LieQue (LU7) เปนจุดลั่ว
ของเสนปอด HeGu (LU4) เปนจุดเหยวียนของเสนมือหยางหมิงลําไสใหญใชรว มกับ FeiShu (BL13)
เพื่อเสริมบํารุงหนาที่ของปอด เพื่อบําบัดอาการและขจัดปจจัยกอโรคภายนอก การกระตุนจุดดังกลาว
จะทําใหชี่ของปอดไหลเวียนคลองและปอดทําหนาที่ไดปกติ
2) ผลกระทบจากปจจัยภายในรางกาย:
2.1) เสลดปดกั้นปอด:
หลักการ: เลือกจุดอวัยวะหลัง (Back-Shu point) และจุดบนเสนเทาหยางหมิงเปนจุดหลัก
การฝงเข็มใชการกระตุนทั้งบํารุงและระบายรวมกัน หรือพิจารณาใชการรมยารวมดวย เพื่อเสริมบํารุง
หนาที่ของมาม และสลายเสมหะ
จุดหลัก:
บํารุงใชจุด FeiShu (BL13) ZhongWan (CV12) ZuSanLi (ST36)
ระบายใชจุด ChiZe (LU5) FengLong (ST40)
อธิบาย : จุดอวัยวะหนาและหลัง (Front-Mu and Back-Shu points) เปนจุดที่ชี่ของอวัยวะตันและ
กลวงไหลเวียนมาบรรจบรวมอยู FeiShu (BL13) และ ZhongWan (CV12) เสริมบํารุงรวมกับ
ZuSanLi (ST36) ซึ่งเปนจุดเหอ-ทะเล (He-Sea point) ของเสนเทาหยางหมิง เพื่อเสริมหนาที่ของ
มามและกระตุนใหมามกระเพาะทํางานสอดคลองกัน เพื่อขจัดความชื้นและสลายเสลดคั่งคาง
การระบาย ChiZe (LU5) ซึ่งเปนจุดเหอ-ทะเล ของเสนลมปราณปอด เพื่อขจัดปจจัยกอโรค
ออกจากปอด และบรรเทาอาการไอ FengLong (ST40) เปนจุดลั่วของเสนเทาหยางหมิงกระเพาะ
อาหาร ระบายเพื่อใหชี่ของมามและกระเพาะไหลเวียนไดคลอง ทําใหสารน้ําในรางกายกระจายไหลเวียน
เปนปกติและชวยสลายเสลด
2.2) ปอดแหงรวมกับอินพรอง:
หลักการ เลือกจุดอวัยวะหนาและหลังของปอดเปนจุดหลัก กระตุนเข็มแบบ ไมบํารุงไม
ระบาย เพื่อหลอเลี้ยงอิน กําจัดความแหง และทําใหชี่ปอดเคลื่อนลงเบื้องลาง
จุดหลัก:
Page 193

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 183

FeiShu (BL13) ZhongFu (LU1) LieQue (LU7) ZhaoHai (KI6)

จุดเสริม: ไอเปนเลือด ถมเลือด: KongZui (LU6) GeShu (BL17)


อธิบาย: การใชจุดอวัยวะหลังและหนาของปอดรวมกัน คือ FeiShu(BL13) และ ZhongFu (LU1)
เพื่อปรับสภาพปอดและการไหลเวียนของชี่ปอด
LieQue(LU7) จุดลั่วของเสนลมปราณปอดและเสนเชื่อมโยงเสนลมปราณเญิ่น รวมกับ
ZhaoHai(KI6) ซึ่งเปนจุดบนเสนลมปราณไตและเปนจุดเชื่อมโยงเสนลมปราณพิเศษอินเฉียว การใช
สองจุดบน-ลาง รวมกันมีสรรพคุณรักษาโรคของปอด คอหอยและกระบังลม ชวยในการหลอเลี้ยงอิน
ขจัดความแหง ทําใหคอโลง และชี่ปอดไหลเวียนลงสูเบื้องลาง
KongZui (LU6) เปนจุดซี (Xi-Cleft point) ของเสนลมปราณปอด ใชรักษาอาการเฉียบ
พลันของปอด GeShu (BL17) เปนจุดอิทธิพลตอเลือด สองจุดใชรว มกันเพื่อระงับเลือดออกในปอด
2.3 หยางของมามและไตพรอง
จุดหลัก FeiShu (BL13) ZhongFu (LU2) LieQue (LU7) TaiYuan (LU9)
Fenglong (ST40) ZuSanLi (ST36)
2.4 ไฟตับแผดเผาปอด
จุดหลัก FeiShu (BL13) ZhongFu (LU2) LieQue (LU7) TaiYuan (LU9)
Fenglong (ST40) PiShu (BL20) ShenShu (BL23) GuanYuan (CV4)
ZuSanLi (ST36)
2.5 ……………..
จุดหลัก FeiShu (BL13) ZhongFu (LU2) LieQue (LU7) TaiYuan (LU9)
Fenglong (ST40) ZuSanLi (ST36) XingJian (LR2) YuJi (LU10)

หมายเหตุ
1) ถาอาการไอรวมกับอาการไขหรือหอบหืดเดน ใหพิจารณาการรักษาแบบ โรคหวัด และ โรค
หืดรวมดวย
2) อาการไอมักพบไดบอยใน โรคหวัด หลอดลมอักเสบทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง ปอดอักเสบ
หลอดลมโปงพอง (bronchiectasis) และวัณโรคปอด
3) อาจพิจารณาครอบถวย FengMen (BL12) และ FeiShu (BL13) รวมดวยได
Page 194

184 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

อาการไอเกิดจากการรุกรานจากปจจัยกอโรคภายนอก

อาการไอเกิดจากผลกระทบจากปจจัยภายในรางกายเสลดปดกั้นปอด
Page 195

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 185

อาการไอเกิดจากผลกระทบจากปจจัยภายในรางกายปอดแหงรวมกับอินพรอง
Page 196

186 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

โรคหอบหืด
(Asthma)
โรคหืดเปนโรคที่พบไดบอย อาการหอบเหนื่อยมีลักษณะเปน ๆ หาย ๆ เวลาหายใจมีเสียงวี้ด
ตามทฤษฏีการแพทยจีน โรคหืดเปนผลกระทบจากการรบกวนการทํางานของชีข่ องปจจัยตาง ๆ โดย
แบงเปน 2 ประเภท ไดแก ประเภทแกรง และ ประเภทพรอง

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
ปจจัยที่เปนสาเหตุของโรคหืดมีหลากหลาย ทั้งปจจัยกอโรคจากภายนอก จนถึงปจจัยเรื่อง
ความบกพรองของระบบภูมิคุมกันภายในรางกาย โรคหืดที่เกิดจากปจจัยกอโรคภายนอกจัดเปนประเภท
แกรง สวนโรคหืดที่เกิดจากความบกพรองของระบบภูมิคุมกันภายในรางกายจัดเปนประเภทพรอง
1) ประเภทแกรง แบงเปน 2 ชนิด ไดแก
1.1) ชนิดลมเย็น (wind-cold type) การรุกรานจากปจจัยประเภทลมเย็น กระทบตอการ
ไหลเวียนของชีป่ อด ผิวหนังและขน ทําใหรูผวิ หนังปด ชี่ปอดกระจายและไหลลงสูเบื้องลางไมได ทําให
เกิดอาการไอ
1.2) ชนิดเสลดรอน (phlegm-heat type) เปนโรคหืดที่เกิดจากมามเสียหนาที่ในการแปรสภาพ
และการลําเลียง เกิดความชื้นคั่งคางสะสมกลายเปนเสลด เสลดเมื่อคั่งคางอยูนาน จะแปรสภาพเปน
ความรอน หรือเปนไฟเกินในปอด ผลาญสารน้ําในปอดใหแหงกลายเปนเสมหะ เมื่อเสลดรอนตกคางใน
ปอดทําใหชี่ปอดติดขัดและหนาที่ของปอดบกพรอง จึงเกิดอาการของโรคหืด
2) ประเภทพรอง แบงเปน 2 ชนิด ไดแก
2.1) ชนิดปอดพรอง (lung deficiency) การไอตอเนื่องเปนเวลานาน ทําใหชี่ปอดถูกทําลายจน
ออนแอ รวมถึงความตึงเครียดมากเกินไปและการบาดเจ็บภายใน ก็สามารถทําใหชี่ปอดพรองไดเชนกัน
ในกรณีเหลานี้จะเกิดอาการหายใจสั้น และหอบเหนื่อย
2.2) ชนิดไตพรอง (kidney deficiency) การทํางานหนักและการหมกมุนในเพศสัมพันธมาก
เกินไป สงผลกระทบตอการทําหนาที่ของไต การปวยดวยโรคที่รุนแรงหรือเรื้อรังทําใหสภาพความ
Page 197

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 187

ตานทานของรางกายเสื่อมและทําลายชี่ที่จําเปน ซึ่งอาจสงผลตอชี่ปอดจนเกิดเปนโรคหืดได ในทางกลับ


กันการปวยดวยโรคหืดตอเนื่องเปนเวลานานจะสงผลกระทบตอไตไดเชนกัน

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
1) ประเภทแกรง
1.1) ชนิดลมเย็น:
ลักษณะทางคลินิก ไอมีเสมหะนอย หายใจเร็ว รวมกับอาการหนาวสั่น มีไข ปวดศีรษะ และ
ไมมีเหงื่อในระยะแรก ไมรูสกึ กระหายน้ํา
ลิ้น เคลือบดวยฝาสีขาว
ชีพจร ลอยและตึง (Fu Jin Mai 浮紧脉)
วิเคราะหอาการ: ปอดทําหนาที่หายใจ และสัมพันธดูแลผิวหนังและขนซึ่งเปนดานแรกที่ถูกลม
เย็นเขากระทํา เมื่อลมเย็นเขาถึงปอด ทําใหชี่ปอดติดขัด ไหลเวียนไมคลอง จึงเกิดอาการไอ เสมหะนอย
และหายใจเร็ว
ลมเย็นที่กระทําตอสวนผิวของรางกาย ทําใหรูผิวหนังปด เกิดอาการหนาวสั่น มีไข ปวดศีรษะ
และไมมีเหงื่อ การไมรูสึกกระหายน้ําเนื่องเพราะลมเย็นยังไมแปรสภาพเปนความรอน
ลิ้นมีฝาสีขาว ชีพจรลอยและตึง บงชี้วา ลมเย็นกอโรคยังจํากัดอยูในตําแหนงที่รุกรานคือปอด
และระบบผิวหนัง
1.2) ชนิดเสลดรอน
ลักษณะทางคลินิก หายใจตื้นและเร็ว เสียงพูดดังกระดาง ไอมีเสมหะขนเหลือง รูส ึกแนนอึด
อัดในอก มีไข กระสับกระสาย ปากแหง
ลิ้น เคลือบดวยฝาสีเหลืองหนา หรือเหนียว
ชีพจร ลื่น และเร็ว (Hua Su Mai 滑数脉)
วิเคราะหอาการ: เสลดรอนแปรสภาพมาจากความชื้น หรือเสลดไฟสะสมอยูในปอดเปน
เวลานาน เกิดการปดกั้นทางเดินหายใจ ทําใหชี่ปอดเสียหนาที่ เกิดอาการหายใจตื้นและเร็ว เสียงดัง
กระดาง และไอมีเสมหะขนเหลือง เสลดที่คั่งคางอยูในปอดทําใหรูสึกแนน อึดอัดในอก
อาการไข กระสับกระสายและปากแหง เปนผลมาจากภาวะรอนไฟ
Page 198

188 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ฝาลิ้นสีเหลือง หนาหรือเหนียว ชีพจรลื่นและเร็ว เปนอาการแสดงของเสลดรอน


2) ประเภทพรอง
2.1) ชนิด ปอดพรอง
ลักษณะทางคลินิก: หายใจตื้นและเร็ว เสียงพูดเบาออนไมมีแรง เสียงไอเบา ไมมีแรงไอ เหงือ่
ออกงายเมื่อออกแรง
ลิ้น ซีด
ชีพจร พรอง (Xu Mai 虚脉)
วิเคราะหอาการ: ปอดทําหนาที่ควบคุมชี่ เมื่อชี่ปอดพรอง การทําหนาที่ของปอดยอมเสื่อม
พรองไป ปรากฏอาการหายใจตื้นและเร็ว เสียงพูดออนแรง ไอไมมีแรง เสียงไอเบา ปอดดูแลและ
สัมพันธกับผิวหนัง เมื่อชี่ปอดพรองยอมทําใหระบบปกปองของผิวหนังดอยสภาพ ทําใหเมื่อออกแรง
เพียงเล็กนอยก็มีเหงื่อซึมออก
ลิ้นซีดและชีพจรออนพรอง เปนอาการแสดงของชี่ปอดพรอง
2.2) ชนิด ไตพรอง
ลักษณะทางคลินกิ : หลังจากมีอาการหืดหอบเรื้อรังเปนเวลานาน จะเกิดอาการเหนื่อยงายเมื่อ
ออกแรง เสียงวีด้ รุนแรง เนื้อเยื่อรอบคอบุมเขาออกตามการหายใจ หายใจตื้น ออนลา เพลีย เหงื่อแตก
แขนขาเย็น
ลิ้น ซีด
ชีพจร ลึกและเล็กเหมือนเสนดาย (Chen Xi Mai 沉细脉)
วิเคราะหอาการ: เมื่อมีอาการหืดหอบเรื้อรังเปนเวลานาน เกิดผลกระทบตอไตซึ่งเปนแหลง
ของชี่ ไตเมื่อเสียหนาที่จะไมสามารถรองรับและกักเก็บชีไ่ วใชได จึงเกิดอาการเหนื่อยงายเมื่อออกแรง
เพียงเล็กนอย เสียงวี้ดรุนแรง และหายใจตื้น ในกรณีเรื้อรังจนเกิดชี่ไตพรองจะมีอาการออนเพลียและ
ผายผอม หยางของไตพรองทําใหหยางของระบบปกปองรางกายสวนผิวหนังเสียหนาที่ เกิดอาการเหงื่อ
ออกงาย สวนอาการแขนขาเย็นเกิดจากชี่หยางพรองทําใหเสียหนาที่ในการสรางความอบอุนแกรางกาย
ลิ้นซีด ชีพจรลึกและเล็กเหมือนเสนดาย เปนอาการแสดงของหยางไตออนพรอง
Page 199

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 189

หลักการรักษา
1.1) ชนิดลมเย็น
หลักการ เลือกใชจุดหลักบนเสนลมปราณมือไทอินและเสนมือหยางหมิง กระตุนระบายบางจุด
รวมกับรมยาเพื่อขจัดลมเย็นและบรรเทาอาการหอบหืด
จุดหลัก
FeiShu (BL13) FengMen (BL12) DaZhui (GV14) LeiQue (LU7) HeGu (LI4)

อธิบาย:
FeiShu (BL13) เปนจุดอวัยวะหลัง (back-shu point) ของปอด FengMen (BL12) เปน
จุดที่อยูใกลปอด ใชรวมกันเพือ่ บํารุงรักษาปอดและขจัดลมเย็นกอโรคจากปอด
DaZhui (GV14) LieQue (LU7) และ HeGu (LI4) ใชรว มกันเพื่อขจัดลมเย็น รักษา
ปอด และบรรเทาอาการหอบหืด
1.2) ชนิด เสลดรอน
หลักการ: เลือกใชจุดหลักบนเสนลมปราณมือไทอินและเสนเทาหยางหมิง กระตุนระบาย เพื่อ
ขจัดเสลด ลดความรอน และ บรรเทาอาการหอบหืด
จุดหลัก
FeiShu (BL13) DingChuan (EX-B1) TianTu(CV22) ChiZe(LU5)
FengLong (ST40)

อธิบาย :
ChiZe (LU5) เปนจุดเหอ-ทะเล (He-Sea point) ของเสนมือไทอินปอด ใชขจัดเสลดรอน
และบรรเทาอาการหอบหืด
FengLong (ST40) จุดบนเสนเทาหยางหมิงกระเพาะอาหาร ใชเสริมบํารุงหนาที่ของมามและ
ขจัดเสลด
FeiShu (BL13)รักษาปอดและปรับการไหลเวียนของชี่
TianTu (CV22) ใชเพื่อทําใหชี่ปอดเคลื่อนลงเบื้องลางและขจัดเสลด
DingChuan (EX-B1) ใชเพือ ่ ทําใหการหายใจสงบราบรื่น
Page 200

190 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

2.1) ชนิด ปอดพรอง


หลักการ: เลือกใชจุดบนเสนมือไทอินปอดและเสนเทาหยางหมิงกระเพาะอาหาร กระตุนบํารุง
หรือรมยา เพื่อเสริมชี่ปอด
จุดหลัก: FeiShu (BL13) TaiYuan (LU9) ZuSanLi (ST36) TaiBai (SP3)
อธิบาย:
TaiYuan (LU9) เปนจุดปฐมภูมิ(จุดหยวน) (Yuan-Primary point) ของเสนมือไทอินปอด
ใชเสริมบํารุงชี่ปอด
FeiShu (BL13) จุดอวัยวะหลังของปอด กระตุนบํารุงหรือรมยา เพื่อเสริมชี่ปอด
ZuSanLi (ST36) จุดเหอ-ทะเล (He-Sea point) ของเสนเทาหยางหมิงกระเพาะอาหาร
TaiBai (SP3) จุดปฐมภูมิ(จุดหยวน) (Yuan-Primary) และจุดซู-ลําธาร (Shu-Stream) ของเสนเทา
ไทอินมาม จุดคูนี้เลือกใชตามหลักทฤษฎีปญจธาตุ เพื่อเสริมบํารุงปอด

หมายเหตุ
อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกจุดรักษาตามทฤษฎีปญจธาตุ ปอดเปนธาตุทอง (โลหะ) มาม
และกระเพาะอาหารเปนธาตุดิน ซึ่งเปนธาตุแมของธาตุทอง ตามหลักการรักษา ‘ลูกพรองบํารุงแม’ ใน
กรณีนี้ ‘ธาตุทองพรอง’ จึงตอง ‘บํารุงธาตุดิน’ จึงเลือกกระตุนบํารุงหรือรมยา จุดธาตุดิน 3 จุด
ไดแก TaiYuan (LU9), ZuSanLi (ST36) และ TaiBai (SP3) โดย TaiYuan (LU9) เปนจุด
ปฐมภูมิ (Yuan-Primary) และ เปนจุดซู-ลําธาร (Shu-Stream) ซึ่งเปนจุดธาตุดินของเสนมือไทอิน
ปอด การเลือกกระตุนบํารุงจุดนี้จึงมีประโยชนมากในการบํารุงปอด ZuSanLi (ST36) เปนจุดเหอ-
ทะเล (He-Sea) เปนจุดธาตุดินของเสนเทากระเพาะอาหารซึ่งเปนเสนลมปราณหยางธาตุดิน TaiBai
(SP3) เปนจุดปฐมภูมิ (Yuan-Primary) และจุดซู-ลําธาร (Shu-Stream) เปนจุดธาตุดินของเสนเทา
ไทอินมามซึ่งเปนเสนลมปราณอินธาตุดิน จากประสบการณของผูเขียน อาการหอบหืดชนิดปอดพรอง
มักพบในกลุมโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD: chronic obstructive pulmonary disease) ชนิดถุงลม
โปงพอง (emphysema type) และการกระตุนบํารุงหรือรมยาจุดทั้งสาม (รวมกับจุดอื่นตามหลักการ
วิเคราะหโรค) สามารถชวยฟนฟูสภาพและบรรเทาอาการจากโรคไดดีมากระดับหนึ่ง
Page 201

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 191

2.2) ชนิด ไตพรอง


หลักการ: ใชจดุ หลักบนเสนเทาเสาอินไตและเสนลมปราณเญิ่น กระตุนบํารุง หรือรมยา เพื่อ
เสริมบํารุงหนาที่ของไตในการรองรับและกักเก็บชี่
จุดหลัก
TaiXi (KI3) ShenShu (BL23) FeiShu (BL13) TanZhong (CV17) QiHai (CV6)

จุดเสริม
อาการหอบหืดเรื้อรัง : ShenZhu (GV12) GaoHuang (BL43)
อาการมามพรอง : ZhongWan (GV12) PiShu (BL20)
อธิบาย :
TaiXi (KI3) เปนจุดปฐมภูมิของเสนเทาเสาอินไต ใชรวมกับ ShenShu (BL23) จุดอวัยวะ
หลังของไต เพื่อเสริมบํารุงชี่ไต
TanZhong (CV17) จุดอิทธพลตอชี่(ชี่หุย) รวมกับ FeiShu (BL13) จุดอวัยวะหลังของ
ปอด ใชเพื่อเสริมบํารุงชี่ และทําใหการหายใจสงบราบรื่น
QiHai (CV6) เปนจุดสําคัญในการบํารุงชี่ สามารถปรับสมดุลชี่ในชองทองสวนลาง บํารุงไต
เสริมชี่ปฐมภูมิ กระตุนหยาง และควบคุมสารจําเปน ในกรณีนี้จุดนี้ใชเพื่อบํารุงไตในการรองรับชี่ และ
ชวยการหายใจใหราบรื่น
ShenZhu (GV12) และ GaoHuang (BL43) ใชการรมยา เพื่อชวยแกไขอาการหอบหืด
เรื้อรัง
ZhongWan (CV12) และ PiShu (BL20) ใชการรมยาเพื่อเสริมหนาที่ของมามและบํารุงชี่

หมายเหตุ
ภาวะหอบหืดในการแพทยจีนนอกจากโรคหืด (bronchial asthma) แลว อาจพิจารณารวมไป
ถึงกลุมโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) และอาการหอบหืดที่เกี่ยวเนื่องกับโรคอื่น ๆ ดวย อยางไรก็ตาม
หากมีอาการรุนแรง ควรพิจารณาใชการรักษารวมกันทั้งแผนจีนและแผนตะวันตกตามความเหมาะสม
Page 202

192 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

โรคหอบหืดเกิดจากชนิดลมเย็น

โรคหอบหืดเกิดจากชนิด เสลดรอน
Page 203

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 193

โรคหอบหืดเกิดจากชนิด ปอดพรอง

โรคหอบหืดเกิดจากชนิด ไตพรอง
Page 204

194 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน
(Acute Bronchitis)
หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน หมายถึง การอักเสบของระบบการหายใจสวนที่เปนทอนําอากาศ
หรือหลอดลม โดยอาจเปนหลอดลมใหญ (trachea) และ/หรือ หลอดลมขนาดเล็ก (bronchi) สาเหตุ
ของหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน เปนไดทั้งการติดเชื้อตาง ๆ เชน แบคทีเรีย ไวรัส ฯ หรือ เกิดจากการ
ระคายเคืองทางกายภาพหรือสารเคมีตาง ๆ
สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
ในระยะแรกของสาเหตุจากการติดเชื้อมักมีอาการของการติดเชือ้ ทางเดินหายใจสวนบนนํามา
กอน เชน มีไข กลัวหนาว ปวดรางกาย ตอมาจึงมีอาการไอเปนอาการหลัก โดยเริ่มจากไอไมมีเสมหะ
ตอมาจึงมีเสมหะใสปริมาณเล็กนอย จากนั้นจึงเพิ่มปริมาณและความหนืดเหนียวมากขน บางรายเสมหะ
กลายเปนสีเหลืองเขียวคลายหนอง
การวินิจฉัยแยกกลุมอาการของโรค
1) ชนิดลมรอน
ลักษณะทางคลินิก: ไอ มีเสมหะสีเหลือง ขนและหนืด มีไข ปวดศีรษะ
ลิ้น เคลือบดวยฝาบาง สีเหลือง
ชีพจร ลอยและเร็ว (Fu Su Mai 浮数脉)
2) ชนิดลมเย็น
ลักษณะทางคลินิก: ไอ เสมหะสีขาว ใส รูสกึ คันคอ มีไข ปวดศีรษะ ไมมีเหงื่อ กลัวหนาว
ลิ้น เคลือบดวยฝาบางสีขาว
ชีพจร ลอยและตึง (Fu Jin Mai 浮紧脉)
หลักการรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก FeiShu (BL13) LieQue (LU7) HeGu (LI4)
Page 205

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 195

จุดเสริม
- ชนิดลมรอน: ShaoShang (LU11)
- ชนิดลมเย็น: FengChi (GV20)
วิธีการฝงเข็ม: ฝงเข็มกระตุนระบายทุกจุด; กรณีลมรอนใชการปลอยเลือดที่จดุ ShaoShang
(LU11); กรณีลมเย็นใชการครอบถวยที่ FeiShu (BL13) หลังจากถอนเข็มแลว

2. การฝงเข็มหู
จุดที่ใช: จุดปอด จุดหลอดลม ShenMen (ear), Occiput, Sympathetic, Infratragic
apex
วิธีการ เลือกใชครั้งละ 2 – 3 จุด กระตุนแรงปานกลางถึงมาก คาเข็มไว 30 นาที ใหการ
รักษาวันละครั้ง หรือติดเม็ดกดจุดหู หรือหมุด คางไวกระตุนเปนระยะ

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน
Page 206

196 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

5. โรคระบบการยอยอาหาร
โรคนิ่วน้ําดี และถุงน้ําดีอักเสบ
(Cholelithiasis and Biliary tract Infecion)
“ถุงน้ําดีอกั เสบ” หมายรวมถึง ทั้งการอักเสบแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังของถุงน้ําดี
(cholecystitis) ทอน้ําดี (cholangitis)
“โรคนิ่วน้ําดี” หมายรวมถึง นิ่วในถุงน้ําดี (cholelithiasis) นิ่วในทอน้ําดีรวม
(choledocholithiasis) และ นิ่วในทอตับ (calculus of intrahepatic duct)

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
ทั้งนิ่วน้ําดี และ การอักเสบของทอหรือถุงน้ําดี มักพบรวมกัน และเปนปจจัยเกิดซึ่งกันและกัน
ถุงน้ําดีอักเสบเรื้อรังมักจะเกิดตามหลังนิ่วในถุงน้ําดี และการอักเสบเฉียบพลัน โดยมีอาการปวดใน
ชองทองดานขวาบน อาการของผูปวยจะมาดวยอาการปวดใตชายโครง ดีซาน สาเหตุอาจมากจาก
ปจจัยกอโรคภายนอก อารมณ และการรับประทานอาหารที่ไมถูกสุขอนามัย ทําใหเกิดการสะสมของ
ความรอนชื้นที่ตับและถุงน้ําดี นานเขาจะเกิดเปนตะกอน เปนนิ่วน้ําดีขึ้นมา การแพทยแผนจีนถือวา
เปนภาวะแกรง

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการของโรค
1.กลุมอาการชี่ติดขัด
เกิดจาก ชี่ของตับและถุงน้ําดีติดขัด จะมีอาการปวดเหมือนถูกกด ทองอืด ในบริเวณชอง
ทองดานบนขวา ปวดบีบเปนระยะ ๆ อาการปวดเคลื่อนยายไมนิ่ง อารมณซึมเศรา เรอบอย ถอน
หายใจ แนนหนาอก หงุดหงิด โกรธงาย เบื่ออาหาร รูสึกขมในปาก กลัดกลุม อารมณแปรปรวน
ลิ้น มีฝาขาว และบาง
ชีพจร ตึง (Xian Mai 弦.脉)
Page 207

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 197

2.รอนชื้นในตับ และถุงน้ําดี
มีอาการปวดสียดแทงบริเวณชายโครงรุนแรง มีไข ไมชอบรับประทานอาหารมัน คลื่นไส
อาเจียน อาจมีอาการ คอแหง ตาเหลือง ตัวเหลือง ปสสาวะสีเขม
ทองผูก
ลิ้น แดง ฝาเหลืองมัน (หรือแหง)
ชีพจร ตึงเร็ว (Xian Su Mai 弦数脉)
3.ความรอนสะสมจนเปนพิษ
มีอาการไขสงู จนสั่น หนาแดง ตัวเหลือง กระวนกระวาย ปสสาวะเขมออกนอย ทองผูก
อาจเพอ หรือหมดสติ มือเทาเย็น
ลิ้น แดงคล้ําหรือมวง ฝาเหลืองแหง หรือเปนขุย
ชีพจร จม ลื่น เร็ว (Chen Hua Su Mai 沉滑数脉)
4.อินตับ –อินไตพรอง
มีอาการปอดชายโครง ปวดแบบตื้อ ๆ ตอเนื่องไมรุนแรง เปน ๆ หาย ๆ เมื่อทํางานหนักจะ
มีอาการรุนแรงมากขึ้น ปากคอแหง เวียนศีรษะ ตาลาย ออนเพลียไมมีแรง
ลิ้น แดง ฝานอย
ชีพจร เล็ก (Xi Mai 沉脉)
หลักการรักษา
1.การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก ZhongWan (CV12) TaiChong (LR3) DanNang (EX-LE6)
DanShu (BL19)
QiMen (LR14) YangLingQuan (GB34) RiYue (GB24) ปกดานขวา
จุดเสริม :
- กลุมอาการชี่ตบั และถุงน้ําดีติดขัดเพิ่มจุด NeiGuan (PC6) โทว ZhiGou (TE6)
- กลุมอาการรอนชื้น เพิ่มจุด XiaXi (GB43) XingJian (LR2) YinLingQuan (SP9)

- กลุมอาการรอนสะสมจนเปนพิษ เพิ่มจุด QuChi (LI11) NeiTing (ST44)


Page 208

198 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

- อินตับ - อินไตพรอง เพิ่มจุด TaiXi (KI3) SanYinJiao (SP6) XiaXi (GB43)


- ถาไขสูง เพิ่มจุด DaZhui (GV14) ErJian (TE 2)
- ถาปวดบิดถุงน้ําดี เพิ่มจุด YangLingQuan (GB34) HeGu (LI 4)
- ถาคลื่นไสอาเจียน เพิ่มจุด NeiGuan (PC6) ZuSanLi (ST36)
- ถามีอาการดีซาน เพิ่มจุด ZhiYang (GV9) ZuSanLi (ST36) SanYinJiao (SP6)
YinLingQuan (SP9)
- อาการทองผูก เพิ่มจุด ZhiGou (TE6) TianShu (ST25)
- หมดสติหรือโคมา ใชจุด ShuiGou (GV26) BaiHui (GV20) NeiGuan (PC6)
HeGu (LI4) ZuSanLi (ST36)
วิธีการฝงเข็ม
- RiYue (GB24) และ QiMen (LR14) ใหฝงเข็มเฉียงดานขางไปตามแนวซี่โครง ระวัง
หาม
ฝงเข็มในแนวดิง่
- ZhongWan (CV12) ใหฝงเข็มเฉียงลงลางไปใตชายโครงดานขวา บริเวณตับและถุงน้ําดี
- DaZhui (GV14) และ ErJian (LI2) ใชปลอยเลือด
ในกลุมอาการชีต่ ิดขัด และกลุม รอนชื้นในตับและถุงน้ําดี ใชวธิ ีฝงเข็มแบบระบาย หามรมยา
กรณีอินตับ อินไตพรองใชวิธีปกเสริม ถาระบายน้ําดีหรือขับนิ่วใชวีธีปกเข็มแบบไมเสริมไม
ระบาย (ผิงปูผิงเสี่ย) รักษา 2-3 ครั้ง/สัปดาห ถามีอาการกําเริบ รักษาวันละ 2 ครั้ง ๆ ละ 30 – 60 นาที
ถาใชเครื่องกระตุนใชเปน continuous wave ความถี่สูงนาน 40 – 60 นาที
2. การฝงเข็มหู
จุดหลัก : Liver (CO12) Gallbladder (CO11) Spleen (CO 13) Stomach (CO 4)
Triple energy (CO17) Duodenlnum (CO5) Sympathetic N (CH 60)
Ear shenmen (TF4) Erjian (LI2) Ermigen (R2)

ใชเลือก 3 – 5 จุดในการฝง แตละครั้ง ในกรณีโรคเฉียบพลัน ใหกระตุนแรงหรือใชปลอย


เลือด ถาโรคเรื้อรังใชกระตุนปานกลาง
หมายเหตุ การรักษาโรคนิ่วดวยวิธกี ารฝงเข็มจะไดผลดี ขนาดนิ่วตองไมเกิน 1 ซม.
Page 209

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 199

โรคนิ่วน้ําดี และถุงน้ําดีอักเสบ
Page 210

200 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

โรคทองผูก
(Constipation)
“ทองผูก” หมายถึง การถายลําบาก ถายแข็ง และมีชวงเวลานานเกิน 48 ชั่วโมงรวมกับ
อาการไมสบายทอง สวนใหญเปนปญหาจากหยางแกรง จากการรับประทานอาหารรสชาติเผ็ดรอน
อาหารมัน ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือปญหาทางอารมณ

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
กลุมอินพรอง มักพบในผูสูงอายุ มีอาการสูญเสียอิน การทํางานของระบบอวัยวะปอด มาม
กระเพาะอาหาร ไต รวมถึงของเหลวในรางกายไมเพียงพอ เปนเหตุใหลําไสใหญไมสามารถทําหนาที่
ในการลําเลียงอาหารไดตามปกติ
สตรีหลังคลอด ถาสูญเสียชี่และเลือดมากจนไมสามารถฟนเปนปกติ ก็สามารถทําใหเกิด
อาการทองผูกไดเชนกัน

การวินิจฉัยกลุมอาการของโรค
1.กลุมอาการแกรง
ทองอืด ตึง ไมชอบการกด อุจจาระแข็งเหมือนมูลแพะ มีไขหนาแดง กระหายน้ํา ปากแหง ลม
หายใจมีกลิ่น ปสสาวะนอย สีเขม
ลิ้น แดง ฝาหนา แหง เหลือง
ชีพจร ใหญ เร็ว (Hong Su Mai 洪数脉)
2.กลุมอาการพรอง
อยากถายแตถายไมออก เพลียไมมีแรง มึนงงศีรษะ ใจสั่น ผิวพรรณไมผองใส ไมถายหลาย
วันก็ไมรูสกึ อึดอัดมาก
ลิ้น สีซีด ฝาขาว
ชีพจร เล็ก ออนแรง (Xi Ruo Mai 细弱脉)
Page 211

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 201

3. กลุมความเย็น
ทองผูก ปวดแบบเย็น ๆ ในทอง ไมชอบความเย็น ชอบความอุน แขนขาเย็น ปสสาวะมาก
และใส
ลิ้น ซีด ฝาขาว
ชีพจร จม ชา หรือตึงแนน (Chen Jin Mai 沉紧脉)
4. กลุมที่เกิดจากชี่
ทองผูกอยากถายแตถายไมออก ปวดทอง ปวดชายโครง หลังผายลมหรือถายออกแลวรูส ึก
สบาย ชอบถอยหายใจ เรอบอย
ลิ้น ฝาเหนียวบาง
ชีพจร ตึง ตึงเร็ว (Xian Mai 弦脉)

หลักการรักษา
1.การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก : TianShu (ST25) ShangJuXu (ST37) ZhiGou (TE6)
ZhaoHai (KI6) ZhongWan (CV12) DaChangShu (BL25)
จุดเสริม :
- กลุมแกรง รอนในกระเพาะลําไส เพิ่มจุด QuChi (LI1) NeiTing (ST44)
- ชี่ติดขัดในตับและมาม เพิ่มจุด HeGu (LI4) TaiChong (LR3)
- กลุมพรอง ชีม่ ามและปอดพรอง เพิ่มจุด PiShu (BL20) WeiShu (BL21)
ShenShu (BL23) QiHai (CV6) ZuSanLi (ST36)
- กลุมพรองจากขาดเลือดและอิน เพิ่มจุด PiShu (BL20) GanShu (BL18)
SanYinJiao (SP6) TaiXi (KI3) ZhaoHai (KI6)
- กลุมความเย็น เพิ่มจุด DaZhong (KI4) QuanYuan (CV4)
- กลุมชี่ เพิ่มจุด ZhongWan (CV12) TaiChong (LR3)
สําหรับผูปวยในกลุมแกรง ใหกระตุนเข็มแบบระบาย ถาเปนกลุมพรอง กระตุนแบบบํารุง
สําหรับผูปวยในกลุมความเย็นเกาะกุม และกลุมพรอง อาจใชวิธีรมยาที่จุด ShenQue
(CV8) GuanYuan (CV4)
Page 212

202 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

2.การฝงเข็มหู
จุดหลัก : Large Intestine (CO7) Liver (CO12) Rectum (HX 2)
Kidney (CO10) Lung (CO14) Triple Energizer (CO17) Spleen(CO13)
Abdomen (AH8) Synpatheticlnerve (AH60) Subcortex (AT4)
การเลือกจุด ใชเพียง 3–5 จุดในแตละครั้งและกระตุนแรง โดยใชฝง เข็มทิ้งไวประมาณ 1 –2
ชั่วโมง โดยกระตุน 2–3 ครั้ง

โรคทองผูก
Page 213

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 203

อุจจาระรวง
(Diarrhea)
Diarrhea หมายถึง ความถี่ในการขับถายมากขึ้น รวมถึงลักษณะของอุจจาะเหลวมากกวาปกติ
ทางศาสตรการแพทยแผนจีนเรียก“xie xie”

การวินิจฉัยกลุมอาการโรค
1.มามและกระเพาะอาหารพรอง
มีอาการถายเหลวและมีกาก อาหารที่ไมยอยโดยเฉพาะอาหารมัน เบื่ออาหาร แนนบริเวณลิ้นป
หนาตาซีดเซียว ออนเพลียไมมีแรง ถาเปนนานชี่มามตกลงลาง จะทําใหอวัยวะที่กนหยอน
ลิ้น ซีดฝาขาว
ชีพจร เล็ก ออนแรง (Xi Ruo Mai .细弱脉)
2.ไตหยางพรอง (อุจจาระรวงตอนตี 5)
เริ่มอุจจาระรวงตั้งแตเชามืด ลักษณะที่ถายออกมาเปนกากอาหารที่ไมยอย มีอาการปวดทอง
แบบเย็น ๆ กดแลวสบายขึ้น หนาขาวซีด แขนขาเย็น ขาและหลังออนแรง
ลิ้น อวนซีด ฝาขาว
ชีพจร จม ลึก เล็ก (Chen Xi Mai. 沉.细脉)
3.เย็นชื้นปดกั้นมาม
อุจจาระรวงหลังจากไดรับความเย็นชื้น ลักษณะอุจจาระใสบางหรือเหลวเปนน้ํา มีเสียงทอง
รวง หลังถายจะรูสึกทองสบายขึน้ รับประทานอาหารอุนจะสบายขึ้น
ลิ้น ฝาขาวลื่น
ชีพจร ลอยออน คอนขางชา (หยู หวนมาย) พิน – อิน และภาษาจีน
4.ไสรอนชื้น
เมื่อมีอาการปวดทองจะถายทันที(กลั้นไมอยู) อุจจาระมีสีเหลืองและมักมีกลิ่นเหม็น มีอาการ
ระคายเคืองและแสบรอนรอบ ๆ ทวาร ปวดทองมาก ไมชอบถูกกดทอง หลังบายอาการปวดจะลดลง
Page 214

204 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ลิ้น แดง ฝาเหลืองเหนียว


ชีพจร ลอย ออนเล็ก เร็ว (หยู สู มาย)พิน – อิน และภาษาจีน
5.อาหารตกคางในกระเพาะลําไส
เกิดจากรับประทานอาหารมากเกินไป จนทองแนน ทองอืด ไมชอบถูกกดทอง หลังขับถาย
อาการปวดจะลดลง ลักษณะอุจจาระเหม็นเหมือนไขเนา เบื่ออาหาร เรอเหม็นเปรี้ยว
ลิ้น ฝาหนาเหนียวสกปรก
ชีพจร ลื่น (หวามาย)
หลักการรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก ZhongWan (CV12) TianShu (ST25) ZuSanLi (ST36)
จุดเสริม :
- มามและกระเพาะอาหารพรอง เพิ่มจุด PiShu (BL20) WeiShu (BL21)
- ไตหยางพรอง เพิ่มจุด ShenShu (Bl23) GuanYuan (CV4) QiHai (CV6)
MingMen (GV4)
วิธีการ กระตุน เข็มแบบบํารุง อาจใชรมยารวมดวย
2. การฝงเข็มหู
ใชจุด Large Intestine, Small Intestine, Stomach, Spleen, Triple Energizer,
Sympathetic Nerve และ Shenmen
ใชเม็ดหวังปูหลิวสิงติดตามจุดสลับกันซายขวา เปลี่ยนขางทุก 3 วัน
Page 215

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 205

อุจจาระรวง
Page 216

206 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

แผลกระเพาะอาหาร และลําไสเล็กสวนตน
(Gastric and duodenal ulcer)
แผลกระเพาะอาหารและลําไสเล็กสวนตน มีอาการนําคือ ปวดทองเปน ๆ หาย ๆ มักมีอาการ
เรอเปรี้ยว รอนบริเวณทรวงอก จุกแนนอืด คลื่นไส อาเจียนรวมดวย พบมากในวัยหนุมสาวและวัย
ทํางาน โดยเฉพาะในเพศชาย
การแพทยแผนตะวันตกจะรวบถึง acute และ chronic gastritic, gastric and duodenal
ulcer
ศาสตรการแพทยแผนจีนจะจัดอยูในกลุม “Wei Tong” ปวดลิ้นป กรดไหลยอน แนนแสบ
หนาอก อาเจียนเปนเลือดและอุจจาระเปนเลือด

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
สวนใหญเกิดจากการรับประทานอาหารไมถูกหลักโภชนาการ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ มี
ความพรองในการทํางานของตับ ซึ่งเกี่ยวของกับการยอยและการลําเลียงอาหาร การทํางานของมามและ
กระเพาะอาหารขาดความสมดุล

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
1. ชี่ตับขมกระเพาะอาหาร (การทํางานของตับและกระเพาะอาหารไมสัมพันธกัน)
มีอาการปวดแนนบริเวณลิ้นปราวไปชายโครงทั้งสองขาง เรอเปรี้ยว แสบรอนทรวงอก
คลื่นไสและอาเจียน อาการจะเปนมากขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ
ลิ้น ฝาเหลืองบาง
ชีพจร ตึง (Xian Mai 弦脉)
2. กระเพาะอาหารรอนจากอาหารตกคาง
มีอาการปวดแสบรอนที่กระเพาะอาหาร แหงและขมในปาก มีกลิ่นปาก ปสสาวะสีเหลือง
อุจจาระแหงแข็งและถายไมหมด
ลิ้น แดงฝาเหลือง ชีพจร เร็ว (Su Mai 数脉)
Page 217

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 207

3. เลือดคั่งชี่ตดิ ขัด
มีอาการปวดบริเวณลิ้นปเหมือนถูกเข็มทิ่ม อาการเปนมากขึ้นหลังรับประทานอาหาร อาจมี
อาการอาเจียนเปนเลือด ถายเปนเลือด
ลิ้น สีคล้ํามวงอาจมีจ้ําเลือด
ชีพจร ฝด (Se Mai. 涩脉)
4. มามและกระเพาะอาหารเย็นพรอง
ปวดแนน ๆ ตื้อ ๆ บริเวณลิ้นป ชอบการกดและความอุน ทองวางจะปวดมากขึ้น ไดรับประทาน
อาหารจะสบายขึ้น เมื่อทํางานหนัก หรือรับประทานอาหารที่เย็น หรือน้ําแข็ง อาการจะรุนแรงมากขึ้น
ลิ้น ซีดฝาขาว
ชีพจร เล็กและไมมีแรง (Xi Rou Mai .细弱脉)
5. ความเย็นเขารุกรานกระเพาะอาหาร
มีอาการปวดทองมากเมื่อไดรับความเย็นรุกรานจากภายนอก ไมชอบอาหารเย็น ชอบอาหารอุน
ลิ้น ขาวบาง
ชีพจร ตึง หรือ ตึงแนน (Xian Mai 弦滑数 , Jin Mai 紧脉)
6. อินกระเพาะอาหารพรอง
ปวดแสบรอนบริเวณลิ้นป หิวแตไมอยากรับประทาน ปากคอแหง ทองผูก
ลิ้น แดงแหงไมมีฝา
ชีพจร เล็ก เร็ว หรือตึง (Xi Mai 涩脉, Su Mai 数脉, Xian Mai.弦脉 )
หลักการรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก : ZhongWan (CV12) NeiGuan (PC6) ZuSanLi (ST36)
PiShu (BL20) WeiShu (BL21) GongSun (SP4)
จุดเสริม :
- การทํางานของตับและกระเพาะอาหารไมสอดคลองกัน เพิ่มจุด TaiChong (LR3)
QiMen (LR14)
- ความรอนคั่งในกระเพาะอาหารและลําไส เพิ่มจุด NeiTing (ST44) QianGu (SI2)
Page 218

208 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

- ชี่ติดขัดและเลือดคั่ง เพิ่มจุด GeShu (BL17) Hegu (LU4)


- มามและกระเพาะอาหารเย็นพรอง เพิ่มจุด ZhangMen (LR13) QiHai (CV6)
- มีอาการปวดทองมาก เพิ่มจุด LiangQiu (ST34)
- มีอาการทองผูกหรือถายเหลว เพิ่มจุดTianShu (ST25) XiaJuXu (ST39)
- มีอาการอาเจียนเปนเลือดหรือถายเปนเลือด เพิ่มจุด XueHai (SP10) GeShu (BL17)
- อินกระเพาะพรอง เพิ่มจุด GongSun (SP4) WeiShu (BL21)
- ความรอนรุกรานกระเพาะ เพิ่มจุด ShenQue (CV8) LiangQiu (ST34)
- รับประทานอาหารมาก อาหารตกคาง เพิ่มจุด LiangMen (ST21) JianLi (CV11)
- ชี่ตับรุกรานกระเพาะอาหาร เพิ่มจุด TaiChong (LR3) QiMen (EX-CA5)
- ความรอนชื้นสะสมในจงเจียว เพิ่มจุด FengLong (ST40) NeiTing (ST44)
LiDui (ST45)

2. การฝงเข็มหู
ใชจุด Stomach, Duodenum, Spleen, Liver, Sympathetic Nerve และ Shenmen
เลือกใช 2-3 จุดกระตุนความแรงระดับกลาง คาเข็มไว 20 นาที หรือใชเม็ดผักกาดติดตาม
จุดกอนนอนกระตุน 2-3 นาที
Page 219

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 209

แผลกระเพาะอาหารและลําไสเล็กสวนตน
Page 220

210 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

Gastritis
Gastritis เปนการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งแบงเปน 2 ชนิด คือชนิดเฉียบพลัน
(acute gastritis) และชนิดเรื้อรัง (chronic gastritis)
สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
acute gastritis เปนการอักเสบเฉียบของทางเดินกระเพาะอาหาร สาเหตุเกิดจากการใช ยา
บางกลุม(เชน NSAIDS ) แอลกอฮอล การรับประทานหรือดื่มสารที่กัดกรอนเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร
ความเครียดและการติดเชื้อ สวน chronic gastritis เปนการเรื้อรังของทางเดินกระเพาะอาหาร สาเหตุ
เกิดจาก การไดรับยากลุม NSAIDS เปนเวลานาน การติดเชื้อ Helicobacter pylori จากการเสื่อม
ของเยื่อบุกระเพาะอาหารตามวัย น้ําดีไหลยอนเรื้อรัง เปนตน
ศาสตรการแพทยแผนจีนเรียกอาการนี้วา Wei Wan Tong (胃脘痛) และ Pi Zhong
(痞肿) จากการไดรับผล กระทบจากภายนอก(exogenous pathogens) การรับประทานอาหารไมถูก
หลักโภชนาการ ความซึมเศราทําใหชี่ตับติดขัด ตับและมามพรอง ชี่ตับและมามติดขัด
- Acute Gastritis
การวินิจฉัยกลุมอาการโรค
1.ความเย็นชื้นกระทบซานเจียวกลาง
มีอาการปวดทองอยางเฉียบพลัน ปวดรุนแรง คลื่นไสอาเจียน ถายเหลวเปนน้ํา มีไขกลัวหนาว
ความเย็นจะทําใหอาการแยลง สวนความอุนจะทําใหอาการดีขึ้น
ลิ้น ซีด ฝาขาว
ชีพจร ตึงและแนน (Xian Jin Mai 弦紧脉)
2.ความรอนชื้นสะสมในจงเจียว
มีอาการปวดแบบแสบรอน ทองอืดและปวดที่บริเวณลิ้นป อาการเปนมากขึ้นหลังรับประทาน
อาหาร อาเจียนหลังอาหาร มีกลิ่นปาก อุจจาระรวงฉับพลัน ถายกระปริกระปรอย และแสบรอนที่ทวาร
หนัก
ลิ้น แดง ฝาเหลืองเหนียว
ชีพจร ลื่น เร็ว (Hua Su Mai 滑数脉)
Page 221

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 211

3.อาหารตกคาง
มีอาการทองอืด จุกแนนลิ้นป ปวดทอง กรดไหลยอน อาการปวดทองจะลดลงหลังอาเจียน
ขับถายไมคลองและมีกลิ่มเหม็น
ลิ้น มีฝาหนา
ชีพจร ตึง ลื่น (Xian Hua Mai 弦滑数)

หลักการรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก : ZhongWan (CV12) Neiguan (PC6) TianShu (ST 25)
ZuSanLi (ST36)
จุดเสริม :
- ความเย็นชื้นกระทบซานเจียวกลาง เพิ่มจุด HeGu (LU14) YinLingQuan (SP9)
- ความรอนชื้นคั่งในซานเจียวกลาง เพิ่มจุด QuChi (LI11) HeGu(LU4)
- อาหารตกคาง เพิ่มจุด NeiTing (ST44) XuanJi (CV21)
การปกเข็มจุด ZhongWan (CV12) ลึก 1-1.5 ชุน หลังเตอชี่คาเข็มไว 3-5 นาทีแลวดึง
เข็มขึ้นใหคาอยูใตผิวหนังแลวปกชี้ไปทางทาง ShangWan (CV13) ลึกลึก 1-1.5 ชุนในแนวราบ แลว
ดึงเข็มขึ้นมาใหคาอยูใตผิวหนังเล็กนอย แลวปกชี้ไปทางจุด JianLi (CV11) คาเข็มไว 2-3 นาที แลว
ดึงเข็มขึ้นดวยวิธีเดียวกันปกชี้ไปทางซายและขวาที่จุด YinDu (KI19) และจุด LiangMen (ST21)
ลึก 1.5-2 ชุน ทําใหการปก ZhongWan (CV12) สามารถกระตุนอีกหกจุดโดยรอบ สําหรับความ
เย็นชื้นนั้นสามารถคาเข็มใหนานขึ้นหรือรมยาเสริม

2. การฝงเข็มหู
ใชจุด กระเพาะอาหาร ตับ Sympathetic nerve, Shenmen, Subcortex และลําไสใหญ
เลือกใช 2-3 จุด กรณีมีอาการปวดมากใหกระตุนดวยความแรง ปกทุกวันหรือวันเวนวัน สิบครั้งเปน
หนึ่งรอบการรักษา หรือใชเม็ดผักกาดติดตามจุดดังกลาวก็ได
Page 222

212 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

- Chronic Gastritis

การวินิจฉัยกลุมอาการโรค
1.มีความเย็นพรองในมามและกระเพาะอาหาร
ปวดตื้อ ๆ แนน ๆ บริเวณลิ้นป การกดและความอุนชวยบรรเทาอาการปวด ปสสาวะและ
อุจจาระบอย มีของเหลวในไหลยอน มีอาการหนาวสั่น อาการจะแยลงเมื่อกระทบความเย็น เบื่ออาหาร
ทองอืด
ลิ้น ฝาขาวบาง
ชีพจร ลึกและชา (Chen Chi Mai 沉迟脉)
2.ชี่ตับกระทบกระเพาะอาหาร
ทองอืดบริเวณลิน้ ป มีกรดไหลยอน อาการจะเปนมากขึ้นเมื่อตื่นเตน
ลิ้น ฝาขาวเหนียว
ชีพจร ตึง (Xian Mai 弦脉)
3.ชี่ติดขัดและเลือดคั่ง
มีอาการปวดทองเหมือนถูกเข็มทิ่มบริเวณลิ้นป ปวดนาน ๆ จะมีอาการราวไปหลัง การกดจะ
ทําใหอาการปวดมากขึ้น
ลิ้น มีหอเลือด
ชีพจร ฝด (Se Mai .涩脉)

การรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก : ZhongWan (CV12) NeiGuan (PC6) ZuSanLi (ST36)
จุดเสริม :
- มีความเย็นพรองในมามและกระเพาะอาหาร เพิ่มจุด PiShu (BL20) WeiShu (BL21)
GongSun(SP4)
- ชี่ตับกระทบกระเพาะอาหาร เพิ่มจุด TaiChong (LI3) QiMen (LI14)
YinLingQuan (SP9)
Page 223

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 213

- ชี่ติดขัดและเลือดคั่ง เพิ่มจุด GanShu (BL18) GeShu (BL17) SanYinJiao (SP6)


สาเหตุจากชี่ตับกระทบกระเพาะอาหาร ชี่ติดขัดและเลือดคั่ง ใหกระตุนเข็มแบบระบาย สวน
สาเหตุจากความเย็นพรองในมามและกระเพาะอาหารกระตุนเข็มแบบบํารุง หรือใชการรมยา
2. การฝงเข็มหู
ใชจุด กระเพาะอาหาร ตับ Sympathetic nerve และ Subcortex
เลือกใช 2-3 จุด คาเข็มไว 15-20 นาทีหรือใชเม็ดผักกาดติดตามจุดก็ได

 
Acute Gastritis 
Page 224

214 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

 
 
Chronic Gastritis 
Page 225

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 215

6. โรคระบบทางเดินปสสาวะ
ปสสาวะรดที่นอน
(Enuresis)
ปสสาวะรดที่นอน เปนภาวะที่มีปสสาวะราดขณะนอนหลับ ในผูที่มีอายุ 3 ปขึ้นไป ในรายที่
เปนนอย หลายวันจะมีปสสาวะราดกลางคืนครั้งหนึ่ง ในรายที่เปนมากจะเกิดอาการหลายครั้งตอคืน
ทั้งนี้ไมรวมเด็กที่ดื่มน้ํามากหรือเพลียมากจากการเลนกอนนอน ศาสตรการแพทยจีนเรียก “อี๋เนี่ยว”
(YiNiao 遗尿)

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
1.ชี่ไตพรอง เกิดจากทุนแตกําเนิดไมสมบูรณ ทําใหไมสามารถดูดรั้งหรือกักเก็บปสสาวะไวได
2.ชี่ปอดและมามพรอง: เกิดจากความเจ็บปวยในระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร เชน
เปนหวัดซ้ําซาก ทานอาหารไมถูกสุขลักษณะ จนมีผลตอปอดและมาม
3.ความรอนชื้นในเซี่ยเจียว: เกิดจากการไดรับรอนชื้นจากภายนอก หรือเปนผลสืบเนื่องจาก
มามพรอง เกิดความรอนชื้นเคลื่อนลงเซี่ยเจียว

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
1.ชี่ไตพรอง : หนาขาวซีด เซื่องซึม ปฏิกิริยาเชื่องชา กลางวันปสสาวะบอย หากอาการเปนมากจะมี
อาการตัวเย็น มือเทาเย็น เมื่อยเอว ขาไมมีแรง
ลิ้น ซีด
ชีพจร จม เล็ก ไมมีแรง (Chen Xi Mai 沉细脉)
2.ชี่ปอดและมามพรอง : ในวันที่เด็กเลนจนเหน็ดเหนื่อย ตอนนอนจะเกิดอาการปสสาวะรดที่นอน สี
หนาไมสดใส ไมคอยมีเรี่ยวแรง มักเปนเด็กพูดนอย อุจจาระเหลว
ลิ้น ซีด
ชีพจร เล็ก ไมมีแรง (Xi Mai 细弱脉)
Page 226

216 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

3.ความรอนชื้นในเซี่ยเจียว: ปสสาวะบอยแตปริมาณนอย ปสสาวะสีเหลืองและมีกลิ่นเหม็นคาว อาจมี


อาการคันบริเวณอวัยวะเพศ ฝนมาก นอนกัดฟน อารมณฉุนเฉียวโกรธงาย หนาและริมฝปากแดง ปากแหง
ลิ้น แดง ฝาเหลืองเหนียว
ชีพจร มักจะตึง เร็ว (Xian Shu Mai 弦数脉)

หลักการรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก : ZhongJi (CV3) GuanYuan (CV4) PangGuangShu (BL28)
SanYinJiao (SP6)
จุดเสริม :
- ชี่ไตพรอง: QiHai (CV6) ShenShu (BL23)
- ชี่ปอดและมามพรอง: FeiShu (BL13) PiShu (BL20) ZuSanLi (ST36)
- รอนชื้นในเซี่ยเจียว: QuGu (CV2) YinLingQuan (SP9)

2. การฝงเข็มหู
จุดที่ใช : Kidney, Urinary bladder, Liver, Subcortex, Endocrine, Urethra,
วิธีการ : ปกเข็มครั้งละ 3-5 จุด วันละครั้ง คาเข็ม 20 นาที และ/หรือใชเม็ดหวังปูหลิวสิงติดหู
3. การฝงเข็มศีรษะ
จุดที่ใช: เสนขางหนาผากที่ 3 (ErPangSanXian), เสนกลางกระหมอม (DingZhongXian)
วิธีการ : ปกเข็มเบา กระตุนเข็มทุก 5-10 นาที
Page 227

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 217

ปสสาวะรดที่นอน (Enuresis)
Page 228

218 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ปสสาวะคาง
(Retention of Urine)

ปสสาวะคาง เปนภาวะที่ถายปสสาวะลําบาก ทําใหมีปสสาวะคางในกระเพาะปสสาวะจํานวน


มาก อาการทางคลินิกคือ ปสสาวะไมออก และมีอาการทองตึงบริเวณทองนอย ศาสตรการแพทยจีนจัด
อยูในกลุม“หลงป : LongBi :癃闭 ”
ปสสาวะคางเกิดจากความผิดปกติของการแปรสภาพโดยชี่ (Qi Hua) ของกระเพาะปสสาวะ
และซานเจียวโดยเฉพาะเซี่ยเจียว สาเหตุสําคัญ ไดแก ความรอนชื้นไหลสูเ บื้องลาง ชี่ตับติดขัดเปน
เวลานาน การอุดกั้นของทางเดินปสสาวะ และชี่ไตพรอง

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
1.รอนชืน้ เคลื่อนลงสูเบื้องลาง ความรอนชื้นเกิดจาก สภาพอากาศรอนชื้น หรือ การ
รับประทานอาหารรสจัดเปนประจํา ไดแก หวาน มัน เผ็ด หรือ การดื่มสุรา
2.ชี่ตับติดขัดเปนเวลานาน เกิดจากอารมณ คือ โทสะที่เก็บกดไว สงผลตอการไหลเวียน
ของชี่ตับ
3.ทางเดินปสสาวะอุดกัน้ เกิดจากเลือดคั่ง ตะกอน หรือ นิ่ว อุดกั้นทางเดินปสสาวะ หรือ
เกิดจากการไดรับการบาดเจ็บ
4.ชี่ไตพรอง เกิดจากสูงอายุ ทํางานตรากตรํา มีเพศสัมพันธมากเกิน พักผอนไมเพียงพอ

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
1. รอนชื้นเคลื่อนลงสูเ บื้องลาง ปสสาวะลําบาก ปริมาณนอย หรือเปนหยด ในรายที่รุนแรงจะ
ปสสาวะไมออก บวมแนนบริเวณทองนอย ขมในปาก น้ําลายเหนียว กระหายน้ําแตไมอยากดื่ม อุจจาระ
ไมคลอง
ลิ้น แดง ฝาเหลืองเหนียว
ชีพจร จม เร็ว (Chen Shu Mai 沉数脉 )
2. ชี่ตับติดขัดเปนเวลานาน ปสสาวะไมคลอง ปวดตึงทองนอยอยากปสสาวะ เจ็บชายโครงขมในปาก
Page 229

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 219

ลิ้น ฝาขาวบาง
ชีพจร ตึง (Xian Mai 弦脉)
3.ทางเดินปสสาวะอุดกั้น ปสสาวะเปนหยด หรือติดขัด ปวดแนนบริเวณทองนอย
ลิ้น มวงคล้ํา หรือ มีจุดจ้ําเลือด
ชีพจร ฝด (Se Mai 涩脉)
4.ชี่ไตพรอง ปสสาวะไมคลอง ไมมีแรงเบง เมื่อยเอว เขาออน เซื่องซึม
ลิ้น ซีด
ชีพจร จม เล็ก ออน (Chen Xi Ruo Mai 沉细弱脉)

หลักการรักษา
1.การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก : GuanYuan (CV4) SanYinJiao (SP6) YinLingQuan (SP9)
PangGuangShu (BL28)
จุดเสริม
- รอนชื้น : ZhongJi (CV3) XingJian (LR2)
- ตับติดขัด : TaiChong (LR3) ZhiGou (TE6)
- เลือดคั่ง : XueHai (SP10) GeShu (BL17)
- ชี่ไตพรอง : ShenShu (BL23) TaiXi (KI3)
ขอควรระวัง การปกจุด ZhongJi (CV3) ไมควรปกลึกเกินไป อาจเกิดอันตรายตอกระเพาะปสสาวะ
2.การฝงเข็มหู
จุดที่ใช : Urinary bladder, Kidney, Triple Energizer, Urethra
วิธีการ เลือกครั้งละ 1 - 3 จุด กระตุนความแรงปานกลาง คาเข็ม 40-60 นาที และ/หรือ ใช
เม็ดหวังปูหลิวสิง ติดหู
Page 230

220 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ปสสาวะคาง (Retention of Urine)


Page 231

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 221

นิ่วในทางเดินปสสาวะ
(Urinary Tract Stones)
นิ่วในทางเดินปสสาวะ หมายถึง การกอรูปรางและการคัง่ คางของกอนผลึกในระบบทางเดิน
ปสสาวะ เชน นิ่วในไต นิ่วในทอไต ตลอดจนนิ่วในตําแหนงของระบบทางเดินปสสาวะ อาการหลักคือ
ปวดเสียดบิดบริเวณเอวและทองนอย ปสสาวะแสบขัด และ/หรือ ปสสาวะเปนเลือด เขาไดกับกลุม
ปสสาวะกะปริบกะปรอยจาก นิ่วเม็ดทราย และปสสาวะหยดเปนเลือด ในศาสตรการแพทยจนี เรียกวา
สื่อหลิน (ShiLin) ตําแหนงของโรคอยูทไี่ ตและกระเพาะปสสาวะ แตจะเกีย่ วพันกับตับและมาม สาเหตุ
มักเกิดจากความรอนชื้นสะสมในกระเพาะปสสาวะ ชี่ไตออนแอ หรือชี่ติดขัดและการอุดตันของเซี่ยเจียว
ในระยะแรก ๆ มักเปนกลุมอาการแกรง แตเมื่อเจ็บปวยนานจะแปรเปลี่ยนเปนกลุมอาการพรอง หรือ
กลุมอาการทั้งแกรงและพรองปนกัน

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
1. ความรอนชืน้ สะสมจนจับตัวเปนกอน ความรอนชื้นเกิดจาก สภาพอากาศรอนชื้น หรือ
การรับประทานอาหารรสจัดเปนประจํา ไดแก หวาน มัน เผ็ด หรือ การดื่มสุรา ความรอนชื้นเคลื่อนลง
สูเซี่ยเจียวทําใหการแปรสภาพ โดยชี่ (Qi Hua)ของกระเพาะปสสาวะมีประสิทธิภาพลดลง จึงเกิดการ
สะสมและจับตัวเปนกอน
2. ชี่ติดขัดและเลือดคั่ง เกิดจากอารมณ คือ โทสะที่เก็บกดไว สงผลตอการไหลเวียนของชี่
ตับ และแปรสภาพเปนความรอน นอกจากนั้นชี่ติดขัดก็ทําใหเกิดเลือดคั่งได
3 . หยางมามและไตพรอง เนื่องจากสูงอายุหรือรางกายออนแอทําใหหยางมามและไตพรอง
ไมสามารถแปรสภาพโดยชี่ (Qi Hua) ของไตไดอยางมีประสิทธิภาพ จึงเกิดการสะสมและจับตัวของ
ตะกอน
4. อินตับและไตพรอง เกิดไฟพรองคอยๆทําลายเสนเลือดฝอยเล็ก ๆ ทําใหเลือดออกแลว
เกิดนิ่ว
Page 232

222 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
1.ความรอนชื้นสะสมจนจับตัวเปนกอน
มีอาการปวดเสียดบิดบริเวณเอวและทองนอย ปสสาวะหยดและแสบขัด หรือปสสาวะไม
ออกเฉียบพลัน หรือปสสาวะเปนเลือด หรือเปนไข ขมปาก
ลิ้น แดง ฝาหนาเหนียว
ชีพจร ลื่น เร็ว (Hua Shu Mai 滑数脉)
2.ชี่ติดขัดและเลือดคั่ง
ปวดรําคาญบริเวณเอวและทอง ปสสาวะไมออกทันทีทันใด ปวดมาก ปสสาวะเปนเลือด
หรือสีแดงคล้ํา ใบหนาหมองคล้ํา
ลิ้น สีมวงแดงคล้ํา
ชีพจร ตึง ฝด (Xian Se Mai 弦涩脉)
3.หยางมามและไตพรอง
ปวดรําคาญบริเวณเอวและทอง ปสสาวะบอยหรือปสสาวะติดขัด ออนเพลียไมคอยมีแรง
ตัวเย็น มือเทาเย็น เมื่อยเอวเขาออน สีหนาซีดเซียว
ลิ้น ซีด ฝาขาว
ชีพจร คอนขางชา ออน (Huan Ruo Mai 缓弱脉)
4.อินตับและไตพรอง
ปสสาวะเปนหยดและแสบรอน วิงเวียนและมีเสียงดังในหู รอนเปนเวลาและเหงือ่ ออก
กลางคืน รอนทั้งหา(หนาอก ผามือ ผาเทา) นอนไมหลับ ฝนบอย
ลิ้น แดง ฝานอย
ชีพจร เล็ก เร็ว ไมมีแรง (Xi Shu Mai 细数脉)

หลักการรักษา
1.การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก : ZhongJi (CV3) SanYinJiao (SP6) TaiXi (KI3)
ShenShu (BL23) PangGuangShu (BL28) JingMen (GB25)
Page 233

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 223

จุดเสริม
- กลุมความรอนชื้นในเซี่ยเจียว เพิ่มจุด ShuiDao (ST28) WeiYang (BL39)
YinLingQuan (SP9
- กลุมชี่ติดขัดและเลือดคั่ง เพิ่มจุด HeGu (LI4) TaiChong (LR3) GeShu (BL17)
- กลุมหยางมามและไตพรอง เพิ่มจุด GuanYuan(CV4) PiShu(BL20)
MingMen (GV4) ZuSanLi (ST36)
- กลุมอินตับและไตพรอง เพิ่มจุด FuLiu (KI7) GanShu (BL18) QuQuan
(LR8) YinGu (KI10)
- อาการปวดเสียดบิด เพิ่มจุด YangLingQuan (GB34) AShi point
- ปสสาวะเปนเลือด เพิ่มจุด XueHai (SP10)
- ถามีไข เพิ่มจุด HeGu(LI4) QuChi (LI11)
2. การฝงเข็มหู
จุดที่ใช Kidney, Ureter, Urinary bladder, Urethra, Lung, Spleen, Triple
Energizer, Sympathetic, ShenMen, Subcortex
วิธีการ เลือก 3-5 จุดตอครัง้ กระตุนแรงและหมุนเข็มบอยๆ คาเข็ม 30-60 นาที วันละ 1-2 ครัง้
หรือใชเม็ดหวังปูหลิวสิงติดก็ได
Page 234

224 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

นิ่วในทางเดินปสสาวะ (Urinary Tract Stones)


Page 235

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 225

ตอมลูกหมากอักเสบ
(Prostatitis)
ตอมลูกหมากอักเสบเฉียบพลันมีอาการของระบบทางเดินปสสาวะ ปสสาวะสุดแลวมีเลือดออก
และปวดบริเวณฝเย็บ ตอมลูกหมากอักเสบเรื้อรังมีอาการปสสาวะออกชา ปสสาวะสุดแลวยังหยด หรือ
มีสารคัดหลั่งขุนขาวจากตอมลูกหมาก หรือฝนเปยก หลั่งเร็วและเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ศาสตรการ
แพทยจีนจัดอยูใ นกลุมโรคปสสาวะขัด (Lin Zheng 淋证) อสุจิเคลื่อน (Yi Jing :遗精) หนองใน
(Lin Bing 淋病)
การวินิจฉัยโรคนี้ตองอาศัยการตรวจวินิจฉัย และการตรวจทางหองปฏิบัติการแบบการแพทย
แผนปจจุบัน สวนศาสตรการแพทยจีนสามารถใหการรักษาโดยการวิเคราะหแยกตามกลุมอาการของโรค
ซึ่งการรักษาโดยการฝงเข็มมีรายงานวาไดผลดี แตตองใชเวลาในการรักษานาน

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
1.ความรอนชื้นเคลื่อนลงสวนลาง มีอาการปวดแสบรอนทางเดินปสสาวะ ปสสาวะเขมปริมาณนอย
มีสารคัดหลั่งสีขาวปริมาณมากจากทอปสสาวะ ขมปาก ปากแหง กระหายน้ําและอยากดื่มน้ํา อุจจาระ
แหง
ลิ้น แดง ฝาเหลืองเหนียว
ชีพจร ลื่นและเร็ว (Hua Shu Mai 滑数脉)
2. พิษความรอนสะสม ไขสูง กลัวหนาว ปสสาวะเปนเลือด ปวดเวลาถายอุจจาระ
ลิ้น แดงเขม ฝาเหลืองแหง
ชีพจร ตึง เร็วและมีแรง (Xian Shu Mai 弦数脉)
3. ความเย็นเกาะกุมเสนลมปราณตับ ปวดรําคาญบริเวณทองนอยและอัณฑะ ถูกความ
เย็นจะปวดมากขึ้น อาการลดลงเมื่อไดรับความอุน
ลิ้น ฝาขาวลื่น
ชีพจร จม ตึง หรือชา (Chen Xian or Chi Mai 沉弦迟脉)
4. อินตับและไตพรอง เมื่อยบริเวณเอวและกระเบนเหน็บ ขาออนแรง รอนทั้งหา นอนไม
Page 236

226 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

หลับ ฝนบอย ฝนเปยก วิงเวียน ปวดรําคาญบริเวณฝเย็บ บางครั้งมีอาการแสบรอนในทอปสสาวะ


ลิ้น แดง ฝานอย
ชีพจร จม เล็กและเร็ว (Chen Xi Shu Mai 沉细数脉)
5. หยางมามและไตพรอง ปสสาวะเปนหยด ไมสุด ปสสาวะบอยกลางคืน สีหนาซีด แขน
ขาเย็นและออนแรง บวมทั้งตัว อุจจาระเหลว อสุจิเคลื่อนงาย เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ลิ้น ซีด ฝาขาว
ชีพจร เล็กและออน (Xi Ruo Mai 细弱脉)
6.ชี่ติดขัดและเลือดคั่ง มีการดําเนินของโรคมาอยางเรื้อรัง ปสสาวะปนเลือด อสุจิปนเลือด
ปวดแนนทองนอย ปสสาวะเปนลําเล็ก หรือเปนหยด
ลิ้น แดงคล้ํา หรือมีจุดเลือดคั่ง
ชีพจร ตึง หรือ ฝด (Xian Se Mai 弦涩脉)

หลักการรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก ZhongJi (CV3) CiLiao (BL32) SanYinJiao (SP6)
YinLingQuan (SP9)
จุดเสริม :
- กลุมความรอนชื้นเคลื่อนลงสวนลาง เพิ่มจุด QuGu (CV2) ZhiBian (BL54)
PangGuangShu (BL28) SanJiaoShu (BL22)
- กลุมพิษความรอนสะสม เพิ่มจุด QuChi (LI11) HeGu (LI4)
- กลุมความเย็นเกาะกุมเสนลมปราณตับ เพิ่มจุด DaDun (LR1) TaiChong (LR3)
- กลุมอินตับและไตพรอง เพิ่มจุด GuanYuan (CV4) FuLiu (KI7) TaiXi (KI3)
ShenShu (BL23) GanShu (BL18)
- กลุมหยางมามและไตพรอง เพิ่มจุด MingMen (GV4) PiShu (BL20)
ShenShu(BL23) ZuSanLi (ST36)
- ชี่ติดขัดและเลือดคั่ง เพิ่มจุด TaiChong (LR3) GeShu (BL17)
- ปสสาวะเปนเลือด : XueHai (SP10) GeShu (BL17) ZhiBian (BL54)
Page 237

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 227

- อสุจิราดและฝนเปยก : JingGong (EX-CA1) GuanYuan (CV4) DaHe (KI12)

วิธีการ
ใหปสสาวะกอนฝงเข็ม ZhongJi (CV3), GuanYuan (CV4), QuGu (CV2) ใหปกตรงลึก
1.5 - 2 ชุน จนมีความรูสึกเข็มวิ่งไปบริเวณฝเย็บ CiLiao (BL32), ZhiBian (BL54) ปกลึก 1.5 - 3
ชุน ทิศทางไปหากระเพาะปสสาวะ ใหไดความรูส ึกวิง่ ไปทองนอยและบริเวณฝเย็บ จุดอื่น ๆ ปกเข็มตาม
หลักการทั่วไป การกระตุนเข็มสวนใหญเปนการระบาย สําหรับกลุมหยางมามและไตพรอง ปกแบบบํารุง
และรมยา สําหรับกลุมอินตับและไตพรอง ปกเข็มกระตุนแบบไมเสริมไมระบาย
2.การฝงเข็มหู
จุดที่ใช : Angle of Cymba Conchae, Kidney, Urinary bladder, Liver, Triple
Energizer, ShenMen, Pelvis, Sympathetic, Endocrine, Adrenal gland
วิธีการ เลือก 3 - 5 จุดตอครั้ง สําหรับตอมลูกหมากอักเสบเฉียบพลัน ใหกระตุนแรง (และ
เจาะปลอยเลือดบริเวณสวนยอดใบหู) คาเข็ม 45-60 นาที และกระตุนเปนชวง ๆ สําหรับตอมลูกหมาก
อักเสบเรื้อรัง กระตุนความแรงปานกลาง คาเข็ม 20 นาที ปกเข็มวันละครั้ง
Page 238

228 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ตอมลูกหมากอักเสบ (Prostatitis)
Page 239

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 229

ภาวะอสุจิเคลื่อน
(Seminal Emission)
ภาวะอสุจิเคลือ่ น หมายถึง มีการหลั่งของน้ําอสุจิโดยไมมีเพศสัมพันธเกิดขึ้น
ภาวะอสุจิเคลือ่ น มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของสมองที่เปนศูนยควบคุมอารมณทางเพศ
รวมทั้งความผิดปกติของไขสันหลังที่เนื่องมาจากการมีเพศสัมพันธมากเกินไป หรือมีความตองการทาง
เพศมากเกินไป พบทั้งในขณะที่หลับอยู( oneirogmus) หรือขณะที่รูสึกตัวตืน่ อยูก็ได(spermatorrhea)
ในชายวัยทํางานถือวาเปนภาวะที่ปกติหากมีอาการอสุจิเคลื่อนไมบอยครั้งตอเดือน แตหากมีอาการเชนนี้
หลายครั้งตอสัปดาหหรือมีอาการทุกวันถือวาเปนความผิดปกติ ภาวะอสุจิเคลื่อนมักพบอาการรวมตางๆ
เชน ปวดรอบเอว ปวดหัวเขา รูสึกเขาและเอวไมมีแรง มึนงงเวียนศีรษะ เสียงดังในหู ไมกระตือรือรน
ความทรงจําลดลง

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
ศาสตรการแพทยจีน ภาวะอสุจิเคลื่อนในขณะหลับ(oneirogmus หรือYiJing 遗 精 ใน
การแพทยจีน) มีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุของสมอง หรือการชวยตัวเองมากเกินไป ทําใหเกิดภาวะเสีย
สมดุลของหัวใจและไต สวนภาวะอสุจิเคลื่อนในขณะตื่นอยู( spermatorrhea หรือ Hua Jing 滑精 ใน
การแพทยจีน) มีสาเหตุมาจากการมีเพศสัมพันธมากเกินไป หรือภาวะออนแอหลังจากการเจ็บปวยเรื้อรัง
เปนระยะเวลา นานจะทําใหสารจิงในไตลดลง

การวินิจฉัยแบงกลุมอาการโรค
ภาวะอสุจิเคลื่อนโดยปกติสามารถแบงออกไดเปน 3 ชนิดดังนี้
1. ภาวะของอินพรองและไฟกําเริบ( Yin deficiency with hyperactivity of Fire )
2. ภาวะของไตพรองและหนาที่ของไตลดลง( Kidney deficiency with impaired
storage function )
3. ภาวะความรอนชื้นสะสม( Retained damp-heat )
จุดบนเสนลมปราณ เญิ่น ตู กระเพาะปสสาวะ หัวใจ ไต และตับใชในการรักษาภาวะนี้
Page 240

230 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

1. ภาวะของอินพรองและไฟกําเริบ
หลักการรักษา บํารุงอิน ลดไฟ ทําใหหัวใจสงบลง และกักเก็บสารจิงในไต
2. ภาวะของไตพรองและหนาที่ของไตลดลง
หลักการรักษา – เติมหยางในไตที่ลดลง บํารุงสารจิง กักเก็บสารจิงในไต
3. ภาวะความรอนชื้นสะสม หลักการรักษา – กําจัดความรอนชื้น
การรักษาดวยการฝงเข็ม
- ภาวะของอินพรองและไฟกําเริบ
อาการและการแสดงออก : มีอาการอสุจิเคลื่อนในชวงกลางคืนขณะนอนหลับ
กระวนกระวาย นอนหลับไมสนิท วิงเวียนมึนงง ตาพรามัว มีเสียงดังในหู ปวดเมื่อยเอว เขาออน รอน
ตามฝามือฝาเทาและทรวงอก ปสสาวะออกนอย
ลิ้น แดง
ชีพจร เล็กและเร็ว (Xi su mai 细数脉)
จุดหลัก : ShenMen (HT7) / XinShu (BL15) -
TaiXi (KI3) + ZhiShi (BL52) +
TaiChong (LR3) - SanYinJiao (SP6) -

BaiHui (GV20) -
อธิบาย :
- ShenMen (HT7) และ XinShu (BL15) ระบายไฟจากหัวใจ
- TaiXi (KI3) และ ZhiShi (BL52) ทําใหไตแข็งแรงเพื่อกักเก็บสารจิง
- TaiChong (LR3) ระบายไฟจากชองทองสวนลาง
- BaiHui (GV20) สงบจิตใจ
- SanYinJiao (SP6) บํารุงอินเพื่อลดไฟ
จุดเสริม : ตามอาการที่ตรวจพบ
- มีรสขมในปากและปวดเมื่อปสสาวะ เพิ่มจุด ZhongJi (CV3) XiaXi (GB43)
- ไวตอการแข็งตัวของอวัยวะเพศ เพิ่มจุด YangLingQuan (GB34) -
Page 241

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 231

- ภาวะของไตพรองและหนาที่ของไตลดลง
อาการและการแสดงออก : มีอาการอสุจิเคลื่อนบอยมากในชวงกลางคืนหรือแมแตกลางวัน
และโดยเฉพาะเมื่อเกิดความตองการทางเพศยิ่งมีอาการบอยขึ้น มึนงงวิงเวียน ดูขาวซีดกวาปกติ ไม
กระตือรือรน เงื่องหงอย ปวดเมื่อยเอว เขาออน
ลิ้น ซีด
ชีพจร จม เล็กและไมมีแรง(Chen Xi Rou Mai 沉细弱脉)
จุดหลัก : ShenShu (BL23) ( + ^ ) DaHe (KI12) (+^)
SanYinJiao (SP6) ( + ^ ) GuanYuan (CV4) ( + ^ )
MingMen (GV4) ( + ^ ) BaiHui (GV20) (+^)

อธิบาย :
- ShenShu (BL23) และ DaHe (KI12) บํารุงหยางไต
- BaiHui (GV20) ดึงชี่ที่ตกลงไปใหขึ้นมาเพื่อควบคุมสารจิงในไต
- SanYinJiao (SP6) บํารุงอินและอุนหยาง
- GuanYuan (CV4) และ MingMen (GV4) บํารุงหยางไตและกักเก็บสารจิง
จุดเสริม: ตามอาการที่ตรวจพบ
- ระยะเวลาเปนมานาน เพิ่มจุด - GaoHuang (BL42) + ^ - ZhiShi (BL52) + ^
- TaiXi (KI3) + ^
- ปสสาวะบอย เพิ่มจุด PangGuanShu (BL28) + ^

- ภาวะความรอนชื้นสะสม
อาการและการแสดงออก : มีอาการอสุจิเคลือ่ น กระวนกระวาย นอนหลับไมสนิท มีรสขมใน
ปาก ปสสาวะรอนและออกนอย
ลิ้น แดง มีฝาเหลืองเหนียว
ชีพจร นุมและเร็ว (.............)
จุดหลัก : TaiChong (LR3) - ZhongJi (CV3) -
SanYinJiao (SP6) - YangLingQuan (GB34) -
NeiGuan (PC6) -
Page 242

232 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

อธิบาย :
- TaiChong (LR3) และ YangLingQuan (GB34) ระบายความรอนชื้นจากชองทอง
สวนลาง
- ZhongJi (CV3) ระบายความรอนจากกระเพาะปสสาวะ
- SanYinJiao (SP6) ขับความชื้น ระบายความรอนจากเสนลมปราณยินทั้งสามเสน และชวย
กักเก็บสารจิง
- NeiGuan (PC6) สงบจิตใจเพื่อชวยกักเก็บสารจิง
จุดเสริม :
- ปสสาวะขุนและแสบขัด เพิ่มจุด CiLiao (BL32) - PangGuanShu (BL28) -
 

ภาวะอสุจิเคลือ่ นเกิดจากภาวะของอินพรองและไฟกําเริบ
Page 243

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 233

ภาวะอสุจิเคลือ่ นเกิดจากภาวะของไตพรองและหนาที่ของไตลดลง
Page 244

234 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ภาวะอสุจิเคลือ่ นเกิดจากภาวะความรอนชื้นสะสม

 
Page 245

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 235

ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
(Impotence)
ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หมายถึง การที่ไมสามารถมีเพศสัมพันธจนจบกระบวนการได
ตามปกติ ไมวาจะเปนการที่อวัยวะเพศชายตื่นตัวไมมากพอที่จะประกอบกิจจนสําเร็จ หรือ แมกระทั่งไม
สามารถตื่นตัวไดเลย เปนปญหาที่สําคัญมากอีกปญหาหนึ่งของเพศชาย โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นในวัย
ทํางานที่ยังสามารถประกอบกิจทางเพศไดแตไมสามารถทําไดตามปกติ

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โดยทั่วไปเกิดจากการหมกมุนทางเพศหรือชวยตัวเองมากเกิน
ไป ซึ่งจะมีผลทําใหไฟที่มิ่งเหมิน(MingMen Fire) ลดลง และสารจิงที่ไตหมดไปได หรืออาจเกิดจาก
ความหวาดกลัว ตื่นตกใจหรือวิตกกังวลจนเกินไปจนมีผลทําใหเกิดการทําลายชี่ของหัวใจ มามและไต
ในตํารา Treatment of Internal Disorders กลาวไววา “การไมสามารถตื่นตัวของอวัยวะเพศชายนั้น
เนื่องมาจากการไดรับบาดเจ็บของอวัยวะภายในที่เกิดจากการหมกมุนทางเพศ และทําใหสารจิงในไต
ลดลงและหมดไป หรือจากความวิตกกังวลที่กระทบจิตใจ หรือความหวาดกลัวตื่นตกใจจนเปนเหตุให
หนาที่ของไตเสียไป”
อาหารที่มันและเครื่องดื่มไวนจะกระทบหนาที่ของมามและกระเพาะอาหารในการขนสงและแปร
สภาพ ทําใหความชื้นเปลี่ยนเปนความรอน ความรอนชื้นที่เกิดขึ้นเคลื่อนตัวลงลางเปนเหตุใหอวัยวะเพศ
ชายไมแข็งตัว จึงเกิดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศขึ้น อยางไรก็ตาม สาเหตุจากความรอนชืน้ ยังไมใช
สาเหตุที่พบบอย Zhang JinYue กลาวไววา “เจ็ดถึงแปดคนในสิบคนของผูที่มีภาวะเสื่อมสมรรถภาพ
ทางเพศเกิดจากไฟที่ลดลง มีเพียงสวนนอยเทานั้นที่เกิดจากไฟที่มากจนเกินไป”

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
1. การลดลงของไฟที่มิ่งเหมิน
2. การเคลื่อนที่ลงลางของความรอนชื้น
3. ภาวะหัวใจและมามพรอง
จุดบนเสนลมปราณกระเพาะอาหาร ตู เญิ่น และกระเพาะปสสาวะใชในการรักษาภาวะนี้
Page 246

236 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

หลักการรักษา
1. บํารุงสารจิงในไตและเสริมหยางไต
2. กําจัดความรอนชื้น
3. ฟนฟูหัวใจและมาม บํารุงไต
การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
1.1. การลดลงของไฟที่มงิ่ เหมิน
อาการและการแสดงออก : อวัยวะเพศไมสามารถแข็งตัวหรือแข็งตัวไมเต็มที่ ดูซีด โดย
ทั่วไป มือเทาเย็น มึนงงวิงเวียน ปวดเมื่อยเอว เขาออน ปสสาวะบอย กลัวความเย็น ตามัว เบื่ออาหาร
ลิ้น ซีด ฝาขาวเหนียว
ชีพจร จมและออน (Chen Rou Mai 沉弱脉)
จุดหลัก ShenShu (BL23) + ^ MingMen (GV4) + ^
GuanYuan (CV4) + ^ ZhongJi (CV3) + ^
SanYinJiao (SP6) + ZhiShi (BL52) + ^
BaiHui (GV20) + ^

อธิบาย :
- ShenShu (BL23) ZhiShi (BL52) และ MingMen (GV4) ชวยอุนและบํารุงหยางของไต
- GuanYuan (CV4) และ ZhongJi (CV3) ทั้งสองจุดอยูใกลกับอวัยวะเพศชาย และเชื่อม
ถึงโดยผานเสนลมปราณเญิ่น จะอุนและเสริมความแข็งแรงของอวัยวะเพศชายโดยตรง
- BaiHui (GV20) ชวยดึงหยางที่จมลงขึ้นมา
- SanYinJiao (SP6) บํารุงอินเพื่อเสริมหยาง
จุดเสริม : ตามอาการที่ตรวจพบ
- เบื่ออหาร เพิ่มจุด ZuSanLi (ST36) +
1.2. การเคลื่อนที่ลงลางของความรอนชื้น
อาการและการแสดงออก : อวัยวะเพศชายไมสามารถแข็งตัวไดรวมกับมีรสขมในปาก
ปสสาวะรอนและมีสีแดงเขม ปวดชวงขาทั้งสองขางและรูส ึกออนแรง
Page 247

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 237

ลิ้น แดงมีฝาเหลืองและเหนียว
ชีพจร นุมและเร็ว (Ru Su Mai 濡数脉)
จุดที่เลือกใชและการกระตุนจุด :
จุดหลัก :
PangGuanShu (BL28) - CiLiao (BL32) -
QuGu (CV2) - SanYinJiao (SP6) -
FengLong (ST40) - TaiChong (LR3) -

อธิบาย :
- PangGuanShu (BL28) และ CiLiao (BL32) กําจัดความรอนชื้นจากกระเพาะปสสาวะ
และไต
- QuGu (CV2) กําจัดความรอนชื้นจากเสนลมปราณเญิ่น เสริมความแข็งแรงของอวัยวะเพศชาย
- SanYinJiao (SP6) ระบายความชื้นและกําจัดความรอนจากเสนลมปราณอินของเทาทั้งสามเสน
เสริมความแข็งแรงของอวัยวะเพศชาย
- FengLong (ST40) สลายเสมหะตกคาง
- TaiChong (LR3) กําจัดความรอนชื้นจากเสนลมปราณตับและสงเสริมอวัยวะเพศชาย

จุดเสริม : ตามอาการที่ตรวจพบ
- อัณฑะอับชื้น เพิ่มจุด YangLingQuan (GB34) -
1.3. ภาวะหัวใจและมามพรอง
อาการและการแสดงออก : มีภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ใจสั่น นอนไมหลับ เงื่อง
หงอย เบื่ออาหาร อุจจาระเหลว ดูซีดทั่วไป
จุดหลัก :
XinShu (BL15) + PiShu (BL20) +
ShenShu (BL23) + GuanYuan (CV4) +
ZuSanLi (ST36) + ^ SanYinJiao (SP6) + ^

อธิบาย :
Page 248

238 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

- XinShu (BL15) และ PiShu (BL20) จุดซูดานหลังของหัวใจและมาม เสริมชี่และเลือดของ


หัวใจและมาม
- ShenShu (BL23) จุดซูดานหลังของไต เสริมความแข็งแรงและหนาที่ของไต
- GuanYuan (CV4) เนื่องจากอยูใกลอวัยวะเพศชายและเชื่อมถึงผานเสนลมปราณเญิ่น
เสริมความแข็งแรงของอวัยวะเพศโดยตรง
- ZuSanLi (ST36) เพิ่มการสรางชี่และเลือดเพื่อหลอเลี้ยงหัวใจและมาม
- SanYinJiao (SP6) บํารุงอินเพื่อเสริมหยาง
จุดเสริม : ตามอาการที่ตรวจพบ
- นอนไมหลับ เพิ่มจุด ShenMen (HT7) -
- ใจสั่น เพิ่มจุด NeiGuan (PC6) /

ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เกิดจากการลดลงของไฟที่มิ่งเหมิน 
Page 249

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 239

         
 
ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เกิดจากการเคลื่อนที่ลงลางของความรอนชื้น 

 
ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เกิดจากภาวะหัวใจและมามพรอง 
Page 250

240 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

7. โรคระบบสูติ - นรีเวช
ปวดประจําเดือน
( Dysmenorrhea )
ปวดประจําเดือน หมายถึง อาการปวดทองนอยระหวาง กอนหรือหลังมีรอบเดือน ซึ่ง
จะรบกวนการทํางานและการดําเนินชีวิตปกติประจําวันอาจเปนแบบไมทราบสาเหตุ(1๐dysmenorrhea
หรือมีความผิดปกติจากการทํางานของมดลูก) โดยตรวจไมพบการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะสืบพันธุ หรือ
ทราบสาเหตุเนื่องจากมีพยาธิสภาพเปลี่ยนแปลงในอวัยวะสืบพันธุ

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
ลักษณะอาการทางคลินิกสวนใหญ จะปวดทองนอยหรือปวดหลังกอน หรือหลัง หรือ
ระหวางมีรอบเดือน ถึงแมอาการปวดไมชัดเจนและเกิดรวมกับการมีรอบเดือน ตามศาสตรการแพทย
แผนจีนจัดวามีสาเหตุจากชี่ตับติดขัด(Liver qi stagnation) ขัดขวางการไหลเวียนของเลือด หรือถูก
ความเย็นมากระทบระหวางมีรอบเดือน ทําใหการไหลเวียนของชี่และเลือดไมคลอง หรือเกิดจากการขาด
อาหารหลอเลี้ยงเสนลมปราณมดลูก (Uterine meridian) จากการพรองของชี่และเลือดเชนเดียวกับตับ
และไต
การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
1. ความเย็นชื้นตกคาง (Coagulation of Cold – Dampness)
ปวดเย็นทองนอยกอน หรือระหวางมีรอบเดือน ปฏิเสธการกด ชอบอุน ประจําเดือนมา
นอยไมคลอง สีมวงหรือดําเปนลิ่ม รวมกับมีตัวเย็น แขนขาเย็น ปวดขอ
ลิ้น มีฝาขาวเหนียว
ชีพจร จมตึงแนน (Chen Jin Mai 沉紧脉)
2. ชี่ติดขัดและเลือดคั่ง (Qi stagnation and Blood stasis)
ปวดแนนอึดอัดทองนอยกอนหรือระหวางมีรอบเดือน ประจําเดือนมานอยไมคลอง สีมวง
หรือดําเปนลิ่ม รวมกับแนนอกชายโครงและเตานม
Page 251

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 241

ลิ้น สีมวงหรือมีจ้ําเลือด
ชีพจร จมฝด (Chen Se Mai 沉涩脉)
3. ชี่และเลือดพรอง (Qi and blood deficiency)
ปวดโลงๆ (Vague pain) บริเวณทองนอยระหวาง หรือหลังมีรอบเดือน ชอบกด
ประจําเดือนสีแดงใส รวมกับหนาซีดขาว ออนเพลียไมมีแรง วิงเวียนศีรษะ
ลิ้น ซีด
ชีพจร เล็กและออนแรง (Xi Ruo Mai 细弱脉)
4. ตับและไตพรองหรือออนแอ ( Asthenia of both the liver and kidney )
ปวดโลงๆ (Vague pain) บริเวณทองนอยหลังมีรอบเดือน รอบเดือนมาไมสม่ําเสมอ
ประจําเดือนมามากหรือนอย สีแดงใส ไมเปนลิ่ม รวมกับมีอาการปวดเมื่อยออนลาบริเวณหลังและเขา
นอนไมหลับ วิงเวียนและหูอื้อ
ลิ้น แดงฝานอย
ชีพจร เล็ก (.Xi mai 细脉.)
หลักการรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก :
ZhongJi (CV3) CiLiao (BL32) DiJi (SP8) SanYinJiao (SP6)

จุดเสริม :
- ความเย็นชื้นตกคาง เพิ่มจุด GuanYuan (CV4) ShuiDao (ST28) รวมกับการรมยา
- ชี่ติดขัดและเลือดคั่ง เพิ่มจุด TaiChong (LR3) XueHai (SP10)
- ชี่และเลือดพรอง เพิ่มจุด PiShu (BL20) ZuSanLi (ST36)
- ตับและไตพรองหรือออนแอ เพิ่มจุด GanShu (BL18) ShenShu (BL23) TaiXi (KI3)
ถามีอาการคลื่นไส อาเจียน ใหเพิ่มจุด NeiGuan (PC6) ZhongWan (CV12)
วิธีการ การรักษาควรเริม่ 3 – 5 วันกอนมีรอบเดือน
Page 252

242 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

- CilLiao (BL32) ปกลึก 1.5 ชุน เฉียงไปยัง Spinal column ดวยวิธีระบาย และปนเข็มซ้ํา
จนรูสึกอุนสงผานไปยังทองนอย สําหรับอาการปวดรุนแรง ใชเครื่องกระตุนเข็ม (Electroacupunc-
ture stimulator / EA ) ได
- ZhongJi (CV3) กอนปกเข็มตองปสสาวะออกใหหมดกอน ปกเข็มเฉียงลงจนเกิดเตอชี่ สงผาน
ไปยังบริเวณทองนอย
- DiJi (SP8) ปกเข็มแบบระบาย
- SanYinJiao (SP6) ปกเฉียงขึ้นจนมีความรูสึกของเข็มสงผานไปยังดานบน
จุดเสริม
1.ความเย็นชื้นตกคาง ปกระบายรวมกับการใชเข็มอุน(Needle-warming moxibustion /
warm needling ) หรือรมยา (Moxa – roll moxibustion)
2. ชี่ติดขัดและเลือดคั่ง ปกเข็มระบาย หามใชการรมยา
3. ชี่และเลือดพรอง เชนเดียวกับตับไตพรอง ปกเข็มแบบเสริม รวมเดียวกับรมยา
2. การฝงเข็มหู
จุด : Internal genitalia (TF2), Subcortex (AT4), Sympathetic nerve
(AH 6a ), Endocrine(CO18), Liver (CO12), Kidney (CO10)
วิธีการ : เลือก 2–4 จุด กระตุนปานกลางและหนัก หรือใช Wangbuliuxingzi (Semen
Vaccarix ) กดที่หูสลับทั้งสองขาง 3–4 ครั้งตอวัน การรักษาควรเริ่มกอนมีรอบเดือน 3 วัน เพื่อ
ปองกันมี อาการเกิดซ้ํา
Page 253

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 243

ปวดประจําเดือน
Page 254

244 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

มดลูกเลือดออกผิดปกติ
(Dysfunctional Uterine Bleeding or DUB)
มดลูกเลือดออกผิดปกติที่ไมเกี่ยวกับรอบเดือน (Nonperiodic uterine bleeding)

เรียกวา “ เปง (Beng 崩)” และ “ โลว (Lou 漏)” อาการที่เกิดขึ้นเฉียบพลันรวมกับมีเลือดออก


มากจัดเปนเปง (Beng) หรือ Metrorrhagia ขณะที่อาการเกิดขึ้นชาๆรวมกับมีเลือดออกกระปริบ กระ
ปรอยจัดเปนโลว ( Lou ) หรือ Metrostaxis ทั้งเปงและโลวอ าจปรับเปลี่ยนไปมาจัดเปนภาวะอันตราย
ในการรักษาบางครั้งอาจทําใหเลือดออกมากเปลี่ยนเปนเลือดออกกะปริบกะปรอย และเลือดออกกะปริบ
กะปรอยในระยะยาวจะพัฒนาเปนเลือดออกมากได สวนมากพบไดในระยะวัยรุนและวัยทอง

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
สาเหตุสําคัญเกิดจากเสนลมปราณชงและเญิ่นไดรับภยันตราย และการทํางานผิดปกติ
ของตับและมาม
1. ไตพรอง
การหมกมุนและมีเพศสัมพันธมากเกินไป จะทําอันตรายตอไต และมีผลกระทบตอเสนลมปราณชง
และเญิ่นทําใหไมสามารถควบคุมเลือด จึงมีเลือดไหลออกจากมดลูก
2. ชี่ตัติดขัดเปลี่ยนเปนไฟ
อารมณซึมเศราทําใหชตี่ ับไหลเวียนไมสะดวก เปนเหตุใหชี่และเลือดติดขัดสะสมจนแปร เปลี่ยนเปน
ไฟ (Fire) ตับสูญเสียหนาที่ในการเก็บกัดเลือด ยังผลใหเลือดไหลออกจากมดลูก
3. ชี่มามพรอง
มามออนแอ (Spleen weakness) จากสาเหตุรับประทานอาหารไมเปนเวลาและวิตกกังวล
มากเกินไป ทําใหมามไมสามารถควบคุมเลือดใหไหลเวียนในหลอดเลือด เปนผลใหเลือดออกกะปริบ
กะปรอยตอเนื่องหรือออกมากในกรณีเปนรุนแรง
มดลูกเลือดออกผิดปกติ สามารถแบงเปนกลุมอาการแกรง และกลุมอาการพรอง
Page 255

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 245

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการของโรค
1. กลุมอาการรอนแกรง (Excessive Heat Syndrome)
อาการแสดง เลือดออกชองคลอดมากเฉียบพลัน หรือออกกะปริบกะปรอยตอเนื่อง เลือด
สีแดงเขมรวมกับ อารมณหงุดหงิด นอนไมหลับ วิงเวียนศีรษะ
ลิ้น แดง ฝาเหลือง
ชีพจร เร็ว (Shuo Mai 数脉)
2. กลุมอาการชี่พรอง (Qi deficiency Syndrome)
อาการแสดง เลือดออกชองคลอดมากเฉียบพลัน หรือออกกะปริบกะปรอยตอเนื่อง เลือด
สีแดงใส ออนเพลีย แขนขาไมมีเรี่ยวแรง หายใจสั้น พูดไมมีแรงหรือไมอยากพูด เบื่ออาหาร
ลิ้น ซีด
ชีพจร เล็กออนแรง (Xi Ruo Mai 细弱脉)

หลักการรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก : GuanYuan (CV4), SanYinJiao (SP6), YinBai (SP1)
จุดหลักบนเสนลมปราณชงและมาม ปกเข็มแบบระบายสําหรับกลุมอาการรอนแกรง หามรมโกฐ
- กลุมอาการเย็นพรอง (Deficiency Cold Syndrome) ปกเข็มเสริม รวมกับรมโกฐ
จุดเสริม :
- รอนแกรง เพิม่ จุด XueHai (SP10) ShuiQuan (KI5)
- อินพรอง เพิ่มจุด NeiQuan (PC6) TaiXi (KI3)
- ชี่พรอง เพิ่มจุด PiShu (BL20) ZuSanLi (ST36)
- หยางหลุด เพิ่มจุด BaiHui (BL20) QiHai (CV6) รวมกับรมยา

อธิบาย
จุดฝงเข็มหลัก ใชเพื่อปรับและผลักดันใหชไี่ หลเวียนในเสนลมปราณชงและเญิ่น เพื่อขจัด
รอนและสลายการคั่ง
Page 256

246 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

- GuanYuan (CV4) เปนจุดพบปะหรือจุดรวม(Convergent point ) ของเสนลมปราณ


ชงและเญิ่น และเสนลมปราณอินเทาทั้งสามเสน การผลักดันชี่ใหไหลเวียนในเสนลมปราณชงและเญิ่น
จะทําใหเลือดในมดลูกไหลเวียนสะดวกขึ้น
- SanYinJiao (SP6) เปนจุดตัด(Crossing point)ของเสนลมปราณอินเทาทั้งสามเสน
และเปนจุดสําคัญสําหรับความผิดปกติทางสูตินรีเวช เพราะมีหนาที่เสริมสรางมามและเพิม่ ความแข็ง
แกรงใหกับเลือด
- YinBai (SP1) เปนจุดจิง( Jing–well point ) ของเสนลมปราณมาม ใชบอยในการ
รักษาโรคมดลูกเลือดออกผิดปกติ
จุดเสริม
- รอนแกรง : XueHai (SP10), ShuiQuan (KI5) ใชลดภาวะเลือดรอน(Blood heat)
ที่ทําใหเลือดไหลเวียนเร็วเกินไป
- อินพรอง : NeiQuan (PC6), TaiXi (KI3) ใชบํารุงหัวใจและไต เพือ่ ขจัดภาวะ
รอนพรอง ( Deficient Heat )
- ชี่พรอง : PiShu (BL20), ZuSanLi (ST36)ใชเสริมและบํารุงชี่ในจงเจียวพรอง
ซึ่งมีผลทําใหเลือดดีขึ้น
- หยางหลุด : รมยาจุด BaiHui (GV20), QiHai (CV6) เพื่อกระตุนหยางชี่ปอ งกัน
หยางหลุด(Yang Collapse )
2. การฝงเข็มหู
จุด : Uterus, Subcortex, Endocrine, Ovary, Adrenal gland
วิธี : ปกจุดกดเจ็บ คาเข็ม 1 หรือ 2 ชั่วโมง และปนเข็มเปนระยะๆ
3. การฝงเข็มศีรษะ
ปกเข็มบริเวณ Reproduction zone ทั้งสองขาง ปน เข็ม 3–5 นาทีและปนซ้ําหางกัน 5 นาที
เพิ่มเติม หญิงวัยทองที่มีเลือดออกจากมดลูกหรือชองคลอดเรื้อรัง ควรไดรับการตรวจจากแพทย
เพื่อปองกันโรคเนื้องอกหรือมะเร็ง
Page 257

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 247

มดลูกเลือดออกผิดปกติ (Dysfunctional Uterine Bleeding or DUB)


Page 258

248 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ไมมีรอบเดือน
(Amenorrhea)
ไมมีรอบเดือน (Amenorrhea) หมายถึง ไมมปี ระจําเดือนมาเลยเมื่อมีอายุเกินกวา 18 ป
หรือเคยมีรอบเดือนมา แลวหยุดไปติดตอกันเกินกวา 3 เดือน กรณีแรกจัดเปนแบบปฐมภูมิ (Primary
amenorrhea) สวนกรณีหลังเปนทุติยภูมิ(Secondary amenorrhea) ภาวะไมมีรอบเดือนตามศาสตร
การ แพทยแผนจีน จัดเปนกลุมรอบเดือนมาไมปกติและรอบเดือนขาดโดยปกติ

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
1. มามและกระเพาะสรางเลือดไมเพียงพอ
2. มีการใชอินเลือดอยางมากจนแหลงเลือดหยุดทํางาน ( Severe comsumption of yin
blood and Exhaustion of blood source )
3. เลือดคั่งคางในเสนลมปราณและหลอดเลือด จากเหตุปจจัยกอโรคตกคางในมดลูก อัน
เนื่อง จากความเย็นมากระทบ หรือดื่มน้ําเย็น หรืออารมณซึมเศรา

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการของโรค
1. กลุมอาการพรอง
อาการหลัก ประจําเดือนคอย ๆ มาลดนอยลง หรือประจําเดือนขาด
- ชี่และเลือดพรอง จะมีอาการรวม คือ หนาซีดหมอง (Sallow complexion) ผายผอม
เซื่องซึม วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น
ลิ้น ซีด
ชีพจร เล็ก ( Xi Mai 细脉)
- ตับและไตอิ่นพรอง อาการรวม วิงเวียนศีรษะ หูอื้อ ปวดเมื่อยหลัง เขาออน มีความรูสึก
รอนทั้งหา (ฝามือ ฝาเทาและหนาอก) มีไขต่ําๆหลังบาย เหงื่อออกกลางคืน
ลิ้น สีคล้ํา
ชีพจร เล็กฝด ( Xi Se Mai 细涩脉)
Page 259

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 249

2. กลุมอาการแกรง
อาการหลัก ประจําเดือนขาด หรือหยุดไมมาเปนเวลาหลายเดือน
- ชี่ติดขัดและเลือดคั่งคาง (Qi stagnation and blood stasis) อาการรวม ปวด
ทองนอย ปฏิเสธการกด หงุดหงิด โกธรงาย ปวดแนนทรวงอกและชายโครง
ลิ้น ดําคล้ําและหรือมีจ้ําเลือด
ชีพจร จมฝด ( Chen Mai 沉涩脉)
- ความเย็นตกคางและเลือดติดขัด ( Cold coagulation and blood stagnation ) อาการ
รวม ตัวเย็น แขนขาเย็น ปวดเย็น ๆ บริเวณทองนอย
ลิ้น ดําคล้ํา มีจ้ําเลือด
ชีพจร จม (Chen Mai 沉脉)
- เสมหะความชื้นอุดกัน้ ( Phlegmatic dampness obstruction ) อาการรวม อวน
อึดอัดแนนหนาอกและชายโครง เซื่องซึม ออนเพลียไมมีแรง เบื่ออาหาร เสมหะมาก
ลิ้น ฝาขาวเหนียว
ชีพจร ลื่น ( Hua Mai 滑脉)
หลักการรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
- กลุมอาการพรอง
จุดหลัก : QiHai (CV6) ZuSanLi (ST36) SanYinJiao (SP6)
จุดเสริม :
- เลือดพรอง เพิ่มจุด PiShu (BL20) GeShu (BL17)
- ตับและไตอินพรอง เพิ่มจุด GanShu (BL18) ShenShu(BL23) GuanYuan (CV4)
- ปวดเมื่อยเอวและเขาออน เพิ่มจุด MingMen (GV4) ZhiBian (BL52)
- ไขต่ํา ๆ หลังบาย เหงื่อออกกลางคืน เพิ่มจุด FuLiu(KI17) TaiXi (KI3)
- ใจสั่น เพิ่มจุด NeiGuan (PC6) ShenMen (HT7)
Page 260

250 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

วิธีปกเข็ม
แบบเสริม QiHai (CV4) ปกเฉียงลงและปน เข็มแบบเสริม
SanYinJiao (SP6) ปกเฉียงขึน
้ จนมีความรูสึกของเข็มบริเวณสวนบน
กรณีชี่และเลือดพรอง ใชรมยารวมดวย
- กลุมอาการแกรง
จุดหลัก : ZhongJi (CV3) XueHai (SP10) SanYinJiao (SP6)
จุดเสริม :
- ชี่ติดขัดและเลือดคั่งคาง เพิ่มจุด HeGu (LI4) TaiChong (LR3) DiJi (SP8)
- ความเย็นตกคางและเลือดติดขัด เพิ่มจุด Guanyuan (CV4)
- เสมหะความชื้นอุดกั้น (บริเวณจงเจียว) เพิ่มจุด ZhongWan (CV12) FengLong
(ST40)
แบบระบาย
- กอนปกจุด ZhongJi (CV3) ตองใหผูปวยปสสาวะออกใหหมดกอน ใหปกเข็มเฉียงลง
และปนเข็มแบบระบาย
- GuanYuan (CV4) ใหปกเข็มและรมยา
- จุดที่เหลือใหปกเข็มแบบระบาย

2. การกระตุน เข็มดวยไฟฟา (Electro–acupuncture)


จุดหลัก : - GuiLai (ST29) รวมกับ SanYinJiao (SP6)
- ZhongJi (CV3) รวมกับ DiJi (SP8)
- QuGu (CV2) รวมกับ XueHai (SP10)
วิธีทํา ใหเลือกจุดฝงเข็มมาหนึ่งคูหรือเลือกสลับคูกัน ปกเข็มจนผูปวยรูสึกเตอชี่แลว ใหใชเครื่อง
กระตุนเข็ม(EA) เลือกคลื่นแบบ Impulse current เปนเวลา 10–15 นาที ทําวันละครั้งหรือวันเวนวัน
Page 261

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 251

ไมมีรอบเดือน (Amenorrhea)เกิดจากกลุมอาการพรอง

ไมมีรอบเดือน (Amenorrhea)เกิดจากกลุมอาการแกรง
Page 262

252 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

รอบเดือนผิดปกติ
(Irregular Menstruation)

รอบเดือนผิดปกติ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของระยะเวลาของการมีรอบเดือนผิดปกติ


กวาที่ควรจะเปน รวมทั้งอาจมีปริมาณเลือดและหรือสีของเลือดประจําเดือนในระหวางทีม่ ีรอบเดือน
ผิดปกติรวมดวย ซึ่งแบงออกเปนรอบเดือนมาเร็วกวาปกติ มาชากวาปกติ และมาไมสม่ําเสมอ ซึ่งมี
ลักษณะทางคลินิกแตกตางกันไป

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
1. จากไฟอารมณ หรือสภาพรางกายที่มีภาวะรอนแกรง(Constitutional heat excess)
ทําใหเกิดความรอนสะสมในมดลูก หรือเลือดรอน (Blood heat) ทําใหการไหลเวียนไมสม่ําเสมอ เปน
เหตุใหรอบเดือนมาเร็วกวาปกติ(Earlier mense)
2. จากความเย็นตกคาง (Cold stagnation) ในมดลูก หรือพลังชี่พรองรวมกับมีเลือด
ติดขัด ( Blood stagnation ) เปนเหตุใหรอบเดือนมาชากวาปกติ ( Delayed mense )
3. จากชี่ตับติดขัด (Liver qi stagnation) หรือชี่ไตพรอง (Kidney qi deficiency)
ทําใหมีการทําลายเสนลมปราณชงและเญิ่น (Chong and Ren mai) เปนเหตุใหรอบเดือนมาไม
สม่ําเสมอ ( Irregular mense )

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการของโรค
1. รอบเดือนมาเร็วกวาปกติ
มีรอบเดือนมาเร็วกอนกําหนด 7 วันหรือมากกวา บางรายอาจมีรอบเดือน 2 ครั้ง ใน
1 เดือน ประจําเดือนสีแดงสดหรือมวงคล้ํา มีเลือดออกมาก หงุดหงิด กระหายน้ําอยากดื่มน้ําเย็น
ลิ้น แดง ฝาเหลือง
ชีพจร เร็ว (Shou Mai 数脉)
Page 263

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 253

2. รอบเดือนมาชากวาปกติ
มีรอบเดือนมาชากวากําหนด7วันหรือมากกวา บางรายอาจมีรอบเดือน1ครั้งใน1เดือน
ประจํา เดือนสีดําใส มีเลือดออกนอย กลัวหนาว ชอบประคบอุนหรือรอน
ลิ้น ซีดขาว ฝาขาว
ชีพจร ชา (Chi Mai 迟脉)
3. รอบเดือนมาไมสม่ําเสมอ (Irregular mense)
รอบเดือนมาไมแนนอน อาจมาเร็วหรือมาชากวาปกติสลับกัน ประจําเดือนอาจมีสีแดงใส
หรือดํา ปริมาณอาจมากหรือนอย รางกายออนแอ หนาขาวซีด
ลิ้น ซีดขาว ฝาบาง
ชีพจร เล็กตึง ( Xi Xuan Mai 细弦脉)
การรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
เสนลมปราณเญิ่นและมามเปนเสนหลัก การฝงเข็มจะใชกรณีรอบเดือนมาเร็วกวาปกติ
สําหรับการฝงเข็มและรมโกฐจะใชในกรณีรอบเดือนมาชา หรือมาไมสม่ําเสมอ
จุดหลัก : Qihai (CV6) Sanyinjiao (SP6)
จุดเสริม :
1. รอบเดือนมาเร็วกวาปกติ : Taichong (LR3) Xuehai (SP10)
2. รอบเดือนมาชากวาปกติ : Tianshu (ST25) Guilai (ST29)
3. รอบเดือนมาไมสม่ําเสมอ : Shenshu (BL23) Guanyuan (CV4)
Pishu (BL20) Zusanli (ST36)

อธิบาย
จุดหลัก - Qihai (CV6) ปรับ Yuan qi (Primary qi) ของรางกาย
- Sanyinjiao (SP6) เสริมมามใหเพิ่มการทําหนาที่ควบคุมเลือด
จุดเสริม :
1. รอบเดือนมาเร็วกวาปกติ เพิ่มจุด TaiChong (LR3) ขจัดไฟตับ ออกไป รวมกับ
Page 264

254 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

Xuehai (SP10) ในกรณีรอบเดือนมาเร็วกวาปกติเพื่อลดเลือดรอน


2. รอบเดือนมาชากวาปกติ เพิ่มจุด TianShu (ST25) และ GuiLai (ST29) ใชรักษา
ในกรณีรอบเดือนมาชากวาปกติ จากสาเหตุเลือดติดขัดโดยผลักดันชี่และกระตุนเลือดที่ติดขัดให
ไหลเวียน สวนการรมโกฐใชในกรณีมีเลือดพรองรวมดวย
3. รอบเดือนมาไมสม่ําเสมอ เพิ่มจุด ShenShu (BL23) และ GuanYuan (CV4) ใช
กรณีรอบเดือนมาไมสม่ําเสมอจากสาเหตุโดยกําเนิด (Congenital)โดยวิธปี กเข็มเสริม(Reinforcing)
กรณีขาด การเลี้ยงดูที่ดีในวัยเด็ก (Postnataldeficiency) ใหเสริมจุด PiShu(BL20) และ
ZuSanLi (ST36)

2. การฝงเข็มหู
จุด : Tragus รังไข มดลูก ตับ มาม ไต
วิธี : เลือก 2 – 4 จุด ตอครั้ง กระตุนปานกลางคาเข็มไว 15 – 20 นาที และติดเข็ม
หูบนใบหูดวย ( Needle Embedding )

ขอแนะนําเพิ่มเติม
1. ใหความใสใจตอความสะอาดระหวางมีรอบเดือน หามรับประทานของเย็น รวมทั้ง
อาหารรสจัด
2. การฝงเข็มควรทํา 3- 5 วันกอนมีรอบเดือนในแตละครั้ง รักษาติดตอกัน 3 - 5 ครั้ง
ชวงระยะการรักษาตอไป (Secondary course) จะเริ่มในรอบเดือนถัดไป
Page 265

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 255

รอบเดือนผิดปกติ (Irregular Menstruation)


Page 266

256 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

กลุมอาการวัยใกลหมดประจําเดือน
(Perimenopausal Syndrome)
กลุมอาการวัยใกลหมดประจําเดือน หมายถึงอาการที่เกิดขึ้นที่มีความสัมพันธกับความผิดปกติ
ของประสาทอัตโนมัติในชวงใกลหมดประจําเดือน

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
การมีประจําเดือนผิดปกติ ผูป วยจะรูส ึกรอนๆหนาวๆ รูสกึ หงุดหงิด โมโหงาย เวียนศีรษะ
วิงเวียน อาการของระดับฮอรโมนที่ผิดปกติ เชน hypofunction of ovary, hyperthyroidism and hyper
-adrenalism อาการเหลานี้คลายกับอาการทางการแพทยจีนที่เรียกวา อาการกอนและหลังวัยหมดประจํา
เดือน “syndromes before and after menopause” และอาการ “visceral irritability” ศาสตรการแพทยจี
อธิบายวาเกิดจากการลดลงของพลังชี่ของไต การหมดไปของ reproductive essence การไมพอเพียง (insufficiency)
ของ essence และเลือด ความพรอง (asthenia) ในเสนลมปราณตูและมาย การไมสมดุลกันของไตอินและ
ไตหยาง หรือเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะภายใน

การวิเคราะหแยกกลุมอาการโรค
1. ตับและไตอินพรอง
มีอาการวิงเวียน หูอื้อ รอนๆหนาวๆ เหงื่อออกกลางคืนและมีไข ปวดเอว ปวดหัวเขา ปวด
ประจําเดือน ประจําเดือนมาไมสม่ําเสมอ มีสีแดงสด ออกปริมาณมากหรือนอย
ลิ้น แดง ฝาลิ้นบาง
ชีพจร เบาและเร็ว (Xi Su Mai 细数脉)
2. มามและไตหยางพรอง
ตัวซีด แขนขาเย็น บวมที่ขา ตกขาวอาจนอยหรือมาก อุจจาระเหลว มีอาการแนนทองจากอาหารไม
ยอย ปสสาวะบอยตอนกลางคืน
ลิ้น …………
ชีพจร จม และเบา (Chen Rou Mai 沉弱脉)
Page 267

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 257

3. ความไมสมดุลของหัวใจและไต
อาการ ใจสั่น นอนไมหลับ กระสับกระสาย ฝนมาก ตกใจงาย รูสึกขมในปาก คอแหง
ลิ้น แดง ฝาบาง
ชีพจร เบาเร็ว (Xi Su Mai 细数脉)
4. การคั่งสะสมของเสมหะและชี่
มีลักษณะอวน อึดอัดในหนาอก มีเสมหะมาก ทองขยายและอืดแนน เรอเปรี้ยว ตัวบวม
อุจจาระเหลว
ลิ้น เลี่ยน (greasy tongue coating)
ชีพจร ลื่น (Hua Mai 滑脉)

หลักการรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก: Sanyinjiao (SP6) Qihai (CV6) Shenmen (HT7) Baihui (GV20)
จุดเสริม :
- ภาวะพรองของตับและไต เพิ่มจุด Taixi (KI3) Taichong (LR3) Ganshu (BL18)
- ภาวะพรองของมามและไตหยาง เพิ่มจุด Pishu (BL20) Zusanli(ST36)
Yinlingquan (SP9) และ Zhongwan (CV12)
- ภาวะขาดสมดุลระหวางหัวใจกับไต เพิ่มจุด Tongli (HT5) Xinshu (BL15)
Shenshu (BL23) Zhishi (BL52)
- ภาวะคั่งของเสมหะและชี่ เพิ่มจุด Fenglong (ST40) Tanzhong (CV17)
วิธีการ: เลือกจุด 5-6 จุดตามพยาธิสภาพ Sanyinjiao (SP6) Qihai (CV6) และ Shenmen (HT7)
ใชวิธีการกระตุนเข็ม Fengchi (GB 20) และBaihui (GV 20) ใชวิธีการ กระตุนเข็มแบบระบาย
ถามีการพรองของตับและไตอิน (asthenia of liver and kidney yin) ใช Taixi (KI 3)
และ Ganshu (BL 18) are needled with ใชวิธีการกระตุนเข็ม (reinforeing technique) ในขณะที่
Taichong (LR 3) ใชวิธก ี ารกระตุนเข็มแบบระบาย
Page 268

258 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ถามีการพรองของมามและไตหยาง (asthenia syndrome of spleen and kidney yang) ใช


วิธีกระตุนเข็มและอุนเข็มดวยการรมยา (needle-warming moxibustion) หรือรวมกับการรมยา
ถามีการความไมสมดุลของหัวใจและไต( imbalance between the heart and the kidney)
Tongli (HT 5) with reducing technique ใชวิธีการลดการกระตุนเข็ม (reducing technique).
ถามีการการคัง่ ของเสมหะและชี่ (for the treatment of stagnation of phlegm and qi) ใช
วิธีการกระตุนเข็มแบบระบาย (reducing technique)

2. การฝงเข็มหู
เลือกจุด: Endocrine (CO18 ), Internal genitalia (TF2) , Sympathetic Nerve (AH6a),
Subcortex (AT4), Kidney (CO10) and Liver (CO12).
วิธีการ: แตละครั้งใช 2-3จุด ที่หูขางใดขางหนึ่งปดดวยเม็ดหวังปูหลิวสิง Semeon Vaccariae
แนะนําใหกดวันละ 3 ครั้ง เปลี่ยนเม็ดทุก 3-4 วัน 5-7 วันนับเปนหนึ่งชวงการรักษา
Page 269

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 259

 
กลุมอาการวัยใกลหมดประจําเดือน (Perimenopausal Syndrome)
Page 270

260 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ภาวะมีบตุ รยาก  
(Infertility)
ภาวะนี้ถือวา การที่หญิงไมสามารถตั้งครรภหลังแตงงานกับผูชายที่ปกติในระยะ 3 ป หรือเกิน
กวานั้นหรือไมตั้งครรภอีกหลังจากเคยมีบุตรแลวหลายปจัดวาอยูในภาวะมีบุตรยาก

การวิเคราะหแยกกลุมอาการโรค
ภาวะมีบุตรยาก แบงเปน 4 ประเภท 1. ไตพรอง 2. เลือดพรอง 3. มดลูกมีความหนาว
เย็น (Retention of Cold in the Uterus) 4. มีการคั่งของเลือดและเสมหะ จุดที่เลือกใชมักเปน จุด
ในเสนลมปราณ เญิ่น ตับ ไต และมาม

1. ไตพรอง
อาการ: มีภาวะมีบุตรยากรวมกับประจําเดือนผิดปกติ มานอย สีเขม ปวดหลัง ออนเพลีย ขา
ไมมีแรง วิงเวียน .
ลิ้น ฝาขาว
ชีพจร ลึกและเบา (Chen Rou Mai 沉弱脉)
หลักการรักษา:
บํารุงชี่ของไต เพื่อควบคุมเสนลมปราณ ชง เญิ่น
จุดหลัก ShenShu (BL23) + QiXue (KI 13) + RanGu (KI2) +
- QiXue (KI13) และ RanGu (KI2) reinforce kidney and regulate Chong
and Ren Meridians;
- SanYinJiao(SP6)เพื่อเสริมความแข็งแรงตอมามบํารุงอินและควบคุมประจําเดือน .
จุดเสริม
- เบื่ออาหาร เพิ่มจุด ZuSanLi (ST-36) +.
2. เลือดพรอง
อาการ: มีภาวะมีบุตรยากรวมกับประจําเดือนมานอย สีจาง หนาซีดออกเหลืองเล็กนอย ไมมี
Page 271

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 261

แรง หมดอาลัยตายหยากมึน วิงเวียน ศีรษะ


ลิ้น ตัวลิ้นขาว ฝาบาง
ชีพจร จม และเปนเสนดาย( Chen Xi Mai 沉细脉)
หลักการรักษา:
บํารุง (Tonify and replenish) essence และเลือด เพื่อควบคุมเสนลมปราณ ชงและเญิ่น
จุดหลัก
GuanYuan (CV4) +^ QiHu (ST13) +^
ZiGong (EX-CA1) +^ SanYinJiao (SP6)+

อธิบาย
- GuanYuan (CV4) เปนจุดตัดของเสนลมปราณ ชง เญิ่น อินของขา 3 เสน (Foot-Yin
Meridians) เพื่อบํารุง essence และเลือด
- QiHu (ST13) และ ZiGong (EX-CA1) เปนจุดประสบการณ
- SanYinJiao (SP6) และ ZuSanLi (ST36) เพื่อบํารุงและเสริมแหลงกําเนิดและแปรเปลี่ยนมา
บํารุงเลือด(nourish and reinforce the source of generation and transformation to
tonify blood).

จุดเสริม
1. ใจสั่น ความจําไมดี เพิ่มจุด ShenMen HT- [+]
2. วิงเวียน (Dizziness) เพิ่มจุด GanShu (BL15) [+] และ BaiHui (DU20) [+].
3. ความหนาวเย็นคั่งมดลูก
อาการ มีบุตรยาก ประจําเดือนมาชา ปริมาณไมมากสีคล้ํา ปวดเนื่องจากความเย็นที่
ทองนอย ตัวเย็นมือเทาเย็น ปสสาวะใส ปริมาณมาก
ลิ้น ตัวลิ้นซีด ฝาบาง
ชีพจร ลึก ชา (Chen Chi Mai 沉迟脉)
หลักการรักษา:
เพิ่มความอบอุนแกมดลูกเพื่อขับไลความเย็น
Page 272

262 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

จุดหลัก Yinjiao (RN7) +^ Qugu (RN2) +^


Mingmen (DU4) +^ Qihai (RN6) +^

อธิบาย:
• YinJiao (CV7) และ QuGu (CV2) เพิ่มความอบอุนใหแกเสนลมปราณชงและ เญิ่น และ
ขับไลความหนาวเย็น
• MingMen (GV4) เพิ่มความอบอุนแกหยาง และขับไลความหนาวเย็น QiHai (CV6) เพิ่ม
ความอบอุนแกมดลูกและปรับการทํางานของระบบสืบพันธุใหดีขึ้น
จุดเสริม
1. ประจําเดือนมาลาชา เพิ่มจุด TianShu (ST-25) [+] GuiLai (ST-29) [+]
2. ปวดเมื่อยหลังและขารูสึกไมมีแรง เพิ่มจุด ShenShu (BL23) [+] YaoYan (EX-B7) [+]
4. การคั่งของเสมหะและเลือด
อาการ : มีบุตรยาก ประจําเดือนมาชา ประจําเดือนเปนกอนเลือด ไหลออกไมสะดวก แนนใน
หนาอกและทอง กระสับกระสายไมเปนสุข หรืออวน เวียนศีรษะ ใจสั่น ตกขาวจํานวนมาก สีเขมเหนียว
ลิ้น คล้ําดํา จุดเลือดบนตัวลิ้น
ชีพจร ลื่นหรือเปนคลื่น (Hua Mai 滑脉)
หลักการรักษา
กําจัดเสมหะ และขจัดการอุดตัน
จุดหลัก ZhongJi (CV3) -^ QiChong (ST30) -^ SiMan (KI14) -^
SanYinJiao (SP6) / FengLong (ST40) –

อธิบาย :
- ZhongJi (CV3) SiMan (KI14)
และ QiChong (ST30) กําจัดเลือดคั่งของเสน
ลมปราณชง และเญิ่น และปรับการทํางานของระบบสืบพันธุ
- SanYinJiao (SP6) เสริมความแข็งแรงมาม ขับไลความชื้น และปรับประจําเดือน
FengLong (ST40) ขับเสมหะ
Page 273

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 263

จุดเสริม
1. การไหลออกของประจําเดือนติดขัด เพิ่มจุด DiJi (SP8) [-]
2. แนนหนาอกและทอง เพิ่มจุด TaiChong (LR3) [-] และ NeiGuan (PC6)
3. ประจําเดือนมาเปนกอนเลือดปริมาณมาก GeShu (BL17) [-] และ XueHai(SP10) [-]
4 ตกขาวปริมาณมาก เพิ่มจุด Abundant leucorrhea และ ZhongLiao (BL33) [-].

- การฝงเข็มหู
ขอบงชี้ : ภาวะมีบุตรยาก
เลือกจุด : Endocrine Kidney Uterus Ovary.

หมายเหตุ :
การฝงเข็มมีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะมีบุตรยาก โดยเฉพาะอยางยิ่งถาใชรว มกับการ
รักษาโดยใชสมุนไพร ผูรับการรักษาควรหลีกเลี่ยงการมีอารมณฉุนเฉียว (emotional upsets) หรือมี
เพศสัมพันธมากเกินไป พักผอนใหเพียงพอและดําเนินชีวิตตามปกติ (lead an orderly life and get
appropriate rest)

จุดฝงเข็มตามตําราโบราณ
1. ShangQiu (SP5) และ ZhongJi Ren3)
2. MingMen (GV4) ShenShu (BL23) QiHai (CV6) ZhongJi (CV3) YinLian
(LR11)
RanGu (KI2) รวมกับการรมยาโดยตรง ที่ GuanYuan (CV4)
3. SanYinJiao (SP6) XueHai (SP10) QiHai (CV6) MingMen (GV4)
ShenShu (BL23)
4. ZhongJi (CV3) GuanYaun (CV4) YinLian (LR11) RanGu (KI2) ZhaoHai (KI6)
BaoMen (2 ชุน left of CV4) QiMen (3 ชุน ต่ํากวาสายดือและ3 cun ออกจากแนว
กลางลําตัว)
5. CiLiao (BL32) YongQuan (KI1) และ ShangQiu (SP5)
Page 274

264 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ภาวะมีบุตรยากเกิดจาก ไตพรอง

 
ภาวะมีบุตรยากเกิดจาก เลือดพรอง
Page 275

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 265

                
ภาวะมีบุตรยากเกิดจาก มดลูกมีความหนาว เย็น
 

 
ภาวะมีบุตรยากเกิดจาก มีการคั่งของเลือดและเสมหะ
Page 276

266 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ทารกอยูในทาผิดปกติ
(Malposition of fetus)
ทารกอยูในทาผิดปกติ หมายถึง ทารกอยูในทาผิดปกติหลังอายุครรภ30สัปดาห หญิง
ตั้งครรรภจะไมมีอาการผิดปกตินอกจากตรวจพบวาทารกอยูในทาผิดปกติ พบบอยในหญิงที่คลอดมา
หลายทองหรือตัง้ ครรภและผนังหนาทองหยอน

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
ศาสตรการแพทยจีนเชื่อวาเกิดจากการพรองของชี่และเลือด ชี่ของทารกในครรภไมพอเพียง
หรือความผิดปกติของการพัฒนาของทารก การหดรัดตัวของมดลูกไมดี หรือการติดขัดของชี่และเลือด

หลักการรักษา
- การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
การเลือกจุด : ZhiYin (BL67).
วิธีการ : ผูตั้งครรภนอนบนเตียงในทานอนหงาย ปลดเสื้อผาใหหลวม รมยาโดยใชจุด
ZhiYin (BL67) เปนเวลา 15-20 นาทีวันละ1-2 ครั้ง โอกาสทีท่ ารกกลับตัวมีมากถาตัง้ ครรภเกิน 7 เดือน
และโอกาสนอยลงเมื่อตั้งครรภเกิน 8 เดือน อาจจะใชการฝงเข็ม หรือฝงเข็มกระตุนไฟฟา แตสวนใหญ
ใชการรมยา

 
ทารกอยูในทาผิดปกติ (Malposition of fetus) 
Page 277

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 267

แพทอง
(Morning Sickness)
การแพทอง เปนกลุมอาการที่ประกอบดวย การคลื่นไส อาเจียน เวียนศีรษะ เบื่ออาหาร หรือ
อาจอาเจียนทันทีหลังจากรับประทานอาหาร ซึ่งมักเกิดในชวง 2-3 เดือน เปนอาการที่พบไดบอยของการ
ตั้งครรภระยะแรก อาจทําใหหญิงตั้งครรภน้ําหนักลด (emaciation) หรือเกิดภาวะแทรกซอนอื่นตามมา

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
การแพทองสวนใหญเกิดจากความออนแอ(original weakness) ของกระเพาะ โดยที่ ชี่และชี่
ของทารกมีการรุกราน(invasion)กระเพาะ ทําใหชี่ของกระเพาะไมสามารถดันลงลาง (descend) แต
กลับยอนขึ้นบน (perversively ascend)
1.ความออนแอของมามและกระเพาะ
(Weakness of the Spleen and Stomach)
เริ่มจากชี่ของกระเพราะพรอง เมื่อมีการตั้งครรภเกิดขึ้น ประจําเดือนถูกยับยั้ง ทําใหแหลง
เลือด (the sea of blood) ไมมีการขับ (discharge) ออกจากรางกาย ชี่ในเสนลมปราณ Thoroughfare Vesselเกิด
การคั่งและดันกลับมากระทบที่กระเพาะอาหาร ชี่ของกระเพาะไมสามารถดันลงได เมื่อชี่ของกระเพาะ
ไมสามารถดันลงไดรวมกับการดันขึ้นของThoroughfare Vessel จึงทําใหเกิดอาการไมสบายดังกลาว
2.ความไมประสานการทํางานระหวางตับและกระเพาะอาหาร
(Disharmony between the Liver and Stomach)
หลังจาการตั้งครรภ พลังอินและเลือดจะรวบรวมกันเพื่อใหการเลี้ยงดูทารก เลือดของตับจะ
นอยลงทําใหหยางของตับเดนและขมกระเพาะ ชี่ของกระเพาะจึงไมสามารถดันลงและยอนกลับขึ้นบน
ทําใหเกิดอาการโรคนี้ขึ้น
การวิเคราะหแยกกลุมอาการโรค
1.ความออนแอของมามและกระเพาะ
อาการหลัก:ในชวง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ มีอาการคลื่นไสอาเจียน ออกเปนของเหลว
ใส หรือเปนอาหารที่ยังไมทันยอยทันทีที่รับประทานเขาไป มีอาการจุกแนนทอง ทองขยาย ออนเพลีย
Page 278

268 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

นอนไมได
ลิ้น ซีด ฝาขาว
ชีพจร ลืน่ (Hua mai 滑脉)
2.ความไมประสานการทํางานระหวางตับและกระเพาะอาหาร
อาการหลัก: ในชวงแรกของการตั้งครรภ มีอาการอาเจียนรสขมหรือเปรี้ยว แนนทอง ปวดไป
ตามชายโครง เรอ ถอนหายใจ จิตใจซึมเศรา วิงเวียน ตึงลูกตา (distention of eyes)
ลิ้น มี ฝาเหลือง
ชีพจร จม ลื่น (Chen Hua mai 沉滑脉)
หลักการรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
เลือกใชจุดฝงเข็มบนเสนลมปราณกระเพาะอาหาร (Stomach Meridian) เสนลมปราณ
Conception Vessel และเสนลมปราณ Pericardium Meridian) เปนจุดหลักใชวิธี Even
technique เพื่อบํารุงมาม (tonify the spleen) สงบกระเพาะ (pacify the stomach) สงบตับ
(smooth the liver) กระจายการคั่ง (disperse the stagnation) เพื่อนําชี่ที่ยอนกลับลงสูเบื้องลาง
เปนการหยุดยั้งการอาเจียน
จุดหลัก: ZhongWan (CV12) NeiGuan (PC6) และ ZuSanLi (ST36)
จุดเสริม :
- มีการออนแอของมามและกระเพาะ เพิ่มจุด GongSun (SP4)
- ความไมประสานระหวางตับและกระเพาะอาหาร (Disharmony between liver and stomach) :
TanZhong (CV17) และ TaiChong (LR3).

อธิบาย :
- ZhongWan (CV12) ชวยสงบกระเพาะอาหารเพื่อนําชี่ที่ยอนขึ้นบนใหกลับลงลางและ
ควบคุมชี่ของ Triple Energizer และจุดนี้ยงั เปน converging point ของอวัยวะฝู (Fu – organs)
จุดนี้ยังเปนจุดมูดานหนา(the Front (Mu) Point) ของกระเพาะอาหาร ซึ่งอวัยวะฝูทั้งหมดรับชี่และ
Page 279

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 269

converging point ของเสนลมปราณของ Conception Vesse ลําไสเล็ก Triple Energizerและ


กระเพาะอาหาร
- ZuSanLi (ST36) เปนจุดเชื่อม(the He–(Sea) point) ของเสนลมปราณกระเพาะอาหาร
จึงสามารถทําใหชี่มีทิศลงลางดังเดิมได และยังเปนจุดบํารุงระบบ (systemic tonic )ของรางกายที่
สําคัญและยังเปนจุดที่ทรงอํานาจสูงสุด (sovereign point) ในการรักษากรณีที่ชี่และเลือดมีการพรอง
- Zusanli (ST36) เมื่อใชรวมกับ Zhongwan (CV12) จะชวยเสริมมาม สงบกระเพาะ
บํารุงชี่และเลือดและลดทิศทางชีท่ ี่ผิดปกติ เพื่อหยุดการคลื่นไสอาเจียน
- Neiguan (PC 6) เปนจุดเชื่อม (the Luo – (Connecting) point) ของเสนลมปราณ
Pericardium Meridian ทําหนาที่ควบคุมชี่ ลดอาการอึดอัดแนนหนาอก (stuffiness of chest) สงบ
กระเพาะ ลดทิศทางชี่ที่ผิดปกติ เพื่อหยุดการคลื่นไสอาเจียน เมื่อใชรวมกับZhongwan (CV12) จะ
ชวยควบคุมชี่ที่ไป Triple Energizer.
- Gongsun(SP4) ใชเปนจุดบํารุงมาม ประสานการทํางานกระเพาะอาหารเมื่อมีความออนแอ
ของมามและกระเพาะอาหาร เนื่องจากจุดนี้เปนจุดเชื่อม the Lou – (Connecting) point ของเสน
ลมปราณมาม อีกประการหนึ่งจุด Gongsun (SP4) ยังเปนจุดเชื่อมสําคัญ 1ใน 8 จุด (the Eight
Confluent Points) ซึ่งมีการเชื่อมตอกับเสนลมปราณ Thoroughfare Vessel ซึ่งเสนลมปราณนี้มี
ความสําคัญในฐานะที่เปนทะเลแหงเลือด“the sea of blood” และทะเลแหงเสนลมปราณทั้งสิบสอง
“the sea of Twelve Meridians” ซึ่งมีจุดกําเนิดที่มดลูก
ความไมประสานระหวางตับและกระเพาะอาหารสามารถแกไดโดยเสริมการใชจดุ Tanzhong
(CV17) ซึ่งเปนจุดมูดานหนา (the Front (Mu) Point) ของเสนลมปราณเยื่อหุมหัวใจ (Pericardium
Meridian) และเปนจุด converging point ของชี่ จึงไมแปลกที่จุดนี้จะมีประโยชนในการควบคุมชี่
และกระตุนระบบเลือดและบํารุงชี่ที่ไปยัง Triple – Energizer เพื่อลดอาการแนนทอง เรอ การถอน
หายใจ( sighing) และจิตใจหดหู (mental depression)
- Taichong (LR3) เปนจุด the Yuan – (Primary) Point ของเสนลมปราณตับ ทําหนาที่
ปรับการทํางาน (soothe disperse) ตับ ลดการคั่งของชี่ ประสานการทํางานของกระเพาะอาหาร ลดการ
กระจายของชี่ทผี่ ิดปกติ
Page 280

270 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

หมายเหตุ
(1.) ในชวงตั้งครรภระยะแรก ทารกในครรภยังไมคอยมั่นคง พยายามเลือกใชจุดนอย การ
กระตุนเข็มควรทําดวยความนุมนวลเพื่อไมใหรบกวนชี่ของทารกIn early pregnancy, the fetus is
not yet stabilized, so less points are prescribed. The needling should be gentle so as not
to disturb the fetal Qi.
(2.) ผูปวยควรนอนพักผอนในที่เงียบสงบ งดการกินอาหารเย็น ดิบๆ หรืออาหารที่มัน กิน
อาหารครั้งละนอย ๆ แตบอย ๆ จะมีผลดีตอชี่ของกระเพาะอาหาร

2. การฝงเข็มหู
เลือกจุด : stomach, spleen, liver, shenmen

 
แพทอง
Page 281

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 271

ภาวะน้ํานมไมพอเพียง
(Lactation insufficiency)
ภาวะน้ํานมไมพอเพียง มักเกี่ยวของกับ การพรองของชีแ่ ละเลือดเนื่องจากความออนเพลียของ
รางกาย ซึ่งจะพบวาเตานมออนตัวไมคัดตึง บางครั้งเกิดจากการคั่งของชื่ของตับ ซึ่งจะพบวาเตานมแข็ง
และมีการเจ็บเนื่องจาการขยายตัวและอาจมีไข

หลักในการรักษา
บํารุงชี่และเลิอดเพื่อควบคุมชี่ของตับ

1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก
ใชจุดบนเสนลมปราณหยางหมิงเทา เชน RuGen (ST18) TanZhong (CV17) ShaoZe
(SI1) ZuSanLi (ST36) QiMen (LR14) ใชวิธีกระตุนรวมกับการรมยา กรณีที่เปนอาการพรอง
และระบายกรณีที่เกิดจากอาการแกรง
ประสบการณทางคลินิก Clinical experience
(1) จุดประสบการณ (Puncturing Experience Points)
เลือกจุด : RuGen (ST18) TanZhong (CV17) ShaoZe (SI1)
วิธีการ :
แทงเข็มจาก TanZhong (CV17) ตรงไปในแนวเตานมและแทงจุดทิศลงไปดานลาง และแทง
จุด RuGen (ST18) ทิศทางเฉียงลงลางลึก 1.5-2.0 cun ShaoZe (SI1) ลึก 0.2 cun คาเข็ม30
นาทีและดึงเข็มออก ถาไดผลดี น้ํานมอาจจะไหลออกมาทันทีที่ดึงเข็มออก
(2) จุดพิเศษ Puncturing Special Points
เลือกจุด : RuQuan อยูที่ตําแหนง 0.5 cun หนาตอ JiQuan (HT1) หลังตอกลามเนื้อ pectoralis
major, หนาตอ transverse crease ของ axilla.
Page 282

272 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

จุดเสริม : TanZhong (CV17) ShaoZe (SI1)


วิธี : ที่จุด RuQuan ใชวิธีจิ้มเข็มแบบนกจิก (bird-pecking needling technique) กระตุน แบบ
ระบาย (even method) ที่จุด ShaoZe (SI1) และ TanZhong (CV17)
ถาทําไดดีควรมีอาการชา ๆ ไปในแนวหนาอก คาเข็มไว 20 นาที และฝงเข็มวันละครั้ง
(3) จุด Ah-shi
เลือกจุด : หาจุดกดเจ็บ 3 จุด (ใหหางจากหัวนม ไปดานขางๆ 3 cun) The 3 Ah-shi points (3 cun
anterior, posterior and lateral to the nipple) รวมกับจุด TanZhong (CV17),
NeiGuan(PC6).

วิธี : แทงจุด Ah-shi ในแนวเฉียงทิศทางไปที่หัวนม ลึกได 0.8-1 cun; กระตุนแรงๆแบบระบาย คา


เข็มไว 20 นาที กระตุนแบบระบายทุก 5 นาที TanZhong (CV17) and NeiGuan (PC6) คาเข็ม
ไว 20 นาที กระตุนทุก 5 นาที และฝงเข็มวันละครั้ง

2. การฝงเข็มหู
เลือกจุด : stomach, spleen, chest, endocrine, sympathetic

จุดฝงเข็มตามตําราโบราณ
1. TaiChong (LR3) และ FuLiu (KI7)
2. แทงเข็มที่ขอบดานขางของขอบเล็บของนิว้ กอย ShaoZe(SI1) ลึก 0.1 cunNeedle the
lateral corner of the nail of the little finger(i.e.)0.1 cun deep จุดYeMen(TE2) ลึก
0.3cun และ TianJing (TE10) ลึก 0.6cun
3. ShoaZe (SI1) HeGu (LI4) TanZhong (CV17)
4. TanZhong (CV17)
5. QianGu (SI2)
Page 283

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 273

ภาวะน้ํานมไมพอเพียง  (Lactation insufficiency)
Page 284

274 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

8. โรคระบบหู คอ จมูก
อาการวิงเวียนศีรษะ
(Dizziness and Vertigo)
ศาสตรการแพทยแผนจีนเรียกวา XuanYun คําวา Xuan แปลวา ตาลาย Yun แปลวา มึน
งงศีรษะ ประกอบดวยอาการหนามืด ตาลาย วิงเวียนศีรษะ มีความรูสึกคลายสิง่ รอบตัวหมุนได ใน
การแพทยแผนปจจุบันพบบอยในโรค Meiniere’s disease โรคของกระดูกตนคอ โดยทั่วไปเกิดจาก
โรคของหลอดเลือดรวมทั้งโลหิตจาง เชน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง เปนตน
สาเหตุการเกิดโรค
1. มามกระเพาะอาหารพรอง ทําใหเกิดเสมหะ
2. หยางตับแกรง ทําใหเกิดไฟ นานเขาทําใหเกิดลม
3. อินตับพรอง ทําใหชี่เลือดพรอง
4. การขาดสารอาหาร
การวินิจฉัยแยกโรคตามกลุมอาการ
1. กลุมอาการชี่และเลือดพรอง
อาการวิงเวียนศีรษะ หนามืดตาลาย สีหนาซีดขาว ออนเพลีย ใจสั่น ทองอืด เบื่ออาหาร
ลิ้น ซีด ฝาขาวบาง
ชีพจร เล็ก ออนนุม (Xi Rou Mai 细 濡脉.)
2. กลุมอาการหยางตับแกรง
เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา หนาแดงตาแดง มีเสียงดังในหู หงุดหงิด โกรธงาย
นอนไมหลับ ฝนมาก รูสึกขมในปาก
ลิ้น แดง ฝาเหลือง
ชีพจร ตึงเร็ว ( Xian Su Mai 弦数脉)
Page 285

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 275

3. กลุมอาการสารจําเปนของไตพรอง
เวียนศีรษะแบบกลวง ๆ วิตกจริต กลัว ความจําไมดี นอนไมหลับ ฝนมาก มีอาการปวด
หรือออนแรงที่แขนขาและหัวเขา หูอื้อ หูดับ ความสามารถในการไดยินลดนอยลง น้ําอสุจิเคลื่อน
ถามีอินพรองรวมจะรูสึกตัวรอนและเหงื่อออกในเวลากลางคืน
ลิ้น แดง ฝานอย
ชีพจร เล็กและเร็ว ( Chen Su Mai 沉数脉)
4. กลุมอาการมีความชื้นและเสมหะสะสมในจงเจียว
เวียนศีรษะและรูสึกสิ่งรอบตัวหมุนได รูสึกหนักอึ้งที่ศีรษะ อึดอัดในทรวงอก คลื่นไส อาเจียน
ออกมาเปนเสมหะและน้ําลาย กระวนกระวาย ปากเหนียว เบื่ออาหาร
ลิ้น ซีด ฝาขาวเหนียว Hua 滑
ชีพจร ตึง ลื่น (Xian Hua Mai :滑数脉)
การรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก : BaiHui (GV20), FengChi (GB20), TouWei (ST8), TaiYang (EX-HN5),
XuanZhong (GB39)
จุดเสริม :
- ชี่และเลือดพรอง เพิ่มจุด PiShu (BL20), ZuSanLi (ST36), QiHai (CV6),
GuanYuan (CV4), XueHai (SP10)
- หยางตับแกรง เพิ่มจุด GanShu (BL18), ShenShu (BL23), XingJian (LR2),
XiaXi (B43), TaiChong (LR3), TaiXi (KI3)
- สารจําเปนในไตพรอง เพิ่มจุด ShenShu (BL23), TaiXi (KI3), SanYinJiao (SP6)
GuanYuan (CV4), XuanZhong (GB39), DaZhong (KI4)
- ความชื้นและเสมหะสะสมในจงเจียว เพิ่มจุด PiShu (BL20), WeiShu(BL21)
FengLong (ST40), YinLingQuan (SP9), ZhongWan (CV12), NeiGuan (PC6)
หมายเหตุ : ในกรณีที่ชี่และเลือด สารจําเปนในไตพรอง ใหกระตุนเข็มที่จุดBaiHui (GV20) และ
FengChi (GB20) ปนเข็มกระตุน หรือใชรวมกับการรมยา
Page 286

276 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

2. การฝงเข็มหู
จุดที่เลือกใช : Kidney (CO10), Ear Shenmen (TF4), Occiput (AT3), ตอมหมวกไต,
Subcortex, จุดหนาผาก, Internal Ear (LO6) และ Brain (AT3,4i).

การกระตุนเข็ม :
ในแตละครั้งเลือกใชจุ ดฝงเข็ม 2 ถึง 3 จุ ด โดยใชเข็มกระตุ นปานกลางหรือกระตุนแรง
คาเข็มไวสัก 20 – 30 นาที โดยกระตุนเปนครั้งคราว
3. การฝงเข็มศีรษะ
จุดที่เลือกใช : คือจุด Vertigo-auditory zone ทั้งสองขางจะมีผลดีอยางยิ่งตอการเวียน
ศีรษะที่เกิดจากประสาทหู
การกระตุนเข็ม : ฝงเข็มวันละครั้ง กระตุนเข็มปานกลาง คาเข็ม 20-30 นาที
Page 287

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 277

อาการวิงเวียนศีรษะ
Page 288

278 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

โรคโพรงจมูกและไซนัสอักเสบ
(Rhinosinusitis)
โรคโพรงจมูกและไซนัสอักเสบ หมายถึงโรคที่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อบุบริเวณโพรงจมูกและ
ไซนัส อาการสําคัญคือ มีน้ํามูกไหลมาก ปวดศีรษะ คัดแนนจมูก การรักษาที่ไมเหมาะสมจะทําให
อาการอักเสบเฉียบพลันเปลี่ยนเปนชนิดเรื้อรัง

สาเหตุการเกิดโรค
ศาสตรการแพทยแผนจีนเห็นวาโรคนี้มีสาเหตุมาจากลมเย็น หรือลมรอนเขากระทําตอปอด เปน
ผลใหเกิดมีความรอนสะสม (pathogenic heat) สงผลตอเสนลมปราณที่ผานบริเวณจมูก การ
รับประทานอาหาร ที่มีรสหวานจัด มันจัด จะทําใหเกิดความชื้นสะสมภายในเปนผลใหมีชี่ของตับติดขัด
การติดขัดทําใหเกิดไฟในเสนลมปราณตับและถุงน้ําดีทําใหชี่และเลือดคั่งอุดกัน้ รูทวารของจมูกมีผลตอรู
เปดของโพรงจมูกที่อยูดานบน

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
1. ลมเย็นภายนอก
อาการแสดง มีอาการคัดจมูก น้ํามูกใส จํานวนมาก ปวดเมื่อยตามตัว ไมมีเหงื่อ กลัวหนาว
ลิ้น ซีด ฝาขาวบาง
ชีพจร ลอย ตึงแนน (โฝว จิ่งมาย...........)
2. ลมรอนจากภายนอก
อาการแสดง มีอาการคัดจมูกแตแหง คันจมูก ลมหายใจรอน น้ํามูกนอยเหลืองขน มีไข กลัวลม
ปวดศีรษะ เจ็บคอ คอแหง
ลิ้น แดง ฝาขาวหรือเหลืองเล็กนอย
ชีพจร ลอย เร็ว (โฝว สูมาย...................)
3. ชี่ติดขัดเลือดคั่ง
อาการแสดง น้ํามูกเหนียวปริมาณมาก สีขาวหรือเหลืองขน การรับกลิ่นลดลง
Page 289

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 279

ลิ้น แดงหรือมีจุดจ้ําเลือด
ชีพจร ตึง เล็ก ฝด (เสวียน ซี่ เซอมาย...................)
5.ชี่พรองเสียชี่ตกคาง
คัดจมูกเรื้อรังมากบางนอยบาง กลางคืนมีอาการมากกวากลางวัน น้ํามูกเหนียวแตใส เมื่ออากาศ
เย็นอาการจะรุนแรงขึ้น รูสกึ วิงเวียนและหนักศีรษะ
ลิ้น แดงออน ฝาขาวบาง
ชีพจร คอนขางชา (หวนมาย..................)
หลักการรักษา
แนวคิดในการรักษาคือ การไลลม ระบายความรอนจากภายนอก กระจายชี่ปอด เปดทวาร
จมูก กําจัดไฟตับและถุงน้ําดี
1.การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก: YingXiang (LI20) BiTong (ShangYingXiang EX-HN8)
YinTang (EX-HN3) HeGu (LI4)
จุดเสริม
- ลมเย็นภายนอก เพิ่มจุด LieQue (LU7) FengChi (GB20)
- ลมรอนจากภายนอก เพิ่มจุด QuChi (LI11) WaiGuan (TE5)
- ชี่ติดขัดเลือดคั่ง เพิ่มจุด GeShu (BL17)
- ชี่พรองเสียชี่ตกคาง เพิ่มจุด BaiHui (GV20)
o ชี่ปอดพรอง เพิ่มจุด FeiShu (BL13) TaiYuan (LU9)
o ชี่มามพรอง เพิ่มจุด PiShu (BL20) ZuSanLi (ST36)
o ไตพรอง เพิ่มจุด MingMen (GV4) ShenShu (BL23)
2. การใชเข็มหู
จุดที่ใช : External Nose, Internal Nose, Forehead, Lung, Large intestine,
Adrenal gland, Spleen, Kidney
Page 290

280 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

เทคนิค : เลือกใชครัง้ ละ 2 – 3 จุด ปกเข็มและกระตุนแบบระบาย คาเข็มไว 1 ชั่วโมง


รักษาวันละครั้ง สลับหูซายขวา สามารถใชไดทั้งการคาเข็มผิวหนัง หรือการกดดวยเม็ดหวังปูหลิวสิง
รักษา 10 ครั้งเปน 1 รอบการรักษา

3. การรมยา
จุดที่ใช : XinHui (GV22) XuanZhong (GB39) และ BaiHui (GV20)
เทคนิค : ใชวิธีรมยาดวย Indirect moxibustion โดยใช moxa cone คั่นดวยขิงขนาดหนา 0.1
ชุน เผาจนกระทั่งขิงเปลี่ยนเปนสีน้ําตาลเทา โดยปกติประมาณ 4-5 cones ตอครั้งตอวันกระตุนที่
จุด XinHui (GV22) 3-5 ครั้ง หากยังไมไดผลใหเปลี่ยนมาใชจุด XuanZhong (GB39) หากยังไม
เกิดผล ใหรมยา BaiHui (GV20) ประมาณ 10-20 นาที

หมายเหตุ
1. ถึงแมวาการฝงเข็มจะไดผลดีสําหรับอาการน้ํามูกไหล แตควรใชการรักษาแบบผสมผสาน
รวมดวย เชน การใหยา (ยาแผนจีน หรือยาแผนปจจุบัน) เพื่อหยุดยั้งโรคใหไดในระยะเฉียบพลัน
เพราะหากวาเปนแบบเรื้อรังแลว การรักษาจะมีความซับซอนมากยิ่งขึ้น
2. ในรายที่เปนเรื้อรังบอยครั้ง ควรสงผูปวยไปรับการตรวจพิเศษ เพราะอาจมีสาเหตุมาจาก
เนื้องอก
Page 291

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 281

โรคโพรงจมูกและไซนัสอักเสบ (Rhinosinusitis)
Page 292

282 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมแิ พ
(Allergic Rhinitis)
โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพมีลักษณะทางคลินิก คือ มีน้ํามูกไหลเปนครั้งคราว มีอาการคัด
จมูก และจาม พบไดในผูปวยทุกอายุ และจะพบบอยในชวงการเปลี่ยนผานของฤดูกาล อาการมักจะเปน
ยาวนาน บางรายอาจมีภาวะแทรกซอนดวยโรคริดสีดวงจมูก (Nasal polyp) ในการแพทยแผนจีน
เรียกวา “BiQiu:….”
สาเหตุการเกิดโรค
1. ปอดพรอง เกิดจากโรคของปอด เชน ไอ เปนหวัด หรือไมรักษาความอบอุนใหกับรางกาย
2. มามพรอง เกิดจากการรับประทานอาหารไมสุก มัน หวานเกิน รสจัด ครุนคิดมาก
3. ไตพรอง เกิดจากปวยดวยโรคเรื้อรังตาง ๆ จนไตออนแอ หรือสุขภาพออนแอแตกําเนิด
ทั้งสามสาเหตุทําให เวยชี่ (WeiQi: defensive qi) ไมสามารถปองกันสวนผิวของรางกาย ลมและความ
เย็นเขารุกรานรางกาย กระทบตอการทํางานของปอดกอใหเกิดโรค
การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
1.ปอดพรอง :
อาการแสดง คันจมูก จามบอย น้ํามูกใสปริมาณมาก คัดจมูก การดําเนินของโรคจะรวดเร็ว
เกิดเร็วและหายเร็ว บางรายอาจมีอาการไอ และพูดนอยรวมดวย เสียงพูดเบาไรพลัง เหงื่อออกงายตอน
กลางวัน (จื้อฮั่น)
ลิ้น ซีด ฝาบาง
ชีพจร พรองไมมีแรง ออนนุม (Xu Ruo Mai ซวี รั่ว มาย)
2.มามพรอง:
อาการแสดง มีอาการเปน ๆ หาย ๆ เปนเวลานาน รวมกับ คันจมูก จามบอย น้ํามูกใสปริมาณ
มาก คัดจมูก เมื่อทํางานเหนื่อย หรือตรากตรํา จะมีอาการรุนแรงขึ้น บางรายอาจมีอาการทองอืด เบื่อ
อาหาร แขนขาเมื่อยหนัก ถายเหลว
Page 293

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 283

ลิ้น ซีด มีรอยฟน ฝาขาว หรือขาวเหนียว


ชีพจร ลอยออนเล็ก คอนขางชา(Ru Huan Mai……………….)
4.ไตพรอง :
อาการแสดง มีอาการเรื้อรัง คันจมูก จามบอย น้ํามูกใสปริมาณมาก คัดจมูก การไดกลิ่น
ลดลง หรือ
เสียไป รวมกับรูส ึกหนาวงาย มือเทาเย็น เมื่อยเอว เขาออน อสุจิเคลื่อนงาย ถายเหลว
ลิ้น ซีด ฝาขาว
ชีพจร จม เล็ก (Chen Xi Mai ………..)
หลักการรักษา
กําจัดสาเหตุที่ทําใหเกิดโรค บํารุงปอด มาม ไต
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก : YingXiang (LI20) HeGu (LI4) TaiYuan(LU9)
ZuSanLi (ST36) LieQue (LU7)
จุดเสริม :
- ปอดพรอง เพิ่มจุด FeiShu (BL13) FengMen (BL12)
- มามพรอง เพิ่มจุด PiShu (BL20) WeiShu (BL21)
- ไตพรอง เพิ่มจุด ShenShu (BL23) MingMen (GV4)
- คัดจมูกมาก เพิ่มจุด YinTang (EX-HN3)
- เสมหะมาก เพิ่มจุด FengLong (ST40)
- หูอื้อ เพิ่มจุด TingGong (SI19)
2. การฝงเข็มหู
จุดที่รักษา : Inner Nose, External Nose, Lung, Spleen, Kidney, PingChuan,
FengXi (Allergic Area), Adrenal, Endocrine
เทคนิค : เลือกใชครัง้ ละ 2 – 3 จุด ปกเข็มและกระตุนแรง คาเข็มไว 20 นาที
รักษาวันละครั้ง สลับหูซายขวา สามารถใชไดทั้งการคาเข็มผิวหนัง หรือการกดดวยเม็ดหวังปูหลิวสิง
Page 294

284 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

รักษา 10 ครั้งเปน 1 รอบการรักษา


3. การครอบกระปุก
จุดที่รักษา : DaZhui (GV14) FeiShu (BL13) GaoHuangShu (BL43)
ShenShu (BL23)

โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมแิ พ (Allergic Rhinitis)


Page 295

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 285

กลองเสียงและคออักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง
(Acute and Chronic Laryngopharyngitis)
การอักเสบอยางเฉียบพลันและเรื้อรังของกลองเสียงและลําคอ พบไดบอยในชวงที่มีการ
เปลี่ยนแปลงของอากาศ อาการทางคลินิกที่สําคัญ คือ เจ็บคอ แสบรอนในลําคอ เนื้อเยื่อภายในกลอง
เสียงบวม รูสกึ คลายมีอะไรติดคอ อาการดังกลาวเหมือนมีการอุดกั้นอยางเฉียบพลันของลําคอ ศาสตร
การแพทยจีน เรียกวา “เอียนโหวจงทง” (YanHouZhongTong :……….. )

สาเหตุการเกิดโรค
1. ลมรอนภายนอกรุกรานเสนลมปราณปอด
ลมรอนคั่งอยูในลําคอ พิษรอนทําใหกลองเสียง และลําคออักเสบเฉียบพลัน อาการที่สําคัญคือ
คอแหง รูสึกรอนผาวในลําคอ เหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยูในคอ
2. ความรอนสะสมในกระเพาะอาหารและลําไส
กระจายไปตามเสนลมปราณหยางหมิง ไปที่คอเกิดอาการเจ็บคอ มักเกิดจากการรับประทานอาหารเผ็ด
รอน ของทอด
3. อินปอด ตับและไตพรอง
ทําใหเกิดไฟพรองลอยขึ้นบน เกิดอาการเจ็บคอ
การวินิจฉัยแยกโรคตามกลุมอาการ
1.ลมรอนภายนอกรุกรานเสนลมปราณปอด
มีอาการบวมแดงภายในลําคอ ปวดแสบรอน และรูสึกอุดตันในลําคอ อาจมีไข กระหายน้ํา
เหงื่อออก ปวดศีรษะ ไอมีเสมหะ ปสสาวะสีเขม
ลิ้น แดง ฝาขาวบาง หรือเหลืองเล็กนอย
ชีพจร ลอย เร็ว (Fou Shu Mai………)
Page 296

286 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

2. ความรอนสะสมในกระเพาะอาหารและลําไส
ลําคอบวมแดง ปวดแสบรอน รูสึกกลืนลําบาก ไขสงู คอแหง กระหายน้ํา ปวดศีรษะ เสมหะ
เหลืองเหนียว ทองผูก ปสสาวะนอยสีเขม
ลิ้น แดง ฝาเหลือง
ชีพจร .................................
3. อินปอด ตับและไตพรอง:
ลําคอบวมเล็กนอย เจ็บคอ คอแดงไมมาก กลืนไมคลองคอ คอแหง เสียงแหบแหง ฝามือ
ฝาเทารอน กลางคืนจะรูสึกคอแหงมาก แตไมกระหายน้ํา
ลิ้น แดง ฝานอย
ชีพจร เล็กเร็ว (Xi Shu Mai ………..)
หลักการรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก : TianRong (SI11), LieQue (LU7), ZhaoHai (KI6), HeGu (LI4)
จุดเสริม:
- ลมรอน เพิ่มจุด ChiZe (LU5), WaiGuan (TE5), ShaoShang (LU11)
- ความรอนสะสมในกระเพาะอาหารและลําไส เพิ่มจุด NeiTing (ST44), QuChi (LI11)
- อินปอด ตับ และไตพรอง เพิ่มจุด TaiXi (KI3), YongQuan (KI1) SanYinJiao
(SP6)
- ลําคอปวดบวมมาก เพิ่มจุด TianTu (CV22) AShi
- เสียงแหบแหง เพิ่มจุด FuLiu (KI7), FuTu (LI18)
- ทองผูก เพิ่มจุด QuChi (LI1) ZhiGou (TE6)
- ชวยการกลืน เพิ่มจุด LieQue (LU7), ZhaoHai (KI6) สองจุดนี้กระตุนเข็มพรอม
กับในผูปวยกลืนน้ําลาย หรือ เจาะปลอยเลือดที่ ShaoShang (LU11)
2. การฝงเข็มหู
จุดที่ใช : Throat, Lung, Kidney และ Lower Tragus
Page 297

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 287

อาการกลองเสียงและลําคออักเสบเฉียบพลัน และเรื้อรัง
Page 298

288 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

หูอื้อ และ หูหนวก


(Tinnitus and Deafness)
อาการหูอื้อและหูหนวก เปนความผิดปกติของการไดยิน มีสาเหตุจากโรคตางๆ อาการหูอื้อจะ
มีเสียงความถี่สงู คลายเสียงแมลง หรือเสียงความถี่ต่ําคลายเสียงเครื่องจักรในหู สวนอาการหูหนวก จะ
สูญเสียการไดยินอยางสิ้นเชิง ทั้งสองอาการมีความคลายคลึงกันในดานของสาเหตุ การเกิด และการรักษา
ศาสตรการแพทยจีนเรียกกลุมอาการนี้วา “เออรหมิง เออรหลง (Er Ming, Er Long)”
สาเหตุการเกิดโรค
1. ลมภายนอกเขากระทํา ลมภายนอกจะทําใหเกิดการอุดกั้นของทวารหู
2.ไฟตับและถุงน้ําดีที่มากเกินไป มีทิศทางขึ้นสูเบื้องบน ทําใหเกิดอุดกั้นของการกระจายชี่ ใน
เสนลมปราณเสาหยาง
3.เสมหะและไฟเกิดจากอารมณหรืออาหารการกินทําใหเกิดการสะสมของเสมหะและความรอน
4.มามและกระเพาะอาหารพรอง เกิดจากการรับประทานอาหารไมสุก มัน หวานเกิน รสจัด
ครุนคิดมาก
5.สารจําเปนของไตพรอง เกิดจากสุขภาพออนแอแตกําเนิด ปวยดวยโรคเรื้อรังตาง ๆ จนไต
ออนแอ อายุมาก พักผอนไมพอ มีเพศสัมพันธมากเกินไป ทําใหจิงชีไ่ มสามารถขึ้นไปหลอเลีย้ งทวารหูได
การวินิจฉัยแยกโรคตามกลุมอาการ
1. ลมภายนอกเขากระทํา
มักเริ่มจากการเปนหวัดตามดวยอาการหูอื้อ หูหนวกหรือรูสกึ แนนตึงในหู รวมกับมีอาการ
ปวดศีรษะ กลัวลม มีไข ปากแหง
ลิ้น แดง ฝาขาวบางหรือเหลืองบาง
ชีพจร ลอยเร็ว (Fou Shu Mai………..)
2.ไฟตับและถุงน้ําดีที่มากเกินไป
Page 299

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 289

เมื่อมีอาการโกรธจะทําใหอาการทางหูมากขึ้น อาจมีอาการปวดหนักในหู รวมกับปวดศีรษะ


หนาแดง ขมในปาก คอแหง หงุดหงิด โมโหงาย ทองผูก
ลิ้น แดง ฝาเหลือง
ชีพจร ตึง เร็ว (Xian Su Mai 弦数脉)
3.เสมหะและไฟ
มีเสียงความถี่สงู ในหูคลายเสียงจักจั่น การไดยินลดลง รวมกับวิงเวียนศีรษะ ตาลาย แนน
หนาอก เสมหะมาก
ลิ้น แดง ฝาเหลืองเหนียว
ชีพจร ตึง ลื่น (Xian Hua Mai 弦 滑脉)
4.มามและกระเพาะอาหารพรอง
อาการเสียงดังในหูเปนพัก ๆ ดังบางคอยบาง ทานอาหารไดนอย ทองอืดแนน มักถายเหลว
อาการจะเปนมากขึ้นเมื่อตรากตรํา หากไดพักผอนอาการจะดีขึ้น
ลิ้น ซีด ฝาบางขาวหรือเหนียวเล็กนอย
ชีพจร เล็ก ออน (Xi Ruo Mai…………..)
5.สารจําเปนของไตพรอง
การไดยินลดลงเรื่อย ๆ จนไมไดยิน อาการหูอื้อจะชัดเจนในเวลากลางคืน รวมกับนอนไมหลับ
วิงเวียนศีรษะ ปวดเมื่อยเอวและเขาออนแรง
ลิ้น แดง ฝานอยหรือไมมีฝา
ชีพจร เล็กตึง หรือ เล็ก ออน (Xi Xian Ruo Mai……………)
หลักการรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก ErMen(TE21), TingGong(SI19), TingHui(GB2), YiFeng(TE17),
ZhongZhu (TE 3) , XiaXi(GB43),
จุดเสริม
- ลมภายนอกเขากระทํา เพิ่มจุด FengChi (GB20), WaiGuan (TE5), HeGu(LI4)
Page 300

290 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

- ไฟตับและถุงน้ําดีที่มากเกินไปเพิ่มจุด XingJian (LR2), QiuXu (GB40),


ZuLinQi (GB41)
- เสมหะและไฟ เพิ่มจุด FengLong (ST40), NeiTing (ST44),
- มามและกระเพาะอาหารพรอง เพิ่มจุด QiHai (CV6), ZuSanLi (ST36), PiShu (BL20)
- สารจําเปนของไตพรอง เพิ่มจุด ShenShu (BL23), TaiXi (KI3), GuanYuan (CV4)
2. การฝงเข็มหู
จุดที่ใช Kidney, Liver, Gall bladder, Triple Energizer, Internal Ear,
External Ear, Temporal, Subcortex
3. การฉีดยาเขาจุดฝงเข็ม
จุดที่ใช : TingGong (SI19), YiFeng (TE17), ShenShu (BL23),
WanGu (GB 12), YangLingQuan (GB34)

4. การฝงเข็มศีรษะ
เลือกใชบริเวณ vertigo and hearing areas ทั้งสองขาง กระตุนเข็มเปนครั้งคราว คาเข็ม
ไว 30 นาที ทําเชนนี้วันเวนวัน วิธีนี้ใชสําหรับสาเหตุที่เกิดจาก หูหนวกจากเสนประสาทหูเสื่อม
Page 301

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 291

หูอื้อ และหูหนวก
Page 302

292 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ความผิดปกติของขอตอกระดูกขากรรไกร
(Temporomandibular Joint Dysfunction)
ความผิดปกติของขอตอกระดูกขากรรไกร ทําใหเกิดอาการปวดของขอตอกระดูกขากรรไกร
เกิดขึ้นไดทั้งขางเดียวและสองขาง อาการปวดมากขึ้นในขณะเคี้ยวอาหารหรืออาปากกวาง อาจมีเสียงดัง
การเคลื่อนไหวกรามติดขัด ผิวหนังภายนอกไมมีการบวม อาการจะเปนๆหายๆ อยูหลายครั้ง หลาย
เดือนถึงหลายป มักพบในกลุมอายุ 20 – 40 ป โดยมีสาเหตุมาจากลมเย็นภายนอกเขากระทําตอเสน
ลมปราณ ทําใหเกิดการอุดตัน หรือเกิดจากการอุดตันของชี่และเลือด จากการไดรับอุบัติเหตุ
สาเหตุการเกิดโรค
1. ความเย็นชืน้ ภายนอก ความเย็นทําใหเกิดการหดรั้งของเสนเอ็น สงผลตอการไหลเวียนของ
เลือดลม ในบริเวณนั้น
2. การอุดตันของชี่และเลือด เกิดจากการบาดเจ็บบริเวณขอตอ จากอุบัติเหตุภายนอก หรือการ
ใชงานมากเกินไป เชน การเคี้ยวอาหารที่แข็งหรือเหนียวหรือนานเกินไป การอาปากกวางเกินปกติ
3.ความผิดปกติแตกําเนิดของขอกระดูกขากรรไกร ชี่ไตบกพรองทําใหการพัฒนาการกระดูก
และโครงสรางผิดปกติ
หลักการรักษา
1. การฝงเข็ม
จุดหลัก: XiaGuan (ST7) TingGong (SI19) HeGu (LI4) JiaChe (ST6)
จุดเสริม:
- ปวดบริเวณหู เพิ่มจุด YiFeng (TE17)
- หูอื้อ เพิ่มจุด ErMen (TE21)
- ปวดศีรษะ เพิ่มจุด TaiYang (EX-HN5) FengChi (GB20)
- เวียนศีรษะ เพิ่มจุด FengChi (GB20)
Page 303

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 293

หมายเหตุ: การรมยาที่จุด XiaGuan (ST7) จะชวยขับไลความเย็นชื้น

ความผิดปกติของขอตอกระดูกขากรรไกร
Page 304

294 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

9. โรคระบบตอมไรทอ
โรคอวน
(Obesity)
โรคอวน หมายถึง ภาวะไมสมดุลย มีการสะสมไขมันมากเกิน หรือไปอยูที่ใดที่หนึ่งมากเกินไป
โรคอวนแบงได 2 ชนิด ไดแก
1. อวนแบบธรรมดา
2. อวนแบบทุติยภูมิ
โรคอวนวินิจฉัยไดโดยใช
1. ดัชนี น้ําหนัก โดยใช BMI = น้ําหนัก (kg) / ความสูง (m ) คาปกติ 25 ≥ 25 – 28 ถือ
2

วาเกินพิกัด มากกวา 28 ถือวาเปนโรคอวน


2. น้ําหนัก มากกวาน้ําหนักปกติ 20 – 30 ﹪
3. รอบเอวผูหญิงมกกวา 85 เซนติเมตร รอบเอวผูชายมกกวา 80 เซนติเมตร ชั้นไขมัน
มากกวา 2.5 เซนติเมตร
อวนแบบธรรมดาพบไดรอยละ 90 ของคนไขโรคอวน สาเหตุเกิดจากรูปแบบวิถีการใชชวี ิต
เชน การบริโภคมากขึ้น ไมออกกําลังกาย ชอบนั่ง นอน อยูเฉยๆ ไมเคลื่อนไหว มักพบรวมกับโรคเรื้อรัง
หรือนําไปสูโรคเรื้อรังอื่น เชน เบาหวาน ความดัน โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด ไมปรากฏวามีความผิดปกติ
ของตอมไรทอ หรือขั้นตอนของขบวนการเคมี เชน การขับเกลือโซเดียมที่ตกคางผิดปกติ เกิดน้ําตกคาง
ในรางกายทําใหน้ําหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือการใชยาฮอรโมนไดผลดี หรือผลจากหลังอุบัติเหตุทางสมอง ผล
จากกรรมพันธุ เหลานี้จัดเปนการอวนแบบทุติยภูมิซึ่งการฝงเข็มจะไมไดผลดี

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
ทางการแพทยจนี โรคอวนมีความสัมพันธกับมาม ตับ ไต กระเพาะ ลําไสใหญ ถุงน้ําดี สวน
ใหญแบงการวินจิ ฉัยได ดังนี้
1. เสมหะชื้นปดกั้น มีลักษณะ หนา คอ อวน ตัว หัวหนักๆ แนนหนาอก แนนบริเวณ
กระเพาะใจสั่นหายใจสั้น ชอบนอน น้ําลายเหนียว อุจจาระเหนียวหรือเละๆ
Page 305

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 295

ลิ้น อวน ซีด มีรอยฟน ฝาเหนียว


ชีพจร ลืน่ หรือหวน ไมมีแรง (Hua or Huan Mai 滑或缓脉.)
2. กระเพาะลําไสใหญรอน มีลักษณะอวนทั้งชวงบนชวงลางของตัว กินเกง ปากแหงชอบ
ดื่ม น้ําเย็น ไมชอบรอน เหงื่อออกมาก หงุดหงิด ขี้โมโห อุจจาระผูก ปสสาวะสั้นเหลือง
ลิ้น แดง ฝาเหลืองเหนียว
ชีพจร ลื่นเร็ว (Hua Shu Mai 滑数脉)
3. ชี่ตับติดขัด มีอาการแนนหนาอกและชายโครง แนนบริเวณเตานมหรือบริเวณทองชวงบน
หรือปอด ไมมีตําแหนงแนนอนเคลื่อนไปมาเปลี่ยนที่ได สัมพันธกับการเปลี่ยน แปลงของอารมณ ชอบ
ถอนหายใจหรือเลอ หรือผายลมจะสบายขึ้น
ลิ้น ฝาขาวบาง
ชีพจร ตึง ( Xian Mai 弦脉)
4. มามและไตหยางพรอง มีอาการปสสาวะบอย ปสสาวะครั้งละมากๆ ไมคอยมีแรง ปวด
เอว เมื่อยขา หนาขาบวม ทองอืด เบื่ออาหาร อุจจาระเหลว
ลิ้น ซีด ฝาขาว
ชีพจร จมเล็กไมมีแรง (Chen Xi Mai .沉细脉)
หลักการรักษา
- ถาเกิดจากความชื้นเสมหะปดกั้น ใชวิธีบํารุงมามกระเพาะ สลายเสมหะความชื้น
- ถาเกิดจากกระเพาะลําไสรอ น ใชวิธีระบายไฟกระเพาะและระบายลําไสใหญ
- ถาเกิดจากตับแกรงชี่ติดขัด ใชวิธี สลายชี่ติดขัด บํารุงมามกระเพาะ
- ถาเกิดจากหยาง มามไตพรอง ใชวิธีบํารุงหยางมามไต
เสนลมปราณที่ใชสวนใหญ ไดแก เญิ่นมาย ไทอินเทา หยางหมิงแขน-ขา ไทหยางขา
ซานเจียวมือ เปนตน
Page 306

296 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

จุดฝงเข็มที่ใช ไดแก
ZhongWan (CV12) ShuiFen (CV9) GuanYuan (CV4) TianZhu (BL10)
DaHeng (SP15) ChiZe (LU5) ZhiGou (TE6) WeiTing (Si44)
FengLong (ST40) ShangJuXu (ST37) SanYinJiao (SP6) YinLinQuan (SP9)
QiHai (CV6) ZuSanLi (ST36) GeShu (BL17) PiShu (BL20) GanShu (BL18)
TaiChong (LR3) NeiGuan (PL6) ShenShu (BL23)

โรคอวน
Page 307

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 297

โรคเบาหวาน
(Diabetes)
เบาหวาน ปจจุบันถือเปนโรคที่พบบอย มีอาการ 3 มากและ 1 นอย คือ หิวน้ํา-ดื่มน้ํามาก กิน
จุมาก ปสสาวะมาก และกลามเนื้อผายผอม ทางการแพทยแผนตะวันตกแบงเบาหวานเปน 2 แบบไดแก
เบาหวานแบบปฐมภูมิ ซึ่งประกอบดวย เบาหวานแบบที่หนึ่ง และเบาหวานแบบที่สอง สวนเบาหวานแบบ
ทุติยภูมิพบไดนอย รายละเอียดทางคลินิกของโรคเบาหวานตามแนวคิดของการแพทยแผนตะวันตก
สามารถหาอานไดทั่วไป
สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
ในทัศนะของศาสตรการแพทยแผนจีน ไดรวบรวมวิเคราะหวา กลไกของโลกมีรอนแหง เปยว
(标) และอินพรอง เปน(本) สาเหตุของโรคมีการบันทึกในคัมภีร «หลิงซู(.灵 枢 » กลาวถึง
“อวัยวะอูจงั้ ทั้งหาที่ออนแอ เชน โรค เซียวตัน(.消 瘅........)งาย”(เซียวตัน เปนชื่อโรคในสมัย
โบราณที่เกี่ยวกับการกิน กลาวคือเมื่อกินเขาไปแลวก็หายไปไมรูสึกอิ่ม เหมือนกับความหายของโรค
เชี่ยวเคอะ)“อารมณโกรธทําใหชี่พุงขึ้นบน มีการไหลเวียนคั่งคางในทรวงอก เลือดลมสวนกระแสและ
ตกคางตามผิวหนังและกลามเนื้อ เลือดที่ไมเคลื่อนไปจะกลายสภาพเปนความรอน เมื่อรอนมาก
กลามเนื้อจะสลายไปเปนโรค เรียกวา “เซียวตัน”ในคัมภีร «ซูเวย(.素 问........)» กลาววา
“ผูที่ชอบกินอาหารหวานและมัน มันจะทําใหเกิดความรอนภายใน หวานจะทําใหอิ่มงาย เปนเหตุให
ชี่ที่เกิดขึ้นมาทันกลายเปนโรคเรียกวา เชี่ยวเคอะ(.消渴..........)”
สรุปสาเหตุของโรคทางศาสตรการแพทยแผนจีน ถือวา เกิดจากการกินอาหารไมถูกสุขลักษณะ
คือ กินมัน หวานจัดมากเกินไป ทําใหการลําเลียงของมามและกระเพาะเสียไป เกิดความรอนสะสมขึ้น
ภายใน จนทําลาย อินความรอนในกระเพาะจะลอยขึ้นบนไปทําลายจินอินของปอด ทําใหเกิดภาวะกินจุ
หิวน้ํา ดื่มน้ํามาก สําหรับสาเหตุจากอารมณ อธิบายวา อารมณทําใหชี่ตับติดขัดนานเขาเกิดเปนไฟ ไฟจะ
ทําลายจินและอินของกระเพาะและปอด เกิดภาวะเชี่ยวเคอะไดเหมือนกัน การทํางานมากไปหรือขาดการ
พักผอนหรือมีเพศสัมพันธมากไปทําใหหนาที่ไตลดลงเกิดไฟ ไฟนี้จะไปทําลายจินอินของปอดและกระเพาะ
เปนเหตุใหเกิดเชี่ยวเคอะไดเชนเดียวกัน สําหรับอาการไตพรองทําใหไมสามารถดึงรั้งปสสาวะปสสาวะจึง
Page 308

298 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

มีมากและมีสีเปนขุนครีม จะเห็นไดวาเบาหวานสามารถกระทบไดถึง ซานเจียว ซึ่งเปนที่อยูโรค ปอด


กระเพาะ มาม ไตและตับ
การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
1. ซางเซียว มีอาการดื่มน้ํามาก หงุดหงิด กระหายน้ํา ปากแหง ปสสาวะบอยปริมาณมาก
ลิ้น ปลายลิ้นแดง ฝาเหลืองบาง
ชีพจร แรงเร็ว (Su Mai 数脉)
2. จงเซียว กินเกง ปากมีกลิ่น เหงือกบวม คลื่นไสอาเจียน ไมสบายรอนบริเวณลิ้นป รูปรางผอม
อุจจาระผูก
ลิ้น แดง ฝาเหลืองแหง
ชีพจร ลื่นเร็ว (.Hua Su Mai 滑数脉)
3. เซี่ยเซียว
3.1 อินของไตไมพอ ปสสาวะบอยและปริมาณมาก ลักษณะขุนคลายครีม หรือปสสาวะมีรส
หวาน ปากแหง ดื่มน้ํามาก เวียนหัวมีเสียงดังในหู นอนไมหลับขี้ลืม หงุดหงิด ฝนมาก ปวดเอวเมื่อย
นอง ปวดชาแขนขาหรือมีอาการน้ํากามเคลื่อน ผิวหนังแหง
ลิ้น แดง ฝานอย
ชีพจร จมเล็กเร็ว (Chen Xi Su Mai 沉细数脉)
3.2 อินและหยางพรอง ปสสาวะจะบอย ลักษณะขุนคลายครีม หนาสีจะดํา ใบหูจะแหงคล้ํา
ปวดเมื่อยเอวเขา ปวดเมื่อยฝาเทา กลัวหนาวปลาย แขนขาเย็น แขนขาไมมีแรง สมรรถภาพทางเพศ
ลดลง รอบเดือนผิดปกติ
ลิ้น ซีด ฝาขาว
ชีพจร จมเล็กไมมีแรง (.Chen Ruo Mai 沉弱脉)

หลักการรักษา
ระบายรอนขจัดแหง เพิ่มอินบํารุงจิง
จุดฝงเข็มที่ใช :
Page 309

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 299

อี๋ซู (อยูระหวาง BL17-BL18) FeiShu (BL13) PiShu (BL20) WeiShu (BL21)


SanJiaoShu (BL22) ZuSanLi (ST36) SanYinJiao (SP6) TaiXi (KI3)
HeGuu(LI4) ShenShu(BL23)

จุดเสริม
- ถาเปนซางเซียว เพิ่มจุด TaiYuan (LU93), YuJi (LU10), ShaoShang (LU11),
JinJin (EX-HN12), YuYe (EX-HN13)

- ถาเปนจงเซียว เพิ่มจุด ZhongWan (CV12) TianShu (ST25) QuChi (LI11)


NeiTing(ST44)

- สําหรับเซี่ยเจียว
- ถาเปน อินไตพรอง เพิ่มจุด GanShu (BL18) GuanYuan (CV4) FuLiu
(KI7) ZhaoHai (KI6)

- ถาเปน อินและหยางพรอง เพิ่มจุด MingMen (GV4), GuanYuan (CV4), QiHai


(CV6)

- ถากระทบตอเสนประสาทแขน เพิ่มจุด QuChi (LI11), ShouSanLi (LI10), BaXie


(EX-UE9)

- ถากระทบตอเสนประสาทขา เพิ่มจุด HuanTiao (GB30) YangLingQuan (GB34)


ZuSanLi (ST36) XuanZhong (GB39) KunLun (BL60) BaFeng(EX-LE10)
Page 310

300 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

โรคเบาหวาน
Page 311

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 301

ภาวะการทํางานของตอมไทรอยดมากเกินไป
(Hyperthyroidism)
ภาวะการทํางานของตอมไทรอยดมากเกินไปหรือไทรอยดเปนพิษ เปนโรคของตอม
ไทรอยด ซึ่งเกิดจากการทํางานของเซลลในรางกายที่ตอบสนองตอฮอรโมนที่หลั่งผิดปกติ อาจพบคอโต
ตาโปน

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
สาเหตุของการเกิดโรคมีความสัมพันธกับการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ ไตอินพรอง การทํางาน
มากเกินไป หรือเกี่ยวกับกรรมพันธุ และสาเหตุที่พบบอยมักเกิดจากอารมณที่มีผลกระทบตอชี่ตับ ทําให
ติดขัดจนกระทั่งเกิดไฟไปทําลายอิน ตอมาอินของตับจะลดลงพรอมกับเกิดไฟพรอง มีผลทําใหเกิดไฟ
หัวใจเพิ่มขึ้น อินหัวใจจึงลดลง มีผลใหอินไตลดลงดวย ทําใหไตและหัวใจทํางานไมสมดุล นานวันเขาทํา
ใหอินตับพรองไปดวย เปนผลใหอาการรุนแรงขึ้นอีก ขณะเดียวกันชี่ตับติดขัดทําใหตับและมามทํางานไม
สมดุล ทําใหหนาที่ของมามดอยประสิทธิภาพ จึงทําใหเกิดเสมหะ เสมหะจะรวมกับชี่เคลื่อนไปที่คอ ทํา
ใหเกิดตอมไทรอยดโต เรียกวา “อิงจง(瘿肿)” ถาเสมหะไปอยูที่ตาทําใหตาโปน

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
1.ชี่ติดขัดเสมหะคาง
อาการ มีกอนที่คอ กลืนไมสะดวกรูสึกเหมือนมีเม็ดบวยติดคอ จิตใจหดหู หงุดหงิด โกรธงาย
แนนหนาอก เจ็บชายโครง นอนไมหลับ
ลิ้น แดงมืด ฝาเหนียวบาง
ชีพจร ตึงลื่น (.Xian Hua Mai 弦滑脉)
2.ไฟตับลามกระเพาะ
อาการ มีกอนที่คอ ตาโปน ตาแดงมองไมชัด โกรธหงุดหงิดงาย หนาแดง เหงื่อออกมากไมชอบ
รอน ปวดศีรษะ มึนงง ปากแหง กระหายน้ํา หิวบอย
ลิ้น แดง ฝาเหลืองบาง
Page 312

302 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ชีพจร ตึงเร็ว(.Xian Su Mai 弦数脉.)


3.มามพรองและเสมหะชื้น
อาการ มีกอนที่คอ คลําดูจะนุมๆ ตาทั้งสองขางโปน ผอมแหงไมมีแรง อุจจาระปนเหลว แนน
ทอง โดยเฉพาะหลังอาหาร คลื่นไสอาเจียน บวมและชาตามตัว
ลิ้น ซีด มีรอยฟน ฝาบางๆ
ชีพจร ลื่นมาก (.Hua Mai 滑脉.)
4.อินพรองเกิดไฟลุกโชน
อาการ มีกอนที่คอ ตาโปน อารมณออนไหว เวียนศีรษะ ตาลาย ใจสั่น หายใจไมเต็มอิ่ม รูสึก
รอนที่บริเวณฝามือฝาเทาและกลางทรวงอก(รอนทั้งหา) นอนไมหลับ เหงื่อออกมาก กระหายน้ํา หิวบอย
หนาแดง ผอมบาง มือสั่น
ลิ้น แดง ฝานอย
ชีพจร เล็กเร็ว (Xi Su Mai 细数脉)
5.อินและชี่พรอง
อาการ มีกอนที่คอเปนเวลานาน และมีขนาดโตมากขึ้น ออนเปลี้ยเพลียแรง แนนอก หายใจไม
เต็มอิ่ม ไมคลอง เสียงแหบแหง
ลิ้น ฝาบางเหนียว
ชีพจร ตึงเล็ก (弦细脉 Xian Xi Mai)

หลักการรักษา
ปรับใหชี่เดิน กําจัดเสมหะ ระบายไฟตับ เสริมอินไต
จุดฝงเข็ม :
จุดหลัก
NeiGuan (PL6) ShenMen (HI7) ZuSanLi (ST36)
SanYinJiao (SP6) FuLiu (KI7) ShaoHai (HT3)
TaiXi (KI3) TaiChong (LR3) GuanYuan(CV4)
TianTu (CV22) FengChi (GB20)
Page 313

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 303

จุดเสริม :
- ตาโปนมาก เพิ่มจุดYinBai (SP1) ZanZhu (BL2) SiZhuKong (TE23)
ZhengYing (GB17)
- มองไมชัด เพิ่มจุด ZhengYing (GB17), GuangMing (GB37)
- มือสั่น เพิ่มจุด ChiZe (LU5), HeGu (LI4)
- ถาเกิดจาก ชีต่ ิดขัดเสมหะคาง เพิ่มจุด
GanShu (BL18) PiShu (BL20) FengLong(ST40)
- ถาเกิดจาก ไฟตับลามกระเพาะ เพิ่มจุด NeiTing (ST44) HeGu (LI4)
YangLingQuan (GB34) GanShu (BL18)
- ถาเกิดจากมามพรองและเสมหะชื้น เพิ่มจุด PiShu (BL20) WeiShu (BL21)
ZhangWan (CV12) QiHai (CV6) FengLong (ST40)
- ถาเกิดจาก อินพรองเกิดไฟลุกโชน เพิ่มจุด GanShu (BL18) ShenShu (BL23)
JianShi (PC5) DaLing (PC7)
- ถาเกิดจาก อินและชี่พรอง เพิ่มจุด GuanYuan(CV4) ZhaoHai(KI6)
- ถาเสียงแหบ เพิ่มจุด LianQuan(CV23) FuTu (LI18)
Page 314

304 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ภาวะการทํางานของตอมไทรอยดมากเกินไป
Page 315

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 305

ภาวะการณทํางานของตอมไทรอยดนอยเกินไป
(Hypothyroidism)

Hypothyroidism เกิดจากการสรางฮอรโมนลดลงทําใหตอมทํางานนอยลง

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
การแพทยจีนถือวาเกิดไดจากพันธุกรรม การทํางานหนักเกินไป การบริโภคอาหารไมถูกตอง
หรือปวยหนักหลังจากนั้นเกิดความไมสมดุล ไตเปนทุนกอนกําเนิดมีหนาที่เกี่ยวกับการสรางสารจิง
ควบคุมน้ํา สรางไขกระดูก ถาทุนกอนเกิดไมพอทําใหจิงไตไมพอ การตรากตรําเกินไป การแตงงานมี
บุตรตั้งแตอายุนอย เหลานี้เปนเหตุใหไฟมิ่งเหมินลดลง ทําใหเกิดภาวะหยางพรอง มีอาการกลัวหนาว
มือเย็น ตัวบวม มดลูกเย็น มีบุตรยาก ถาไขกระดูกสรางไมพอทําใหเกิดอาการเวียนศีรษะ มีเสียงในหู
ปวดเอว เขาออน หรือหลงลืมงาย ถาทุนหลังกําเนิดไมดี หรือกินอาหารไมถูกตอง มามจะขับเคลื่อน
ลําเลียงอาหารและน้ําไมดี ทําใหเกิดภาวะมามชื้นได สําหรับผูปวยหลังจากปวยหนักเลือดลมจะลดลง
เพราะมามกระเพาะออนแอ ใบหนาจะซีด ไมมีแรง ไมชอบพูดจา ไอแหง แขนขาชา

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
ลักษณะที่พบมากก็คือ หยางมามไตพรองและชี่เลือดพรอง ซึ่งจะพบลักษณะอาการแนนทอง
เบื่ออาหาร ตัวหนัก ชอบนอน จิตใจหอเหี่ยว ไมมีแรง พูดนอย ใจสั่น หายใจไมเต็มอิ่ม เวียนศีรษะ
ตาลาย หนาซีดอมเหลือง ผอม ขนแหงรวงงาย ผิวแหง แขนขาชา ปวดเอวเขาออน เวียนศีรษะ มีเสียง
ในหู ตัวบวมโดยเฉพาะขา กลัวหนาว รอบเดือนนอย สมรรถภาพทางเพศลดลง
ลิ้น โต ซีด ฝาบาง
ชีพจร เล็กออนแรง (Chen Ruo Mai 沉弱脉)

หลักการรักษา
เพิ่มชี่ อุนหยาง เสนลมปราณหลักที่ใช คือ ตูมาย เญิ่นมาย หยางหมิงขา เปนหลัก เพิ่ม
การรมยา
Page 316

306 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

จุดหลัก : DaZhui (GV14) MingMen (GV4) JiZhong (GV6) PiShu (BL20)

ShenShu (Bl2) QiHai (CV6) GuanYuan (CV4) ZuSanLi (ST3)

จุดเสริม :
- ถาแนนทอง เพิ่มจุด ZhongWan (CV12), TianShu (ST25), WeiShu (BL21)
- ถาบวม เพิ่มจุด YinLingQuan (SP9), SanYinJiao (SP6), SanJiaoShu (BL22)
ShuiDao (ST28), ShuiFen(CV9)
- ถาความจําไมดี เพิ่มจุด SiShenCong (EX-HN1), BaiHui (GV20), XinShu (BL15)
- ถามีปญหาการพูด เพิ่มจุด LianQuan(CV23), TongLi (HT5)

ภาวะการทํางานของตอมไทรอยดนอยเกินไป
Page 317

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 307

10. โรคติดเชื้อ
ตับอักเสบจากไวรัส
(Viral Hepatitis)
ตับอักเสบจากไวรัส เปนโรคติดเชื้อทางเดินอาหารชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับ
อักเสบ ลักษณะทางคลินิกแบงไดเปน 2 ชนิด คือ ไวรัสตับอักเสบ A และไวรัสตับอักเสบ B มี
อาการเบื่ออาหาร ปวดบริเวณตับหรือชายโครงดานขวา ตรวจพบความผิดปกติการทํางานของตับ ตาม
ศาสตรการแพทยแผนจีนจัดอยูใ นกลุมเจ็บหรือปวดขายโครง, ดีซาน ฯลฯ

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการของโรค
1.ดีซานจากสาเหตุรอนชื้น
อาการ ใบหนาผูปวยออกเหลืองคลายผลสมสดใส อึดอัดแนนใตลิ้นป เบื่ออาหาร อาเจียน
ขมปากและปากแหง ปวดชายโครง ทองอืดแนน ออนเพลีย ไมมีเรี่ยวแรง หรือคันตามผิวหนัง
ปสสาวะสีเขม ทองผูก หรือถายเหลว
ลิ้น มีฝาเหลืองเหนียว
ชีพจร เร็ว (Su Hua Mai 滑数) หรือลอยออน เร็ว (Ru Su Mai 濡数)
2. ชี่ตับติดขัด
อาการ ปวดแนนชายโครง ปวดใตลิ้นป ทองอืด คลื่นไสและเรอ เบื่ออาหาร
ลิ้น แดง ฝาขาวบาง
ชีพจร ฝด (Se Mai 涩脉)
3.ขัดขวางการทํางานของมามจากความชื้น
อาการ จุกแนนใตล้ินป ทองอืด หรือปวดชายโครง คลื่นไส อาเจียน เบื่ออาหาร ไม
กระหายน้ํา รูสึกหนักๆตามแขนขา ถายเหลว
ลิ้น มีฝาขาวเหนียว
ชีพจร ลอยออน (Ru Mai 濡脉)
Page 318

308 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

หลักการรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก ZhiYang (GV9), GanShu (BL18), DanShu(BL19),
YangLingQuan (GB34), ZuSanLi (ST36)
จุดเสริม
- ดีซานจากสาเหตุรอนชื้น เพิ่มจุดDaZhui (GV14), QuChi (LI11), WaiGuan (TE5)
- ชี่ตับติดขัด เพิ่มจุด QiMen (LR14) ZhiGou (TE6) NeiGuan (PC6)
- ขัดขวางการทํางานของมามจากความชื้น เพิ่มจุด YinLingQuan (SP9), SanYinJiao
(SP6), ZhongWan(CV12)
วิธี ปกเข็มแบบระบาย
2. การฝงเข็มหู
จุดหลัก ตับ ถุงน้ําดี มาม ซานเจียว กระเพาะอาหาร Subcortex และ Shenmen
เทคนิค เลือก 3 -4 จุด ในการรักษาแตละครั้ง ปกโดยใชเข็มขนาดยาว 5 feng ปนเข็ม
จน กระทั่งหูรูสกึ อุน ทําทุกวัน จนครบ 10 ครั้งเปน 1 รอบการรักษา ติดหูดวยเม็ดแมงลัด หรือเม็ด
ผักกาด หรือเม็ดแมเหล็ก
Page 319

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 309

ตับอักเสบจากไวรัส
Page 320

310 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ไขหวัดใหญ
(Influenza)
ไขหวัดใหญ เปนการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันเนื่องจากไวรัส ‘Influenza’ ซึง่ มี
ลักษณะอาการทางคลินิก คือ ไขสงู เฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ฯลฯ อาจมี
อาการคัดจมูก น้ํามูกไหล ไอ เจ็บคอ ฯลฯ รวมดวย ไขหวัดใหญมักเกิดในชวงฤดูใบไมรว งและฤดู
หนาว ตามศาสตรการแพทยแผนจีน เรียกโรคนี้วา “ Shixing gammao ”

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
1.แบบลมเย็น
อาการ กลัวหนาวมาก ไขเล็กนอย ปวดศีรษะ ไมมีเหงื่อ คัดจมูกน้ํามูกไหล ปวดเมื่อยตามแขนขา
ลิ้น มีฝาขาวบาง
ชีพจร ลอยตึงแนน (Fu Jin Mai 浮紧脉)
2.แบบลมรอน
อาการ ไขสงู กลัวหนาวเล็กนอย ปวดศีรษะ ไอ เสมหะเหลืองขน เลือดกําเดาออก เปนบางครั้ง
กระหายน้ํา เจ็บคอ
ลิ้น แดง ฝาเหลืองบาง
ชีพจร ลอย เร็ว (Fu Su Mai 浮数脉)
3.แบบหยางหมิงกระเพาะลําไส
อาการ ปวดศีรษะ เปนไข คลื่นไส อาเจียน ปวดแนนทอง ทองเสีย อึดอัดแนนหนาอก
ลิ้น มีฝาขาวเหนียว
ชีพจร ลอยออนเร็ว หรือลอยลื่น(Ru Shou Mai 濡数; Fu Hua Mai 浮滑脉)

หลักการรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก : DaZhui (GV14) HeGu (LI4) TaiYang (LU9 ) ZuSanLi (ST36 )
Page 321

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 311

จุดเสริม :
- แบบลมเย็น เพิ่มจุด FengChi (GB20)
- แบบลมรอน เพิ่มจุด QuChi (LI11), ShaoShang (LU11)
- แบบกระเพาะลําไส เพิ่มจุด ZhongWan (CV12), NeiGuan (PC6)
TianShu (ST25)
วิธีการ ปกเข็มแบบระบาย ShaoShang (LI1) เจาะปลอยเลือด
2. การฝงเข็มหู
จุดหลัก ปอด จมูก (Internal nose) หลอดลม(Trachea) ซานเจียว กระเพาะอาหาร
ยอดใบหู
วิธีการ
เลือก 2 - 3 จุด หูทั้งสองขาง ในการรักษาแตละครั้ง ปกเข็มกระตุนแรงๆ คาเข็ม 10 นาที

ไขหวัดใหญ
Page 322

312 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

คางทูม
(Mumps)
คางทูม เปนอาการอักเสบของตอมพาโรติดจากไวรัสแบบเฉียบพลัน พบไดบอยในชวงฤดู
ใบไมผลิและฤดูหนาว ซึ่งมีลักษณะอาการทางคลินิกแบบเฉียบพลัน ไดแก เปนไข บวมและปวดขาง
แกม (Parotid region) ขางเดียวหรือสองขาง รวมทั้งที่หูขอบเขตไมชัดเจน กลืนและสัมผัสจะรูสึกเจ็บ
เล็กนอย อาการจะคอย ๆ หายไปภายหลัง 4 – 5 วัน ภาวะแทรกซอนอื่น ๆ เชน เยื่อหุมสมองอักเสบ

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
อาการไมรุนแรง ปวดและบวมขางแกม ใตใบหู เคี้ยวลําบาก รวมกับอาการกลัวหนาว
ไข ปวดเมื่อยลาทั้งตัว
ลิ้น มีฝาเหลืองบาง
ชีพจร ลอยเร็ว (Fu Su Mai 浮数)
อาการรุนแรง ปวด บวมแดงขางแกม เคี้ยวลําบาก ไขสูง ปวดศีรษะ หงุดหงิด กระหายน้ํา ทองผูก
ปสสาวะนอยสีเขม บางครั้งมีอาเจียน ปวดและบวมลูกอัณฑะ หมดสติและชัก
ลิ้น มีฝาเหลือง
ชีพจร ลื่นเร็ว ( 滑数 Hua Mai , Shou Mai)
การรักษา
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
จุดหลัก
ShuaiGu (GB8), YiFeng (TE17), JiaChe (ST6), HeGu (LI4)
จุดเสริม
- อาการรุนแรง : เพิ่มจุด QuChi (LI11), WaiGuan (TE5)
- ลูกอัณฑะบวม : เพิ่มจุด TaiChong (LR3), QuQuan ( LR8)
วิธีฝงเข็ม ปกเข็มแบบระบาย จุด ShuaiGu (GB8) ปกลึก 1.5 ชุน ปลายเข็มชี้ไปยอดใบหู ปนเข็ม
จนความรูสึกของเข็มไปยังบริเวณที่มีพยาธิสภาพ คาเข็ม 30 นาที ทําวันละครั้ง
Page 323

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 313

2. การฝงเข็มหู
จุดหลัก Antitragic Apex , Cheek and Subcortex
วิธีการ กระตุนแรงๆ คาเข็มไว 20 นาที วันละครั้ง ติดหูดวยเม็ดแมงลัด หรือเม็ดผักกาด
หรือเม็ดแมเหล็ก
3. รมยารวมกับ Rush pith ( Medulla Funci )
จุดหลัก Jiaosun (TE20)
วิธีการ นํา Rush pith ที่แชในน้ํามันพืชหรือน้ํามันงา มาจุกไฟ แลวเอาไปวางไวที่จุด JiaoSun
(TE20) และเอาออกทันทีที่ไดยินเสียงไหมบริเวณผิวหนัง โดยปกติอาการบวมจะหายไปหลังทําเพียง
ครั้งเดียว อาจทําซ้ําไดในวันรุงขึ้น ถาอาการบวมยังไมหมดไป

คางทูม
Page 324

314 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

11. โรคและอาการโรคอื่น ๆ
ลมพิษ
(Urticaria)
ลมพิษ เปนโรคที่พบไดบอยในทางคลินิก โดยผิวหนังจะมีลักษณะนูนขึ้นมาเปนบริเวณกวาง
มากนอยตางกันไป อาจมีเพียงจุดเดียวหรือหลายจุดกระจายไปทั่วรางกายก็ได มักจะเกิดหลังจากสัมผัส
กับลม ดังนั้นศาสตรการแพทยจีนจึงเรียกวา ผื่นลม และจากลักษณะที่เปน ๆ หาย ๆ จึงไดมีชื่อเรียก
อีกวา ผื่นซอนเรน ในบางรายอาจเกิดเปนซ้ําไดหลายครั้ง หรือบางรายอาจไมมีอาการเกิดซ้ํานานเปน
เดือนหรือเปนปก็ได
สาเหตุและอาการแสดงของโรคนี้ไดอธิบายไวอยางชัดเจน ในตําราแพทยจีนโบราณ เชน ตํารา
Synopsized Prescriptions of Golden Chamber ไดกลาววา “หากชี่ที่กอโรคมากระทําที่เสน
ลมปราณเมื่อใด ผื่นซอนเรนและอาการคันจะบังเกิดขึ้น”

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
ก) เกิดจากการคั่งของความชื้นที่ผิวหนังและกลามเนื้อ และถูกลมรอนหรือลมเย็นมารุกราน
เพิ่มเติม การตอสูระหวางความชื้นที่อยูระหวางผิวหนังกับกลามเนื้อที่เกิดขึ้นจึงเกิดผื่นลมนูนใหเห็น
ข) เกิดจากการสะสมความรอนในกระเพาะอาหารและลําไส ซึ่งตอมาถูกรุกรานจากลมกอโรค
ที่ไมสามารถกําจัดใหหมดไปทั้งที่เปนลมภายในหรือลมภายนอกกอใหเกิดลมรอนสะสมอยูระหวาง
ผิวหนัง และกลามเนื้อเกิดผื่นลมขึ้นมา
ค) อีกสาเหตุมาจากพยาธิในลําไส เชน พยาธิไสเดือน หรือพยาธิชนิดตาง ๆ หรือเนื่องมาจาก
การรับประทานปลา กุง หรือปูเปนเหตุใหเกิดความไมสมดุลของมามและกระเพาะอาหาร ทําใหเกิดการ
สะสมความรอนชื้นขึ้นและไปสะสมอยูระหวางผิวหนังและกลามเนื้อ

การวินิจฉัยแยกกลุมอาการโรค
การเกิดผื่นคันนูนขึ้นมาในรูปรางและขนาดตางๆกันบนผิวหนัง อาจเปนมากขึ้นหรือนอยลงจาก
Page 325

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 315

สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ภาวะดังกลาวเกิดขึ้นและหายไปอยางรวดเร็ว สามารถแบงออกเปนชนิด


ตางๆไดดังตอไปนี้
1. จากลมรอน
2. จากลมชื้น
3. จากความรอนสะสมในกระเพาะอาหารและลําไส
จุดบนเสนลมปราณมามและลําไสใหญเปนจุดหลักในการรักษา การเคาะบริเวณที่เปนผื่นดวย
เข็มเจ็ดดาวก็เปนอีกวิธีหนึ่งในการรักษาโรค

หลักการรักษา
1. กําจัดลมและความรอน
2. กําจัดลมและความชื้น
3. กําจัดความรอนในกระเพาะและลําไส
จุดหลัก :
QuChi (LI11) HeGu (LI4) WeiZhong (BL40) XueHai (SP10)
SanYinJiao (SP6)
อธิบาย :
- QuChi (LI11) และ HeGu (LI4) ใชกําจัดสิ่งกอโรคที่อยูบริเวณผิวหนังและกลามเนื้อ
- XueHai (SP10) และ WeiZhong (BL40) ใชคูกับสองจุดดังกลาวเพื่อระบายความรอน
จากเลือด
- SanYinJiao (SP6) ใชระบายความชื้น
จุดเสริม
1. จากลมรอน
อาการและการแสดงออก : ผื่นแดงและคันมาก ชีพจรตื้นและเร็ว ซึ่งผื่นมีสีแดงหมายถึงความ
รอน อาการคันเกิดจากลม สวนชีพจรตื้นและเร็วเปนลักษณะของลมรอน
จุดที่เลือกใชเพิม่ เติม DaZhui (GV14) เปนจุดตัดของเสนลมปราณหยางทุกเสนผาน ใช
ระบายความรอน
Page 326

316 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

2. จากลมชื้น
อาการและการแสดงออก : ผื่นสีแดงจางๆหรือขาวรวมกับอาการหนักเมื่อยตามตัว สีของผื่น
และอาการหนักเมื่อยตามตัวนั้นแสดงถึงมีการติดขัดตกคางของลมชื้นที่ผิวหนังและกลามเนื้อ ฝาขาว
เหนียวที่ลิ้นและชีพจรตื้นชาเปนลักษณะของลมชื้น
จุดที่เลือกใชเพิม่ เติม : YinLingQuan (SP9) กําจัดความชื้น
3. จากความรอนสะสมในกระเพาะอาหารและลําไส
อาการและการแสดงออก : ผื่นแดงและมีอาการปวดทองหรือปวดแนนใตลิ้นป ทองผูกหรือ
ทองเดิน ฝาเหลืองบางชีพจรเร็ว สีแดงคือความรอน อาการปวดใตลิ้นปและปวดทองรวมกับทองผูกเปน
อาการของการมีความรอนสะสมในกระเพาะอาหารและลําไส ทําใหเกิดการอุดกั้นของชีใ่ นอวัยวะกลวง
ชีพจรเร็วและฝาเหลืองที่ลิ้นแสดงถึงการมีความรอนอยูภายใน
จุดที่เลือกใชเพิม่ เติม : TianShu (ST25) และ ZuSanLi (ST36) กําจัดความรอนที่สะสมอยูใน
กระเพาะอาหารและลําไส
Page 327

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 317

 
ลมพิษ 
Page 328

318 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

สะอึก
(Hiccup)
อาการสะอึก เปนการเกร็งกระตุกของกลองเสียงและกระบังลมที่ทํางานไมประสานกันตามปกติ
ทําใหเกิดเสียงเฉพาะขึ้นมา บางครั้งการสะอึกเกิดขึ้นไมรุนแรงและหายไปโดยไมตองการการรักษาใด ๆ
แตหากอาการเปนอยูนานไมหาย ตองทําการรักษา อาการสะอึกสวนมากเกิดจากอาหารที่ไมไดทานเปน
ประจํา หรือจากชี่ตับติดขัด รวมทั้งการมีความเย็นสะสมอยูในกระเพาะอาหาร ทําใหชี่ของกระเพาะ
อาหารวิ่งขึ้นเบื้องบนแทนที่จะวิ่งลงเบื้องลาง

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
การรับประทานอาหารที่แตกตางจากอาหารที่รับประทานเปนประจํา ทําใหชี่ของกระเพาะอาหาร
ไหลเวียนไมปกติ รวมทั้งเกิดจากอารมณที่แปรปรวนทําใหชี่ตับติดขัด เหลานี้เปนเหตุใหชี่ของกระเพาะ
อาหารไหลยอนขึ้นเบื้องบน
การรุกรานของความเย็นตอกระเพาะอาหาร การรับประทานอาหารที่เย็นและหยาบหรือดิบ หรือ
รับประทานยาที่มีฤทธิ์เย็น ทําใหชี่ของกระเพาะอาหารไมเคลื่อนลง เกิดการยอนขึ้นของชี่

การวิเคราะหฺแยกกลุมอาการโรค
อาการสะอึกแบงตามสาเหตุตางๆไดดังนี้
1. อาหารตกคางไมยอย
2. อาการชี่ติดขัด
3. มีความเย็นในกระเพาะอาหาร
จุดบนเสนลมปราณกระเพาะอาหาร ตู และเญิ่นใชในการรักษา

หลักการรักษา
1. ชวยใหกระเพาะอาหารยอยและทํางานดีขึ้น
2. สงบตับ ควบคุมกระเพาะอาหาร
3. อุน กระเพาะอาหาร ควบคุมชี่
Page 329

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 319

จุดฝงเข็มที่ใชในการรักษา
- อาหารตกคางไมยอย
อาการและการแสดงออก : สะอึกเสียงดังและใส ทองอืดแนน ปวดทอง เรอบอย มีกลิ่นปาก
เบื่ออาหาร
ลิ้น มีฝาหนาเหนียว
ชีพจร ลื่นมีแรง (Hua Suy Shou Ma 滑数有力)
จุดหลัก : NeiGuan (PC6) - ZhongWan (CV12) - NeiTing (ST44) -
ZuSanLi (ST36) / GeShu (BL17) -

อธิบาย
- ZhongWan (CV12) จุดมูดานหนาของกระเพาะอาหาร และ ZuSanLi (ST36) จุด
เหอลางของกระเพาะอาหาร ชวยควบคุม Middle-Jiao เพื่อใหเกิดการยอยอาหาร
- NeiGuan (PC6) จุดลั่ว(Luo-Connecting Point)ของเสนลมปราณมือเจวี๋ยยินมีแขนง
เชื่อมกับชองทรวงอกและทองทั้งหมด(Triple Jiaos) และยังเชือ่ มกับเสนลมปราณอินเวยที่มีหนาที่
ควบคุมภายในของรางกาย ควบคุมชี่ของทรวงอกและทองชวงกลาง และชวยแกอาการสะอึก
- GeShu (BL17) ควบคุมกระบังลมและคลายอาการหดเกร็งของกระบังลม
- NeiTing (ST44) ชวยกระเพาะอาหารขับเคลื่อนอาหารที่ไมยอยใหออกจากกระเพาะอาหาร
จุดเสริม :
- ถามีอาการรุนแรง เพิ่มจุด JuQue (CV14) -
- ถาทองผูกและอืดแนนทอง เพิ่มจุด TianShu (ST25) –

- อาการชี่ติดขัด
อาการและการแสดงออก : สะอึกเปนระยะเวลานานและตอเนื่อง และอาการเปนมากขึ้นเมื่อ
เกิดอารมณเสีย รูสึกปวดแนนในชองทรวงอกและใตชายโครง
ลิ้น มีฝาบาง
ชีพจร แข็งเหมือนลวดและมีแรง (Xian Mai 弦有力)
จุดที่เลือกใชและการกระตุนจุด :
Page 330

320 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

จุดหลัก :
TaiChong (LR3) - DanZhong (CV17) - GeShu (BL17) /
ZhongWan (CV12) - NeiGuan (PC6) - ZuSanLi (ST36) +

อธิบาย :
- TaiChong (LR3) และ NeiGuan (PC6) ชวยสงบตับและควบคุมการไหลยอนของชี่
กระเพาะอาหาร
- ZhongWan (CV12) จุดมูดานหนาของกระเพาะอาหาร และ ZuSanLi (ST36) จุด
เหอลางของกระเพาะอาหาร ชวยควบคุม Middle-Jiao เพื่อใหเกิดการยอยอาหาร
- DanZhong (CV17) และ Geshu (BL17) ควบคุมกระบังลมและคลายการเกร็งตัว
จุดเสริม :
- มีรสขมในปาก เพี่มจุด YangLingQuan (GB34) -
- กรณีเรื้อรัง เพิ่มจุด PiShu (BL20) / WeiShu (BL21) /
- มีความเย็นในกระเพาะอาหาร
อาการและการแสดงออก : อาการสะอึกที่ดีขึ้นดวยความอุน และเปนมากขึ้นจากความเย็น
ลิ้น มีฝาขาวเหนียว
ชีพจร ชา (Chi Mai 迟脉)
จุดที่เลือกใชและการกระตุนจุด :
จุดหลัก : ZhongWan (CV12) + ^ NeiGuan (PC6) / ZuSanLi (ST36) + ^
GeShu (BL17) / ^ ShangWan (CV13) + ^

อธิบาย :
- ZhongWan (CV12) จุดมูดานหนาของกระเพาะอาหาร และ ZuSanLi (ST36) จุด
เหอลางของกระเพาะอาหาร ชวยอุนและบํารุง Middle-Jiao
- NeiGuan(PC6) จุดลั่ว (Luo-Connecting Point) ของเสนลมปราณมือเจวี๋ยอินมีแขนง
เชื่อมกับชองทรวงอกและทองทั้งหมด (Triple Jiaos) และยังเชื่อมกับเสนลมปราณอินเวยที่มีหนาทีค่ วบ
คุมภายในของรางกาย ควบคุมชี่ของทรวงอกและทองชวงกลาง และเปนกุญแจดอกสําคัญที่จะทําใหชี่
ของกระเพาะอาหารไหลเวียนตามปกติ
Page 331

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 321

จุดเสริม :
- มีอาการรุนแรง เพิ่มจุด ShenMen (HT7) +

อาหารตกคางไมยอย
Page 332

322 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

 
อาการชี่ติดขัด
Page 333

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 323

มีความเย็นในกระเพาะอาหาร 
 
 
Page 334

324 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ไขสูง
(High Fever)
อุณหภูมิของรางกายที่สูงเกินกวา 39 องศาเซลเซียสถือเปนภาวะไขสงู มักพบในภาวะมีการติด
เชื้อ โรคติดเชื้อตาง ๆ และไขแดดที่มักมีภาวะหมดสติและเกร็งรวมดวย

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
ในทางศาสตรการแพทยจีน ไขสูงเกิดจากลมรอนภายนอกที่กระทําตอปอดจนทําใหหนาที่ของ
ปอดเสียไป ไมสามารถกระจายชี่ออกไปได หรือจากการตอสูระหวางปจจัยกอโรคและชี่ปกติของรางกาย
อันเนื่องมาจากการรุกรานเขาภายในรางกายของปจจัยกอโรคไขที่ไมสามารถกําจัดออกไปไดจนเขาไปสู
ระดับชี่ลงไปถึงเลือดและเยื่อหุมหัวใจ

การวิเคราะหแยกกลุมอาการโรค
เมื่อลมรอนรุกรานปอด เกิดความรอนขึ้นในแตละระดับ ดังนี้
1. ความรอนเขาถึงระดับชี่
2. ความรอนรุกรานเขาถึงระดับเลือด
3. ความรอนของหนารอนรุกรานหัวใจ

การรักษา
จุดที่เลือกใชและการกระตุนจุด :
จุดหลัก DaZhui (GV14) - QuChi (LI11) -
จุดเสริม :
- ลมรอนรุกรานปอด
อาการและการแสดงออก : ไอ กลัวลมและความหนาวเล็กนอย เหงื่อออก ปวดศีรษะ เจ็บ
คอ ปากแหง กระหายน้ํา หรือมีอาเจียนเปนน้ําสีเหลืองเหนียว
ลิ้น มีฝาบาง
Page 335

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 325

ชีพจร ลอยเร็ว (浮数脉 Fu su mai)


จุดฝงเข็มที่ใช :
ChiZe (LU5) - YuJi (LU10) - WaiGuan (TE15) -
- ความรอนเขาถึงระดับชี่
อาการและการแสดงออก : ไขสูง ไมกลัวหนาวแตกลัวรอน แกมแดง ตาแดง กระหายน้ําอยาก
ดื่มนน้ําเย็น ไอ เจ็บหนาอก หรือมีทองผูก ทองอืดแนนกดไมได
ลิ้น มีฝาเหลืองแหง
ชีพจร เร็วเต็ม (洪脉 Hong su mai)
จุดฝงเข็มที่ใช :
HeGu (LI4) - NeiTing (ST44) - เจาะปลอยเลือดจุด GuanChong (TE1)

- ความรอนรุกรานเขาถึงระดับเลือด
อาการและการแสดงออก : ไขสูง อาการไขแยลงในชวงกลางคืน กระวนกระวาย หรือเพอ
หลงลืม กระหายน้ําแตไมอยากดื่มน้ํา หรือมีผื่นแดง เลือดออก อาเจียนเปนเลือด ถายเปนเลือด
ลิ้น แดงจัดแหง
ชีพจร เบาและเร็ว (细数脉 Xi su mai)
จุดฝงเข็มที่ใช :
QuZe (PC3) - LaoGong (PC8) - WeiZhong (BL40) -

- ความรอนของหนารอนรุกรานหัวใจ
อาการและการแสดงออก : ไขสูง เสียงแหบ กระหายน้ําและดื่มน้ํามาก ชองปากและริมฝปาก
แหง รูสึกแสบรอนในกลามเนื้อ หลงลืมเปนบางครั้ง หรืออาจมีอาการหมดสติและเกร็ง
ลิ้น แดงจัดแหง
ชีพจร เต็มและเร็ว (洪数 Hong su mai)
จุดฝงเข็มที่ใช :
12 Jing-well points blood letting
Page 336

326 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

อธิบาย :
จุดประสงคในการรักษาคือ กําจัดลมและระบายความรอน การกระตุนแบบระบายที่จุด
DaZhui(GV14) QuChi(LI11) และ HeGu(LI4) จะเปนการลดไขไดดีมาก
- DaZhui (GV14) ระบายความรอนและกระตุน ชี่ เหมาะที่จะใชรักษาความรอนสูงและกลัวหนาว
- QuChi (LI11) เปนจุดเหอของเสนลมปราณหยางหมิง ใชเพื่อลดไขและลดการกระหายน้ํา
- HeGu (LI4) ใชระบายความรอนกําจัดลมและดีสําหรับรักษาลมรอนของใบหนาและศีรษะ
- 12 Jing-well points ใชระบายความรอนจากปอดทําใหลําคอเปนปกติ

 
ความรอนเขาถึงระดับชี่
Page 337

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 327

ความรอนรุกรานเขาถึงระดับเลือด 
 
Page 338

328 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

พิษสุราเรื้อรัง
(Alcoholism)

พิษสุราเรื้อรัง เปนปญหาใหญทั้งในทางสังคมและทางการแพทย ผลของแอลกอฮอลตอรางกาย


ในระยะยาวนั้นรุนแรงโดยเฉพาะกรณีที่ดื่มมากหรือดื่มเปนเวลานาน แอลกอฮอลมีผลกระทบตอสมอง
และระบบประสาทที่ควบคุมพฤติกรรมและหนาที่ของรางกาย ขณะเดียวกันก็มีผลตอตับและตับออน ไม
มีสวนใดของรางกายที่ไมไดรับผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล การเตนผิดจังหวะของหัวใจ การ
อักเสบของระบบปลายประสาทที่ทําใหเกิดการมึนชา และการปวดกระเพาะอาหารจากการอักเสบของผิว
กระเพาะอาหารเปนสิ่งที่พบไดเสมอ ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศเปนเรื่องที่พบไดบอย แอลกอฮอลยัง
มีผลกระทบตอระบบภูมิคุมกันและลดความตานทานตอโรค สาเหตุที่แทจริงของการติดสุราเรื้อรังนั้นยัง
ไมทราบแนชัด แตการที่ไมสามารถจัดการปญหาทางดานจิตใจและอารมณไดนั้นมักกระตุนใหเกิดการ
ดื่มสุรา ดังนั้น การติดสุราเรื้อรังมักเกิดขึ้นในชวงที่ชวี ิตประสพปญหาทางดานจิตใจและอารมณ
หลักการรักษา
สําหรับผูที่ตองการเลิกการดื่มสุรานั้น สามารถเลือกใชวิธีตาง ๆ ไดดังตอไปนี้
1. การฝงเข็มระบบเสนลมปราณ
ขอบงชี้ : ติดสุราเรื้อรังและตั้งใจที่จะเลิกสุรา
จุดที่เลือกใช :
SanYinJiao (SP6) FengLong(ST40) NeiTing (ST44) TaiChong (LR3)
NeiGuan (PC6) YinLingQuan (SP9) ZhongWan (CV12) ShenMen (HT7)

วิธีการการกระตุน จุด : กระตุนเข็มแบบระบาย ฝงเข็มวันละครัง้ ครบ 10 ครั้งเปน 1 การรักษา


ปกติจะทําการฝงเข็มรวม 3 การรักษา
- ฝงเข็มที่จุด Suliao (DU25)
ขอบงชี้ : เมาสุรา
จุดที่เลือกใช : Suliao (DU25)
วิธีการกระตุนจุด : ใชเข็มยาว 0.5 นิ้ว ปกลงทีจ่ ุดลึก 0.2 นิ้ว ยกเข็มขึ้นและปกเข็มลงแลว
Page 339

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 329

หมุนไปมาเบาๆ ทําตอเนื่องนาน 3 – 10 นาที

2. การฝงเข็มหู
ขอบงใช : ติดสุราเรื้อรังแตตองการเลิกดื่ม
จุดใบหูที่เลือกใช :
Mouth, Stomach, SanJiao, Endocrine, ShenMen, Occiput, Subcortex, Apex
วิธีการกระตุน : ใชการกระตุนจุดใบหูตามมาตรฐานการกระตุนจุดบนใบหู
ขอคิดเห็น :
ผูที่ดื่มสุรามาเปนระยะเวลานานมักจะมีอาการจากการติดสุราเรื้อรังเชน กระวนกระวาย
หงุดหงิด วิตกกังวล รูส ึกวางเปลาไมมีความหมาย บางครั้งรูสึกตัวสั่น เหงื่อออก มีภาพหลอน หรือชัก
กระตุกเมื่อหยุดดื่มทันที การรักษาดวยการฝงเข็มแสดงใหเห็นถึงการบรรเทาอาการตาง ๆ เหลานี้อยาง
ไดผล ดังนั้นจึงชวยใหนักดื่มสามารถเลิกดื่มสุราได
 

 
พิษสุราเรื้อรัง
Page 340

330 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

การติดสารเสพติด
(Drug Addiction)
การติดยาเสพติด เปนปญหาทางการแพทยและสังคมที่ใหญอีกปญหาหนึ่ง สําหรับผูที่
ตองการเลิกเสพยาเสพติด วิธีการฝงเข็มรักษาขางลางนี้เปนประโยชนอยางยิ่ง

การรักษา
1. การฝงเข็ม
1.1 ฝงเข็มกลุมจุดดังตอไปนี้
ขอบงชี้ : ติดสารเสพติด
จุดที่เลือกใชและการกระตุนจุด :
ShenMen (HT7) / NeiGuan (PC6) / TaiChong (LR3) - FengLong (ST40) -
HeGu (LI4) / ZuSanLi (ST36) / SanYinJiao (SP6) /

หมายเหตุ : / กระตุนจุดแบบปกติ ไมกระตุนแบบบํารุงหรือแบบระบาย


กระตุนจุดแบบระบาย
1.2 ฝงเข็มที่จุดพิเศษ TianWeiXue (EX-UE21)
ขอบงชี้ : ติดสารเสพติด
ตําแหนงของจุด :
จุดพิเศษ TianWeiXue (EX-UE21) อยูบริเวณขอมือ ตรงกลางระหวางเสนที่ลากจากจุด
LieQue (LU7) และจุด YangXi (LI5)

การกระตุน : ใชเข็มยาว 1 นิ้วปกตั้งฉากตรงจุดนี้ลึก 3 – 4 มม. ขณะที่กําลังปกลงไปนั้นใหผูปวย


หายใจเขาดวย แลวเริ่มหมุนกระตุนเข็มใหเกิดความรูสึกชาและตึงแนนบริเวณขอมือหรืออาจรูสึกขึ้นไป
ถึงแขน หรือรูส กึ งวงซึมหรือเกิดความสุข หรือรูสึกถึงรสของโลหะหรือรสชาติอื่น ๆ ในปาก คาเข็มไว
นาน 15 นาที ฝงเข็มวันละครั้ง และ 1- 2 ครั้งก็เพียงพอที่จะชวยใหผูปวยเลิกสารเสพติดได
Page 341

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 331

2. การฝงเข็มหู
ขอบงชี้ : ติดสารเสพติด
จุดใบหูที่เลือกใช :
Lung, Large Intestine, Kidney, Stomach, Spleen, Subcortex, Forehead,
Liver, Chest, Shenmen, Occiput

วิธีการกระตุน : ใชการกระตุนจุดใบหูตามมาตรฐานการกระตุนจุดบนใบหู
ขอคิดเห็น :
อาการถอนยาเสพติดที่เกิดขึ้นทั้งทางรางกายและจิตใจอันเปนผลมาจากการใชสารเสพติด
เชน เฮโรอิน หรืออนุพันธของเฮโรอินเชนยาแกปวด หรือกลุมยาระงับการชัก หรือยากระตุนประสาท
เชน ยามา เปนตน จะเกิดเมื่อหยุดการใชสารเสพติดเหลานี้ การรักษาดวยการฝงเข็มสามารถระงับหรือ
ลดอาการอยากยาไดในระหวางการเกิดอาการถอนยา ในชวงการรักษาดวยการฝงเข็มนั้น ผูปวยจะรูสึก
งวงซึมนอยลง ใหความสนใจตอสิ่งแวดลอมมากขึ้น ใสใจตอการสนทนาและการอานเพิ่มขึ้น การทํางาน
ของลําไสดีขึ้น รูส ึกอยากอาหารเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ อาการน้ําตาไหล น้ํามูกไหล หายใจหอบ ปวดบิด
กระเพาะอาหาร ปวดกระดูกและหนาวจะดีขึ้น และหายไปหลังจากกระตุนใบหูได 10 - 15 นาที

 
การติดยาเสพติด
Page 342

332 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

การเสพติดบุหรี่
(Tobacco Addiction)
การเสพติดบุหรี่ เปนปญหาที่สําคัญทางสังคมและการแพทย ซึ่งมีผลกระทบอยางรุนแรงตอ
มนุษย มีสารพิษมากกวา100ชนิดที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่ซึ่งกอใหเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอด
เลือดหัวใจ โรคปอดอักเสบ ความพิการแตกําเนิด โรคมะเร็ง อายุขัยสั้นลง เกิดความพิการของทารกใน
ครรภ ฯลฯ สําหรับผูที่ตองการเลิกเสพติดบุหรี่นั้น จะใชวิธีการรักษาดานลางนี้

1.การฝงเข็มที่จุดพิเศษ TianWeiXue (EX-UE21)


ขอบงชี้ : เสพติดบุหรี่และตองการเลิก
ตําแหนงของจุด :
จุดพิเศษ TianWeiXue (Ex-UE21) อยูบริเวณขอมือ ตรงกลางระหวางเสนที่ลาก
จากจุด LieQue (LU7) และจุด YangXi (LI5)
การกระตุนจุด : ใชเข็มยาว 1 นิ้วปกตั้งฉากตรงจุดนี้ลึก 3 – 4 มม. ขณะที่กําลังปกลงไปนั้นให
ผูปวยหายใจเขาดวย แลวเริ่มหมุนกระตุนเข็มใหเกิดความรูสึกชาและตึงแนนบริเวณขอมือหรืออาจรูสึก
ขึ้นไปถึงแขน หรือรูสึกงวงซึมหรือเกิดความสุข หรือรูสึกถึงรสของโลหะหรือรสชาติอื่นๆในปาก คาเข็มไว
นาน 15 นาที ฝงเข็มวันละครั้ง และ 1 - 2 ครั้งก็เพียงพอที่จะชวยใหผูปว ยเลิกเสพติดบุหรี่ได

2.การฝงเข็มหู
ขอบงชี้ : เสพติดบุหรี่และตองการเลิก
จุดใบหูที่เลือกใช :
Mouth, Tongue, Lung, Liver, Chest, Subcortex, Shenmen, Occiput, Trachea

วิธีการกระตุน : ใชการกระตุนจุดใบหูตามมาตรฐานการกระตุนจุดบนใบหู
ขอคิดเห็น :
อาการถอนยาจากการสูบบุหรี่ที่เกิดขึ้นทั้งทางรางกายและจิตใจอันเปนผลมาจากการสูบบุหรี่มา
นานจนเสพติดแลวนั้น เชน กระวนกระวาย หงุดหงิด วิตกกังวล รูสึกวางเปลาไมมีความหมาย น้ําหนัก
Page 343

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 333

ตัวเพิ่มขึ้น จะเกิดเมื่อหยุดสูบบุหรี่ การรักษาดวยการฝงเข็มสามารถระงับหรือลดอาการถอนยาจากการ


หยุดสูบบุหรี่ได นอกจากนั้นการรักษาดวยการฝงเข็มจะเปลี่ยนความรูสึกตอรสชาติของบุหรี่ทําใหรูสึกวา
บุหรี่ไมมีรสชาติอันหอมหวนเชนเดิมและทําใหหยุดสูบไปในที่สุด

การเสพติดบุหรี่
Page 344

334 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ปวดฟน
(DENTAL PAIN)

อาการปวดฟน ในการแพทยแผนปจจุบันอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปรกติตางๆ ในชองปาก


เชน Dental caries, Pulpitis. Apical periodontal inflammation, Pericoronitis และ
Priodentitis ศาสตรการแพทยแผนจีน เรียกอาการนี้วา “ Ya Tong”

สาเหตุและการแยกกลุมอาการของโรค
1. เหตุจากลมรอน Wind-Fire
อาการและอาการแสดง
อาการปวดฟนเกิดอยางเฉียบพลัน รุนแรง อาการกําเริบเมื่อกระทบรอน และทุเลาดวย
ความเย็น มีอาการบวมแดงที่เหงือก
ลิ้น ตัวลิ้นบาง แดง ฝาลิ้นเหลือง
ชีพจร ลอยเร็ว (Fou Su Mai 浮数脉)
2. เหตุจากไฟรอนในกระเพาะอาหาร
อาการและอาการแสดง
อาการปวดฟนอยางรุนแรงรวมกับเหงือกแดง กําเริบโดยความรอน ทุเลาโดยความเย็น
คอแหง กลิ่นปากเหม็น ทองผูก ปสสาวะสีเขมมาก
ลิ้น ตัวลิ้นแดงและฝาลิ้นเหลือง
ชีพจร เร็ว (Su Mai 数脉)
3. เหตุจากเกิดไฟลอยขึ้นสูงจากอินพรอง
อาการและอาการแสดง
อาการปวดตื้อๆของฟนเปนพักๆ รวมกับการฝอของเหงือก ฟนรวง ปวดหลัง เขาออน
ลิ้น ตัวลิ้นแดง ฝาลิ้นนอย
ชีพจร เสนดายและเบา (Xi Su Mai 细数脉)
Page 345

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 335

หลักการรักษาและจุดฝงเข็ม
1. ปวดฟนจากลมรอน
หลักการรักษา ระบายลม สยบความรอน ลดอาการบวม และระงับปวด
จุดหลัก
Fengchi (GB20) Θ Hegu (LI4) Θ
กระตุนแบบระบาย 3 นาที คาเข็ม 30นาที หากอาการปวดยังไมทุเลา ใหเพิ่มจุดฝงเข็มรอง
- Xiguan (ST7) สําหรับอาการปวดฟนบน
- Jiache (ST6) สําหรับอาการปวดฟนลาง
ระหวางกระตุนเข็มแบบระบายแนะนําใหคนไขกัดฟนไปพรอมกัน จนกวาจะหายปวด หลังจาก
นั้นคาเข็ม 30 นาที อีกจุดที่ใชไดผลดีคือ Dazhui (GV14) ใชเมื่อมีไขรวมดวย
- Fengchi (GB20) เปนจุดสําคัญในการระบายลมและไฟ
- Hegu (LI4) เปนจุดสําคัญมากในการลดอาการปวดตางๆ และยาระบายลมและความรอนได
ดีดวย
2. ปวดฟนจากความรอนในกระเพาะอาหาร
หลักการรักษา ระบายไฟจากกระเพาะอาหาร ลดอาการบวม ทุเลาอาการปวด
จุดหลัก
Hegu (LI4) Θ Neting (ST44) Θ Jiache (ST7) Θ Xiguan (ST6) Θ
- จุด Hegu (LI4) อยูบนเสนลมปราณกระเพาะอาหารจะชวยระบายความรอนออกจากเสน
ลมปราณหยางหมิง ทะลวงเสนลั่วl และลดอาการปวดที่ฟนได
- Neting (ST44) ระบายความรอนออกจากกระเพาะโดยตรง
- Xiaguan (ST6) , Jiache (ST7) เปนจุดใกลบริเวณที่มีปญหาและเปนจุดบนเสนหยางหมิง
จะชวยทะลวงการเดินของชี่ และกระตุนเสนลัว่ เพื่อลดอาการปวด
จุดเสริม
Zhigou (SJ6) Θ
Chengshan (BL57) Θ เมื่อมีทองผูกรวมดวย
Page 346

336 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

3. ปวดฟนเพราะอินพรอง เกิดไฟลอยทะยานขึ้นสูง
หลักการรักษา บํารุงอิน บํารุงไต ลดไฟ บรรเทาปวด
จุดหลัก
Hegu (LI4) Θ Jiache (ST6) Θ
Taixi (KI3) ⊕ Rangu (KI2) ⊕

- Taixi (KI3) เปนจุด Yuan ชวยบํารุงไตบํารุงอิน


- Rangu (KI2) เปนจุด Ying ชวยบํารุงไต สงบไฟ

จุดเสริม
Shenshu (BL23) ⊕
Zhishi (BL52) ⊕
หากมีอาการปวดเอง
Shenshu (BL23) ⊕
Baihui (GV20) ⊕ ถามี Tinnitus หรือ Dizziness

การใชจุดฝงเข็มบนใบหู
จุดหลัก Shenmen Cheek Apex of Antitragus
Yatongding
จุดเสริม เหตุจากลมรอน : Innerear , Ear Apex
เหตุจากกระเพาะรอน : Stomach, Large intestine
เหตุจากอินพรอง : Kidney
Page 347

บทที่ 4 การรักษาอาการโรค 337

ปวดฟนจากลมรอน

ปวดฟนจากความรอนในกระเพาะอาหาร
Page 348

338 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ปวดฟนเพราะอินพรอง เกิดไฟลอยทะยานขึ้นสูง
Page 349

ภาคผนวกที่ 1
ประวัติและการพัฒนาการของวิชาการแทงเข็มรมยา
针灸学发展间史
(History and Development of Acupuncture and Moxibustion)

“แพทยศาสตรและเภสัชศาสตรของจีนเปนทรัพยสมบัติอันล้ําคาของชาติ ควรพยายาม คนควา


และยกระดับใหสูงขึ้น” วิชาการแทงเข็มรมยาก็เปนสวนหนึ่งในทรัพยสมบัติอันล้ําคาเหลานี้
ความกาวหนาและผลสําเร็จทางวิทยาศาสตรทั้งหมดในปจจุบันเกิดขึ้นจากการยืนหยัดใช
แรงงานและการปฏิบัติที่ตอเนื่องกันเปนเวลาอันยาวนานในประวัติศาสตรข องมนุษยและผลทั้งหมดจาก
ขบวนการที่ไมมีวันจบสิ้นของการพัฒนาการจากขอบเขตของความจําเปนไปสูความมีเสรีเงื่อนไขทาง
สังคม เศรษฐกิจการเมือง และวัฒ นธรรมมีอิท ธิพ ลอยางมากตอ ความกาวหนาทางวิทยาศาสตร
ประวัติการพัฒนาการของวิธีการรักษาโรคดวยการแทงเข็มรมยาเปนรูปธรรมของ สัจธรรมที่ไดกลาว
มาแลวขางตนอยางไมมีเงื่อนไข การรักษาโรคดวยการรมยานี้เปนความสําเร็จของประชาชนจีนในการ
ตอสูกับโรคภัยไขเจ็บมาเปนเวลานานนับพันๆ ป การแทงเข็มรมยาเปนวิธีการรักษาโรคที่แตกตางกันสอง
วิธีซึ่งไดถือกําเนิดขึ้นและพัฒนาไป โดยประชาชนผูใชแรงงานจีนเพื่อตอสูกับโรคภัยไขเจ็บ เปนวิธีการ
รักษาโรคที่ไดผานประวัติศาสตรอันยาวนานและมีเกียรติ สืบทอดมาจนกระทั่งทุกวันนี้
มนุษยในระยะแรกๆ สามารถปลดเปลื้องความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นและรักษาโรคหรือความไม
สบายอยางอื่นไดโ ดยการ บีบ นวด หรือ เคาะ ตรงตํา แหนง ที่เจ็บปวดหรือ ไมสบาย เมื่อมนุษยไ ด
รวบรวมประสบการณเหลานี้ขึ้นเปนระบบ ทําการคนควาและสรุปบทเรียนเปนเวลานาน วิธีการบีบ นวด
หรือเคาะตําแหนงที่ไมสบายนี้ก็คอยๆ พัฒนาเปนระบบของจุดแทงเข็ม ในยุคหิน มนุษยดํารงชีพดวย
ธัญญาหารและผลไมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ พวกเขาไดรวมมือกันลาสัตวสําหรับใชเปนอาหารดวย
เครื่องมือหินหยาบ เครื่องมือหินหยาบเหลานี้รวมถึงแผนหินเล็กๆ ที่มีคมที่ใชสําหรับแทงตื้นๆ หรือผา
ผิวหนังเพื่อเปนทางออกของหนองในแผล ในยุคหินขัด มนุษยไดรวมมือกันทําไรทํานา เลี้ยงสัตว และ
สรางที่อยูอาศัยที่เปนหลักแหลงขึ้น เครื่องมือในการทําการผลิตซึ่งทําใหมีคมโดยการถูหรือลับกับหิน
หยาบหรือทรายเปนเงื่อนไขทางวัตถุที่อํานวยใหใช เข็มหิน (“เปยน” ตามพจนานุกรมจีน คําวา “เปยน”
หมายถึงการใชกอนหินในการรักษาโรค) ในการรักษาโรค จากบันทึกทางประวัติศาสตรเทาที่คนควาได
Page 350

340 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

ในปจ จุบันนั้น หินเปยนที่ใชกันในยุคนั้นจําแนกออกเปนสามประเภทคือ เปยนสือ (หินคม) ซานสือ


(หินแหลม) และเจินสือ (เข็มหิน) มนุษยในยุคนั้นรักษาโรคโดยการใชมุมหรือคมของหินเหลานี้ กรีด
สะกิด กด หรือแทงตรงจุดที่แนนอนบนรางกาย หินเหลานี้เปนเครื่องมือในการแทงเข็มที่บุพกาลที่สุด
เมื่อการผลิตพัฒนาไป เครื่องมือเครื่องใชก็พัฒนายกระดับขึ้น มีการใชเข็มที่ทําจากกระดูกและไมไผ
แทนกอนหินที่ใชกันในระยะ แรกๆ เมื่อมีการทําเครื่องปนดินเผาขึ้นก็มีการประดิษฐ เข็มดินเผา ขึ้นใช
เข็มชนิดนี้ใชสําหรับสะกิดผิวหนังตื้นๆ ตรงตําแหนงที่แนนอนบนรางกาย วิธีโบราณวิธีนี้ยังคงใชกับใน
บางสวนของประเทศจนกระทั่งทุกวันนี้

การนําไฟเขามาใชในการดํารงชีพของมนุษยไดอํานวยเงื่อนไขสําหรับการคิดคนวิธีการรักษา
โรคดวยการรมยา กําเนิดของการรักษาโรคดวยการรมยานี้สามารถสืบยอนหลังไปถึงการคนพบของ
บรรพบุรุษที่วา “อาการของโรคบางโรคอาจหายไปไดหลังจาก ผิงรอบๆ กองไฟ” หรือบทเรียนจาก
อุบัติเหตุที่อาการของโรคหายไปไดเมื่อถูกไฟลวก เปนตน ปรากฏการณที่เกิดขึ้นเสมอๆ เหลานี้ไดนํามาสู
การรักษาโรคดวยวิธีการรมยา ในระยะแรกๆ วัตถุดิบที่ใชในการรมยาก็คือใบไมหรือกิ่งไมแหงๆ แลว
คอยๆ พัฒนามาใชถาน กํามะถันและโกฐจุฬาลําพา เปนตน จากประสบการณในการปฏิบัติเปนเวลาอัน
ยาวนาน บรรพบุรุษของเราสรุปไดวาผงละเอียดจากใบแหงของตนโกฐจุฬาลําพาใหผลดีที่สุดและนิยมใช
กันมากที่สุดในการรมยา
ในสมัยราชวงศซาง(1,057-557 ปกอนพุทธกาล) เปนระยะแรกที่มนุษยคนพบการผสมโลหะ ใน
สมัยนี้มนุษยรูจักใชโลหะมาประดิษฐเครื่องมือเครื่องใชในการผลิต นอกจากนั้นพวกเขายังไดทํา เข็ม
ทองเหลือง ขึ้นใชแทนเข็มไมไผ เข็มกระดูก หรือเข็มดินเผาในอดีต เมื่อมนุษยมีบทเรียนในการแทงเข็ม
มากขึ้น ความเรียกรองตองการที่จะใชเข็มที่เฉพาะออกไปก็มีมากขึ้น ทําใหมีการนําโลหะมาประดิษฐเปน
เข็มเฉพาะตางๆ ขึ้น นําวิธีการรักษาโรคดวยการแทงเข็มเขาสูขอบเขตใหม ในสมัยนี้มีการประดิษฐ เข็ม
ทั้งเกา สําหรับใชในเงื่อนไขแตกตางกัน เข็มทั้งเกานี้ไดแก เข็มหัวลูกศร (ใชสําหรับแทงสะกิด
ผิ ว หนั ง ตื้ น ๆ ), เข็ ม กลม (ใช สํ า หรั บ นวดตรงจุ ด ), เข็ ม ทื่ อ (ใช สํ า หรั บ เคาะหรื อ กดตรงจุ ด ), เข็ ม
สามเหลี่ยม (ใชสําหรับแทงสะกิดเลือด, เข็มดาบ (ใชสําหรับเขี่ยหนอง), เข็มกลมคม (ใชสําหรับแทงสะกิด
อยางรวดเร็ว), เข็มแทง (เข็มลักษณะที่ใชกันในปจจุบัน), เข็มยาว (ใชสําหรับแทงกลามเนื้อลึกๆ ), และเข็ม
ใหญ (ใชสําหรับโรคขออักเสบหรืออาการปวดทั่วๆ ไป) เข็มทั้งเกาประเภทนี้ ในปจจุบันนี้สวนใหญ
เลิกใชแลว ที่ยังใชกันอยูทั่วไปในปจจุบัน ไดแก เข็มแทงและเข็มสามเหลี่ยม
Page 351

ภาคผนวกที่ 1 341

ในสมัยนี้มนุษยนอกจากจะทําเข็มทองเหลืองขึ้นใชแลว ยังมีการทําเข็มเงินและเข็มทองขึ้นใช
ดวย
ในสมัย ราชวงศซ างนี้น อกจากเครื่อ งมือ ในการแทงเข็ม จะพัฒ นายกระดับ สูง ขึ้น ดัง กลา ว
มาแลวยังมีการคนจุดตางๆ ที่เฉพาะลงไป และยังมีการคนพบระบบของเสนอีกดวย จากเดิมที่มีการบีบ
นวด หรือเคาะตรงตําแหนงที่เปนโรคหรือเจ็บปวดในระยะแรกๆ พัฒนามาเปนการใชเข็มแบบตางๆ แทง
ลงไปตรงตําแหนงเหลานั้น หลังจากผานการปฏิบัติเปนเวลาอันยาวนานซ้ําแลวซ้ําอีก แพทยในสมัยนี้
ก็ไดสรุปกฎเกณฑเกี่ยวกับจุดตางๆ เหลานั้นทําใหเกิดจุดที่เฉพาะเจาะจงขึ้น พวกเขาตั้งชื่อจุดเหลานั้นขึ้น
เพื่อสะดวกแกการจดจําและถายทอด เมื่อพวกเขาแทงเข็มและกระตุนเข็มตรงจุดหนึ่งๆ พวกเขามักจะ
พบวาผูปวยมักจะเกิดความรูสึกที่แผขยายไปไดไกลๆ เสมอ นอกจากนั้นพวกเขามักจะเฝาสงสัยถึง
ปรากฏการณที่จุดในตําแหนงที่ตางกันบนรางกายสามารถรักษาโรคหรืออาการบางอยางไดเหมือนกัน
จากการสังเกต รวบรวมความรูและบทเรียนตางๆ พวกเขาเชื่อวานาจะมีความสัมพันธกันระหวางจุด
ตางๆ ที่มีคุณสมบัติคลายคลึงกัน ระหวางกลุมจุดเหลานั้นกับโรคหรืออาการตางๆ เปนตน ซึ่งความรู
เหลานี้เปนที่มาของ”ระบบจุด” และ “ทฤษฎีเกี่ยวกับเสน”ในเวลาตอมา
ในระยะสงครามระหวางแควน (พ.ศ. 68 – 322) ระยะนี้เปนระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงอยาง
ใหญหลวงในสังคมจีน ซึ่งทําใหเกิดความสัมพันธใหมของการผลิตแบบศักดินาขึ้น การใชเครื่องมือที่ทํา
จากเหล็ก ทํา ใหเกษตรกรรมและงานฝมือ พัฒ นาไปอีก มากสรา งคุณูป การใหแ กความกาวหนา ทาง
วิท ยาศาสตรแ ละวัฒ นธรรม ในสมัย นี้มีสิ่ง ใหมๆ เกิด ขึ้น มากมาย เชน ดาราศาสตร ภูมิศ าสตร
คณิตศาสตร และการทําปฏิทิน นอกจากนั้นคนในยุคนี้ยังสามารถเขาใจปรากฏการณตางๆ ที่เกิดขึ้นตาม
ธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ในทางการแพทยก็เชนเดียวกัน ไดมีการรวบรวมความรูตางๆ ที่บรรพบุรุษได
ถายทอดไวเรียบเรียงไวเปนตํารา ชื่อ “หวงตี้เนยจิง Huang Di Nei Jing(หลักวิชาการแพทยบันทึก
โดยกษัตริยหวง)” ตําราเลมนี้แบงออกเปน 2 สวนคือ “ซูเวิ่น Su Wen คําถามงายๆ” และ “หลิงซู
Ling Shu แกนมหัศจรรย” ซึ่งไดอธิบายวิธีการรักษาโรคดวยการแทงเข็มรมยาไดอยางละเอียด
โดยเฉพาะ “หลิงซู” ไดอ ธิบายรายละเอีย ดเกี่ย วกับเสน จุด เข็มประเภทตา งๆ วิธีก ารกระตุนเข็ม
ขอบงใชและขอหามในการแทงเข็มรมยา คําอธิบายเกี่ยวกับ “ทฤษฎีเกี่ยวกับเสน” ไดปรากฏขึ้นครั้งแรก
ในตําราเลมนี้ ในตําราเลมนี้ยังไดกลาวถึงคุณสมบัติทางการรักษาโรคของวิธีการแทงเข็มรมยาโดยเฉพาะ
ในการแทงเข็มระงับปวด ในตําราเลมนี้บันทึกไววาการแทงเข็มมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวด ปวด
ฟน เจ็บคอ ปวดหู ปวดกระเพาะอาหารและบริเวณทอง และขออักเสบ ในบทที่วาดวยเสนและเอ็นของ
Page 352

342 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

“หลิงซู” ก็ไดย้ําถึง กฎเกณฑโบราณที่วา “แทงตรงจุดที่เจ็บ” เพื่อระงับและรักษาอาการปวด


ตําราเลมนี้ก็ไดรับการขยายความและแกไขใหมในสมัยราชวงศฉินและฮั่น (พ.ศ. 322 – 763)และใน
ตําราเลมนี้ไดกลายมาเปนคําอธิบายที่สําคัญของทฤษฏีเบื้องตนของวิชาการแพทยแผนโบราณของจีน
ในสมัยราชวงศฮั่น (พ.ศ. 337 – 763) วิธีการรักษาโรคดวยการแทงเข็มรมยาพัฒนาไปอีกมาก
จากหลักฐานที่ยังคงมีอยูที่เรียกวา “สื่อจี้ (บันทึกประวัติศาสตร)” ซึ่งบันทึกโดยซือหมาเชียน-นักอักษร
ศาสตรและนักประวัติศาสตรจีนแหงราชวงศฮั่นในเรื่อง “ชีวประวัติของเปยนเชวี่ยและชางกง”ไดเลาถึง
ความสําเร็จของแพทยที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ไดชวยผูปวยจากอาการโคมาดวยการแทงเข็ม หมอเปยน
เชวี่ยผูนี้มีชื่อวาฉินเยวี่ยเหริน เกิดที่มาวโจว อําเภอปอหาย ซึ่งปจจุบันอยูในอําเภอเหอเปย เขาไดสรุป
และรวบรวมประสบการณ ท างการแพทย ข องบรรพบุ รุ ษ ของเขาและได ส รุ ป เป น วิ ธี การตรวจและ
วินิจฉัยโรค 4 วิธี ที่มีชื่อเสียงและปจจุบันก็ยังคงใชกันอยูทางการแพทยแผนโบราณจีน วิธีทั้งสี่นี้ไดแก 1.
โดยการสังเกตอารมณ, สีหนา,การทรงตัวและลักษณะของลิ้น 2. โดยการฟงเสียงและดมกลิ่นของ
รางกาย 3. โดยการซักประวัติของผูปวย 4. โดยการคลํา เชน คลําชีพจรและตําแหนงที่ไวตอความรูสึก
ตางๆ ฉินเยวี่ยเหรินไดรับการยกยองโดยทั่วไปวามีความรูความเขาใจอยางลึกซึ้งในการแพทยสาขาตางๆ
เขามีความสามารถทั้งการใชยาสมุนไพรและการแทงเข็ม,ทั้งการนวดและการพอกยา ตลอดถึงวิธีการ
รักษาแบบอื่นๆ เปยนเชวี่ย เปนชื่อของแพทยผูมีความสามรถที่ปานเทพยดาในตํานานที่เลาสืบทอดกันมา
ตั้งแตโบราณ. เนื่องจากความสามรถที่ปานเทพยดาของฉินเยวี่ยเหริน เขาจึง ไดรับ การขนานนามวา
“เปยนเชวี่ย” หมอเปยนเชวี่ยไดใชชีวิตในวัยกลางคนของเขาออกเดินทางตระเวนไปทั่วประเทศทําการ
รักษาโรคใหแกประชาชน ครั้งหนึ่งเมื่อเขาเดินทางไปถึงแควนกวอ (แควนโบราณในสมัย 557 ปกอน
พุทธกาล, ปจจุบันคือมณฑลเหอหนานและสานซี) พรอมกับผูชวยของเขาทั้งสองชื่อ จูหยางและจูปาว
พวกเขาไดทราบขาวการหมดความรูสึกอยางฉับพลันของเจาชายกวอในเชาวันหนึ่ง พวกเขาไปที่วังเพื่อ
ขอตรวจและรักษาเจาชายกวอในขณะที่ทางวังกําลังจัดเตรียมงานศพของเจาชายกวอ. หลังจากที่หมอ
เปยนเชวี่ยไดถามถึงอาการและตรวจรางกายอยางละเอียดแลว เขาไดยินเสียงหัวใจที่ยังคงเตนชาๆ
อยางเบามากและพบวาดานในของขาออนยังอุนๆ อยู เขาสั่งใหจูหยางแทงเข็มทันที ไมนานนักเจาชาย
กวอก็รูสึกตัว เขาจึงสั่งใหจูปาวพอกยาที่แขนทั้งสองขางของผูปวย หลังจากนั้นไมนานเจาชายกวอก็
สามารถลุกนั่งบนเตียงได หลังจากนั้นเขาก็ไดตมสมุนไพรใหดื่มอีก 20 วัน แลวเจาชายกวอก็หายเปน
ปกติ เมื่อขาวความสามารถของเปยนเชวี่ยแพรไปในแควนประชาชนขนานนามวิธีการรักษาของเขาวาเปน
“อํานาจเหนือธรรมชาติที่ทําใหคนตายฟนได” เขาไดแตชี้แจงวาเขาเพียงแตทําใหคนที่ยังมีชีวิตกลับมี
Page 353

ภาคผนวกที่ 1 343

ความรูสึกเทานั้น นี่เปนหมายเหตุทางประวัติศาสตรตัวอยางหนึ่งที่แสดงถึงความสําเร็จของวิธีการรักษา
โรคดวยการแทงเข็มรมยาในอดีตกวาสองพันปกอน
นักประวัติศาสตรจีนอีกคนหนึ่งชื่อฟานเยี่ย(พ.ศ. 941 – 989) ไดบันทึกเรื่องราวความสําเร็จ
ของแพทยในสมัยราชวงศฮั่นไวหลายตอนในงานเขียนของเขาชื่อ “ประวัติศาสตรสมัยราชวงศฮั่นตอน
ปลาย”ในงานเขียนชิ้นนี้ไดเลาถึงความสามารถของแพทยคนหนึ่งในสมัยราชวงศฮั่นตะวันออก (ตอน
ปลาย) ชื่อฝูอง ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในวิธีการรักษาโรคดวยการแทงเข็มรมยา เขาไดเผยแพรความรู
เหลานี้ไปในหมูประชาชนนอกจากนั้น ในงานเขียนชิ้นนี้ของฟานเยี่ยก็มีอีกสวนหนึ่งชื่อ “ชีวประวัติของ
ฮัวถวอ( Hua Tuo)” ซึ่งไดเลาถึงการที่ฮัวถวอใชฝนเปนยาระงับความรูสึกในการผาตัดเปดชองทองเปน
ครั้งแรก ตามชีวประวัติของฮัวถวอระบุวา นอกจากฮัวถวอจะมีความสามารถในการใชยาสมุนไพร
และการผ าตั ด แล ว เขายั ง มี ค วามชํ า นาญเปน พิ เ ศษในการแทงเข็ม รมยาเช น กั น เขามัก จะประสบ
ความสําเร็จในการรักษาโรคดวยการแทงเข็มตรงจุดที่เลือกสรรแลวเปนอยางดี 1 – 2 จุด ชีวประวัตินี้ได
เลาถึงการที่หมอฮัวถวอรักษาฉาวชาว(โจโฉ) ( พ.ศ. 698 – 763) ซึ่งเปนแมทัพและกวีในสมัยสามกก
(พ.ศ. 763 – 823) ที่ปวยดวยอาการปวดหัวเรื้อรัง ฉาวชาวรักษาดวยวิธีการอื่นๆ มากมายแตไมหาย
แตหมอฮัวถวอสามารถรักษาใหหายขาดไดดวยการแทงเข็มรมยาเรื่องราวเกี่ยวกับความสําเร็จในการ
รักษาโรคดวยการแทงเข็มรมยาของเปยนเชวี่ย, ฝูองและฮัวถวอแหงราชวงศฮั่นไดสรางคุณูปการอันใหญ
หลวงแกประชาชนจีนเรียกไดวาเปนเจาของการรักษาโรคดวยวิธีนี้ ในการปลดเปลื้องความเจ็บปวดและ
โรคร า ยต า งๆ ทั้ ง ยั ง แสดงว าวิ ธี ก ารรัก ษาโรคด ว ยการแทงเข็ ม รมยาได ใ ห ผ ลที่ น า ประทั บใจและมี
ความหมายสําคัญยิ่งในหมูประชาชนจีนมาแตโบราณตั้งแตสมัยราชวงศฉินตะวันตกและตะวันออก(พ.ศ.
808 – 963) ถึงราชวงศใตและเหนือ(พ.ศ. 963 – 1,132) วิชาแทงเข็มรมยาพัฒนาไปอีกมาก ไดมีการ
รวบรวมความรูเกี่ยวกับวิชานี้โดยเฉพาะเขียนเปนตําราชื่อ “เจินจิ่วเจี่ยอี่จิง (นิพนธวาดวยการแทงเข็มรม
ยา)” เปนตําราเลมแรกที่อธิบายถึงวิชานี้อยางเปนระบบ ตําราเลมนี้เรียบเรียงโดยหวงฝูมี่(พ.ศ. 758 –
825) ชาวอานเถิง(ตะวันตกเฉียงใตของหลิงถาย มณฑลกานซู ในปจจุบัน) ในสมัยนั้นสังคมจีนมีแตความ
รุนแรงและยุงยากของการตอสูแยงชิงอํานาจกันในหมูชนชั้นศักดินาผูครองเมือง ทําใหเกิดการสังหารหมู
ประชาชนที่โหดเหี้ยมทารุณจํานวนมากมาย สําหรับผูที่ยังคงรอดชีวิตอยูก็ตองพลัดที่อยูตกอยูในความ
หิวโหยอดยากและโรคระบาดที่รายแรง ในสถานการณเชนนี้เองที่วิธีการรักษาโรคดวยการแทงเข็มรมยา
ซึ่งงายและประหยัดไดรับความนิยมอยางแพรหลายในหมูประชาชน หวงฝูมี่ไดเริ่มสนใจวิชาการแพทย
และเริ่มใชวิธีการรักษาแบบนี้เมื่อเขาพิสูจนไดวาการรักษาดวยวิธีนี้ไดผลจริงโดยรักษาโรคขออักเสบที่เขา
Page 354

344 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

เปนตั้งแตกลางคน ตําราเลมนี้ไดรวบรวมเนื้อหาที่สัมพันธกันของบทตางๆ ในตํารา “หวงตี้เนยจิง” ที่


กลาวมาแลวเขาดวยกันโดยสอดแทรกบทเรียนและสิ่งที่เขาคนพบในการปฏิบัติลงไปดวย ตําราเลมนี้
รวบรวมในป พ.ศ. 808 ไดแบงตําแหนงของจุดที่ศีรษะ หนา อก ทองและหลัง รวมทั้งแขนขา พรอมทั้ง
แยกวิธีการรักษาโรคตางๆ ดวย ในตําราเลมนี้ไดระบุจุดไว 349 จุด ซึ่งบางจุดยังไมเคยปรากฏในตํารา
“หวงตี้เนยจิง” มากอนเลย ตําราเลมนี้ไดกลายมาเปนตําราสําคัญที่ใชเปนหลักในการศึกษาวิชานี้มาจนถึง
พุทธศตวรรษที่ 10 ในสมัยราชวงศสุย(พ.ศ. 1124 – 1161) ชนชั้นศักดินาไดกอตั้ง “วิทยาลัยแพทย
จักรพรรดิ” ขึ้น เพื่อ ฝก หัด แพทยสํา หรับ ทํา การรัก ษาโรคเพื่อ รับ ใชพ วกเขา วิท ยาลัย แพทยนี้เ ปน
สถาบันการศึกษาแพทยที่เกาแกที่สุดในจีนและในโลก วิชาการแทงเข็มรมยากลายเปนแผนกเฉพาะใน
วิทยาลัยแหงนี้. จากหลักฐานทางประวัติศาสตรพบวาในสมัยนั้นแผนกแทงเข็มรมยาแหงวิทยาลัย
แพทยจักรพรรดินี้มีศาสตราจารยทางวิชาแทงเข็มรมยา 1 คนผูชวยศาสตราจารย 1 คน อาจารย 10 คน
ชางทําเข็ม 20 คน และนักเรียน 20 คน ความรูที่สอนกันทั้งหมดอางอิงจากตํารา “ซูเวิ่น” “หลิงซู” และ
“เจินจิ่วเจี่ยอี่จิง”
ในสมัยราชวงศถัง (พ.ศ. 1161 – 1450) วิชาแพทยศาสตรและเภสัชศาสตรของจีนกาวหนา
และพัฒนาไปมาก ระบบเศรษฐกิจแบบศัก ดินาเจริญรุงเรื องมาก ทําใหการคาและแลกเปลี่ยนทาง
วัฒนธรรมกับประเทศอื่นมาก วิชาการแทงเข็มรมยาก็ไดรับการศึกษาคนควาเพิ่มเติมใหละเอียดยิ่งขึ้น
ในสมัยนี้รายละเอียดเกี่ยวกับทางผานของเสนและตําแหนงของจุดไดถูกบันทึกไวอยางละเอียดในตํารา
แพทย ในสมัยนี้ไดมีการทําแผนภาพรางกายมนุษยแสดงทางผานของเสนและจุดแทงเข็มใชสําหรับ
ประกอบการศึกษา ตลอดจนการเลือกและกําหนดจุดแทงเข็มในการรักษาโรค แพทยที่มีชื่อเสียงในสมัย
ราชวงศถังนี้ชื่อ ซุนซือเหมี่ยว ไดเรียบเรียงตําราเลมหนึ่งชื่อ“เชียนจินเอี้ยวฟาง” (การรักษาโรคพันชนิด
หรือ ตํารับยาพันเหรียญทอง)” หมอซุนซือเหมี่ยวนี้มีอายุอยูระหวางป พ.ศ.1161 – 1262 ในตําราเลมนี้
แผนภาพสีแสดงทางผานของเสนและจุดที่แทงเข็มบนรางกายทั้งดานหนา ดานขาง และดานหลังซึ่งทํา
โดยซุนซือเหมี่ยวเอง
ในสมัยราชวงศซงและคิน (พ.ศ. 1503 – 1822) ความกาวหนาที่มีชื่อเสียงมากในวงการนี้สอง
อยางระหวางยุคนี้ไดแกการพิมพหนังสือเกี่ยวกับวิชาแทงเข็มรมยาเผยแพรไปทั่วประเทศ และการสราง
หุนทองเหลืองแสดงเสนและจุดแทงเข็มสองตัวแรกขึ้น ความจริงประชาชนจีนไดคนพบการพิมพหนังสือ
กอนราชวงศสุยและถังเสียอีก แมวาจะไมมีการพิมพหนังสือขึ้นเผยแพรในสมัยนั้นก็ตามในสมัยนั้นตํารา
สวนใหญมักจะเผยแพรไปในหมูประชาชนโดยการคัดลอกดวยมือ ดังนั้นยอมมีความคลาดเคลื่อนได
Page 355

ภาคผนวกที่ 1 345

มาก ลวงมาถึงสมัยราชวงศซงนี้เทคนิคการพิมพไดรับการยกระดับและนํามาใชกันทั่วประเทศ สําหรับ


งานดานการแทงเข็มรมยาเมื่อจะนํามาตีพิมพก็คอนขางยุงยากมากในการเรียงลําดับและแกไขความรับรู
ที่ไ ดรับ การถา ยทอดมาแตกตา งกัน ดัง นั้น หวางเหวยอี้แ พทยผูเชี่ยวชาญที่มีชีวิตอยูระหวางพุทธ
ศตวรรษที่ 16 ไดจัดระบบและเรียบเรียงเนื้อหาทั้งหมดของวิชานี้เทาที่มีถึงสมัยนั้น เขาไดทําการพิสูจน
ทฤษฎีตางๆ เกี่ยวกับจุดอยางละเอียด ทั้งยังไดกําหนดตําแหนงของจุดและรวบรวมเสนตางๆ ทั้งหมดให
เปนระบบโดยประสานกับวิชาความรูและประสบการณการทํางานสวนตัวของเขาเขาไปดวย เขาไดเรียบ
เรียงความรูเหลานี้เปนหนังสือ (ซึ่งตอมาใหชื่อวา “ถงเหรินซูเสียเจินจิ่วถูจิง คูมือประกอบภาพเกี่ยวกับ
จุดสําหรับแทงเข็มและรมยาบนหุนทองเหลือง”) ในป พ.ศ. 1569 หนังสือเลนนี้เปนตนฉบับที่ไดรับการ
ตีพิมพเผยแพรไปทั่วประเทศ งานเขียนชิ้นนี้ไดใหความกระจางในตําแหนง หนาที่ ความลึก วิธีการ
กระตุน และผลของจุดแทงเข็มซึ่งเขาไดพิสูจนแลว 354 จุด ทําใหวิทยาศาสตรการแพทยสาขานี้พัฒนา
กาวหนาขึ้นอีกมากไมนานนักหลังจากหนังสือเลมนี้ไดรับการตีพิมพ เนื้อหาในหนังสือเลมนี้ก็ไดถูกจารึกไว
บนแผนหิน 2 แผน แตละแผนสูง 2 เมตร กวาง 7 เมตร แผนหินจารึกนี้อยูที่เมืองหลวงของราชวงศซง ซึ่ง
ปจจุบันคือเมืองคายเฟง มณฑลหูหนาน ปจจุบันก็ยังคงหาอานไดจากแผนหินจารึกนี้และฉบับคัดลอก
ขณะที่หวางเหวยอี้เขียนตําราเลมนี้ เขาไดจางชางหลอหุนทองเหลืองขนาดเทาคนจริง 2 ตัว ซึ่งสรางเสร็จ
ในป 1570 บนหุนทองเหลือง 2 ตัวนี้ไดระบุชื่อและตําแหนงที่แนนอนของจุดแทงเข็ม โจวมี่แหงราชวงศ
ซงไดบันทึกในงานเขียนของเขาชื่อ “เกร็ดประวัติศาสตรฉีตุง” วา “ ......เพื่อเปนการทดสอบนักศึกษา จะ
ฉาบขี้ผึ้งบนหุนทองเหลือง ภายในใสน้ําหากนักศึกษาแทงถูกจุด น้ําก็จะไหลออกมา....” หุนทองเหลือง 2
ตัวนี้เปนสัญลักษณสําคัญที่แสดงความกาวหนาในวิทยาศาสตรวาดวยการรักษาโรคดวยการแทงเข็มรม
ยา เปนโบราณวัตถุ ทางการแพทยที่แสดงใหเห็นความรุงเรืองและวัฒนธรรมของประชาชนจีนในตนพุทธ
ศตวรรษที่ 17 สองรอยปตอมา เมื่อราชวงศหยวน(พ.ศ. 1803-1911) ไดสรางเมืองหลวงชื่อตาตู (คือ
ปกกิ่งในปจจุบัน หุนทองเหลืองทั้ง 2 ตัว และแผนเหินจารึกทั้ง 2 แผน ก็ไดถูกยายไปที่เมืองหลวง
ใหม ประดิ ษ ฐ ฐ านไว ที่ วิ ห ารสามจั ก รพรรดิ ใ นวิ ท ยาลั ย แพทย จั ก รพรรดิ ในสมั ย นี้ มี ก ารสร า งหุ น
ทองเหลืองและแผนจารึกเพิ่มขึ้นอีก (ในป พ.ศ. 2509 – 2514 มีการขุดพบแผนหินจารึก 4 ชิ้นในปกกิ่ง
ที่เดิมเขาใจวาสูญหายไปตอนปลดปลอยปกกิ่ง ชิ้นสวนที่แตกหักจากสวนใหญเหลานี้บางชิ้นรายละเอียด
ตางๆ ที่จารึกไวยังคงชัดเจนมาก)
ในสมัยราชวงศหมิง(พ.ศ. 1911 – 2187) มีแพทยที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งชื่อหยางจี้โจว ได
รวบรวมความรูวิชาแทงเข็มรมยาตั้งแตสมัยโบราณเขียนเปนหนังสืออีกเลมหนึ่งชื่อ “เจินจิ่วตาเฉิง
Page 356

346 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

(สัง เขปเกี่ย วกับ การแทงเข็ม รมยา)” หนัง สือ เลมนี้ตีพิม พใ นปพ .ศ. 2144 ไดรับ ความสนใจอยา ง
กวางขวางทั้งในและนอกประเทศ
ในสมัยราชวงศชิง (พ.ศ. 2187 – 2454) โดยเฉพาะตั้งแตสงครามฝน (พ.ศ. 2383 – 2385)
จนถึงสมัยการปกครองรัฐบาลปฏิกิริยาของพวกกกมินตั๋ง วิธีการรักษาโรคดวยการแทงเข็มรมยาตองพบ
กับมรสุมที่ซัดกระหน่ําอยางรุนแรง ทําใหเวชกรรมสาขานี้แทบหายสาบสูญไป
ชนชั้นปกครองศักดินาแหงราชวงศชิงดูถูกเหยียดหยามการรักษาโรคดวยวิธีนี้ ดวยเหตุผลที่
แสนโงงมที่วา การรักษาโรคแบบนี้ไมมีเหตุผลแบบการรักษาโรคดวยยาตะวันตก ทั้งยังงายและราคา
ถูกเกินไป หากปลอยใหแพรหลายในหมูประชาชนจะเปนการ “ทําลายพระเกียรติ” ราชวงศชิงแหงจีนใน
สายตาของตางประเทศไป จึงออกคําสั่งหามประชาชนทําการรักษาโรคดวยวิธีนี้ หามประชาชนศึกษา
และคนควา ในป พ.ศ. 2365 รัฐบาลไดบัลลังกศักดินาไดตราพระราชกฤษฎีกาใหยกเลิกหลักสูตรวิชา
แทงเข็มรมยาในวิทยาลัยแพทยจักรพรรดิ อยางไรก็ตาม ในหมูประชาชนผูใชแรงงานอันไพศาลของจีนก็
ยังคงเชื่อมั่นและยอมรับการรักษาโรคที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษนี้อยู ศิลปะการแหงการรักษาโรค
ดวยวิธีนี้จึงไมไดสาบสูญไปโดยสิ้นเชิง ตรงกันขามกลับถูกนําไปเผยแพรในตางประเทศ ในป พ.ศ.
2226 ดร.อี.แคมปเฟอร ชาวเยอรมัน ไดนําวิชาแทงเข็มรมยาไปเผยแพรในเยอรมัน และในป พ.ศ.
2406 ก็ไดมีการตีพิมพหนังสือชื่อ “เธอะ เมดิซีน ออฟ ไชนา (การแพทยจีน)” ในประเทศฝรั่งเศส ใน
หนังสือเลมนี้มีรายละเอียดของวิธีการแทงเข็มรมยาดวย
ระหวางสงครามฝน ในป พ.ศ. 2382 พวกจักรพรรดินิยมไดเขามากดขี่ขูดรีดประชาชนจีนอยาง
โหดเหี้ยม พวกมันไดเขาครอบงํามอมเมาทางวัฒนธรรมในจีน ปฏิเสธและเหยียดหยามวัฒนธรรมประจําชาติ
ของจีน รัฐบาลปฏิกิริยากกมินตั๋งสมุนจักรพรรดินิยมไดออกสืบทอดและพิทักษวัฒนธรรม อันเสื่อมโทรม
เนาเฟะของผูรุกรานโดยออกคําประกาศของรัฐบาลหามประชาชนทําการรักษาโรคดวยวิธีการแทงเข็ม
รมยาและวิธีแผนโบราณอื่นๆ ทั้งหมดในป 2472 พรอมๆ กับคําประกาศฉบับนี้การแทงเข็มรมยาก็
ไดรับการตอนรับอยางอบอุนในตางประเทศทั้งในเอเชีย ยุโรป อาฟริกา ฯลฯ โดยเฉพาะกลุมประเทศใน
โลกที่สามที่กําลังตอสูเพื่อ ปลดแอกประชาชน
ประธานเหมาเจอ ตุง และพรรคคอมมิว นิส ตจีน ไดใ หค วามสํา คัญอยา งใหญหลวงตอ วิช า
แพทยศาสตรและเภสัชศาสตรของจีน กอนปลดปลอยทั่วประเทศในป พ.ศ. 2492 ในขณะที่สงคราม
ปฏิวัติกําลังดําเนินไปอยางดุเดือดนั้น วิธีการรักษาโรคดวยการแทงเข็มรมยาไดมีบทบาทสําคัญยิ่งใน
การปลดเปลื้ อ งโรคและความเจ็ บ ปวดให แ ก ป ระชาชนผู ทุ ก ข ย ากและทหารแดงในฐานที่ มั่ น เขต
Page 357

ภาคผนวกที่ 1 347

ปลดปลอย และเขตจรยุทธทั่วประเทศ หลังจากการจัดตั้งกองทัพแดงกรรมกรชาวนาจีนและสรางฐานที่


มั่นแหงแรกขึ้นที่จิ่งกังซานในป พ.ศ. 2471 ประธานเหมาเจอตุงไดชี้ให ประสานการรักษาแบบแผน
โบราณและแผนปจจุบันรับใชทหารแดงและประชาชนในฐานที่มั่น ในบทประพันธอันรุงโรจนของทานชื่อ
“การตอสูที่จิ่งกังซาน” ในระหวางสงครามปฏิวัติภายในประเทศครั้งที่ 1 และ 2 นั้น, เขตปลดปลอย
อํานาจรัฐสีแดง ฐานที่มั่นปฏิวัติ และเขตจรยุทธในที่ตางๆ มักจะถูกลอมปราบโดยพวกปฏิกิริยากก
มินตั๋งเปนเวลานานๆ อยูเสมอๆ การแทงเข็มรมยาเปนสวนหนึ่งที่ไดสรางคุณูปการใหแกทหารแดงและ
มวลชนที่ปฏิวัติในตานการลอมปราบจนไดรับชัยชนะครั้งแลวครั้งเลา
ในการประชุมสัมมนาผูปฏิบัติงานทางวัฒนธรรมและการศึกษาของเขตแดนตอแดนสานซี-กาน
ซู-หนิงเซี่ย ซึ่งจัดขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2487 ที่เยนอาน ประธานเหมาเจอตุงไดไดเรียกรองใหแพทย
แผนโบราณและแพทยแผนปจจุบันทํางาน ศึกษาคนควารวมกัน พยายามรักษาและปองกันโรคที่สราง
ความทุกขยากใหแกประชาชนและสัตวเลี้ยงในเขตแดนตอแดน ในการประชุมแพทยรวมกันทั้งแผน
โบราณและแผนปจจุบันในเวลาตอมา แพทยแผนโบราณจีนผูสูงอายุหลายๆ คนไดแลกเปลี่ยนและ
ถายทอดบทเรียนจากประสบการในการแทงเข็มรมยากวา 30 ป ของพวกเขากับแพทยแผนปจจุบันและ
ผูปฏิบัติงานทางการแพทยที่เยนอาน ในเดือนพฤษภาคม ป พ.ศ. 2488 โรงพยาบาลสันติภาพแหงเยน
อาน ไดเปดแผนกรักษาโรคดวยการแทงเข็มรมยาแกคนไขนอกขึ้น การรักษาโรคดวยวิธีนี้ไดเติบโตขึ้น
อยางรวดเร็วและกวางขวาง คนไขเปนจํานวนมากไดใหการยอมรับและเชื่อมั่นตอการรักษาโรคดวยวิธีนี้
ซึ่ง “งาย”, “ปลอดภัย”,”ประหยัด” และ”ใหผลเร็ว” กวา
ระหวางสงครามปลดแอก ไดมีการอบรมเทคนิคการรักษาโรคดวยการแทงเข็มรมยาครั้งแลว
ครั้งเลาในเขตปลดปลอยและฐานที่มั่นปฏิวัติทั่วประเทศ ซึ่งไดบมเพาะผูปฏิบัติงานทางการแพทยของ
กองทัพปลดแอกประชาชนเปนจํานวนมาก พวกเขาสามารถประยุกตการแทงเข็มรมยาในการรักษาโรค
หลายๆ ประเภท เชน มาเลเรีย ลําไสอักเสบ อาหารไมยอย บิด ทางเดินหายใจติดเชื้อ ปวดฟน ขอ
อักเสบ ปวดเมื่อย และโรคอื่นๆ อีกมากมาย การแทงเข็มรมยามีบทบาทไมนอยในการชวยนักรบแหง
กองทัพแดงที่ปวยและบาดเจ็บจากการตอสูกับศัตรู ทําใหกองทัพแดงกาวสูชัยชนะครั้งแลวครั้งเลาจน
สามารถปลดปลอยทั่วประเทศในที่สุดหลังจากปลดปลอยทั่วประเทศและไดสถาปนาประเทศจีนขึ้นใหม
แลว ภายใตการนําที่ปรีชาสามารถของประธานเหมาเจอตุงและพรรคคอมมิวนิสตจีนและภายใตแนวทาง
นโยบายที่ถูกตองของพรรคฯ ตอวิชาแพทยแผนโบราณจีนทําใหวิทยาการเกี่ยวกับการแทงเข็มรมยาที่ได
ถูกชนชั้นปกครองศักดินาและรัฐบาลปฏิกิริยากกมินตั๋งในอดีตประกาศหามศึกษาและปฏิบัตินั้นได
Page 358

348 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

รุงโรจนชัชวาลขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ประดุจดังตนไมซึ่งโรยราไปเพิ่งจะไดรับการดูแลเอาใจใสรดน้ําพรวนดิน
จนเจริญเติบโตผลิดอกออกผลอยางไมหยุดยั้ง หนังสือพิมพเหรินหมืนรึเปา (ประชาชนรายวัน) ไดเริ่ม
ตีพิมพขอเขียนเกี่ยวกับการรักษาโรคดวยวิธีนี้โดยแนะนําและสนับสนุนใหประชาชนศึกษา คนควาและ
ทําการรักษาโรคดวยวิธีนี้ ในป พ.ศ. 2493 ที่ปกกิ่งตลอดถึงมณฑลและเขตปกครองตนเองตางๆ ทั่ว
ประเทศไดจัดตั้งสถาบันวิจัยการแทงเข็มรมยาและแพทยแผนโบราณจีนขึ้น ในวิทยาลัยแพทยตางๆ ทั่ว
ประเทศก็ไดกําหนดวิชานี้เปนหลักสูตรสําคัญของนักศึกษาแพทย ในระหวางโครงการหาปครั้งที่ 1 ตํารา
วารสาร ขอเขียน ฯลฯ เกี่ยวกับวิชานี้ไดรับการตีพิมพเผยแพรอยางกวางขวางมีการจัดอบรมบมเพาะ
ผูปฏิบัติงานทางดานนี้ครั้งแลวครั้งเลา นักศึกษาจากตางประเทศคนแลวคนเลาก็ไดทยอยกันเขามาศึกษา
เทคนิคการรักษาโรควิธีนี้ในประเทศจีน
ระหวางการกาวกระโดดครั้งใหญในป พ.ศ. 2502 “การแทงเข็มใบหู” ในสมัยโบราณไดรับ
การศึกษา ปฏิบัติและคนควาจนพัฒนาขึ้นสูขอบเขตใหมจนเปนที่นิยมกันอยางแพรหลายในหมูประชาชน
การแทงเข็มใบหูทั้งสองสามารถรักษาและปองกันโรคไดมากประเภท ใหผลเชนเดียวกับการแทงเข็มยาว
ปจจุบันมีการคนพบจุดบนใบหูที่มีประสิทธิภาพแตกตางกันกวา 200 จุดแลว
ในบรรดาวิธีการแทงเข็มโบราณนั้นยังมี “การแทงเข็มดวยนิ้วมือ” วิธีการคือ ใชนิ้วกดหรือเคาะ
ตรงจุดแทนใชเข็มแทง หลักฐานที่แสดงประสิทธิภาพของการแทงเข็มแบบนี้เกาแกที่สุดไดแกตําราแพทย
ในสมัยราชวงศฉิน (พ.ศ. 808 – 963) ซึ่งไดบันทึกวิธีการชวยผูปวยอาการโคมาโดยการกดจุดเหรินจง
(DU-22) ที่ริมฝปากบน จากการศึกษาคนควาในปจจุบันวิธีนี้ใชไดผลและเปนที่นิยมกันแพรหลายมาก
ในการปฐมพยาบาลผูปวยอาการโคมาหรือช็อค ในตําราแพทยโบราณยังไดบอกถึงการรักษาอาการเจ็บ
คอโดยการกดตรงจุดเหอกู (LI-4) ที่มือซึ่งตอมาหลังจากที่ไดศึกษาคนควาและปฏิบัติแลวพบวาการกด
ตรงจุดนี้ยังสามารถใหผลดีในการรักษาอาการปวดหัว ไมเกรน (ปวดหัวขางเดียว) ปวดฟน ไขหวัดและ
เยื่อจมูกอักเสบดวย
โดยการประสานการรักษาแบบโบราณของจีนและแบบแผนปจจุบันตามคําชี้แนะของประธาน
เหมาเจอตุง การรักษาโรคดวยการฉีดยาเขาจุด (เข็มน้ํา) ก็ไดพัฒนาขึ้นจากพื้นฐานวิชาแทงเข็ม วิธีนี้
รักษาโรคไดโดยประสานผลของการแทงเข็มและผลของยาที่ฉีด วิธีนี้รักษาโรคไดโดยการฉีดยาหรือน้ํา
กลั่นในจํานวนนอยๆ ลงไปตรงจุดแทงเข็มหรือจุดกดเจ็บอาศัยการดูดซึมอยางคอยเปนคอยไปในการ
กระตุนจุด วิธีนี้มีขอดีหลายอยาง เชน สะดวก ประหยัดยาที่ใช ใชเวลาในการรักษาสั้นกวาและมี
ประสิทธิภาพดีกวา
Page 359

ภาคผนวกที่ 1 349

จากการศึกษารวมหมูอยางเรารอนเอาการเอางานของผูปฏิบัติงานทางการแพทยที่ปฏิวัติของจีน
การแทงเข็มบนใบหนา, การแทงเข็มบนมือ, การแทงเข็มบนเทา, และ การใชเครื่องกระตุนไฟฟากระตุน
เข็ม (เข็มไฟฟา) ไดพิสูจนใหเห็นคุณสมบัติที่เฉพาะแตกตางกันออกไป นอกจากนั้น การใชเข็มดอก
เหมย, การครอบกระปุก และ การใชเข็มสามเหลี่ยม ตลอดถึงเข็มประเภทตางๆ เปนตน ซึ่งเดิมที่เปนที่
นิยมกันในทองถิ่นตางๆ โดยเฉพาะก็ไดรับการศึกษา ยกระดับและเผยแพรไปทั่วประเทศ
และในระหวางการกาวกระโดดครั้งใหญในป พ.ศ. 2502 นี้เอง ไดมีการคนพบ การแทงเข็ม
ระงับความรูสึก ในการผาตัดระดับตางๆ การคนพบการแทงเข็มระงับความรูสึกนี้พัฒนามาจากการแทง
เข็มระงับปวดในสมัยโบราณของบรรพบุรุษ ปจจุบันการแทงเข็มระงับความรูสึกไดถูกนํามาใชในการ
ผาตัดระดับเล็กๆ ที่ไมยากลําบากนัก จนถึงการผาตัดที่ระดับซับซอนและยากลําบากมากๆ จากการที่
ตองใชจํานวนเข็มหลายๆ เลมในครั้งหนึ่ง พัฒนาสูการใชเข็มเพียง 1 – 2 เลมที่ใหผลเหมือนกันและจาก
การกระตุนดวยมือพัฒนาสูการใชเครื่องอีเลคโทรนิคสในการกระตุนเข็ม จนถึงบัดนี้การแทงเข็มระงับ
ความรูสึกในการผาตัดระดับตางๆ กวา 200 ประเภทแลว การแทงเข็มระงับความรูสึกนี้เปนการกาว
กระโดดครั้งยิ่งใหญในวิทยาการดานการแทงเข็มรมยา
ระหวางการปฏิวัติใหญทางวัฒนธรรมชนชั้นกรรมาชีพของจีน ผูปฏิบัติงานทางการแพทยที่
ปฏิวัติอันไพศาลของจีนไดใชปฏิบัติการที่เปนจริงในการคัดคานแนวทางลัทธิแกของหลิวซาวฉีดวยการ
สรางผลงานใหมๆ และยกระดับเทคนิคการแทงเข็มนี้ขึ้นมาโดยการนําเอาทฤษฎีมาประสานกับการ
ปฏิบัติและแพทยแผนโบราณและแพทยแผนปจจุบัน ผลงานเหลานี้ไดแก วิธีการแทงเข็มแบบใหม (ใช
เข็มนอย-แทงใหลึก-แทงทะลุจุดใหมาก-เขาเข็มเบา-กระตุนเข็มแรงและไมคาเข็ม วิธีนี้สามารถใชรักษา
โรคในขอบเขตที่กวางขวางเชนเดียวกัน และที่สําคัญคือเปนวิธีการรักษาโรคที่สอดคลองกับเงื่อนไขของ
การปฏิบัติประชาชาติประชาธิปไตยของประชาชนในประเทศโลกที่สาม), การฝงเอ็นรักษาโรค (เปนวิธีการ
รักษาโรคแบบหนึ่งที่พัฒนาจากการแทงเข็มแบบโบราณ อาศัยการละลายของเอ็นละลายที่ฝงลงไปในจุด
กระตุนตรงจุดเปนระยะเวลาหนึ่ง), การผาจุด (การกระตุนเสนประสาทที่อยูตรงจุดโดยตรง), กระตุนจุด
โดยการฉายรังสีอุลตราไวโอเลตหรืออินฟราเรด, และ การทําอีเลคโตรฟอริซิสครงจุด เหลานี้เปนตน
โดยคําสอนของประธานเหมาเจอตุงที่ให”รับใชประชาชนอยางสุดจิตสุดใจ” ผูปฏิบัติงานทาง
การแพทยที่ปฏิวัติของจีนไดเสริมจิตใจที่กลาตอสูกลาเสียสละทําการทดลองแทงเข็มลงบนจุดตางๆ ของ
ตัวเองเพื่อหักลาง “กฎสัมบูรณ” ที่ไมถูกตองเกี่ยวกับจุดบางจุด และคิดคนจุดใหมๆที่ใหผลทางการ
Page 360

350 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

รักษาที่แนนอนเฉพาะเจาะจง พวกเขายังยังไดทําลาย “ขอบเขตที่ตองหาม”, “จุ ดที่ตองหาม” และ


“ความลึกสูงสุด” เกี่ยวกับการแทงเข็มเข็มรมยา พวกเขาไดคนพบจุดใหมๆ ที่ใหผลเฉพาะจํานวนมาก
ในป พ.ศ. 2511 หนวยเสนารักษของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน หนวยหนึ่งไดประสบ
ความสําเร็จในการรักษาโรคหนวกใบใหกับนักเรียนคนหนวกใบที่เมืองเหลียวหยวน มณฑลคีริน ทหาร
เสนารักษในหนวยนี้เริ่มตนเตรียมการรักษาโดยการแทงเข็มบนจุดตางๆ ของตัวเองที่ตองใชในการรักษา
นับรอยๆ ครั้งเพื่อกุมสภาพความรูสึกที่ตองการ ในขณะทําการรักษาพวกเขาไดวิเคราะห และปรับปรุง
วิธีการรักษาของพวกเขาอยูตลอดเวลา โดยเฉพาะการแทงที่จุดหยาเหมิน (DU-15) ของตัวเองเพื่อหา
ระดับความลึกของเข็มที่ใหผลการรักษาที่ดีที่สุด การแทงเข็มลงไปในขอบเขตที่ตองหามของบรรพบุรุษนี้
ไดขยายบทบาทของจุดเหลานี้ในการรักษาโรคหนวกใบภายใตแนวทางการแพทยที่ปฏิวัติของประธาน
เหมาเจอตุงและพรรคคอมมิวนิสตจีนที่ใหเอาอดีตมารับใชปจจุบัน และ ประสานแพทยแผนโบราณเขา
กับแผนปจจุบัน นั้นจะทําใหวิชาแทงเข็มรมยาพัฒนากาวหนาและยกระดับสูงขึ้นอยางไมหยุดยั้ง สราง
คุณูปการอันใหญหลวงตอมวลมนุษยชาติในอนาคต

แปลเรียบเรียงโดย : ธงชัย ทองปน


หนังสืออางอิง
1. คารตัน กูดริดจ : เขียน ส. ศิวรักษ : แปล ; ประวัติศาสตรจีน สํานักพิมพ เคล็ดไทย บริษัท
ศึกษิตสยาม จํากัด
2. เหมา เจอ ตุง : การตอสูที่เขาจิ่งกังซาน ; สํานักพิมพภาษาตางประเทศปกกิ่ง
3. Fu Wei-Kang The Story of Chinese Acupuncture and Moxibution; Foreign
Languages Press, Peking 1975
4. The Academy of Traditional Medicine; An Outline of Chinese Acupuncture;
Foreign Languages Press, Peking 1975
Page 361

ภาคผนวกที่ 2
จุดฝงเข็มบนเสนมือไทอินปอด (LU)
The Lung Meridian of Hand-TaiYin Acupoints
(手太阴肺经穴 Shǒu-Tài-Yīn-Fèi-Jīng-Xué)
รหัสจุด ชื่อภาษาจีน พินอิน ภาษาไทย
LU1 中府 Zhōng-Fǔ จงฝู
LU2 云门 Yún-Mén ยฺหวินเหมิน
LU3 天府 Tiān-Fǔ เทียนฝู
LU4 侠白 Xiá-Bái เสียไป
LU5 尺泽 Chǐ-Zé ฉื่อเจอ
LU6 孔最 Kǒng-Zuì ขงจุย
LU7 列缺 Liè-Quē เลี่ยเชฺวีย
LU8 经渠 Jīng-Qú จิงฉฺวี
LU9 太渊 Tài-Yuān ไทเยฺวียน
LU10 鱼际 Yú-Jì ยฺหวีจี้
LU11 少商 Shào-Shāng เสาซาง
จุดบนเสนมือหยางหมิงลําไสใหญ ( LI)
The Large Intestine Meridian of Hand-YangMing Acupoints
(手阳明大肠经穴 Shǒu-Yáng-Míng-Dà-Cháng-Jīng-Xué)
LI1 商阳 Shāng-Yáng ซางหยาง
LI2 二间 Èr-Jiān เออรเจียน
LI3 三间 Sān-Jiān ซานเจียน
LI4 合谷 Hé-Gǔ เหอกู
LI5 阳溪 Yáng-Xī หยางซี
Page 362

352 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

รหัสจุด ชื่อภาษาจีน พินอิน ภาษาไทย


LI6 偏历 Piān-Lì เพียนลี่
LI7 温溜 Wēn-Liū เวินลิว
LI8 下廉 Xià-Lián เซี่ยเหลียน
LI9 上廉 Shàng-Lián ซางเหลียน
LI10 手三里 Shǒu-Sān-Lǐ โสวซานหลี่
LI11 曲池 Qū-Chí ชฺวีฉือ
LI12 肘髎 Zhǒu-Liáo โจวเหลียว
LI13 手五里 Shǒu-Wǔ-Lǐ โสวอูหลี่
LI14 臂臑 Bì-Nào ปเนา
LI15 肩髃 Jiān-Yú เจียนยฺหวี
LI16 巨骨 Jù-Gǔ จฺวี้กู
LI17 天鼎 Tiān-Dǐng เทียนติ่ง
LI18 扶突 Fú-Tū ฝูทู
LI19 口禾髎 Kǒu-Hé-Liáo โขวเหอเหลียว
LI20 迎香 Yíng-Xiāng อิง๋ เซียง
จุดบนเสนเทาหยางหมิงกระเพาะอาหาร (ST)
The Stomach Meridian of Foot-YangMing Acupoints
(足阳明胃经穴 Zú-Yáng-Míng-Wèi-Jīng-Xué)

ST1 承泣 Chéng-Qì เฉิงชี่


ST2 四白 Sì-Baí ซื่อไป
ST3 巨髎 Jù-Liáo จฺวี้เหลียว
ST4 地仓 Dì-Cāng ตี้ชาง
Page 363

ภาคผนวก 2 353

รหัสจุด ชื่อภาษาจีน พินอิน ภาษาไทย


ST5 大迎 Dà-Yíng ตาอิ๋ง
ST6 颊车 Jiá-Chē เจี๋ยเชอ
ST7 下关 Xià-Guān เซี่ยกวาน
ST8 头维 Tóu-Wéi โถวเหวย
ST9 人迎 Rén-Yíng เหญินอิง๋
ST10 水突 Shǔi-Tū สุยทู
ST11 气舍 Qì-Shè ชี่เซอ
ST12 缺盆 Quē-Pén เชฺวียเผิน
ST13 气户 Qì-Hù ชี่ฮู
ST14 库房 Kù-Fáng คูฝาง
ST15 屋翳 Wū-Yì อูอี้
ST16 鹰窗 Yīng-Chuāng อิงชฺวาง
ST17 乳中 Rǔ-Zhōng หูจง
ST18 乳根 Rǔ-Gēn หูเกิน
ST19 不容 Bù-Róng ปูหญง
ST20 承满 Chéng-Mǎn เฉิงหมาน
ST21 梁门 Liáng-Mén เหลียงเหมิน
ST22 关门 Guān-Mén กวานเหมิน
ST23 太乙 Tài-Yí(Tài-Yǐ) ไทอี๋ (ไทอี่)
ST24 滑肉门 Huá-Ròu-Mèn หัวโญวเหมิน
ST25 天枢 Tiān-Shū เทียนซู
ST26 外陵 Wài-Líng ไวหลิง
Page 364

354 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

รหัสจุด ชื่อภาษาจีน พินอิน ภาษาไทย


ST27 大巨 Dà-Jù ตาจฺวี้
ST28 水道 Shuǐ-Dào สุยเตา
ST29 归来 Gūi-Lái กุยไหล
ST30 气冲 Qì-Chōng ชี่ชง
ST31 髀关 Bì-Guān ปกวน
ST32 伏兔 Fú-Tù ฝูทู
ST33 阴市 Yīn-Shì อินซื่อ
ST34 梁丘 Liáng-Qiū เหลียงชิว
ST35 犊鼻 Dú-Bí ตูป
ST36 足三里 Zú-Sān-Lǐ จูซานหลี่
ST37 上巨虚 Shàng-Jù-Xū ซางจฺวี้ซวฺ ี
ST38 条口 Tiáo-Kǒu เถียวโขว
ST39 下巨虚 Xià-Jù-Xū เซี่ยจฺวี้ซวฺ ี
ST40 丰隆 Fēng-Lóng เฟงหลง
ST41 解溪 Jiě-Xī เจี่ยซี
ST42 冲阳 Chōng-Yáng ชงหยาง
ST43 陷谷 Xiàn-Gǔ เซี่ยนกู
ST44 内庭 Nèi-Tíng เนยถิง
ST45 厉兑 Lì-Duì ลี่ตุย
Page 365

ภาคผนวก 2 355

จุดบนเสนเทาไทอินมาม (SP)
The Spleen Meridian of Foot-TaiYin Acupoints
(足太阴脾经穴 Zú-Tài-Yīn-Pí-Wèi-Jīng-Xué)
SP1 隐白 Yǐn-Bái อิ่นไป
SP2 大都 Dà-Dū ตาตู
SP3 太白 Tài-Bái ไทไป
SP4 公孙 Gōng-Sūn กงซุน
SP5 商丘 Shāng-Qiū ซางชิว
SP6 三阴交 Sān-Yīn-Jiāo ซานอินเจียว
SP7 漏谷 Lòu-Gǔ โลวกู
SP8 地机 Dì-Jī ตี้จี
SP9 阴陵泉 Yīn-Líng-Quán อินหลิงเฉฺวียน
SP10 血海 Xuè-Hǎi เซฺวี่ยไห
SP11 箕门 Jī-Mén จีเหมิน
SP12 冲门 Chōng-Mén ชงเหมิน
SP13 府舍 Fǔ-Shè ฝูเซอ
SP14 腹结 Fù-Jié ฝูเจี๋ย
SP15 大横 Dà-Héng ตาเหิง
SP16 腹哀 Fù-āi ฝูไอ
SP17 食窦 Shí-Dòu สือโตว
SP18 天溪 Tiān-Xī เทียนซี
SP19 胸乡 Xiōng-Xiāng ซงเซียง
SP20 周荣 Zhōu-Róng โจวหญง
Page 366

356 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

รหัสจุด ชื่อภาษาจีน พินอิน ภาษาไทย


SP21 大包 Dà-Bāo ตาเปา
จุดบนเสนมือเสาอินหัวใจ (HT)
The Heart Meridian of Hand-ShaoYin Acupoints
(手少阴心经穴 Shǒu-Shǎo-Yīn-Xīn-Jīng-Xué)
HT1 极泉 Jí-Quán จี๋เฉฺวียน
HT2 青灵 Qīng-Líng ชิงหลิง
HT3 少海 Shào-Hǎi เสาไห
HT4 灵道 Líng-Dào หลิงเตา
HT5 通里 Tōng-Lǐ ทงหลี่
HT6 阴郗 Yīn-Xì อินซี่
HT7 神门 Shén-Mén เสินเหมิน
HT8 少府 Shào-Fǔ เสาฝู
HT9 少冲 Shào-Chōng เสาชง
จุดบนเสนมือไทหยางลําไสเล็ก (SI)
The Small Intestine Meridian of Hand - TaiYang Acupoints
(手太阳小肠经穴 Shǒu-Tài-Yáng-Xiǎo-Cháng-Jīng-Xué)
SI1 少泽 Shào-Zé เสาเจอ
SI2 前谷 Qián-Gǔ เฉียนกู
SI3 后溪 Hòu-Xī โฮวซี
SI4 腕骨 Wàn-Gǔ วานกู
SI5 阳谷 Yáng-Gǔ หยางกู
SI6 养老 Yǎng-Lǎo หยางเหลา
SI7 支正 Zhī-Zhèng จือเจิ้ง
Page 367

ภาคผนวก 2 357

รหัสจุด ชื่อภาษาจีน พินอิน ภาษาไทย


SI8 小海 Xiǎo-Hǎi เสียวไห
SI9 肩贞 Jiān-Zhēn เจียนเจิน
SI10 臑俞 Nào-Shū เนาซู
SI11 天宗 Tiān-Zōng เทียนจง
SI12 秉风 Bǐng-Fēng ปงเฟง
SI13 曲垣 Qū-Yuán ชฺวีเหยฺวยี น
SI14 肩外俞 Jiān-Wài-Shū เจียนไวซู
SI15 肩中俞 Jiān-Zhōng-Shū เจียนจงซู
SI16 天窗 Tiān-Chuāng เทียนชฺวาง
SI17 天容 Tiān-Róng เทียนหญง
SI18 颧髎 Quán-Liáo เฉฺวียนเหลียว
SI19 听宫 Tīng-Gōng ทิงกง
จุดบนเสนเทาไทหยางกระเพาะปสสาวะ (BL)
The Bladder Meridian of FootTaiYang Acupoints
(足太阳膀胱经穴 Zú-Tài-Yáng-Páng-Guāng-Jīng-Xué)
BL1 睛明 Jīng-Míng จิงหมิง
Zǎn-Zhú จานจู
BL2 攒竹
(Cuán-Zhú) (ฉฺวานจู)
BL3 眉冲 Méi-Chōng เหมยชง
BL4 曲差 Qū-Chā ชฺวีชา
BL5 五处 Wǔ-Chù อูชู
BL6 承光 Chéng-Guāng เฉิงกวาง
BL7 通天 Tōng-Tiān ทงเทียน
Page 368

358 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

รหัสจุด ชื่อภาษาจีน พินอิน ภาษาไทย


BL8 络却 Luò-Què ลั่วเชฺวี่ย
BL9 玉枕 Yù-Zhěn อวี้เจิน่
BL10 天柱 Tiān-Zhù เทียนจู
BL11 大杼 Dà-Zhù ตาจู
BL12 风门 Fēng-Mén เฟงเหมิน
BL13 肺俞 Fèi-Shū เฟยซู
BL14 厥阴俞 Jué-Yīn-Shū จเหวียอินซู
BL15 心俞 Xīn-Shū ซินซู
BL16 督俞 Dū-Shū ตูซู
BL17 膈俞 Gé-Shū เกอซู
BL18 肝俞 Gān-Shū กานซู
BL19 胆俞 Dǎn-Shū ตานซู
BL20 脾俞 Pí-Shū ผีซู
BL21 胃俞 Wèi-Shū เวยซู
BL22 三焦俞 Sān-Jiāo-Shū ซานเจียวซู
BL23 肾俞 Shèn-Shū เซิ่นซู
BL24 气海俞 Qì-Hǎi-Shū ชี่ไหซู
BL25 大肠俞 Dà-Cháng-Shū ตาฉางซู
BL26 关元俞 Guān-Yuán-Shū กวานเหยฺวียนซู
BL27 小肠俞 Xiǎo-Cháng-Shū เสี่ยวฉางซู
BL28 膀胱俞 Páng-Guāng-Shū ผังกวางซู
BL29 中膂俞 Zhōng-Lǔ-Shū จงหลีซ่ ู (จงลฺหวีซ่ ู)
Page 369

ภาคผนวก 2 359

รหัสจุด ชื่อภาษาจีน พินอิน ภาษาไทย


BL30 白环俞 Bái-Huán-Shū ไปหวนซู
BL31 上髎 Shàng-Liáo ซางเหลียว
BL32 次髎 Cì-Liáo ชื่อเหลียว
BL33 中髎 Zhōng-Liáo จงเหลียว
BL34 下髎 Xià-Liáo เซี่ยเหลียว
BL35 会阳 Huì-Yáng หุยหยาง
BL36 承扶 Chéng-Fú เฉิงฝู
BL37 殷门 Yīn-Mén อินเหมิน
BL38 浮郗 Fú-Xì ฝูซี่
BL39 委阳 Wěi-Yáng เหวยหยาง
BL40 委中 Wěi-Zhōng เหวยจง
BL41 附分 Fù-Fēn ฟูเฟน
BL42 魄户 Pò-Hù พอหู
BL43 膏肓 Gāo-Huāng เกาฮวาง
BL44 神堂 Shén-Táng เสินถัง
BL45 譩譆 Yì-Xǐ อี้สี่
BL46 膈关 Gé-Guān เกอกวาน
BL47 魂门 Hún-Mén หุนเหมิน
BL48 阳纲 Yáng-Gāng หยางกัง
BL49 意舍 Yì-Shè อี้เซอ
BL50 胃仓 Wèi-Cāng เวยชาง
BL51 肓门 Huāng-Mén ฮฺวางเหมิน
Page 370

360 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

รหัสจุด ชื่อภาษาจีน พินอิน ภาษาไทย


BL52 志室 Zhì-Shì จื้อซื่อ
BL53 胞肓 Bāo-Huāng เปาฮฺวาง
BL54 秩边 Zhì-Biān จื้อเปยน
BL55 合阳 Hé-Yáng เหอหยาง
BL56 承筋 Chéng-Jīn เฉิงจิน
BL57 承山 Chéng-Shān เฉิงซาน
BL58 飞扬 Fēi-Yáng เฟยหยาง
BL59 跗阳 Fū-Yáng ฟูหยาง
BL60 昆仑 Kūn-Lún คุนหลุน
BL61 仆参 Pú-Cān(Pú-Shēn) ผูชาน (ผูเซิน)
BL62 申脉 Shēn-Mài เซินมาย
BL63 金门 Jīn-Mén จินเหมิน
BL64 京骨 Jīng-Gǔ จิงกู
BL65 束骨 Shù-Gǔ ซูกู
BL66 足通谷 Zú-Tōng-Gǔ จูทงกู
BL67 至阴 Zhì-Yīn จื้ออิน
จุดบนเสนเทาเสาอินไต (KI)
The Kidney Meridian of Foot-ShaoYin Acupoints
(足少阴肾经穴 Zú-Shǎo-Yīn-Shèn-Jīng-Xué)
KI1 涌泉 Yǒng-Quán หยงเฉฺวียน
KI2 然谷 Rán-Gǔ หญานกู
KI3 太溪 Tài-Xī ไทซี
Page 371

ภาคผนวก 2 361

รหัสจุด ชื่อภาษาจีน พินอิน ภาษาไทย


KI4 大钟 Dà-Zhōng ตาจง
KI5 水泉 Shuǐ-Quán สุยเฉฺวียน
KI6 照海 Zhào-Hǎi เจาไห
KI7 复溜 Fù-Liū ฟูลิว
KI8 交信 Jiāo-Xìn เจียวซิน่
KI9 筑宾 Zhù-Bīn จูปน
KI10 阴谷 Yīn-gǔ อินกู
KI11 横骨 Héng-Gǔ เหิงกู
KI12 大赫 Dà-Hè ตาเฮอ
KI13 气穴 Qì-Xué ชี่เสฺวีย
KI14 四满 Sì-Mǎn ซื่อหมาน
KI15 中注 Zhōng-Zhù จงจู
KI16 肓俞 Huāng-Shū ฮฺวางซู
KI17 商曲 Shāng-Qū ซางชฺวี
KI18 石关 Shí-Guān สือกวาน
KI19 阴都 Yīn-Dū อินตู
KI20 腹通谷 Fù-Tōng-Gǔ ฝูทงกู
KI21 幽门 Yōu-Mén อิวเหมิน
KI22 步廊 Bù-Láng ปูหลาง
KI23 神封 Shén-Fēng เสินเฟง
KI24 灵墟 Líng-Xū หลิงซฺวี
KI25 神藏 Shén-Cáng เสินฉาง
Page 372

362 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

รหัสจุด ชื่อภาษาจีน พินอิน ภาษาไทย


KI26 彧中 Yù-Zhōng อวี้จง
KI27 俞府 Shū-Fǔ ซูฝู
จุดบนเสนมือจฺเหวียอินเยื่อหุมหัวใจ (PC)
The Pericardium Meridian of Hand-JueYin Acupoints
(手厥阴心包经穴 Shǒu-Jué-Yīn-Xīn-Bāo-Jīng-Xué)
PC1 天池 Tiān-Chí เทียนฉือ
PC2 天泉 Tiān-Quán เทียนเฉฺวียน
PC3 曲泽 Qū-Zé ชฺวีเจอ
PC4 郗门 Xì-Mén ซี่เหมิน
PC5 间使 Jiān-Shǐ เจียนสื่อ
PC6 内关 Nèi-Guān เนยกวาน
PC7 大陵 Dà-Líng ตาหลิง
PC8 劳宫 Láo-Gōng เหลากง
PC9 中冲 Zhōng-Chōng จงชง
จุดบนเสนมือเสาหยางซานเจียว (TE)
The Pericardium Meridian of Hand-JueYin Acupoints
(手少阳三焦经穴 Shǒu-Jué-Yīn-Xīn-Bāo-Jīng-Xué)
TE1 关冲 Guān-Chōng กวานชง
TE2 液门 Yè-Mén เยเหมิน
TE3 中渚 Zhōng-Zhǔ จงจู
TE4 阳池 Yáng-Chí หยางฉือ
TE5 外关 Wài-Guān ไวกวาน
TE6 支沟 Zhī-Gōu จือโกว
Page 373

ภาคผนวก 2 363

รหัสจุด ชื่อภาษาจีน พินอิน ภาษาไทย


TE7 会宗 Huì-Zōng หุยจง
TE8 三阳络 Sān-Yáng-Luò ซานหยางลั่ว
TE9 四渎 Sì-Dú ซื่อตู
TE10 天井 Tiān-Jǐng เทียนจิ่ง
TE11 清冷渊 Qīng-Lěng-Yuān ชิงเหลิ่งเยฺวียน
TE12 消泺 Xiāo-Luò เซียวลัว่
TE13 臑会 Nào-Huì เนาหุย
TE14 间髎 Jiān-Liáo เจียนเหลียว
TE15 天髎 Tiān-Liáo เทียนเหลียว
TE16 天牖 Tiān-Yǒu เทียนอิ่ว
TE17 翳风 Yì-Fēng อี้เฟง
TE18 瘛脉 Chì-Mài ชื่อมาย
TE19 颅息 Lú-Xī หลูซี
TE20 角孙 Jiǎo-Sūn เจี่ยวซุน
TE21 耳门 Ér-Mén เออรเหมิน
TE22 耳禾髎 Ér-Hé-Liáo เออรเหอเหลียว
TE23 丝竹空 Sī-Zhú-Kōng ซือจูคง
จุดบนเสนเทาหยางถุงน้ําดี (GB)
The Gall Bladder Meridian of Foot-ShaoYang Acupoints
(足少阳胆经穴 Zú-Shǎo-Yáng-Dǎn-Jīng-Xué)
GB1 瞳子髎 Tóng-Zǐ-Liáo ถงจื่อเหลียว
GB2 听会 Tīng-Huì ทิงหุย
Page 374

364 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

รหัสจุด ชื่อภาษาจีน พินอิน ภาษาไทย


GB3 上关 Shàng-Guān ซางกวาน
GB4 颔厌 Hàn-Yàn ฮั่นเอี้ยน
GB5 悬颅 Xuán-Lú เสฺวียนหลู
GB6 悬厘 Xuán-Lí เสฺวียนหลี
GB7 曲鬓 Qū-Bìn ชฺวีปน
GB8 率谷 Shuài-Gǔ ไซฺวก ู
GB9 天冲 Tiān-Chōng เทียนชง
GB10 浮白 Fú-bái ฝูไป
GB11 头窍阴 Tóu-Qiào-Yīn โถวเชี่ยวอิน
GB12 完骨 Wán-Gǔ หวันกู
GB13 本神 Běn-Shén เปนเสิน
GB14 阳白 Yáng-Bái หยางไป
GB15 头临泣 Tóu-Lín-Qì โถวหลินซี่
GB16 目窗 Mù-Chuāng มูชฺวาง
GB17 正营 Zhèng-Yíng เจิง้ อิง๋
GB18 承灵 Chéng-Líng เฉิงหลิง
GB19 脑空 Nǎo-Kōng เหนาคง
GB20 风池 Fēng-Chí เฟงฉือ
GB21 肩井 Jiān-Jǐng เจียนจิ่ง
GB22 渊液 Yuān-Yè เอวียนเย
GB23 辄筋 Zhé-Jīn เจอจิน
GB24 日月 Rì-Yuè ญื่อเอวี่ย
Page 375

ภาคผนวก 2 365

รหัสจุด ชื่อภาษาจีน พินอิน ภาษาไทย


GB25 京门 Jīng-Mén จิงเหมิน
GB26 带脉 Dài-Mài ไตมาย
GB27 五枢 Wǔ-Shū อูซู
GB28 维道 Wéi-Dào เหวยเตา
GB29 居髎 Jū-Liáo จฺวีเหลียว
GB30 环跳 Huán-Tiào หวนเที่ยว
GB31 风市 Fēng-shì เฟงซื่อ
GB32 中渎 Zhōng-Dú จงตู
GB33 膝阳关 Xī-Yáng-Guān ซีหยางกวาน
GB34 阳陵泉 Yáng-Líng-Quán หยางหลิงเฉฺวียน
GB35 阳交 Yáng-Jiāo หยางเจียว
GB36 外丘 Wài-Qiū ไวชวิ
GB37 光明 Guāng-Míng กวางหมิง
GB38 阳辅 Yáng-Fǔ หยางฝู
GB39 悬钟 Xuán-Zhōng เสฺวียนจง
GB40 丘墟 Qiū-Xū ชิวซฺวี
GB41 足临泣 Zú-Lín-Qì จูหลินชี่
GB42 地五会 Dì-Wǔ-Huì ตี้อูฮุย
GB43 侠溪 Xiá-Xī เสียซี
GB44 足窍阴 Zú-Qiào-Yīn จูเชี่ยวอิน
Page 376

366 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

จุดบนเสนเทาจฺเหวียอินตับ (LR)
The Liver Meridian of Foot-JueYin Acupoints
(足厥阴肝经穴 Zú-Jué-Yīn-Xīn-Gān-Jīng-Xué)
LR1 大敦 Dà-Dūn ตาตุน
LR2 行间 Xíng-Jiān สิงเจียน
LR3 太冲 Tài-Chōng ไทชง
LR4 中封 Zhōng-Fēng จงเฟง
LR5 蠡沟 Lí-Gōu หลีโกว
LR6 中都 Zhōng-Dū จงตู
LR7 膝关 Xī-Guān ซีกวาน
LR8 曲泉 Qū-Quán ชฺวีเฉฺวียน
LR9 阴包 Yīn-Bāo อินเปา
LR10 足五里 Zú-Wǔ-Lǐ จูอูหลี่
LR11 阴廉 Yīn-Lián อินเหลียน
LR12 急脉 Jí-Mài จี๋มาย
LR13 章门 Zhāng-Mén จางเหมิน
LR14 期门 Qī-Mén ชีเหมิน
จุดบนเสนลมปราณเญิ่น (CV)
The Conception Vessel Acupoints
(任脉穴 Rèn-Mài-Xué)
CV1 会阴 Huì-Yīn หุยอิน
CV2 曲骨 Qū-Gǔ ชฺวีกู
CV3 中极 Zhōng-Jí จงจี๋
CV4 关元 Guān-Yuán กวานเหยฺวียน
Page 377

ภาคผนวก 2 367

รหัสจุด ชื่อภาษาจีน พินอิน ภาษาไทย


CV5 石门 Shí-Mén สือเหมิน
CV6 气海 Qì-Hǎi ชี่ไห
CV7 阴交 Yīn-Jiāo อินเจียว
CV8 神阙 Shén-Què เสินเชฺวี่ย
CV9 水分 Shuǐ-Fēn สุยเฟน
CV10 下脘 Xià-Wǎn เซี่ยหวาน
CV11 建里 Jiàn-Lǐ เจี้ยนหลี่
CV12 中脘 Zhōng-Wǎn จงหวาน
CV13 上脘 Shàng-Wǎn ซางหวาน
CV14 巨阙 Jù-Què จฺวี้เชฺวยี่
CV15 鸠尾 Jiū-Wěi จิวเหวย
CV16 中庭 Zhōng-Tíng จงถิง
Tán-Zhōng ถันจง
(Dàn-Zhōng) (ตั้นจง)
CV17 膻中 (Shàn-Zhōng) (ซั่นจง)
CV18 玉堂 Yù-Táng อวี้ถาง
CV19 紫宫 Zǐ-Gōng จื่อกง
CV20 华盖 Huá-Gài หัวกาย
CV21 璇玑 Xuán-Jī เสฺวียนจี
CV22 天突 Tiān-Tū เทียนทู
CV23 廉泉 Lián-Quán เหลียนเฉฺวียน
CV24 承浆 Chéng-Jiāng เฉิงเจียง
Page 378

368 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

จุดบนเสนลมปราณตู (GV)
The Governor Vessel Acupoints
(督脉穴 Dū-Mài-Xué)
GV1 长强 Cháng-Qiáng ฉางเฉียง
GV2 腰俞 Yāo-Shū เยาซู
GV3 腰阳关 Yāo-Yáng-Guān เยาหยางกวาน
GV4 命门 Mìng-Mén มิ่งเหมิน
GV5 悬枢 Xuán-Shū เสฺวียนซู
GV6 脊中 Jǐ-Zhōng จี่จง
GV7 中枢 Zhōng-Shū จงซู
GV8 筋缩 Jīn-Suō จินซัว
GV9 至阳 Zhì-Yáng จื้อหยาง
GV10 灵台 Líng-Tái หลิงไถ
GV11 神道 Shén-Dào เสินเตา
GV12 身柱 Shēn-Zhù เซินจู
GV13 陶道 Táo-Dào เถาเตา
GV14 大椎 Dà-Zhuī ตาจุย
GV15 哑门 Yǎ-Mén หยาเหมิน
GV16 风府 Fēng-Fǔ เฟงฝู
GV17 脑户 Nǎo-Hù เหนาหู
GV18 强间 Qiáng-Jiān เฉียงเจียน
GV19 后顶 Hòu-Dǐng โหวติ่ง
GV20 百会 Bǎi-Huì ไปหุย
Page 379

ภาคผนวก 2 369

รหัสจุด ชื่อภาษาจีน พินอิน ภาษาไทย


GV21 前顶 Qián-Dǐng เฉียนติ่ง
GV22 囟会 Xìn-Huì ซิ่นหุย
GV23 上星 Shàng-Xīng ซางซิง
GV24 神庭 Shén-Tíng เสินถิง
GV25 素髎 Sù-Liáo ซูเหลียว
GV26 水沟 Shuǐ-Gōu สุยโกว
GV27 兑端 Duì-Duān ตุยตฺวาน
GV28 龈交 Yín-Jiāo อิ๋นเจียว
จุดพิเศษบน ศีรษะและคอ (EX-HN)
Head and Neck Extra-Acupoints
(头颈奇穴 : Tóu-Jǐng-Qí-Xué)
EX-HN1 四神聪 Sì-Shén-Cōng ซื่อเสินชง
EX-HN2 当阳 Dāng-Yáng ตางหยาง
EX-HN3 印堂 Yìn-Táng อิ้นถัง
EX-HN4 鱼腰 Yú-Yāo ยฺหวีเยา
EX-HN5 太阳 Tài-Yáng ไทหยาง
EX-HN6 耳尖 Ér-Jiān เออรเจียน
EX-HN7 球后 Qiú-Hòu ฉิวโหว
EX-HN8 上迎香 Shàng-Yíng-Xiāng ซางอิ๋งเซียง
EX-HN9 内迎香 Nèi-Yíng-Xiāng เนยอิ๋งเซียง
EX-HN10 聚泉 Jù-Quán จฺวี้เฉฺวียน
EX-HN11 海泉 Hǎi-Quán ไหเฉฺวียน
Page 380

370 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

รหัสจุด ชื่อภาษาจีน พินอิน ภาษาไทย


EX-HN12 金津 Jīn-Jīn จินจิน
EX-HN13 玉液 Yù-Yè อวี้เย
EX-HN14 翳明 Yì-Míng อี้หมิง
EX-HN15 颈百劳 Jǐng-Bǎi-Láo จิ่งไปเหลา
EX-HN16 上廉泉 Shàng-Lián-Quán ซางเหลียนเฉฺวียน
EX-HN17 夹承浆 Jia-Chéng-Jiāng เจี่ยเฉิงเจียง
EX-HN18 牵正 Qian-Zheng เฉียนเจิ้ง
EX-HN19 安眠 An-Mián อันเหมี่ยน
จุดพิเศษบน หนาอกและทอง (EX-CA)
Chest and Abdomen Extra-Acupoints
(胸腹奇穴 : Xiōng-Fù-Qí-Xué)
EX-CA1 子宫 Zǐ-Gōng จื่อกง
EX-CA2 胃上 Wèi-Shàng เวยซาง
EX-CA3 三角灸 Sān-Jiǎo-Jiǔ ซานเจี่ยวจิ่ว
EX-CA4 利尿穴 Lì-Niào-Xué ลี่เนี่ยวเสฺวีย
EX-CA5 气门 Qì-Mén ชี่เหมิน
EX-CA6 提托 Tí-Tuō ถีทัว
จุดพิเศษบน หลัง (EX-B)
Back Extra-Acupoints
(背奇穴 Bèi-Qí-Xué)
EX-B1 定喘 Dìng-chuǎn ติ้งฉฺวาน
EX-B2 夹脊 Jiá-jǐ เจี๋ยจี่
EX-B3 胃脘下俞 Wèi-Wǎn-Xià-Shū เวยหวานเซี่ยซู
Page 381

ภาคผนวก 2 371

รหัสจุด ชื่อภาษาจีน พินอิน ภาษาไทย


EX-B4 痞根 Pǐ-Gēn ผี่เกิน
EX-B5 下极俞 Xià-Jí-Shū เซี่ยจี๋ซู
EX-B6 腰宜 Yāo-Yí เยาอี๋
EX-B7 腰眼 Yāo-Yǎn เยาเอี่ยน
EX-B8 十七椎 Shí-Qī-Zhuī สือชีจยุ
EX-B9 腰奇 Yāo-Qí เยาฉี
EX-B10 环中 Huán-Zhōng หวนจง
EX-B11 血压点 Xuè-Yā-Diǎn เซฺวี่ยยาเตี่ยน
EX-B12 巨阙俞 Jù-Què-Shū จฺวี้เชฺวยี่ ซู
จุดพิเศษบน รยางคบน (EX-UE)
Upper Extremities Extra-Acupoints
(上肢奇穴 Shàng-Zhī-Qí-Xué)
EX-UE1 肘尖 Zhǒu-Jiān โจวเจียน
EX-UE2 二白 Èr-Bái เออรไป
EX-UE3 中泉 Zhōng-Quán จงเฉฺวียน
EX-UE4 中魁 Zhōng-Kuí จงขุย
EX-UE5 大骨空 Dà-Gǔ-Kōng ตากูคง
EX-UE6 小骨空 Xiǎo-Gǔ-Kōng เสียวกูคง
EX-UE7 腰痛点 Yāo-Tòng-Diǎn เยาทงเตี่ยน
EX-UE8 外劳宫 Wài-Láo-Gōng ไวเหลากง
EX-UE9 八邪 Bā-Xié ปาเสีย
EX-UE10 四缝 Sì-Fèng ซื่อเฝง
Page 382

372 การฝงเข็ม-รมยา เลม 2

รหัสจุด ชื่อภาษาจีน พินอิน ภาษาไทย


EX-UE11 十宣 Shí-Xuān สือเซฺวียน
肩前 Jiān-Qián เจียนเฉียน
EX-UE12 (肩内陵) (Jiān-Nèi-Ling) (เจียนเนยหลิง)
臂中 Bì-Zhōng ปจง
EX-UE13 (收逆注) (Shou-Ni-Zhu) (โซวนี่จ)ู
จุดพิเศษบน รยางคลาง (EX-LE)
Lower Extremities Extra-Acupoints
(下肢奇穴 Qí-Xué-Xia-Zhi)
EX-LE1 髋骨 Kuān-Gǔ ควานกู
EX-LE2 鹤顶 Hè-Dǐng เหอติ่ง
膝内 Xī-Nèi ซีเนย
EX-LE3 白虫窝 Bái-Chóng-Wō ไปฉงวอ
EX-LE4 内膝眼 Nèi-Xī-Yǎn เนยซีเอี่ยน
EX-LE5 膝眼 Xī-Yǎn ซีเอี่ยน
EX-LE6 胆囊 Dǎn-Náng ตานหนาง
EX-LE7 阑尾 Lán-Wěi หลานเหวย
EX-LE8 内踝尖 Nèi-Huái-Jiān เนยหวฺายเจียน
EX-LE9 外踝尖 Wài-Huái-Jiān ไวหวายเจียน
EX-LE10 八风 Bā-Fēng ปาเฟง
EX-LE11 独阴 Dú-Yīn ตูอนิ
EX-LE12 气端 Qì-Duān ชี่ตวฺ าน

Você também pode gostar